พายุ
กรมอุตุ เตือนพายุฝนทิ้งทวน! พรุ่งนี้ถล่มหนักทั่วไทย-กทม.ก็โดน วันหยุดเตรียมหนาวแน่ กรมอุตุ ประกาศ พายุโทราจี (Toraji) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561) ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (20 พ.ย. 61) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน “โทราจี” (Toraji) ปกคลุมบริเวณตอนกลางของภาคใต้ คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ย. 61) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 20 พ.ย. 61 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล วันที่ 21 พ.ย. 61 จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื
กรมอุตุฯ ประกาศเตือนพายุโทราจี ฝนถล่ม 41 จังหวัด กทม.ก็โดนด้วย กรมอุตุฯ / กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ พายุโทราจี (Toraji) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 ระบุว่า เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (18 พ.ย. 61) พายุโซนร้อน “โทราจี”(Toraji) โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกของนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ประมาณ 383 กิโลเมตร หรือที่ ละติจูด 11.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.1 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อยอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเวียดนามหรือบริเวณปลายแหลมญวน สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศเวียดนามตอนใต้ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย ในช่วงวันที่ 18-19 พ.ย. 61 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทย ผ่านภาคใต้ตอนกลางลงสู่ทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย. 61 ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปถึงจังหวัดนราธิวาสมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกส
ตกเมื่อไหร่ก็ท่วม! ยังคงมี น้ำท่วม ให้เห็นอยู่ในหลายพื้นที่เมืองพัทยา หลังจากที่ฝนตกหนักตลอดทั้งวัน ปริมาณน้ำสูงถึง 50 ซม. รถต้องวิ่งเลนขวาเกือบหมด น้ำท่วม – เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่เมืองพัทยา อ.บางละมุง มีฝนฟ้าคะนองอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำเอ่อท่วมถนนสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร บริเวณถนนหลายสายทั่วเมืองพัทยา อาทิ ถนนเลียบชายหาด ถนนพัทยาสาย 3 ถนนเลียบทางรถไฟ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ออกมาปิดกั้นเส้นทาง พร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ผู้สื่อข่าวรายงานบริเวณถนนสุขุมวิทพัทยาเหนือ-วัดหนองใหญ่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดที่จะเกิดน้ำท่วมสูงทุกครั้งที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง พบว่า มีปริมาณน้ำท่วมสูงกว่า 50 ซม. การจราจรติดขัด สามารถสัญจรได้เพียงช่องขวาสุด มีรถยนต์เครื่องยนต์ดับกลางน้ำ ได้รับความเสียหายหลายคัน อย่างไรก็ดี ภายหลังช่วงเย็นที่ฝนเริ่มซา และหยุดประมาณ 1 ชม. ระดับน้ำได้ลดลงจนเข้าสู่สภาวะปกติ
ฝนซัดกรุงวันนี้ร้อยละ 60 กรมอุตุฯ เตือนฝนถล่ม 34 จังหวัด ภาคกลาง-ตะวันออก ฝนตกหนักร้อยละ 60 ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง หลีกเลี่ยงการอยู่ที่โล่งแจ้ง และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง เผยไต้ฝุ่น กองเร็ย เข้าใกล้เกาะไต้หวัน ประเทศจีน แนะเช็กสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย เมื่อวันที่ 2 ต.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนัก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 3-7 ตุลาคม 2561 ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนอีกระรอกหนึ่งจะแผ่เสริมเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง และอุณภูมิลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม
ฤทธิ์พายุไต้ฝุ่น มังคุด เตือนฝนถล่ม 31 จังหวัด เหนือ-อีสานอ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก กระหน่ำกรุงร้อยละ 70 กรมอุตุฯ แนะผู้เดินทางไป 3 ประเทศ เช็กสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย มังคุด / เมื่อวันที่ 14 ก.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2561 อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น มังคุด ( MANGKHUT) บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ และจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 14-15 กันยายน 2561 หลังจากนั้น ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 16-18 กั
เตือนมรสุมลูกใหม่! ถล่มเกือบทั้งปท. รอบนี้โดนหนักยาวๆถึง 10 ก.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2561) ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 07 กันยายน 2561 ในช่วงวันที่ 7-10 กันยายน 2561 บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะแรก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ร่อง มรสุม เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย สำหรับพื้นที่ที่คาดว่ามีผลกระทบตามภาคต่าง ๆ มีดังนี้ วันที่ 7 กันยายน 2561 ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก แล
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศว่า ระหว่างวันที่ 22 – 28 ส.ค.61 บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ข้อควรระวังในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค.61 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 23-28 ส.ค.61 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง อนึ่ง สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเ
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 18 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 21 ลงวันที่ 18 เมษายน 2561 ระบุว่า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนลดลง และอุณหภูมิจะสูงขึ้น แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน และแพร่ ภาคกลาง : จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนลดลง และอุณหภูมิจะสูงขึ้น ส่วนสภาพอากาศในอีก 7 วันข้างหน้า กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ส่วนในช่วงวันที่ 18-23 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนถึงร้อนจ
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 17-18 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 17 เมษายน 2561 ระบุว่า บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบดังนี้ ในวันที่ 17 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี ร
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 5-7 เมษายน 2561) ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 02 เมษายน 2561 ระบุว่า ในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน 2561 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในวันที่ 7 เมษายน 2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีฝนลดลง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลยังคงมีฟ้าคะนองได้ต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า ที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกร ควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ ในวันที่ 5-6 เมษายน 2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ม