ขยะ
เปลี่ยนวัตถุดิบเหลือ รังสรรค์เป็นเมนูใหม่ “God of Grill Steak” ลดปัญหาขยะอาหาร ขายดีแซงจานหลัก แม้จะผ่านการทำร้านอาหารเปิดและปิดมาร่วม 10 กว่าร้าน ถึงอย่างนั้น คุณปอนด์-อังกูร ไชยปรีชาวิทย์ ก็ไม่เคยหมดแพชชันในการทำธุรกิจ เมื่อถึงจังหวะและเวลาที่เหมาะสม เขาจึงนำประสบการณ์ นำทุกองค์ความรู้ที่มีมาเปิดร้าน God of Grill Steak Everyday Steak Food คุณปอนด์ตั้งใจให้ God of Grill Steak เป็น “Everyday Steak Food” ลูกค้าสามารถแวะมาทานได้ทุกวัน แม้ไม่ใช่โอกาสพิเศษ สามารถใส่เสื้อยืด สวมกางเกงขาสั้น หรือชุดออฟฟิศมาทานได้แบบไม่เขิน God of Grill Steak โดดเด่นในเรื่อง “คุณภาพ” และ “ราคา” ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ในราคาเริ่มต้น 99 บาท คุณปอนด์ บอกว่า เมนูของร้านเป็นเมนูสแตนดาร์ด ทั้งสเต๊กไก่สไปซี่ สเต๊กหมูหมักพริกไทยดำ สเต๊กหมูสันนอก หรือสเต๊กปลาทอด เป็นต้น แต่ในความพิเศษของเมนูเหล่านี้คือ “การคัดสรรวัตถุดิบ” ที่เขายอมเหนื่อยในฝั่งโอเปอเรชัน เพื่อเสาะหาวัตถุดิบคุณภาพดีที่สุดมาให้ลูกค้า “เราทำร้านอาหาร รู้ดีอยู่แล้วว่าใช้ซัพพลายเออร์เจ้าเดียวจบ เพราะเขามีครบ แต่เราจะไม่ยอมในเรื่องนี้ เราใช้ซัพพลายเออ
เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ร่วมกับ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย จับมือ จีเอ็มเอ็ม โชว์ ประกาศความสำเร็จของการจัดการขยะอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้แคมเปญ “มันส์ ไม่ ทิ้ง” ในงาน เป๊ปซี่ พรีเซนต์ บิ๊กเมาน์เท่นมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 13 เป๊ปซี่ พรีเซนต์ บิ๊กเมาน์เท่นมิวสิคเฟสติวัล เปิดโหมดซ่า รักษ์โลกกับแคมเปญ “มันส์ ไม่ ทิ้ง” สนุกอย่างรับผิดชอบ จัดการขยะแบบ Closed-loop เน้นการคัดแยกเพื่อรีไซเคิลหรือนำไปใช้ประโยชน์ มุ่งสู่การเป็น “อีโค่ เฟรนด์ลี่ มิวสิคเฟสติวัล” หลังจบงาน ขยะที่ถูกคัดแยกแล้ว 5,035 กิโลกรัม ถูกส่งไปรีไซเคิลหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ขวดพลาสติก PET สามารถเข้าสู่กระบวนการ Bottle-to-Bottle Recycling ได้มากถึง 1,795 กิโลกรัม เพื่อรีไซเคิลเป็นขวดใหม่ หรือที่เรียกว่า ขวด rPET ส่วนกระป๋องอะลูมิเนียม 1,075 กิโลกรัม ก็ถูกจัดการในรูปแบบของ Aluminum Closed-loop เพื่อนำมาผลิตเป็นกระป๋องอีกครั้ง ขยะเศษอาหาร 705 กิโลกรัม ถูกนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยะทั่วไป 1,460 กิโลกรัม ถูกเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel-RDF) แทนที่การฝังกลบ บริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย
หลอดอะไรทำไมกินได้! แถมใช้ไม่หมด เอาไปผัดทำอาหาร ไม่เป็นขยะเหลือทิ้ง ช่วงที่ผ่านมา ข่าวการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากขยะพลาสติก โดยเฉพาะหลอดที่มนุษย์ใช้สำหรับดูดน้ำ แต่เมื่อใช้แล้วขยะเหล่านั้นกลับสร้างปัญหาให้โลก เพราะไม่มีวิธีการจัดการที่ถูกวิธี และกว่าจะย่อยสลายได้ต้องใช้เวลาหลายร้อยปี เพราะสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว ด้วยเหตุนี้ทำให้ คุณบิว-วิวรรธน์ สุเชาว์อินทร์ วัย 30 ปี เล็งเห็นถึงปัญหา เมื่อ 3-4 ปีก่อนเขาได้ปั้นแบรนด์ผลิตหลอดกินได้ จากแป้งข้าวและแป้งมัน ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เพียงปักลงดิน “ผมซึมซับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวเป็นคนรักษ์โลก ถ้าซื้ออาหารจะไม่ใส่กล่องหรือถุงพลาสติก แต่จะนำกล่องทัปเปอร์แวร์ไปใส่อาหารเอง ตั้งแต่เล็กแม่พยายามสอนเรื่องนี้ตลอด จนโตขึ้นผมอยากทำธุรกิจนอกจากหารายได้แล้ว ยังช่วยดูแลโลกได้ด้วย” คุณบิว เล่าถึงแรงบันดาลใจ สุดท้ายแล้ว แนวคิดรักษ์โลกต่อยอดมาเป็น แบรนด์ Strawry- the edible straw หลอดกินได้ ชายหนุ่มอธิบายว่า การรักษ์โลกมีหลายแบบ แต่เลือกผลิตหลอดเพราะ นอกจากรักษ์โลกแล้ว ยังรักษ์สัตว์ด้วย “ถ้าสังเกตสาเหตุการเสียชีว
กรมอนามัย เผย โควิด-19 ทำขยะล้น 6,300 ตันต่อวัน เร่งร่วมมือบริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม รณรงค์ลดใช้พลาสติก เว็บไซต์ กรมอนามัย เผยแพร่ข่าว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการ “กินอยู่ปลอดภัย” เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยของอาหาร การปนเปื้อนในอาหาร และใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่ใช้โฟม ถุง หรือกล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่อาจเสี่ยงให้เกิดสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อลดปริมาณขยะหลังพบช่วงโควิด-19 มีขยะเพิ่ม 6,300 ตันต่อวัน โดยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการ “กินอยู่ปลอดภัย” ระหว่าง กรมอนามัย ร่วมกับ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย อาคาร 1 ชั้น 2 กรมอนามัย ว่า จากมาตรการผ่อนปรนสถานประกอบกิจการประเภทต่างๆ ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ ศบค. หนึ่งในนั้นคือสถานประกอบการประเภทร้านอาหาร รถเข็น หาบเร่ แผงลอ
ผู้ว่าฯ อัศวิน เปิดภาพขยะเต็มคลอง เผยบางวันเจ้าหน้าที่เก็บได้ถึง 5 คันรถบรรทุก วันที่ 30 พ.ค. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊ก ภาพขยะในคลองลาดพร้าว ที่ กทม. ดักและเก็บได้บริเวณใต้ทางด่วนถนนประดิษฐ์มนูญธรรม เขตห้วยขวาง บางวันเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะได้ถึง 5 คันรถบรรทุก “ขยะใหม่เติมลงคลองทุกวัน นี่คือบางส่วนของขยะในคลองลาดพร้าว ที่ กทม. ดักและเก็บได้บริเวณใต้ทางด่วนถนนประดิษฐ์มนูญธรรม เขตห้วยขวาง บางวันเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะได้ถึง 5 คันรถบรรทุกครับ บริเวณนี้ถือเป็นจุดที่เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะห่างไปแค่ 1 กิโลเมตรเศษๆ ก็จะเป็นสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9 ซึ่งทำหน้าที่เร่งระบายน้ำในคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบที่มีระดับน้ำสูงให้ไปออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น หากขยะเหล่านี้ไปกีดขวางและอุดตันเครื่องสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำ จะทำให้หลายๆ พื้นที่ในกรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมสูงได้ ไม่เฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนฯ เท่านั้นที่มีขยะจำนวนมาก ยังมีจุดอื่นๆ ที่ กทม. ทำแนวดักขยะไว้เป็นระยะก็พบปัญหาเดียวกัน เช่น คลองลาดพร้าว ช่วงปากคลองหลุมไผ่ เขตลาดพร้าว จัดเก็บ
ขยะหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้น 1 พันกิโลกรัมต่อเดือน! วอน ปชช. แยกขยะ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ขยะหน้ากากอนามัย – นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เผย ขณะนี้ปริมาณขยะติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการทิ้งขยะประเภทหน้ากากอนามัยในหลายครัวเรือน ทำให้บางวันมีปริมาณขยะติดเชื้อเพิ่มกว่า 1 พันกิโลกรัม โดยแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อของกรุงเทพมหานครนั้น ได้ขยายแนวทางในการจัดเก็บเพิ่มเติม โดยจัดวางถังขยะสีแดงสำหรับรองรับหน้ากากอนามัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนตามจุดต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ – สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง – ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง – โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 11 แห่ง – ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร – เสาชิงช้า – ดินแดง รวมถึงมีการติดป้ายสัญลักษณ์และป้ายข้อความ “สำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยเท่านั้น” อย่างชัดเจนที่ถังรองรับหน้ากากอนามัยทุกจุด และมีการกำกับดูแล เพื่อป้องกันการทิ้งขยะประเภทอื่นปะปน และป้องกันการรื้อค้นเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ ยังได้มีการนำถังขยะสีแดงติดตั้งไปกับรถขยะ เพื่อความสะดวกของเจ้าหน้าที่ในก
‘ชัชชาติ’ ลุยเก็บขยะ! อบต.พันท้ายฯ กว่า 3 ตัน เก็บตั้งแต่ถังหน้าบ้าน ยันโรงงานกำจัด เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้โพสต์ภาพนายชัชชาติ ร่วมกับรถเก็บขยะออกเก็บขยะตามบ้านเรือนประชาชน ขณะไปดูงานการจัดการขยะของ อบต.พันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า “เรื่องการจัดการขยะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกเมือง เมื่อวานผมได้ไปดูงานจัดการขยะของ อบต.พันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร ที่เลือกที่นี่เพราะมีการกำจัดขยะที่น่าสนใจและสามารถดูงานได้ทั้งระบบ ระบบการจัดการขยะ อาจจะประกอบด้วยสามขั้นตอนหลักคือ 1. การทิ้งขยะจากแหล่งต่างๆ เช่น ครัวเรือน ตลาด โรงเรียน โรงงาน 2. การจัดเก็บขยะ โดยมีหน่วยงานจัดเก็บรวบรวมจากแหล่งทิ้งขยะต่างๆ ส่วนใหญ่ที่เราเห็นคือรถเก็บขยะที่มาเก็บขยะตามบ้าน 3. การกำจัดขยะ ซึ่งอาจมีหลายทางเลือก เช่น การฝังกลบ การเผา การคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ขั้นตอน 1-2 ของที่ อบต.พันท้ายนรสิงห์ มีลักษณะเหมือนกับของ กทม. โดยจะมีรถเก็บขยะวิ่งเก็บตามแหล่งทิ้งขยะ โดยเก็บอาทิตย์ละสองวัน ค่าเก็บขยะบ้านละ 40 บาทต่อเดือน ส่วนขั้นตอนที่
‘บางกระเจ้า’ เดือดร้อนหนัก ‘รง.พลาสติก’ สร้างสะพานขวางคลอง ชาวบ้านสัญจรไม่ได้-กลิ่นขยะคลุ้ง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จากกรณี ที่มีตัวแทนชาวบ้าน 2 ตำบล ในเขตเชื่อมต่อระหว่าง ต.ชัยมงคล และบางกระเจ้า ซึ่งได้รับคำยกย่องว่า เป็นปอดกรุงเทพฯ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร โดย นางอรวรรณ ศรีจรรยา อายุ 57 ปี ชาวบ้าน ต.ชัยมงคล และนางสาวบุษบา ขาวเจริญ อายุ 43 ปี ชาวบ้าน ต.บางกระเจ้า ได้เข้าร้องเรียนต่อสื่อว่า ได้รับความเดือดร้อน “จากปัญหาโรงงานหลอมพลาสติกอัดเม็ด ของนายควาหยี แซ่ยิ่ง ชาวจีนไต้หวัน” ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน 2แปลง รวมเนื้อที่กว่า 20 ไร่ จู่ๆ ก็ก่อสร้างสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ ออกขวางคลองปากบ่อฯ ว่า ทำให้ก่อปัญหากับผู้คนที่ต้องใช้ทางสาธารณะเพื่อการสัญจรและล่องเรือส่งสินค้าผลไม้ ซึ่งที่ผ่านมา เคยร้องเรียนไว้กับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดฯ, กรมเจ้าท่าสมุทรสาคร, อบต.จำนวน 2 แห่ง และ สภ.ต.บางโทรัด “ซึ่งเหตุร้องทุกข์นี้ผ่านไปตั้งแต่ 18 ธ.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คืบหน้าล่าสุด นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร พร้อมนายธรรมปพน จันทร์แก้ว ปลัดอำเภอ ในฐานะตัวแทนศูนย์ดำรงธรรมอำเภอฯ นายศรัณย์วิชญ์
กรณีมรสุมพัดขยะทะเลกว่า 100 ตัน ขึ้นมาตลอดแนวชายหาดเขตวนอุทยานปราณบุรี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทางยาวกว่า 1,500 เมตร ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและคุณภาพน้ำทะเล ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งเก็บขยะดังกล่าวนั้น เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ลงเฟชบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat โดยระบุว่า กรณีขยะทะเลที่พัดขึ้นมาชายฝั่งปราณบุรี ผมมีความคิดเห็นดังนี้ครับ 1. ขยะทะเลจำนวนมหาศาลอยู่ในอ่าวไทย ส่วนหนึ่งอยู่ในมวลน้ำ เมื่อกระแสน้ำพัดเข้าสู่ฝั่งปราณบุรี ขยะเหล่านั้นจะมากองรวมกันชายฝั่ง จนกว่ากระแสน้ำจะเปลี่ยนแปลง 2. คลื่นลมรุนแรงยังพัดขยะบางส่วนที่อยู่บนพื้นท้องทะเลน้ำตื้น ให้ลอยขึ้นมาแล้วถูกพัดโดยกระแสน้ำเข้าสู่ฝั่งเช่นกัน 3. ขยะบางส่วนมาจากแม่น้ำลำคลองรอบอ่าวไทยตอนใน ช่วงนี้น้ำจืดไหลลงเยอะ ขยะย่อมมีเยอะ และไปตามกระแสน้ำเช่นกัน ดร.ธรณ์ โพสต์อีกว่า เพราะฉะนั้น ขยะที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดจากคนปราณบุรีหัวหิน แต่เกิดจากคนไทย เกิดจากพวกเรา ธรรมชาติเตือนเรามาหลายครั้งแล้วว่า ขยะกำลังท่วมทะเลไทย ผลเสียมีมากมาย ดังนี้ 1.