กระทรวงแรงงาน
เทสโก้ โลตัส เตรียมจ้างงานพนักงานชั่วคราว 10,000 อัตรา หาก ก.แรงงาน ไฟเขียว วันที่ 24 ส.ค. 63 นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส และ นางอรกานดา อรรถวิภัชน์ ประธานกรรมการฝ่ายทรัพยากรบุคคล เทสโก้ โลตัส ให้การต้อนรับ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ ที่เดินทางมาเยี่ยมชมธุรกิจเทสโก้ โลตัส ณ สำนักงานใหญ่และเทสโก้ โลตัส สาขาสุขาภิบาล 1 เพื่อพบปะและพูดคุยถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนการสร้างงานท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดย เทสโก้ โลตัส พร้อมจ้างงานพนักงานแบบชั่วคราวรายชั่วโมงเพิ่มเติม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสาขาทั่วประเทศ และรองรับการเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่องถึง 10,000 อัตราในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า หากมีการออกกฎหมายแรงงานอนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ ปัจจุบัน เทสโก้ โลตัส มีการจ้างงานทั่วประเทศกว่า 50,000 อัตรา และมีการจ้างนักเรียน นักศึกษา และผู้เกษียณอายุ ภายใต้โครงการ 60 ยังแจ๋ว อีกด้วย
กระทรวงแรงงาน ชวนเด็กจบใหม่ ทำ Part-time 2,396 อัตรา เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน เผยข่าว นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึง สถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การจ้างงานในประเทศ รวมถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ซึ่งจากการประมาณการจะมีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ในปี 2564 จำนวน 493,875 คน และตลาดแรงงานอาจจะรองรับไม่เพียงพอ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมการจัดหางานไม่นิ่งนอนใจ เร่งหาแนวทางเพื่อให้บัณฑิตใหม่ที่จะเป็นกำลังแรงงานหลักของประเทศได้เข้าสู่ระบบการจ้างงาน “หลายภาคส่วนกังวลเรื่อง การว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ โดยเฉพาะการเข้าสู่การว่างงานถาวร กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน ไม่ได้นิ่งนอนใจ เร่งหามาตรการ และนโยบายเพื่อตอบโจทย์ปัญหาว่างงานเหล่านี้ ซึ่งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รูปแบบการจ้างงานเปลี่ยนไป นอกจากจะมีการปิดกิจการ ลดขนาดองค์กร สถานประกอบการหลายแห่งยังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานจากเต็มเวลา เป็นการจ้างงานแบบ Part-time ประกอบกับรูปแบบการทำงานของคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนไป รับงานอิสระที่สามารถกำหนดเวลาการทำงานได้เป็นบางช่วงเวลา จึงอาจเป็นอีกห
กระทรวงแรงงาน เตรียมส่งแรงงานไทยที่สนใจไปทำงานต่างประเทศ หลังโควิด-19 คลี่คลาย ทำงานต่างประเทศ – เพจ ข่าวจริงประเทศไทย เผยแพร่ข่าว นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งแรงงานไทยเป็นประเทศลำดับต้นๆ ที่ตลาดแรงงานในต่างประเทศต้องการ ทั้งในประเทศที่เป็นคู่เจรจาเดิมและที่เป็นที่นิยมของแรงงานไทย เช่น ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ญี่ปุ่น อิสราเอล และในภูมิภาคอื่นทั่วโลกต่างยอมรับเรื่องความมีวินัยและทักษะฝีมือของแรงงาน ประกอบกับประเทศไทยมีการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับภาคเอกชน เร่งเตรียมความพร้อมในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ได้ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ รวมถึงทักษะด้านภาษา หลังเอกอัครราชทูตคูเวต ได้แจ้งความประสงค์ต้องการแรงงานไทยไปทำงานในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากการเดินทางระหว่างประ
ส่องชีวิตคน (เคย) ตกงานยุคโควิด-19 “ท้อได้ แต่แพ้ไม่ได้” เริ่มต้นใหม่ได้ ถ้าไม่เลือกงาน ปี พ.ศ. 2563 เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งความไม่คาดฝันสำหรับใครหลายๆ คน เพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้ทั่วทั้งโลกต้องสั่นสะเทือน ไม่เพียงแต่จำนวนผู้คนที่ล้มป่วยหรือเสียชีวิต แต่ภาคเศรษฐกิจก็ได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก บ้างก็ต้องปิดตัวลงเพราะขาดรายได้ยาวนาน โดยรายงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน พบว่าปัจจุบันมีธุรกิจที่จำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว โดยมีการใช้มาตรา 75 (ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) ไปแล้วกว่า 2,237 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 15 เท่า จากปี 2562 และมีลูกจ้างได้รับผลกระทบแล้วกว่า 448,611 คน คุณชวลิต แซ่จัง มัคคุเทศก์หนุ่มที่พ่วงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง และคุณคมสัน โชยดิรส ผู้ช่วยเชฟในโรงแรมหรูย่านศรีนครินทร์ สองหนุ่มคนขับแกร็บที่เพิ่งจะหันมารับงานอย่างจริงจังได้เกือบสองเดือน คือตัวอย่างของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 จากที่เคยต้องตื่นเช้าไปทำงานประจำใน
ก.แรงงาน-ยุวกาชาด สภากาชาดฯ ร่วมจัดทำหน้ากากผ้า แจกให้ประชาชน 1 แสนชิ้น หน้ากากผ้า – ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน กับสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย เพื่อร่วมกันจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า แจกจ่ายให้แก่ประชาชน โดยสภากาชาดไทยสนับสนุนวัตถุดิบสำหรับทำหน้ากากผ้า จำนวน 100,000 ชิ้น และมอบให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นำไปดำเนินการตัดเย็บ โดยมี ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และ นายชาคริตย์ เดชา ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เข้าร่วมประชุมและรับมอบวัสดุดังกล่าว ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ที่มา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ก.แรงงาน งัดมาตรการเข้ม-สร้างระบบ e-Services ป้องกันโควิด-19 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน – นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เร่งหามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดไปยังประชาชนและกำลังแรงงานที่จะมาใช้บริการ ในส่วนของกพร. ยังคงมีงานให้บริการที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การรับรองความรู้ความสามารถ และการฝึกอบรม จึงกำชับทุกหน่วยงานในสังกัดให้มีการคัดกรองและกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างเข้มงวด นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันหน่วยงานของกพร. ทั่วประเทศสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ตั้งจุดคัดกรองเจ้าหน้าที่และประชาชนที่มาใช้บริการ โดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการเจล แอลกอฮอลล์ล้างมือ ลดจำนวนคนเข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และจัดสถานที่เพื่อให้มีการเว้นระยะห
ใครทำ 10 อาชีพนี้ วางแผนให้ดีๆ มีแนวโน้มเสี่ยงตกงาน ปี 2563! แม้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันจะสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตความเป็นอยู่ แต่ในอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเข้ามาแทนที่ และแย่งอาชีพจากมนุษย์ไปในที่สุด ในปี 2563 นี้จึงเป็นที่น่าจับตามอง ว่าอาชีพอะไรเสี่ยงตกงานมากที่สุด! นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปี 2563 เป็นปีที่น่าจับตามอง เนื่องจากทุกธุรกิจ ทุกอาชีพต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับการถูกดิจิตอลดิสรัปชั่น (digital disruption) จากการประมวลภาพคร่าวๆ มีประมาณ 10 อาชีพที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มธุรกิจสื่อที่เป็นเอกสาร จากที่มีคนจำนวนมากไม่ใช้เอกสาร 2. กลุ่มสื่อสารมวลชนทุกแขนง วิทยุ นิตยสาร โทรทัศน์ เนื่องจากประชาชนมีช่องทางใหม่ในการติดตามข่าวสาร โดยเฉพาะสื่อที่ไม่ปรับตัว 3. กลุ่มโปรดักต์ที่ตกยุค เช่น CD, CVD หรืออุตสาหกรรมที่ไม่ได้ล้อไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ 4. อาชีพที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน ที่จะมีพนักงานจำนวนมากตกงาน เพราะธุรกรรมทางการเงินสามารถทำจากโทรศัพท์มือถือได้ด้วยตัวเอง 5. อาชีพประกันภัย 6. อาชีพขายตรง ที่สามารถ
เศรษฐกิจไทยขาขึ้น โรงงานเปิดใหม่เพียบ อ้าเเขนรับพนักงานตรึม เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโต โรงงานเปิดใหม่พุ่ง อัตราการจ้างงานเพิ่มเท่าตัว มีตำแหน่งงานว่างกว่า 8 หมื่นอัตรา สถานการณ์ในอนาคตลุ้นทำการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รัฐบาลย้ำภายใน 1-2 ปี พัฒนาระบบขนส่ง หวังกระตุ้นเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น 1.7 เท่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย สถานการณ์เลิกจ้างยังไม่น่าห่วง สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม โรงงานเปิดกิจการสูงกว่าปิดกิจการถึง 2 เท่าตัว หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเรื่องสถานการณ์เลิกจ้างและการปิดกิจการโรงงานในปัจจุบัน ว่า ภาพรวมในปี 2562 ตั้งแต่เดือน 1 มกราคม – 12 พฤศจิกายน 2562 จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรม มีโรงงานปิดกิจการ 1,391 โรงงาน ขณะเดียวกันมีโรงงานเปิดกิจการใหม่ 2,889 โรงงาน โดยมีโรงงานเปิดใหม่สูงขึ้นกว่าปิดกิจการถึง 2 เท่าตัว นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเลิกจ้าง 35,533 คน ขณะที่มีการจ้างงานในกิจการใหม่ 84,033 คน และจ้างงานจากการขยายกิจการ 84,704 คน โดยมีเงินลงทุนเพิ่มเติม 431,216 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วถึง
“นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ” เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง การจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตายของกองทุนประกันสังคมว่า การจ่ายค่าทำศพให้แก่ผู้มีสิทธิรับประโยชน์จำนวน 40,000 บาท เพื่อเป็นค่าจัดการศพ ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย โดยผู้มีสิทธิสามารถนำหลักฐาน คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สำเนาบัตรประชาชนของผู้จัดการศพ หลักฐานจากฌาปณสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ สำเนาใบมรณบัตร สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้จัดการศพ (กรณีรับเงินทางธนาคาร) นอกจากนี้ ทายาทผู้มีสิทธิของผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้กับบุคคลที่ผู้ประกันตนระบุให้เป็นผู้รับสิทธิประโยชน์ โดยการทำหนังสือระบุไว้ ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ว่า ให้ใครเป็นผู้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ บิดา มารดา สามีหรือภริยา และบุตร โดยหารเฉลี่ยในอัตราคนละเท่าๆ กัน ดังนี้ หนึ่ง ถ
ผู้ประกันตนฟังทางนี้! ประกันสังคมจ่ายสิทธิค่าคลอดบุตรไม่จำกัดครั้ง พร้อมเงินสงเคราะห์ 600 บาทต่อเดือน “นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ” เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 ส่งผลต่ออัตราส่วน ของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สำนักงานประกันสังคมได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนประชากรของประเทศให้มีบุตรเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการเกิดของประชากรที่กำลังลดลงรวมถึงสร้างกำลังแรงงานในอนาคต โดยจูงใจให้ผู้ประกันตนมีบุตรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้มีการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรที่ครอบคลุมสำหรับลูกจ้าง ผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น โดยจ่ายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และสามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ ซึ่งจะได้รับเงินเหมาจ่าย จำนวนครั้งละ 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง ส่วนผู้ประกันตนชาย ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรสจะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตร