ผักสลัด
สบายใจ ไม่รวย แต่พอกิน! คนรุ่นใหม่ทำเกษตร ปลูกผักสลัดบนดอย มีรายได้หลักหมื่น แถมได้ดูแลพ่อแม่ “ถามว่ามีความสุขไหม ทำเกษตรแรกๆ คือร้องไห้เลย มือแตก มือลอก รู้สึกว่า “กูปิ๊กมาอะหยังวะ” ท้อมาก แม่ก็ไล่กลับไปอยู่เวียง (เชียงใหม่) แต่เรารู้สึกว่าไม่สนุก เลยกลับมาสู้ต่อ เพราะทำเกษตรสบายใจกว่า ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองพอ ขยันมากก็ได้มาก และได้กลับมาอยู่กับพ่อแม่ด้วย” คำบอกเล่าจาก คุณกระแต-วนิดา สุขกำแหง สาววัย 27 ปี เธอเติบโตมาในครอบครัวชาวสวนลำไย จึงซึมซับวิถีเกษตรมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งเมื่อได้ลองทำงานประจำ แต่ไม่ตรงใจ การกลับมาทำเกษตร อาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ จึงเป็นความตั้งใจจริง นำมาสู่การสร้างรายได้ต่อเดือนที่มั่นคงจากผักสลัด ที่เริ่มจากปลูกเล็กๆ ในสวนลำไย สู่การเช่าพื้นที่บนดอยเพิ่มผลผลิต งานประจำไม่ใช่ทาง คุณกระแต เล่าให้ฟังว่า เธอไม่มีทุนเรียนต่อปริญญาตรี หลังจบ ปวส. ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ จึงหยุดเรียนเพื่อหาทุนศึกษาต่อ โดยเลือกทำงานประจำ เป็นบาริสต้า เปิดร้านกาแฟ และเป็นบาร์เทนเดอร์ ใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงินเดือนนาน 2 ปี
‘คณิณไฮโดรฟาร์ม’ ฟาร์มผักปลอดภัย ที่ปลูกด้วยหัวใจล้วนๆ โก โฮลเซลล์ มุ่งมั่นคัดสรรแหล่งผลิตวัตถุดิบคุณภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน ปัจจุบัน ผักสลัด กลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในทุกมื้ออาหาร ซึ่งไม่เพียงมีการนำไปใช้เพื่อการบริโภคในรูปแบบสลัด ผักสดแกล้มมื้ออาหาร แต่ร้านอาหาร เชฟยังนิยมใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตกแต่งจานให้ดูน่ารับประทาน เพิ่มมูลค่าให้อาหารจานนั้นๆ ด้วย ผักสลัด จึงเป็นที่ต้องการสูง และได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะ ผักที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์และปลอดสารจะได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคที่ต้องการความสด สะอาด และปลอดภัย จนทำให้เกิดการสรรหาแหล่งการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ “คณิณไฮโดรฟาร์ม” ผู้ผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ ผักปลอดสารพิษ มาตรฐาน มานานกว่า 20 ปี มีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ได้มาตรฐาน GAP ซึ่ง โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE) คัดเลือกมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ส่งผักสลัดคุณภาพดีจำหน่ายที่สาขา “คณิณ บุญรอด” เจ้าของ คณิณไฮโดรฟาร์ม กล่าวว่า “ฟาร์มของเราก่อตั้งมาแล้วกว่า 20 ปี เพราะมองเห็นเป็นโอกาสในการทำฟาร์มรูปแบบใหม่ เน้นปลูกผักปลอดภัย ปราศจากสารเคมี ไม่มีสารตกค้
ผักสลัดนี้มีความหมาย ที่ “โก โฮลเซลล์ สาขารังสิต” ผลผลิตสร้างโอกาส เพิ่มทักษะ ส่งเสริมผู้บกพร่องทางสติปัญญา ใครจะรู้ว่า ผักสลัด 1 ต้น จะมีความหมายกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสติปัญญา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี มากกว่า การเป็นผักคุณภาพดี ปลอดภัย รับประทานอร่อย เพราะนี่คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการปลูกผักที่ทำให้น้องๆ ได้ฝึกการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อลดภาระของครอบครัว “การปลูกผัก อาจจะดูง่ายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา เป็นเรื่องที่ยากมาก” นางสาววรรณนภา เปรมปรีดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี บอกเล่า “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะรับดูแลผู้บกพร่องทางสติปัญญา วัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่ 15-35 ปี ด้วยกระบวนการพยาบาลและโปรแกรมบางพูนโมเดล ที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ให้น้องๆ มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว” กิจกรรมปลูกผัก นับเป็น โมเดล ที่ศูนย์ฯ นำมาใช้ในการฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมและส่งต่อน้องๆ กลุ่มนี้เข้าระบบการทำงานตามมาตรา 33 หร
มีเงินหมื่น เลี้ยงครอบครัว! สวนผักหลังบ้าน อาชีพทำกิน ของอดีตช่างซ่อมคอมพ์ บริเวณบ้าน 1 หลัง เราแบ่งพื้นที่ทำอะไรกันบ้าง หากนึกไม่ออก ลองดู สวนผักหลังบ้าน ของ คุณปรเมนทร์ ประมะโข หรือ ต้น อายุ 26 ปี อดีตช่างซ่อมคอมพ์ ที่หันหน้ากลับบ้านเกิดจังหวัดร้อยเอ็ด มายึดอาชีพเกษตรกรปลูกผักสลัด และขายเมล็ดพันธุ์ เลี้ยงครอบครัว 2 ปีเต็ม คุณต้น เล่าให้ฟัง เคยทำงานประจำเป็นช่างซ่อมคอมพ์อยู่จังหวัดมหาสารคามนาน 2 ปี จากนั้นเดินทางกลับบ้านเกิดจังหวัดร้อยเอ็ด มายึดอาชีพค้าขาย เพาะเห็ดฟาง หรือทำทุกอย่างที่ได้เงิน ก่อนต่อยอดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแล จึงผันตัวมาปลูกผักสลัดแทน โดยใช้พื้นที่หน้าบ้าน 2 งาน หลังบ้าน 2 งาน เป็นแปลงปลูก ปลูกผักสลัดหลากหลายสายพันธุ์ เช่น กรีนโอ๊ก เรดโอ๊ก ผักสลัดแก้ว คอส บัตเตอร์เฮดก็มี และผักกาดหอมอิตาลี “ตอนแรกไม่ได้ชอบปลูกผักครับ คนที่บ้านเขาปลูกกันแต่ไม่มีใครทำเป็นชิ้นเป็นอัน ผมเห็นพื้นที่หน้าบ้านหลังบ้านว่าง จะทำเป็นสวนหย่อมไปทำไม เรากินผักไม่ได้กินหญ้า เลยปลูกผักประดับซะเลย” คุณต้น เล่าถึงไอเดีย ขั้นตอนการปลูกผักสลัดของคุณต้น เริ่มด้วยการเพาะเมล็ดใน
ลาออกงานวิศวะ ปลูกผักสลัด ส่งแบรนด์ดังขายในเซเว่นฯ รายรับเดือนละแสน “ไร่พอฝัน” ถือเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกผักสลัดออร์แกนิกเพื่อส่งให้กับ Oh! Veggies ผลิตภัณฑ์ผักสลัดออร์แกนิกและผลไม้พร้อมรับประทาน ที่วางจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น มายาวนานถึง 10 ปี โดย คุณณัฐพงศ์ จงสกุล วัย 45 ปี เจ้าของฟาร์มผักสลัด ไร่พอฝัน เล่าย้อนความให้ฟังว่า เมื่อ 10 ปีก่อนตนเป็นเพียงมนุษย์เงินเดือนธรรมดาคนหนึ่ง ทำงานประจำด้านวิศวะ แต่ด้วยแนวคิดอยากใช้ชีวิตเป็นของตนเอง จึงตัดสินใจลาออกเพื่อมาทำฟาร์มผักสลัดร่วมกับน้องชาย ในช่วงแรกๆ คุณณัฐพงศ์พบอุปสรรคหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านปริมาณผลผลิต และคุณภาพสินค้า เนื่องจากไม่มีความรู้ที่แท้จริงในการทำเกษตร แต่โชคดีได้มีโอกาสร่วมทำธุรกิจ กับ คุณวุฒิชัย เจริญศุภกุล เจ้าของแบรนด์ Oh! Veggies ตลอดจนทีมของเซเว่น อีเลฟเว่น ที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและปรับแก้ปัญหาต่างๆ จนกระทั่งสามารถพัฒนาและปรับปรุงสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล “เราประสบปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แมลงศัตรูพืช วัชพืช ตลอดจนการควบคุมคุณภาพซึ่งทำได้ลำบาก จึงค้นหาวิธีการปลูกที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งการปลูกแบบ
ทำเกษตร บนที่ดิน 7 ไร่ ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด-ไก่-ปลา แบ่งกิน แบ่งขายได้ 2 ทาง จากแปลงผักบนดาดฟ้าอพาร์ตเมนต์ ย่านสาทร สู่ฟาร์มเกษตร บนพื้นที่ 7 ไร่ ใน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นโดย คุณวี-วีรวรรณ กตัญญูวิวัฒน์ วัย 40 ปี เจ้าของอพาร์ตเมนต์ เจ้าของธุรกิจนำเข้าวัสดุก่อสร้าง และเกษตรกรรุ่นใหม่ จุดเริ่มต้น เป็นเกษตรกรหน้าใหม่ ย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อน คุณวี เริ่มสนใจปลูกผัก เพราะมีคุณอาเป็นต้นแบบ โดยชอบปลูกผักสวนครัวใส่ถังสี หรือกระบะเล็กๆ ไว้ริมระเบียง เมื่อคุณอาเสียชีวิต เธอจึงเข้ามารับช่วงต่อ ขยับขยายแปลงผัก จากระเบียงขึ้นไปบนดาดฟ้า ใช้นั่งร้านต่อเป็นกระบะผัก ทำระบบน้ำอัตโนมัติ และเปลี่ยนจากผักสวนครัว มาปลูกผักสลัด แบบออร์แกนิก ในชื่อ “Baanrim Rooftop Farm (บ้านริม รูฟท็อป ฟาร์ม)” บ้านริม รูฟท็อป ฟาร์ม ปลูกผักสลัด 7 ชนิด คือ กรีนโอ๊ก เรดโอ๊ก เรดคอรัล คอส บัตเตอร์เฮด ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก ผักสลัดแก้ว และหมุนเวียนปลูกผักชนิดอื่น ส่งขายตามร้านอาหาร 50% และขายปลีกให้ลูกค้าทั่วไป ที่ชื่นชอบการกินผักสลัด อีก 50% แม้ผลตอบรับจะดีมาก แต่คุณวี แอบพบปัญหา ผลผลิตทางการเกษตรสวิง บางช่วงผ
ผักไฮโดรโปนิกส์ จ๊อบเสริมรายได้ดี ของหนุ่มออฟฟิศ ต่อยอดเป็นตัวแทน ขายอุปกรณ์การเกษตรครบวงจร การมีอาชีพที่ 2 3 4 5 กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้คนในปัจจุบัน อาจเพราะมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น หรือจะเรื่องสภาพเศรษฐกิจที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ซึ่ง คุณบอล-ชรัช ทองหยาด มนุษย์ออฟฟิศวัย 34 ปี ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยเขาให้สัมภาษณ์กับ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ว่า ตนทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมาได้ 11 ปีแล้ว ซึ่งในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี คนจึงรัดเข็มขัดกันมากขึ้น ไม่ว่าจะปลูกผักกินเอง ทำอาหารทานเอง รวมถึงหางานเสริมที่ 2 ที่ 3 ทำกัน “ด้วยความที่ผมเป็นลูกชาวไร่ชาวสวน ก็มีความรู้เรื่องการทำการเกษตรอยู่พอสมควร มันก็มีอยู่ช่วงหนึ่งคนนิยมปลูกผักกัน แล้วผมเห็นว่า ผักไฮโดรโปนิกส์ มันน่าสนใจนะ ไม่ต้องปลูกด้วยดินก็ได้ ก็เลยเกิดความสนใจ ไปหาศึกษาแล้วก็มาลองปลูก กะเอาไว้ทานเอง แต่มันกลายเป็นว่า ทำไปทำมา เราเห็นช่องทางการตลาด แล้วเทรนด์สุขภาพมันกำลังมา ผักเราที่ปลูกไว้มันก็น่าจะเอามาขายได้ สีสวย ไม่มีสารเคมี ก็เลยลองขาย ตอนนี้ก็ทำมาได้ 1 ปีแล้วครับ” คุณบอล เล่า โดยผักที่คุณบ
เริ่มปลูกจากถังสี สู่แปลงผักบนดาดฟ้า ก่อนขยายต่อเป็นธุรกิจเสริมยุคโควิด ของเจ้าของอพาร์ตเมนต์บนทำเลทอง ใครจะเชื่อว่าบนที่ดินทำเลทองย่านสาทร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารสูงเฉียดฟ้า ตึกรามบ้านช่อง รวมทั้งอพาร์ตเมนต์ ยังมีพื้นที่สีเขียวที่ไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นแปลงผักสลัดออร์แกนิกบนดาดฟ้า ชื่อว่า “Baanrim Rooftop Farm (บ้านริมรูฟท็อปฟาร์ม)” ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปลูกโดย คุณวี-วีรวรรณ กตัญญูวิวัฒน์ เจ้าของอพาร์ตเมนต์วัย 39 ปี ในอีกมุมหนึ่งเธอคือเจ้าของธุรกิจนำเข้าวัสดุก่อสร้าง และได้พี่ รปภ. กับเจ้าหน้าที่ธุรการซึ่งเก่งเรื่องเกษตรมากๆ มาช่วยดูแล ซึ่งจุดเริ่มต้นของแปลงผักบนดาดฟ้าแห่งนี้มาจากคุณอา ที่ชื่นชอบการปลูกผัก “เมื่อก่อนคุณอาปลูกผักสวนครัวไว้ที่ระเบียงของอพาร์ตเมนต์ใช้แค่ถังสี และกระบะเล็กๆ แต่ภายหลังคุณอาเสียชีวิต วีจึงเข้ามารับช่วงต่อ คุณพ่อของวีซึ่งทำธุรกิจก่อสร้างมาเห็นแปลงผักเลยเข้ามาช่วยขยายพื้นที่ไปบนดาดฟ้า เอานั่งร้านมาต่อเป็นกระบะผัก ทำระบบน้ำอัตโนมัติ และเปลี่ยนจากปลูกผักสวนครัวมาปลูกผักสลัดแทน เพราะรู้สึกว่าถ้าปลูกแล้วได้ทานสดๆ รสช
หลังคว้าใบปริญญาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากรั้ว ม.ธรรมศาสตร์ “สกาวเดือน วิภากรวิทย์” หรือดาว หญิงสาวผู้ใฝ่รู้ ได้บินลัดฟ้าไปศึกษาต่อ ป.โท ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประเทศออสเตรเลีย เรียนไปด้วย เปิดร้านอาหารไทยไปด้วยนาน 10 ปี รายได้ต่อเดือนเป็นล้าน แต่สุดท้ายทนความคิดถึงบุพการี คิดถึงภูมิลำเนาไม่ไหว เลือกที่จะกลับมาอยู่กับครอบครัว แล้วยึดอาชีพใหม่ นั่นคือ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมกับเปิดร้านอาหาร รายได้ต่อเดือนเฉียด 2 แสน คุณดาว เล่าว่า หลังจบ ป. ตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากรั้ว ม.ธรรมศาสตร์ ไปต่อ ป.โท ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างนั้นทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เปิดร้านอาหารไทย รายได้ดี ยังไม่หักรายจ่ายเฉลี่ยเดือนละล้านบาท แต่ทว่ากลับบ้านมาเยี่ยมครอบครัวเพียงปีละหน ที่สำคัญอยากกลับบ้านมาดูแลพ่อแม่ ในที่สุดเลือกที่จะกลับบ้านเกิดที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ราวปี 58 อย่างไรก็ตาม แม้จะทำงานอยู่ต่างประเทศรายได้ดี แต่ด้วยความคิดถึงครอบครัว หญิงสาวนักเรียนนอก เลือกที่จะกลับบ้าน ในช่วงแรกเธอไปเรียนด้านอาชีพหลายอย่าง แต่สุดท้ายค้นพบว่าตัวเองชอบปลูกผัก เล
พื้นที่ดอยภูทับเบิก เดิมเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นบรรพบุรุษ ทำกันมาหลายชั่วอายุคน ก่อนที่จะได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่บนดอยภูทับเบิกแห่งนี้ กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกผักเมืองหนาวแทน อย่างการปลูกกะหล่ำปลี เป็นต้น ซึ่งปลูกมากบนพื้นที่ดอยของภูทับเบิก ด้วยสภาพอากาศที่เหมาะสม โดยผู้ปลูกส่วนใหญ่เป็นชาวม้ง คุณอาเซ็ง แซ่ลี วัย 62 ปี ผู้อาวุโสชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ในหมู่บ้านภูทับเบิก ม.14 เล่าว่า “ตั้งแต่จำความได้ ก็เห็นพ่อแม่ปลูกฝิ่นกันมาตั้งแต่ยังเล็ก แต่การปลูกฝิ่นไม่ได้ช่วยให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข หรือหายจากความยากจนที่มีอยู่ได้เลย เพราะพอฝิ่นขายไม่ได้ ชาวบ้านก็เอามาสูบ สูบเสร็จก็ไม่สามารถทำงานอะไรได้อีก เป็นวังวนซ้ำไปซ้ำมา ไม่จบสิ้น แต่พอพื้นที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ส่งเสริมให้ชาวม้งหันมาปลูกผักอย่างกะหล่ำปลีที่ชอบอากาศเย็นบนดอยนั้น ชาวบ้านที่นี่ก็ปลูก แต่สิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนของตนคือ การใช้สารเคมี ชาวม้งที่นี่ปลูกกะหล่ำปลีกันแต่ก็ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นอย่างมาก เป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย โดยคุณอาเซ็ง เล่าว่า “ญาติที่สนิทกัน ป่วยเป็นหลายโรคมาก ทั้งเป็นม