ขายผลไม้
ขายทั้งปี ไม่ต้องรอฤดูกาล! แม่ค้าวัย 28 เปิดแผงขายทุเรียน รายได้เดือนละ 10 ล้าน ทุเรียน คือราชาผลไม้ไทย ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกษตรกร และคนค้าขายมากมาย โดยเฉพาะช่วงฤดูกาล ลองมาดูเรื่องราวของแม่ค้าทุเรียนวัย 28 ปี คุณฟีม-รภัสนันท์ วิจิตรเกรียงไกร เธอเริ่มต้นอาชีพขายทุเรียนท้ายรถ ก่อนขยับขยายเปิดแผงค้าในตลาดสี่มุมเมือง ถึงวันนี้เข้าสู่ปีที่ 7 อย่างสวยงาม สามารถสร้างรายได้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อเดือน คุณฟีม เล่าให้ฟัง ก่อนหน้านี้เคยเป็นแม่ค้าขายทุเรียนท้ายรถ ขับตระเวนแถวโซนลาดพร้าว ต่อมามีญาติและคนรู้จักที่ขายของในตลาดสี่มุมเมือง มาชักชวนให้เข้าไปขายในตลาด จึงเปลี่ยนจากวิ่งขายตามทางมาจอดขายในตลาด 2 ปีแรกขายเฉพาะฤดูกาลทุเรียนเท่านั้น เพื่อต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และสามารถขายทุเรียนได้ตลอดปี จึงตัดสินใจเช่าแผงค้าในตลาด นำทุเรียนมาจำหน่ายหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น หมอนทอง ก้านยาว พวงมณี นกกระจิบ ชะนี และกระดุมทอง หากอยู่ในช่วงฤดูกาล เจ้าของร้านสาวจะนำผลผลิตมากจากจังหวัดจันทบุรี ส่วนทุเรียนทวาย หรือทุเรียนนอกฤดูกาล เพื่อให้มีขายทั้งปี จึงต้องสลับนำเข้าจากหลายจังหวัด เช่น จังหวั
ผลไม้มงคล จัดเซต ขายดีมากช่วงเทศกาล ทำแทบไม่ทัน วันละ 300 ออร์เดอร์ หากต้องมีการบวงสรวง งานบุญงานกุศล สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผลไม้มงคล หลายท่านไม่อยากเสียเวลาเดินหาผลไม้ให้ครบ 5 อย่าง 7 อย่าง 9 อย่าง ที่ ร้านเปรมฤดี มีพร้อมจำหน่าย ในทุกวันๆ มีออร์เดอร์เข้ามามากมาย จนทำแทบไม่ทัน เฉลี่ยวันละ 200-300 เซต คุณสายพิณ รุ่งเรือง วัย 37 ปี เจ้าของร้านเปรมฤดี เล่าว่า เริ่มเปิดร้านเมื่อปี 2554 ช่วงก่อนน้ำท่วม ขายผลไม้มงคลที่คนไทยนิยม ไม่ว่าจะเป็น ส้ม ส้มโอ สาลี่ แอปเปิ้ล กล้วย มะพร้าว สับปะรด มะม่วง อ้อย เป็นต้น รับมาจากร้านค้าในตลาดสี่มุมเมืองเป็นส่วนใหญ่ เน้นคุณภาพผลไม้ คัดของสวยเป็นอันดับหนึ่ง เพราะผลไม้ที่นำมานั้น จะต้องเอามาจัดเซต จึงจำเป็นต้องเลือกผลไม้ที่มองจากภายนอกด้วยสายตาเเล้ว มีความสวยงาม ไม่เหี่ยว ไม่ช้ำ ราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 20 บาท ไปจนถึงหลักร้อยบาท “ถ้าเป็นผลไม้เซต มีผลไม้ไหว้ 5 อย่าง เริ่มต้นที่ 50-55 บาท ผลไม้ไหว้ 9 อย่าง ชุดเล็ก ราคา 100 บาท ผลไม้ไหว้ 9 อย่าง ชุดใหญ่ ราคา 120 บาท นอกจากผลไม้เซตแล้ว ยังมีแอปเปิ้ล สาลี่ จับเซต 3 ลูก สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปไหว้แค่อย่างเดียว เริ่
เวทีใหญ่เลื่อนประกวด มิสแกรนด์เพชรบูรณ์ เปิดแผงขายผลไม้ หาเงินไม่อายใคร ระหว่างรอการประกวดมิสแกรนด์เวทีใหญ่ที่ถูกเลื่อนออกไป เพราะโควิด คุณฝ้ายนา-สุทธิดา นิลผาย มิสแกรนด์เพชรบูรณ์ 2021 ก็ไม่ทิ้งเวลาให้สูญเปล่า เธอใช้ความรักในอาชีพค้าขายหารายได้ให้ตัวเอง เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่มีในช่วงนี้ ชีวิตของคุณฝ้ายนาลำบากมาตั้งแต่วัยเด็ก ครอบครัวล้มละลาย และสูญเสียคุณแม่ในเวลาเดียวกัน เธออาศัยอยู่กับคุณพ่อ และต้องทำงานหนักกว่าเด็กทั่วไป ทำทุกอย่างที่ได้เงิน ทั้งพนักงานเซเว่นฯ รับทำความสะอาดบ้านของอาจารย์ ฯลฯ “หลังเรียนจบชั้น ม.6 ฝ้ายนาย้ายมาเรียนมหาวิทยาลัยในตัวเมืองเพชรบูรณ์ และทำงานส่งตัวเองเรียนไปด้วย แต่เพราะค่าเทอมแพงจึงต้องดรอปเรียน แล้วทำงานเพื่อมีชีวิตรอด ทำมาแล้วหลายอาชีพมาก แม้กระทั่งงานก่อสร้าง ปูกระเบื้องยาง ติดวอลล์เปเปอร์ ทำผ้าม่าน ทำทุกอย่างที่ได้เงินและเป็นงานสุจริต” จนวันนึงมีเชฟรุ่นพี่เห็นแววของคุณฝ้ายนา จึงเข้ามาช่วยสอนทำอาหาร ขนม เป็นบาริสต้า เมื่อมีความรู้ติดตัวแล้ว คุณฝ้ายนาได้นำมาสร้างอาชีพเปิดร้านขายอาหารไทยฟิวชั่นและขนมสไตล์ฝรั่งเศสออนไลน์ ส่งตามสำนักง
ส่งออกทุเรียนไทย เดือน พ.ค. 64 พุ่งทุบสถิติ ตลาดจีนยังคงมาแรง วันที่ 9 ก.ค. 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า มูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยในเดือน พ.ค. 2564 สร้างสถิติรายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 934.9 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 95.3% (YoY) ส่งผลให้ทุเรียนกลายเป็นสินค้าเกษตรเศรษฐกิจส่งออกสำคัญลำดับที่ 2 และมีแนวโน้มเติบโตทำสถิติใหม่อย่างต่อเนื่องในระยะข้างหน้า ซึ่งแรงสนับสนุนสำคัญมาจากการตอบรับของผู้บริโภคในตลาดโลก โดยมีจีนเป็นประเทศผู้บริโภคทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก หรือคิดเป็น 70% ของตลาดโลก ซึ่งเมื่อรวมตลาดฮ่องกงที่มีส่วนแบ่งเกือบ 20% ทำให้จีนครองตลาดทุเรียนไปเกือบทั้งหมด ในขณะที่ประเทศไทย เป็นประเทศส่งออกทุเรียนรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ทั้งด้านปริมาณและมูลค่า โดยไทยมีความได้เปรียบในด้านความเชี่ยวชาญทำตลาดส่งออกผลไม้ ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ตลาดจีน ทำให้การขนส่งทุเรียนสดถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ในราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้ รวมถึงรสชาติของทุเรียนไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ความต้องการบริโภคทุเรียนในตลาดจีนยังผลักดันให้ราคาจำหน่ายทุเรียนสูงต่อเนื่อง แม้ในปัจจุบันทุเรียนไทยครองตลาด
