พระเจ้าพร้าโต้ : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระเจ้าพร้าโต้ : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม – เล่าเรื่องพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศมาหลายองค์ เรื่องที่จะเล่าในอาทิตย์นี้ก็คือ พระพุทธรูปองค์เล็กที่สร้างขึ้นจากไม้ที่เรียกว่าไม้แก่นจันทน์ขนาดใหญ่ต้นเดียว

พระเจ้าพร้าโต้

พระเจ้าพร้าโต้ วัดศรีดอนดำ อ.ลอง จ.แพร่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2236 เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป เป็นพระพุทธรูปฝีมือชาวบ้านที่แสดงถึงศรัทธาและความเชื่อในพุทธลักษณะ หรือมหาบุรุษ ออกเป็นรูปแบบ รูปทรงเฉพาะตัว โดยใช้มีดขนาดใหญ่ที่เรียกว่า พร้า เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก และจะต้องแกะสลักให้แล้วเสร็จภายในเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

พระเกศพุ่มสูงใหญ่ สัญลักษณ์แห่ง โลกุตตระ ผู้มีธรรมอันอยู่พ้นโลก

พระเกศา (ผม) เป็นหนามแหลมที่แสดงถึงความเฉียบแหลมแห่งปัญญา

พระกรรณ (หู) ที่กว้างใหญ่ สัญลักษณ์ความเป็น ผู้รู้มาก ฟังมาก เรียกว่า สัพพัญญู

พระพักตร์ เป็นใบหน้าที่ยิ้มอย่างสงบแสดงถึงเมตตาธรรม

พระเจ้าพร้าโต้

พระพุทธรูปมีขนาดรวมฐานสูง 3 เมตร หน้าตักกว้าง 1.5 เมตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่คติและสัญลักษณ์คือการประกาศถึงการพ้นไปจากสังสารวัฏของพระพุทธเจ้าที่แสดงด้วยการใช้ปลายพระหัตถ์ชี้ลงสู่พื้นว่า พระองค์อยู่พ้นจากโลกไปแล้ว (หรือนัยคือการประกาศการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) เช่นเดียวกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยอื่นๆ

ทั้งนี้ ที่เว็บไซต์มิวเซียมไทยแลนด์ www. museumthailand.com มีรายละเอียดและภาพที่สวยงามของพระเจ้าพร้าโต้ 3 องค์ จากเดิม 5 องค์ ที่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ เป็นองค์ใหญ่ 1 องค์ และองค์เล็ก 2 องค์

พระเจ้าพร้าโต้

ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เกิดจากความเคารพนับถือ ความเลื่อมใส ความศรัทธา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาของชาวอำเภอลอง

อ่าน : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย : เจดีย์มหาธาตุ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน