ปลูกเมล่อน
ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 34,022 ไร่ ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ ทำนา มีพื้นที่ปลูกอ้อย 2.8 หมื่นไร่ ปลูกข้าวเกือบหมื่นไร่ ที่นี่ขาดแคลนแหล่งน้ำชลประทาน ปลูกข้าวได้แค่ปีละครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้น้อยและฐานะยากจน หมดฤดูทำนา หนุ่มสาวมักอพยพไปรับจ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และชัยนาท เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ทิ้งเด็กเล็กคนแก่ไว้เฝ้าบ้าน ปลูกเมล่อน “แก้จน” ปี 2549 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงร่วมมือกับ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ดำเนิน “โครงการนำร่องภาคธุรกิจ ช่วยเหลือคนจน จังหวัดสุพรรณบุรี” โดยส่งเสริมชาวบ้านปลูกเมล่อนเป็นรายได้เสริมเลี้ยงดูครอบครัว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อำเภอหนองหญ้าไซ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อลงทุนให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ รายละ 450,000 บาท ป้าเกษร มหาพล คัดผลและแขวนลูกเมล่อน เจียไต๋สนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการปลูกเมล่อน และรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกรในราคาประกัน และส่งนักวิชาการเจียไต๋มาให้คำแนะนำการผลิตตั้งแต่เริ่มเพาะต้นกล้า การใส่ปุ๋ย การกำจัดแมลงศัตรูพืช แล
ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ได้มีเกษตรกรคนรุ่นใหม่ทำฟาร์มปลูกเมล่อนจนประสบผลสำเร็จ ยอดสั่งจองออนไลน์ช่วงเทศกาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้คือ คุณสุดาวัลย์ ทองเลิศล้ำ อายุ 36 ปี เจ้าของ “Porsche Melon Farm” ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก คุณสุดาวัลย์ เคยเป็นพนักงานประจำตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ดูแลลูกค้า แบงค์ชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก แต่อยากกลับบ้านมาใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ดูแลแม่และลูกสาว ที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ พร้อมต้องการเดินตามรอยวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 เธอตัดสินใจลาออกเมื่อกลางปี 2559 เธอเปลี่ยนทุ่งนามาสร้างโรงเรือนปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ด้วยงบประมาณที่ตนเองมีอยู่ 200,000 บาท และเรียนรู้เองจาก Google ศึกษาลองผิดลองถูก ประมาณครึ่งปี และถ้ามีใครถามว่า ตอนนี้ตนเองเดินมาได้ถึงจุดไหนแล้ว บอกได้เต็มปากเลย ว่าประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตเกษตรกรได้อย่างภาคภูมิใจ เพราะเรียนรู้เองไม่ได้มีใครสอน ใช้เวลาเพียงครึ่งปี ก็สามารถมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดได้ และเป็นที่น่าพอใจ ตั้งแต่ ปี 2560 เป็นต้นมา ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันปี
เกษตรกรสระบุรี แนะปลูกเมล่อนด้วยวิธีง่ายๆ ทำกินเองก็ได้ ที่เหลือขายสร้างเงิน คุณสำราญ หน่อนาคำ เป็นเกษตรกรอยู่ที่ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเขาได้เริ่มทำงานเกี่ยวกับด้านเกษตรเมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น ต่อมาจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรอย่างครบวงจร “พอมาเปิดร้านเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น เราก็เริ่มขยายพื้นที่บริเวณที่อยู่ใกล้ร้านเรา เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ความรู้ด้านเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ หรือแม้แต่เมล่อนที่คนมองว่าปลูกยาก เราก็มาแนะนำบอกสอนด้วยวิธีง่ายๆ สามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งเราจะเน้นให้ตรงคอนเซ็ปต์ที่ว่า การเกษตรไม่ได้กินเฉพาะทางปากเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสุขทั้งทางสายตาและสมองด้วย จึงทำให้จิตใจมีความสุข ซึ่งที่นี่ก็จะสอนความรู้แบบครบวงจร สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้” คุณสำราญ กล่าวถึงที่มา ซึ่งคุณสำราญ ได้แนะนำวิธีการปลูกเมล่อนแบบง่ายๆ ไว้กินเองที่บ้านว่า ขั้นตอนแรกหากระถางขนาด 12 นิ้วหรือภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใส่วัสดุปลูกจำพวกกาบมะพร้าวสับ ดินใบก้ามปู และแกลบหยาบ ผสมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1
“เมล่อน” ไม่ได้เป็นพืชพื้นถิ่นดั้งเดิมของประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้มีเกษตรกรหันมาประกอบอาชีพปลูกเมล่อนกันมาก มีทั้งเกษตรกรที่ผลิตแล้วประสบผลสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเหตุปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการปลูก การดูแลเอาใจใส่ ความเชื่อ ฯลฯ ซึ่งองค์ความรู้มีให้ศึกษาค้นคว้ามากมายตามสื่อประเภทต่างๆ ที่เมืองสอง หรืออำเภอสอง มีเกษตรกร 2 สามีภรรยา ก็ปลูกเมล่อน แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สามารถผลิตเมล่อนออกสู่ตลาดได้ทุกเดือน โดยการบริหารจัดการที่มีระบบ คุณพศวีร์ สุยะตา อายุ 40 ปี และ คุณหทัยชนก คงสวรรค์ 2 สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 1 บ้านลูนิเกต ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นผู้ปลูกเมล่อนระบบปิดในโรงเรือน ได้เล่าถึงเบื้องหลังก่อนจะมายืนอยู่ ณ จุดนี้ได้ว่า ช่วงก่อนปี 2560 คุณหทัยชนก ทำงานที่ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดแพร่ ส่วน คุณพศวีร์ พอมีเวลาก็ได้เข้าไปศึกษาเรื่องการปลูกเมล่อน ในยูทูบ (YouTube) เกิดแรงบันดาลใจที่สั่งสมให้หันมาสนใจเรื่องเมล่อน เพราะได้ข้อมูลว่า เมล่อน เป็นพืชเศรษฐกิจ มีราคาดี ตลาดยังรองรั
เมล่อน เป็นผลไม้ที่มีรสหวาน หอม อร่อย มีสรรพคุณช่วยเสริมสุขภาพ จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นไม้ผลที่มีการปลูกกันแพร่หลายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และที่เมืองชัยนาทมีเกษตรกรปลูกในเชิงการค้าด้วยระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) ทำให้ได้ผลเมล่อนคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภค เป็นหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้เงินแสนบาทให้เกษตรกรยังชีพได้มั่นคง คุณเกษม ไตรพิจารณ์ เกษตรจังหวัดชัยนาท เล่าให้ฟังว่า เมล่อนมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีวิตามินซีและเอ เบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส แคลเซียม และธาตุเหล็ก ที่เสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้บริโภคแข็งแรง และมีไขมัน คอเลสเตอรอล มีแคลอรีต่ำเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก คุณเกษม ไตรพิจารณ์ เกษตรจังหวัดชัยนาท ส่งเสริมปลูกเมล่อนเป็นพืชผสมผสาน เมล่อน เป็นพืชในวงศ์แตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Cucumis meio L” ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทวีปแอฟริกา มีชื่อเรียกทั่วไปว่า แตงหอม แตงหวาน แคนตาลูป หรือแตงเทศ เมล่อนที่ปลูกเพื่อการค้ามี 3 ชนิด ดังนี้ 1. Cantaloupensis หรือ Rock Melon ผิวเปลือกแข็ง ขรุขระ แต่ไม่ถึงกับเป็นร่างแห 2. Inodorous ผ
คุณประเสริฐ บางแดง เจ้าของสวนเมล่อน “น้ำเพชรฟาร์มเมล่อน” อยู่บ้านเลขที่ 3/3 หมู่ที่ 7 ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โทร. (089) 641-5176, (061) 469-8262 จากมนุษย์เงินเดือนหันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือน ปลูกแบบลงดิน สามารถสร้างรายได้จากเมล่อน 30,000-40,000 บาท ต่อรุ่น ทีเดียว คุณประเสริฐ บางแดง เล่าย้อนกลับไปว่า ก่อนหน้าที่จะมาปลูกเมล่อน ตนเองก็อาจจะเหมือนท่านอื่นๆ ที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานเป็นผู้จัดการปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งมานานพอสมควร ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเกษตรเลย หลังจากอิ่มตัวก็ออกจากงานแล้วไปเปิดเช่าแผงผลไม้ที่ตลาดไท เพราะมีน้องที่รู้จักกันชักชวน ก็เอาแคนตาลูปมาขายที่แผง ขายดีมาก แต่แคนตาลูปมักจะไม่พอขาย ขาดตลาดอยู่บ่อยๆ ตอนสินค้าขาดตลาดก็ต้องวิ่งซื้อหา ทำให้ราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ทำให้นำมาขายต่อได้ลำบาก ไม่เหมือนพ่อค้าแผงอื่นๆ ที่จะมีลูกไร่ปลูกส่งเข้ามาที่แผง มีการรับซื้อแคนตาลูปจากลูกไร่ในราคาที่แน่นอน ทำให้นำมาขายต่อที่แผงราคาค่อนข้างนิ่งกว่าเราที่ต้องวิ่งออกหาซื้อจากชาวสวน หรือช่วงที่แคนตาลูปจากลูกไร่ขาดช่วงก็หาของมาขายได้ยากมาก จึงมองเห็นว่าผลไม้อย่าง แคนตาลูป ยังมีความ
ที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ได้มีเกษตรกรคนรุ่นใหม่ทำฟาร์มปลูกเมล่อนจนประสบผลสำเร็จ โดยเกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้คือน.ส.สุดาวัลย์ ทองเลิศล้ำ อายุ 34 ปี เจ้าของ “Porsche Melon Farm” ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จากการสอบถามน.ส.สุดาวัลย์ทราบว่า ตนเคยเป็นพนักงานประจำตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ดูแลลูกค้า แบงค์ชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก แต่อยากกลับบ้านมาใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ดูแลแม่และลูกสาว ที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ พร้อมต้องการเดินตามรอยวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 จึงตัดสินใจลาออกเมื่อกลางปี 2559 มาเปลี่ยนทุ่งนาพื้นที่บ้าน ลงทุนสร้างโรงเรือนปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ด้วยงบประมาณที่ตนเองมีอยู่ 200,000 บาท และเรียนรู้เองจาก Google ศึกษาลองผิดลองถูก ประมาณครึ่งปี และถ้ามีใครถามว่า ตอนนี้ตนเองเดินมาได้ถึงจุดไหนแล้ว บอกได้เต็มปากเลย ว่าประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตเกษตรกรได้อย่างภาคภูมิใจ เพราะเรียนรู้เองไม่ได้มีใครสอน ใช้เวลาเพียงครึ่งปี ก็สามารถมีผลผลิต ออกสู่ท้องตลาดได้ และเป็นที่น่าพอใจ น.ส.สุดาวัลย์ กล่าวว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะรู้ว่าที่นี่ ปลูกเม
คุณอุเชนทร์ พุกอิ่ม บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 7 บ้านคลองเขาควาย ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (098) 803-0107 เจ้าของสวนเมล่อนในโรงเรือน “ไร่ถุงทองฟาร์ม” การให้ปุ๋ยเมล่อนในโรงเรือน ก็จะให้ปุ๋ยทางรากและทางใบ อย่างทางรากก็จะให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ ปุ๋ย A (จะมีธาตุอาหารหลัก N-P-K), ปุ๋ย B (จะมีธาตุอาหารรอง) ตามสูตรตามระยะการเจริญเติบโต ก็จะให้วันละประมาณ 5 ครั้ง เน้นการให้น้อยแต่บ่อยครั้ง โดยแบ่งเวลาให้ เริ่มให้ตั้งแต่ เวลา 07.00 น. 09.00 น.11.00 น. 13.00 น. และ 15.00 น. การให้ปุ๋ย A จะต้องละลายปุ๋ยในน้ำสะอาดเอาไว้ในถัง เช่นกัน ปุ๋ย B จะต้องละลายในน้ำสะอาดมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) เป็นกลางหรือกรดอ่อน คือ PH ประมาณ 6-7 อีก 1 ถัง ซึ่งตอนปล่อยเข้าระบบน้ำจะต้องให้ปุ๋ย A และปุ๋ย B จะส่งเข้าระบบน้ำพร้อมๆ กัน ในอัตราที่เราจะคำนวณเอาไว้ในแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโต วิธีใช้ ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B เบื้องต้น นำปุ๋ยมาละลายน้ำเพื่อเตรียมเป็นปุ๋ยสต๊อกก่อน 100 ลิตร จำนวน 2 ถัง ปุ๋ย A จำนวน 100 ลิตร และ ปุ๋ย B จำนวน 100 ลิตร แล้วนำแม่ปุ๋ยนั้นไปผสมน้ำเจือจาง ตามค่า EC ที่เหมาะกับพืช เช่น ผัก ค่าที่ 1
“เมล่อน” เป็นพืชตระกูลแตง จะมีโรคและแมลงศัตรูที่มากพอสมควร ดังนั้น จึงมีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงมากพอสมควร โดยเฉพาะปลูกแบบกลางแจ้งหรือสภาพไร่ ซึ่งเกษตรกรบางท่านจึงจำเป็นต้องมีการเช่าที่เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง ซึ่งการปลูกเมล่อนในโรงเรือนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยได้มากในเรื่องของการป้องกันแมลงศัตรูขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ทำให้การใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อยลงมากจนเกือบจะไม่ได้ใช้เลยทีเดียว อีกหนึ่งตัวอย่างสวนเมล่อนที่ปลูกเมล่อนในระบบโรงเรือน โดยประกอบเป็นอาชีพเสริมจากงานประจำ สร้างรายได้เป็นอย่างดีให้กับครอบครัว คุณอุเชนทร์ พุกอิ่ม หรือ คุณน้อย อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 7 บ้านคลองเขาควาย ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (098) 803-0107 เจ้าของสวนเมล่อนในโรงเรือน “ไร่ถุงทองฟาร์ม” คุณอุเชนทร์ เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นคนพิจิตร ไปทำงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเลนส์สายตา ที่จังหวัดชลบุรี นานกว่า 20 ปี ที่หันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือนเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากการทำงานก็เริ่มอิ่มตัว คิดว่าอนาคตอยากกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด ด้วยแนวคิดที่ว่าอยากสร้างพื้นฐานไว้ล
คุณสำราญ หน่อนาคำ เป็นเกษตรกรอยู่ที่ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเขาได้เริ่มทำงานเกี่ยวกับด้านเกษตรเมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น ต่อมาจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรอย่างครบวงจร “พอมาเปิดร้านเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น เราก็เริ่มขยายพื้นที่บริเวณที่อยู่ใกล้ร้านเรา เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ความรู้ด้านเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ หรือแม้แต่เมล่อนที่คนมองว่าปลูกยาก เราก็มาแนะนำบอกสอนด้วยวิธีง่ายๆ สามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งเราจะเน้นให้ตรงคอนเซ็ปต์ที่ว่า การเกษตรไม่ได้กินเฉพาะทางปากเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสุขทั้งทางสายตาและสมองด้วย จึงทำให้จิตใจมีความสุข ซึ่งที่นี่ก็จะสอนความรู้แบบครบวงจร สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้” คุณสำราญ กล่าวถึงที่มา คุณสำราญ หน่อนาคำ(คนที่ 2 จากขวา) ซึ่งคุณสำราญ ได้แนะนำวิธีการปลูกเมล่อนแบบง่ายๆ ไว้กินเองที่บ้านว่า ขั้นตอนแรกหากระถางขนาด 12 นิ้วหรือภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใส่วัสดุปลูกจำพวกกาบมะพร้าวสับ ดินใบก้ามปู และแกลบหยาบ ผสมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 จากนั้นนำปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงไปด้านบนก