หนุ่มออฟฟิศ ผันตัวเป็นพ่อค้า ขายมะพร้าวในม็อบ เพราะพิษเศรษฐกิจแย่ นอกจากสินค้าสัญลักษณ์ที่ขายในการชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้ว ยังมีสินค้าน่าสนใจอีกจำนวนมาก อย่างเช่น ร้านขายมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว ของอดีตหนุ่มออฟฟิศวัยกลางคน พ่อค้าขายมะพร้าว เผยว่า เมื่อก่อนตนยึดอาชีพเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง แต่เพราะเกิดโควิด-19 เศรษฐกิจแย่ จึงต้องเปลี่ยนอาชีพมาขายมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วแทน โดยมะพร้าวที่นำมาขายนั้นรับมาจากสวนโดยตรงจากบ้านแพ้วแหล่งมะพร้าวคุณภาพขึ้นชื่อ “ราคาที่รับมาขายช่วงนี้ไม่สูงมาก เพราะสวนมะพร้าวส่งออกไม่ได้ ส่วนที่นำมาขายในวันนี้ ผมขนมาจากบ้านแพ้ว 1,000 ลูก จำนวนนี้ขนมาเผื่อไว้ มาตั้งร้านกับทีมงานตั้งแต่ตี 1 มาเร็วเพราะกลัวว่าจะเข้าพื้นที่ไม่ได้” พ่อค้าหนุ่ม เผยต่อว่า ปกติเค้ามาร่วมการชุมนุมบ่อย แต่เมื่อก่อนนั้นไม่ได้นำของมาขายด้วย จึงไม่ต้องกังวลอะไร มาวันนี้ขนมะพร้าวมาเยอะพอขายได้เรื่อยๆ “ผมขายลูกละ 20 บาท ราคานี้พอได้กำไร วันนี้หวังให้ให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ขายกันสดๆ กินแล้วชื่นใจ อยากช่วยให้พี่น้องที่มาชุมนุมได้กินของอร่อยๆ ในราคาที่เอื้อมถึง” พ่อค้ามะพร้าว
ลูกสาวชาวสวน ส่งผลไม้แช่อิ่มแบรนด์ ‘เสวย’ ขายในร้าน7-11 ทำรายได้กว่า 50 ล้านบาท/ปี คุณนันทภรณ์ ชะเสริมไพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสวยผลไม้แช่อิ่มจำกัด วัย 34 ปี เธอเกิดมาในครอบครัวเกษตรกร เรียนจบด้านฟู้ดไซน์ ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ส่วนน้องสาวจบด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อกลับมาสานต่อกิจการของพ่อ “ที่บ้านปลูกผลไม้หลายชนิด เช่น ฝรั่ง ชมพู เป็นต้น แต่ทุกอย่างพังราบเป็นหน้ากลองเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2538 ผลไม้ที่ปลูกไว้ล้มตายมีแค่มะกอกน้ำเท่านั้นที่รอด เลยหันมาปลูกมะกอกน้ำ และแปรรูปผลไม้ชนิดนี้ เริ่มแปรรูปแบบดองเค็ม แต่รสชาติยังไม่ถูกปาก เลยเปลี่ยนมาแช่อิ่ม แจกให้คนรอบข้างชิมก่อน พอมีคนมาขอซื้อจึงพัฒนากลายเป็นธุรกิจ และได้ขยายไปทำผลไม้ชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น มะม่วง มะดัน กระท้อน มะปราง มะขาม ที่มีตามฤดูกาล” ลูกสาวชาวสวนคนเดิม เล่าต่อว่า ในข่วงแรกยังนำผลไม้แช่อิ่มแพ็กใส่ถุงขายธรรมดาๆ กระทั่งได้พบกับทีมงานของเซเว่นฯ ร่วมกันพัฒนาทั้งสูตรการแช่อิ่ม แพ็กเกจจิ้ง มาตรฐานต่างๆ จนสามารถน้ำผลไม้แช่อิ่ม แบรนด์เสวย ขายในร้านสะดวกซื้อเซเว่นฯ ได้ในปี 2542 “วาง
ทายาทรุ่น 3 รับช่วงต่อร้านผลไม้เก่าแก่ย่านเยาวราช นำเข้าสดๆ จาก ตปท. เปิดตลอด 24 ชั่วโมง บนถนนเยาวราชที่ไม่เคยหลับใหลเส้นนี้ เดินลัดเลาะไปบริเวณปากซอยเยาวราช 6 (อิสรานุภาพ) ตรงข้ามตลาดเก่า เยาวราช มีร้านเก่าแก่กว่า 80 ปี เป็นร้านผลไม้สดนำเข้าจากต่างประเทศ เปิด 24 ชั่วโมง คุณเอ็กซ์-ธนกฤติ อังสุปาลี ทายาทรุ่นที่สามวัย 39 ปี เจ้าของร้านผลไม้ “เชี่ยงปู่” เล่าย้อนที่มาให้ฟังว่า ร้านเชี่ยงปู่ ขายในย่านเยาวราชมานานกว่า 80 ปี เป็นกิจการตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากคำบอกเล่าของรุ่นพ่อแม่ กิจการนี้เริ่มจากรุ่นอากงชื่อเชียงจั๊วและเพื่อนชื่อย่งปู่ (รวมกันเป็นชื่อร้าน เชี่ยง แปลว่า ยาว ปู่ แปลว่า รวย) ทั้งคู่มาจากเมืองจีน ถือหาบไม้ใส่ขวดโหลแก้ว ข้างในมีผลไม้ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ล ด้านหลังตะกร้า ใส่ถุงหิ้วกับกิโลตาชั่ง หาบขาย ขยับสู่ร้านแผงลอย กระทั่งได้ที่ทางเปิดร้านประจำอยู่ในบริเวณถนนเยาวราช จากนั้นย้ายมาอยู่ตรงปากซอยเยาวราช 6 ถึงปัจจุบัน “ผมเข้ามารับช่วงต่อรุ่นที่สามหลังเรียนจบนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่ได้ทำงานตรงสายกับสิ่งที่เรียนมา แต่การเรียนพีอาร์สามารถนำไปใช้ได้ท
ไม่เคยยอมจำนน! สาวป่วยอัมพาต ผู้ใช้ “ปาก” ขายผลไม้ทางออนไลน์ สร้างรายได้นับแสน เฟซบุ๊กเพจ “China Xinhua News” ได้โพสต์เรื่องราวชีวิตของหญิงสาวป่วยอัมพาต แต่ไม่ยอมแพ้โชคชะตา ขายผลไม้ออนไลน์หาเลี้ยงครอบครัวและสร้างรายได้ให้ชุมชนถึงปีละ 6 แสนหยวน หรือประมาณ 126,400 บาท โดยระบุว่า หลี่จวน คือหญิงจีนผู้เป็นอัมพาตและใช้ชีวิตอยู่บนเตียงมานานถึง 9 ปี อาศัยอยู่ในอำเภอตั้งซาน มณฑลอันฮุย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน แต่ถึงแม้จะไม่มีแขนขาที่ขยับได้ดังใจ เธอก็ยังใช้สมาร์ตโฟนและปากกา Stylus ที่ทำขึ้นเอง ขายลูกแพร์ผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยหารายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้มากถึงปีละ 600,000 หยวน (ประมาณ 126,400 บาท) “อีคอมเมิร์ซเปลี่ยนชีวิตฉัน มันไม่เพียงแต่ช่วยให้ฉันสามารถสร้างธุรกิจของตัวเองและสร้างแบรนด์ผลไม้ให้ครอบครัวได้ แต่ฉันยังใช้สิ่งนี้ช่วยขจัดความยากจนให้แก่บรรดาเกษตรกรในท้องถิ่นอีกด้วย” หลี่จวน กล่าว หลี่รู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในบุญคุณที่ครอบครัวของเธอช่วยดูแลและสนับสนุนเธออย่างดีมาตลอดเสมอ เธอคิดว่าครอบครัวคือแรงจูงใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ทำให้เธอมีชีวิตอยู่ต่อและสร้างความสำเร็จเช่นนี้