วช. จัดสัมมนารูปแบบใหม่ ในยุค COVID-19 การสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ เป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญ ในขณะเดียวกันอยากให้คนมีส่วนร่วมเป็นจำนวนมากโดยที่ไม่ต้องเดินทางมาในวันนี้ โดย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ Dr.Daniel Kertesz ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโลก รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้นำเสนอสรุปและผลรายงานขององค์การอนามัยโลกที่ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เข้าไปที่ประเทศจีนซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง จุดเริ่มต้นของการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งมีคนสงสัยและสนใจเป็นจำนวนมากว่าเกิดอะไรขึ้นที่ประเทศจีน องค์การอนามัยโลกได้ทำการศึกษา และรายงานผลมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก ทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยสามารถนำมาใช้ในการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ได้

ในการศึกษาครั้งนี้องค์การอนามัยโลก ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 25 คน จาก 8 ประเทศ ไปที่ประเทศจีน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ไปดูจุดเกิดเหตุ ไปปฏิบัติและดูแนวทางต่าง ๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจอยู่หลายข้อมูลด้วยกัน ตัวอย่างข้อมูลที่พบว่าในช่วงต้นที่ไวรัสอู่ฮั่นระบาด ไม่ทราบว่าเป็นเชื้ออะไร แล้วก็พบผู้ป่วยจำนวนมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเมื่อมีการพบวิธีการตรวจสอบในการตรวจวินิฉัยและการดูแล ใช้มาตรการในการควบคุมสามารถที่จะควบคุมให้ผู้ที่ติดเชื้อลดลง ขณะนี้ประเทศจีนยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ พบน้อยกว่าในช่วงแรกๆ และมีผลการศึกษาที่น่าพอใจหลายอย่าง มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วย 80% เป็นการป่วยแบบเบา ๆ คือมีไข้ ไออยู่บ้าง นอนพัก ทานยาลดไข้ อาการก็จะดีขึ้น มีผู้ป่วยติดเชื้อ 14 % ที่มีอาการรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล ให้ออกซิเจน และมีประมาณ 6% มีอาการป่วยหนักแบบวิฤกต ต้องเข้าห้องไอซียู ซึ่งในกลุ่มนี้ 1 ใน 3 จะเสียชีวิต ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะติดเชื้อเบาๆ หรือติดเชื้อกลาง ๆ เกือบทั้งหมดจะหายป่วย คนที่ติดเชื้อหนักวิกฤตจำนวนมากก็จะหาย สามารถที่จะดูแลได้ อัตราการตายในช่วงแรกก็จะสูงมากถึง 10 – 15 % ในสัปดาห์แรกในช่วงต้นเดือนมกราคม หลังจากพบวิธีการรักษาว่าจะดูแลอย่างไรอัตราการตายก็ต่ำลงอย่างมาก ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์อัตราการเสียชีวิตผู้ติดเชื้อในประเทศจีนลดลงเหลือต่ำกว่า 0.7%

สรุปเมื่อการดำเนินของโรคเป็นอย่างไร กลุ่มใดต้องดูแลเป็นพิเศษแล้วจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ข้อมูลอีกหนึ่งที่สำคัญคือการดูแลผู้ติดเชื้อในช่วงอายุต่าง ๆ พบว่า เด็กมีอัตราการติดเชื้อค่อนข้างต่ำ เด็กส่วนใหญ่เมื่อติดเชื้อแล้วอาการก็จะน้อยมากแล้วก็ไม่เสียชีวิต ในขณะที่อัตราการเสียชีวิต และอัตราการติดเชื้อส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอายุ 80 ปี จะมีอัตราการติดเชื้อสูง และมีอัตราการตายสูง ขณะเดียวกัน จะมีกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อาทิ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดัน กลุ่มนี้ต้องระวังการติดเชื้อจะมีความรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น

ด้านศาตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนข้อมูลวิชาการ เผยแพร่ข้อมูล สำหรับเตรียมการรับมือ COVID-19 ว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากจุดศูนย์กลางการระบาดของโรค การรับมือ COVID-19 ของจีนสามารถนำมาเป็นยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ และของโลก การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็น 1.เห็นถึงความร่วมมือของนานาชาติที่สำคัญมากมีการแชร์ข้อมูลกันในทุกประเทศ แต่ก็ยังมีข้อมูลหลายอย่างที่ต้องการทราบ 2.สิ่งที่ทำครั้งนี้ถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนี้ ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาสู่วิธีการป้องกัน จากสถานการณ์ที่แย่มาก มาสู่มาตรการที่ควบคุมได้ 3.เรื่องนี้ยังต้องศึกษาหาวิธีการรับมืออีกต่อไป 4. ความรู้ที่ได้ยังมีสิ่งที่ยังไม่ทราบ จำเป็นต้องมีการวิจัยพัฒนา หาข้อรับมือต่อไป เพื่อหามาตรการป้องกันต่อไป ซึ่ง COVID-19 ถือว่าเป็นประเด็นท้าทายของวงการแพทย์และระบบสาธารณสุขของไทยต่อไป ทำให้ต้องมีมาตรการรับมือ ต้องเป็นมาตรการระดับชาติ ที่รวดเร็ว และได้ผล ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน มาตรการที่ใช้มาแล้วได้ผล แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และต้องเตรียมให้พร้อมในระยะต่อไป

ด้าน Dr.Daniel Kertesz ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่าบทบาทขององค์การอนามัยโลก ที่ดูแลโรคติดต่อและโรคทั่วไปทั่วโลก โดยWHO ทำงานเป็นกลุ่ม จากผู้ติดเชื้อ COVID-19 มีการกระจายทั่วโลกจึงรวมตัวกันเพื่อทำงานสำคัญนี้ว่าโรคอะไร ระบาดอย่างไร มีวิธีการรักษาอย่างไร อันดับหนึ่งเลยต้องหาเคส จำกัดการแพร่เชื้อไม่ให้ระบาดเป็นวงกว้าง ตอนนี้ประเทศไทยเราเป็น เฟส 2 แต่ว่าโอกาสที่แพร่ระบาดไปก็ยังมี เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมตัวและมีมาตรการอย่างดีเพื่อที่จะควบคุมให้อยู่เฟสนี้เฟสเดิม ทำไมถึงมีความสำคัญ คือถ้าเราป้องกันได้อันดับหนึ่งก็คือจะทำให้มันเกิดการระบาดช้าลง เวลาช้าลงเราก็จะมีวิธีการป้องกันและเตรียมตัวให้ทันการ เราสามารถทำให้ระบบสาธารณสุขของเราพร้อมและทำให้ประชาชนมีความรู้และพร้อมด้วย ทำยังไงถึงสามารถควบคุมไว้ได้ 1.เราต้องทำการสำรวจในทุกๆที่ที่เป็นไปได้ อันดับที่2ถ้าเป็นคนไข้มาแล้วต้องทำการตรวจให้เขา ตรวจแล้วรีบแยกออกไปไม่ให้มาระบาดเพิ่มเติม บุคลากรการแพทย์ identity และ contract เช่น สมมุติเป็นแล้วดูว่าใครจะติดต่อเนื่องออกไป ตามได้อย่างครอบคลุม ถ้าทำได้แบบนี้ระบบห่วงโซ่ที่ทำให้ติดเชื้อก็จะถูกทำลายลงไป ถ้าทำได้เหมือนประเทศจีน ประเทศไทยเราก็จะสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้ 2 ข้อความหลักๆที่ต้องการเน้นก็คือ 1.พยายามหาเคส หาเคสได้แล้วจำกัดไม่ให้กระจายออกไป อันดับ2สามารถใช้มาตรการทั่วไปทางสาธารณสุขเพิ่มสุขภาพอนามัยที่ทุกคนสามารถทำได้ สามารถป้องกันและช่วยเหลือกัน โดย

1.ล้างมือบ่อยๆให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำหรือการใช้แอลกอฮอล์เจล

2.ถ้าสมมุติไอ ให้ไอในกระดาษทิชชูหรือว่าไอตรงบริเวนแขนเสื้อ ถ้าไอใส่กระดาษทิชชูให้ทิ้งลงไปและอย่าลืมล้างมืออีกทีนึงด้วย

3.พยายามรักษาระยะห่างจากคนอื่นประมาณ1เมตร โดยเฉพาะคนที่มีอาการไอจาม ก็พยายามป้องกันอย่างเต็มที่

4.พยายามหลีกเลี่ยงอย่าจับบริเวณตา จมูก และปากเรา บางคนติดนิสัย ตอนนี้เป็นเวลาที่จะต้องหยุดได้แล้ว ซึ่ง4สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ต้องพยายามทำเพื่อลดการระบาดของโรค COVID-19 และโรคอื่นๆด้วย พยายามรักษาสิ่งนี้กันให้เป็นนิสัย Dr.Daniel Kertesz กล่าวทิ้งท้าย


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน