โซเชียลถกกันสนั่น ! ‘ไอศกรีม’ กับ ‘ไอติม’ ต่างกันอย่างไร ครูภาษาไทยต้องเข้ามาแก้ไขด่วน บ้างบอกว่าต่างกันที่วิธีการทำ แต่มันคือภาษาพูดกับเขียนไม่ใช่หรือ ?

คลิปวิดีโอของผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่งได้กลายเป็นไวรัลขึ้นมาในโลกโซเชียล หลังโพสต์ขายสินค้าอย่างเยลลี่องุ่นเนื้อไอศกรีม

ก่อนมีชาวเน็ตมาคอมเมนต์ว่า “ในโลกนี้ไม่มีไอติมรสองุ่นเธอ อย่าสักแต่ขายของ องุ่นเอาไปทำไอติมไม่ได้ค้าบ” จากนั้นก็มีคอมเมนต์เพิ่มว่า “มันน่าจะทำไอติมได้ แต่ทำไอศกรีมไม่ได้ เก็ตปะ”

และคอมเมนต์นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดที่ทำเอาหลายฝ่ายช็อกไปตามกัน เมื่อมีหลายคนไม่ทราบจริง ๆ ว่า ‘ไอศกรีม’ กับ ‘ไอติม’ ต่างกันอย่างไร

หากอ้างอิงตามราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ.2554 ได้บัญญัติคำว่า ‘ไอศกรีม’ หมายถึง “น. ของกินทำด้วยนํ้าหวาน กะทิ หรือนม เป็นต้น ทำให้ข้นด้วยความเย็น (อ. ice-cream)”

ส่วนคำว่า ‘ไอติม’ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะ แต่ตามความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ คือ เป็นภาษาปาก ของคำว่า ‘ไอศกรีม’ ที่เป็นภาษาเขียน

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้นำบทความของนักวิชาการชื่อ ‘รัตติกาล ศรีอำไพ’ (2551) ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “คนส่วนใหญ่มักจะเรียกขานของหวานชนิดนี้กันว่า ไอติม สำหรับผู้ที่ทราบว่าคำนี้มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษในคำว่า ice- cream ก็อาจมีผู้ที่เรียกทับศัพท์กันไปบ้าง”

“แต่ส่วนใหญ่คนก็ยังนิยมเรียกว่า ไอติม กันอยู่ดี ซึ่งจะเรียกอย่างไรก็คงไม่ผิด แต่เขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง ทั้งที่พวกเรารู้จักและชื่นชอบของหวานเย็นรสอร่อยนี้กันมาช้านาน แต่ก็มักจะสะกดชื่อของหวานชนิดนี้กันหลากหลาย เช่น ไอศกรีม ไอศครีม ไอสกรีม ไอสครีม ไอซครีม

ภาพจาก bester-eats

ซึ่งลึกไปกว่านั้น ไอศกรีมแบ่งออกได้เป็นอีกหลายประเภท ตามส่วนผสมและวิธีการทำ อาทิ ซอฟต์เสิร์ฟ (Soft Serve), โฟรเซนโยเกิร์ต (Frozen Yogurt), ไอศกรีมซอร์เบต์ (Sorbet) และไอศกรีมเชอร์เบต (Sherbet), เจลาโต (Gelato) เป็นต้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน