หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

โดยชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม – เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางปาลิไลยก์ ที่สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2452 โดยความร่วมมือของพระสงฆ์ระดับ เจ้าอาวาส หลวงพ่อปั้น หรือ พระครูสังฆกิต เจ้าอาวาสวัดพิกุล (วัดพิกุลโสคันธ์) ตำบลบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับหลวงพ่อบุญ เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง

หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย

พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์องค์นี้จำลองมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหน้าตักกว้าง 6 เมตร สูง 21 เมตร มีรูปช้างและลิง อยู่ที่ปลายพระบาท อันมาจากพุทธประวัติที่กล่าวถึงการแตกแยกทางความคิดของพระภิกษุสงฆ์ที่ทะเลาะวิวาทกัน เรียกว่าเป็นผู้สอนยาก

พระพุทธเจ้าจึงปลีกพระองค์ไปจำพรรษาในป่าชื่อปาลิไลยก์ โดยมีช้างและลิงคอยปรนนิบัติ ด้วยการที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในป่า เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเบื่อหน่ายการทะเลาะวิวาทของหมู่สงฆ์ จึงไม่ปวารณาดูแลหมู่สงฆ์ทำให้หมู่สงฆ์รู้สึกสำนึกถึงความผิดพลาด จึงพร้อมด้วยพระอานนท์ พระอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ากราบทูลขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ ชาวบ้านจึงได้กลับมาดูแลพระภิกษุสงฆ์

ปางปาลิไลยก์นี้จึงน่าจะมีความหมายถึงผลเสียอันเกิดจากการทะเลาะวิวาทกัน ก็คือ การจะขาดความเชื่อถือในผู้อื่นๆ

แต่โดยที่พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสี่ร้อย ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับกองทหารอาทมาตที่เป็นหน่วยตระเวนหาข่าวนำหน้ากองทัพที่เสียชีวิตหมดทั้งกองทัพ จากการเข้ารบตะลุมบอนกับกองทัพพม่าในสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2

เรื่องราวของนักรบอาทมาตจึงนำหน้าคติของพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ที่เน้นถึงการเป็นผู้สอนยาก การทะเลาะ การไม่รับฟังความเห็นของหมู่เหล่า อันจะทำให้เกิดการขาดความเชื่อถือ)

อ่าน : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย : วัดราชบูรณะ อยุธยา

อ่าน : วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

อ่าน : พระนั่งองค์ใหญ่สุด อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง : คติสัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน