พืชเศรษฐกิจ
จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 3,537,833 ไร่ เหมาะแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนา นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอย่างที่ทุกคนทราบกันดีกว่าเป็นแหล่งที่ปลูกหอมแดงกับกระเทียมมากที่สุดในประเทศ ไม่เพียงแต่พืชไร่ จังหวัดศรีสะเกษยังมีแหล่งปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลไม้ที่กำลังเป็นที่นิยมในภูมิภาคนี้ก็ว่าได้ จึงนับว่าเป็นอาชีพสร้างเงินให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ลุงฟอง วรรณสิทธิ์ อยู่บ้านเลขที่ 173 หมู่ที่ 10 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้ปลูกทุเรียนประสบผลสำเร็จ เรียกง่ายๆ ว่า ผลผลิตมีไม่พอจำหน่ายกันเลยทีเดียว จึงนับว่าเป็นงานสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี ลุงฟอง วรรณสิทธิ์ พลิกที่ดินจากพืชล้มลุก ทำสวนทุเรียนสร้างเงิน ลุงฟอง ชายวัยเกษียณผู้มีอัธยาศัยยิ้มน้อยแต่ใจดี เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาทำสวนทุเรียนอย่างเช่นทุกวันนี้ พื้นที่บริเวณได้ใช้ปลูกพืชล้มลุกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด และจำพวกพ
แม้จะเป็นคนชอบกินผักและเดินสายไปทำข่าวตามจังหวัดต่างๆ มาหลายปี แต่เพิ่งได้ยินชื่อ “ต้นขาไก่” เมื่อไม่นานมานี้ จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวสด ซึ่งทาง คุณประสิทธิ์ ทองขาว เกษตรอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง กำลังสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าส่งเสริม แทนที่จะปลูกกันไว้บริโภคเองภายในครัวเรือนเท่านั้น ราคาดีกว่าผักเหมียง ด้วยความที่ว่า “ขาไก่” เป็นผักที่มีรสชาติอร่อยและปลูกไม่ยาก ที่สำคัญได้ราคาดี ตกกิโลกรัมละ 100 บาท เทียบกันแล้วได้ราคาดีกว่าผักเหมียง ที่มีราคาแค่กิโลกรัมละ 50-60 บาท ฟังแค่นี้น่าจะเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้เกษตรกรและคนทั่วไปสนใจอยากจะปลูกต้นขาไก่ เพราะเห็นหนทางชัดเจนว่ามีโอกาสทำเงินได้ก้อนโตหากมีตลาดรองรับ เพียงแต่ว่าตอนนี้ผู้บริโภคยังไม่รู้จักในวงกว้างเท่านั้น ในขณะที่ต้นขาไก่เองมีคุณสมบัติเด่นหลายประการ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงมีผู้คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะคนในภูมิภาคอื่นที่ไม่รู้จักต้นขาไก่ที่ว่านี้ เพราะเป็นพืชพื้นถิ่นของทางภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรจะปลูกแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้ทั่วไป ถือว่าเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็
หนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่กำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกรในจังหวัดพิจิตรเป็นอย่างยิ่ง คือ “เมล่อน” ผลไม้รสชาติดี มีอนาคต ด้วยความนิยมจากท้องตลาด ทั้งยังใช้น้ำและพื้นที่น้อย ทว่าสร้างผลผลิตที่โกยรายได้มากกว่าการทำนาหลายเท่าตัว สมพร เจียรประวัติ เกษตรจังหวัดพิจิตร อธิบายว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในปีนี้เกษตรกรต้องยอมรับว่าผลผลิตราคาข้าวนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ทางกรมส่งเสริมการเกษตรจึงมีนโยบายในเรื่องการลดพื้นที่การทำนา และลดรอบของการทำนาปรังลง ฉะนั้นเมื่อมีการขับเคลื่อนนโยบายในลักษณะนี้จึงต้องมีการทดแทนให้กับเกษตรกร โดยการหาพืชที่เหมาะสมที่จะทดแทนการปลูกข้าวเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เท่ากับหรือมากกว่าการทำนา จึงได้เลือกการปลูกพืชประเภทแตง คือ เมล่อน ซึ่งเป็นพืชที่มีการใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าว ประมาณ 3-4 เท่าตัว โดยมีระบบการจัดการที่ละเอียดอ่อน ตัวอย่าง เช่น การปลูกโดยมีพลาสติกคลุมดิน มีระยะการปลูกที่ชัดเจน และปลูกในโรงเรือน “ตอนนี้เกษตรกรในจังหวัดพิจิตร เริ่มหันมาปลูกเมล่อนกันมากขึ้น ราคาจากมือเกษตรกร กิโลกรัมละ 60-70 บาท เมล่อน 1 ผล หนักราว 1 กิโล
หลังเผชิญภัยแล้งที่ค่อนข้างสาหัสมาไม่ต่ำกว่า 2 ปี และในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาฝนเริ่มกลับมาอีกครั้ง เกษตรกรไทยเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรประเทศ ที่ฝากความหวังจากการปลูกพืชเศรษฐกิจขายมาแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งขึ้นสูง เริ่มเผชิญลางร้ายที่มาเยือนไม่ต่างจากภัยแล้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังพืชเศรษฐกิจหลักราคาทรุดหนัก เกษตรกรได้ร้องเรียนภาครัฐมานานหลายเดือนแล้ว แต่การแก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องเกษตรกรของหน่วยงานรัฐกลับล่าช้าและไม่ตรงจุดที่ควรจะต้องรีบแก้ไข ขณะที่นายอภิศักดิ์ตันติวรวงศ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเริ่มวิตกเมื่อพบสัญญาเศรษฐกิจในเดือนกันยายนนี้เริ่มอ่อนตัว อาทิ ยอดขายปูนซีเมนต์ ยอดขายรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งลดลง ทำให้เห็นว่าการบริโภคเริ่มลดลง จะต้องมีมาตรการออกมาเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้รัฐมีมาตรการไปยังภาคเกษตรมากพอสมควร รวมทั้งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีนัดถกรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เร่งปั๊มกำลังซื้อในประเทศ หลังจากการส่งออกสินค้าทำได้แค่ประคองตัว โดยเตรียมหามาตรการดันราคาสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อให้กับเกษตรกร ที่ผ่านมา การแก้ปัญหาสินค้าเกษตรหลักข
คําพังเพย คือ ถ้อยคำอุปมาที่กล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราว หรือความเป็นไปในชีวิตของคน รุ่นก่อน เก่าแก่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และจำเป็นอย่างยิ่ง มีโอกาสรับรู้ เข้าใจได้ก็อาจจะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตเรา ย่อมมี “คุณค่า” ยิ่งสำหรับเราๆ โดยเฉพาะในโอกาสคุยสนทนา เกี่ยวกับความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งเกิดในชั้นเรียน วงการสนทนา วงการปราศรัย วงการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ บางคนบางท่านชอบพูด ชอบแสดงออก ชอบพูดแสดงความรู้ ในลักษณะที่โอ้อวด อวดรู้ กับ “ผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า” เช่น “เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน” หรืออีกคำหนึ่งที่เราคงจะได้ฟังกันบ่อยๆ “กบในกะลาครอบ” เป็นการว่ากระทบกระเทียบอุปมาว่า “มีความรู้น้อยหรือประสบการณ์น้อย มักนึกว่าตัวเองรู้มาก” คำพังเพยสองคำที่กล่าวนั้น มีชื่อผลไม้ที่เป็นตัวร่วมคือ “มะพร้าว” กับ “กะลา” ซึ่งบ่งบอกเกี่ยวกับความรู้ประสบการณ์ เปรียบได้ไม่ผิดเพี้ยนกับ “โง่อวดฉลาด” พอพูด “มะพร้าว” ตามที่ปรากฏอยู่ในคำพังเพยถูกนำมาใช้กับภาษาศิลป์ เป็นคำพังเพย ผู้เขียนพยายามเชื่อมโยงคิดว่าน่าจะมี “คุณค่ามาก” ที่สุด และมีค่าแก่การศึกษาเรียนรู้ต่อไปว่า คุณค่าของมะพร้าว ผลเขียว
นายจิระวัฒน์ ภักดี ประธานกลุ่มพืชผักปลอดสารพิษ หมู่ 6 ต.ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลาเปิดเผยว่าตนได้รวบรวมสมาชิกซึ่งเป็นเกษตรกรชาวนาข้าว และเกษตรกรชาวนากุ้ง 35 คน เข้าโครงการปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษเพื่อการส่งออก โดยมีการทำสัญญารองรับกับทางบริษัท แพน แปซิฟิค ฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะลงมือปลูก โดยมีออเดอร์รับซื้อกล้วยหอมทอง สัปดาห์ละ 100 ตัน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความมั่นใจ เนื่องจากมีตลาดรองรับผลผลิตกล้วยเกรด A ทั้งหมด บริษัทที่รับซื้อกล้วยหอมทองพอใจ รับไม่อั้น เกษตรกรชาวสวนเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นสัปดาห์ละ 1ครั้ง นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจ.สงขลาเปิดเผยว่าโครงการปลูกกล้วยหอมทอง ม.1 ต.ปากแตระ อ.ระโนด จังหวัดสนับสนุนหน่อพันธ์กล้วยหอมทองแก่ เกษตรกร 35 ราย รายละ 2 ไร่ ไร่ละ 400 หน่อ 14,000 หน่อ เป็นเงิน 238,000 บาท เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกล้วยหอมทอง เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลสวย รสชาติดี และตลาดในประเทศญี่ปุ่น มีความต้องการสูง เป็นการส่งเสริมอาชีพ “กล้วยหอมทองกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการส่งออก หลายประเทศมีความต้องการบริโภคสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้าในหลายจังหวัด รวมถึงที่จังหวัดอุดรธานี โดยการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการค้าของจังหวัดอุดรธานี เกิดขึ้นในปี 2537 โดยมี คุณทองคูณ โพธิ์พรม เกษตรกร บ้านโพธิ์ ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม เป็นเกษตรกรผู้เริ่มต้นและจุดประกายการปลูกกล้วยหอมทอง เริ่มขายจากตลาดท้องถิ่น เดิมนั้น คุณทองคูณทำงานอยู่ในโรงงานไม้อัดที่จังหวัดนนทบุรี แต่เนื่องด้วยมีรายได้ไม่เพียงพอการค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด มาประกอบอาชีพการเกษตร และได้นำพันธุ์กล้วยหอมทองจากจังหวัดนนทบุรีมาปลูก ด้านการตลาด เริ่มต้นด้วยการปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และนำไปให้เพื่อนที่อยู่บ้านปากสวย ตำบลปากสวย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ช่วยจำหน่ายในร้านค้าริมข้างทาง บนถนนสายหนองคาย-โพนพิสัย เนื่องจากมีรถสัญจรมากพอสมควร ต่อมามีการพัฒนาจนกลายเป็นตลาดกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2540 คุณทองคูณ ได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทองอำเภอสร้างค
นางฐาปชา ฐาวโรจน์ เกษตรอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ประกอบด้วยอำเภอสทิงพระ ระโนด กระแสสินธุ์ และสิงหนคร มีต้นตาลโตนด หรือที่เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า ต้นโหนด ขึ้นอยู่ประมาณ 400,000 ต้น โดยจะให้ผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยขณะนี้ราคาที่จำหน่ายในส่วนของน้ำผึ้งโหนด ปี๊บละ 1,300-1,400 บาท ส่วนลูกโหนดสด ราคา 10-18 บาท ต่อกิโลกรัม สำหรับลูกโหนด จะมีพ่อค้าคนกลางมาซื้อ นำไปจำหน่ายต่อ รวมถึงการส่งเข้าสู่โรงงานบรรจุกระป๋อง และส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ด้าน คุณมงคล หาญณรงค์ เกษตรกรเจ้าของสวนโหนด อยู่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 1บ้านปากช่อง ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร กล่าวว่า ตอนนี้น้ำผึ้งโหนดกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยพ่อค้าได้ซื้อไปเก็บไว้เพื่อนำออกมาจำหน่ายในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำผึ้งโหนดออกสู่ตลาดน้อยทำให้มีราคาสูง โดยในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีราคาสูงถึงปี๊บละ 1,400 บาท “ที่สำคัญขณะนี้ได้มีการนำน้ำผึ้งโหนดไปผลิตเป็นสุราพื้นเมือง กลุ่มโรงงานผู้ผลิตสุราพื้นเมืองมีคว