มิจฉาชีพ
P2P : โอกาสของอนาคตการเงิน หรือกับดักที่แฝงมากับตลาดคริปโทฯ? โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ BINANCE TH Academy บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ในช่วงที่ตลาดคริปโทฯ กำลังเฟื่องฟู การซื้อขายแบบ P2P (Peer-to-Peer) กลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐประกาศมาตรการควบคุมที่มีผลบังคับในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ทว่าการควบคุม P2P ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย หลายประเทศในเอเชียเองก็มีแนวทางการจัดการที่แตกต่างกัน อย่างญี่ปุ่นเลือกที่จะห้าม P2P โดยสิ้นเชิง และเน้นการซื้อขายผ่าน Exchange ที่ได้รับอนุญาต ขณะที่สิงคโปร์อนุญาตแต่มีการควบคุมที่เข้มงวด ส่วนเกาหลีใต้ก็กำหนดว่าการเทรดประเภทนี้ต้องผ่านระบบธนาคารที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ความเข้าใจกลไกและบทบาท P2P ในตลาดคริปโทฯ P2P เป็นการทำธุรกรรมการเงินโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่อาศัย “ความเชื่อใจกัน” มีความคล้ายคลึงกับ ‘การซื้อขายสินค้าโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย’ โดยเริ่มจากการตกลงราคา และเลือกวิธีการชำระเงินโดยมีการจ่ายเป็นสกุลเงินบนใช้คริปโทฯ ต่อมา P2P ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรร
มิจฉาชีพหลอกจนติดอันดับโลก สร้างความเสียหายหลักหมื่นล้าน โดนมิจฉาชีพหลอก เป็นหัวข้อข่าวที่เราเห็นอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ว่าจะมีบทเรียนให้เห็นสักกี่ครั้ง ก็ยังคงมีการหลอกแบบเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา ให้เป็นที่พูดถึงอยู่ดี โดยมีการเปิดเผยจาก สสส. และ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ พบว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา คนไทยกว่า 36 ล้านคนถูกหลอก สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าเกือบ 50,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งข้อมูลตรงนี้เป็นแค่การหลอกทางช่องทางออนไลน์ช่องทางเดียวเท่านั้น ยังไม่รวมช่องทางอื่นๆ ที่มีผู้เสียหายอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้รายงานของ The Global State of Scams ประจำปี 2023 มีการระบุว่า คนไทยถูกหลอกจนสูญเสียทรัพย์สินมากเป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นรองแค่เวียดนามเพียงแค่ประเทศเดียวในเอเชีย นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุอีกว่า ผู้เสียหายแทบไม่มีโอกาสได้รับการชดเชยอีกด้วย การโดนหลอกได้กลายเป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง เพราะมีผู้กำกับชาวจีนหยิบยกประเด็นนี้มานำเสนอในรูปแบบภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า No More Bets พร้อมอ้างว่าได้แรงบันดาลมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จนนักท่องเที่ยวชาวจีนเกิดความขยาดไม่กล้าเดินทางมาในประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใ
มิจฉาชีพ ไม่แผ่ว ลามร้านสะดวกซื้อ หลอก SMEs อยากมีที่ขายสินค้า ที่ผ่านมา แม้จะมีการออกมาเตือนภัยจาก “มิจฉาชีพ” ทุกรูปแบบ อยู่เป็นระยะ แต่การ “อาละวาดอย่างหนัก” ของสารพัดแก๊ง ยังสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง เรียกว่า ลามไปทุกวงการ กระทั่งชาว SMEs ก็ไม่รอด ล่าสุด ปรากฏมีเพจปลอม จำนวนมาก ตั้งชื่อให้คล้ายกับบริษัทยักษ์ใหญ่ เจ้าของร้านสะดวกซื้อแบรนด์ดัง ก่อนทำแบนเนอร์ ระบุข้อความชักชวนให้บรรดาผู้ประกอบการน้อยใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ต้องการนำสินค้ามาจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อแบรนด์ดัง โดยระบุทำนองขอแค่มีสินค้า ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งกับร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศได้ เมื่อมีเหยื่อหลงเชื่อ กดไลก์ และคอมเมนต์ว่า สนใจ เพจปลอมดังกล่าว ก็จะทำงานผ่านช่องทาง อินบ็อกซ์ ทันที ดังตัวอย่าง เหยื่อ : ขอข้อมูลเพิ่มเติม ค่ะ เพจปลอม : ขณะนี้ทางบริษัทเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งของทาง 7-11 เพื่อผลักดันสินค้าใหม่ๆ เข้ามาให้กับผู้บริโภคได้เลือกซื้อยิ่งขึ้นค่ะ คุณพี่ติดต่อมาเพื่อจะนำสินค้ามานำเสนอขายใน 7-11 ใช่ไหมคะ เหยื่อ : ใช่ค่ะ เพจปลอม : ไม่ทราบว่าคุณพี่สะดวกให้ทางฝ่ายบริการแจ้งข้อมูลไหมคะ เหยื่อ : ส่ง
เงินเก็บทั้งชีวิต อย่าให้มิจฉาชีพมาเอาไปง่ายๆ! รู้ทันกลโกง ป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ ไม่ให้ถูกดูดเงินไปจนหมดกระเป๋า ช่วงนี้นอกจากข้าวของแพง เงินทองหายากแล้ว ชีวิตยังต้องลำบากกับการรับมือกลโกงมิจฉาชีพที่ระบาดหนักขึ้นทุกวัน แถมรูปแบบการหลอกลวงก็มีความหลากหลายและแนบเนียนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งช่องทางพื้นฐาน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ ทำให้ใครหลายๆ คน ถูกดูดเงินออกจากกระเป๋าไปง่ายๆ เพียงเพราะความประมาท ขาดสติ และไม่เท่าทันกลโกง วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จึงอยากชวนรู้ทันกลโกงของเหล่านักโจรกรรมทางการเงิน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ โดยมีวิธีการตรวจสอบง่ายๆ ดังนี้ – กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคาร หลอกให้ทำธุรกรรมเท็จ หรือให้คลิกลิงก์เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรม – กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานธนาคารหลอกให้โอนเงิน ก่อนได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนการพิจารณาสินเชื่อ เช็กให้ชัวร์! ก่อนตกเป็นเหยื่อ 1. ตรวจสอบให
ย้ำ หลัก 3 ไม่ คนไทย ป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพและภัยไซเบอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ เคทีซี จับมือสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เปิดเวทีเสวนา เตือนภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ “อนาคตภัยไซเบอร์ กับอนาคตการป้องปราบ” สร้างการตระหนักรู้-รับมือ-ไม่ตกเป็นเหยื่อ ติดอาวุธทางความคิดให้คนไทยตั้งสติ รับมือกับความเสี่ยงก่อนทำธุรกรรมการเงินบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางในผู้สูงอายุ เผยกลโกงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่เป็นกรณีศึกษา พร้อมแนะวิธีสังเกต เทคนิคป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อและการแก้ไข นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เคทีซีให้ความสำคัญกับการศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นสถาบันการเงินรายแรกในเอเชียแปซิฟิก ที่ได้รับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิต (PCI DSS) จากสถาบันรับรองมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ BSI (British Standards Institution) และพร้อมจะสนับสนุนให้สมาชิกและผู้บริโภคได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อ
ไม่ต้องกลัวมิจฉาชีพ! ออมสิน เปิดตัวโหมดปลอดมิจฉาชีพ MyMo Secure Plus เหมาะกับกลุ่มเปราะบาง เสี่ยงโดนดูดเงิน วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยทุจริตทางการเงินที่มีประชาชนได้รับความเสียหาย จากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน และถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร ทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น เพื่อช่วยลูกค้าประชาชนลดความเสี่ยง ธนาคารฯ จึงได้ยกระดับความปลอดภัยของบริการ Mobile Banking โดยการเพิ่มโหมดบริการ MyMo Secure Plus บนแอป MyMo ที่จำกัดการทำธุรกรรมเฉพาะบัญชีของตนเองเท่านั้น กรณีมือถือโดนแฮก หรือโดนควบคุมมือถือผ่านรีโมต มิจฉาชีพก็จะไม่สามารถโอนเงินของเราไปยังบัญชีอื่น หรือบัญชีบุคคลที่สามได้ ถือเป็นการจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งธนาคารออมสินเป็นธนาคารแรกที่ริเริ่มติดตั้งโหมดปลอดมิจฉาชีพสำหรับให้บริการลูกค้าบนแอปพลิเคชัน MyMo Secure Plus เป็นโหมดบริการบนแอป MyMo เหมาะสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงินได้ง่าย อาทิ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพ โดยเมื่อลูกค้าเปลี่ยนมาใช้โหม
คนไทยโดนหลอกจากมิจฉาชีพสูงถึง 500,000 กว่าราย เป็นจำนวนเงิน 63,000 ล้านบาท! ส่วนใหญ่เป็นการถูกหลอกจากออนไลน์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในการดำเนินการสำคัญคือ การออกพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อจัดการบัญชีม้าที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับเงินและถ่ายโอนเงินจากการกระทำผิด และแลกเปลี่ยนเส้นทางเงินเพื่อสนับสนุนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ รวมถึง พ.ร.ก. ได้กำหนดโทษเอาผิดกับบัญชีม้าให้ชัดเจนขึ้นด้วย โดยพบว่าช่วงที่ผ่านมา การหลอกลวงมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น แต่การหลอกลงทุน คือ วิธีการสูงสุด รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงิน และหลอกให้ซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น โดยจากข้อมูลมีจำนวนคดีการหลอกลวงสูงถึง 500,000 กว่าคดี นับเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 63,000 ล้านบาท นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 “ที่ผ่านมา การจัดการกับบัญชีม้า
อย่าสแกนหน้า ผ่านแอปที่ไม่รู้จัก แบงก์เตือนลูกค้า อาจถูกดูดข้อมูลส่วนตัว วันที่ 22 ตุลาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงนี้ธนาคารหลายแห่ง เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น ได้มีการแจ้งเตือนลูกค้าให้ระวังเกี่ยวกับการสแกนหน้าผ่านแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก เพราะอาจจะทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ นอกจากนี้ แบงก์ยังมีการเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุเพื่อผู้ประสบภัยทางการเงินที่ได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพอีกด้วย อาทิ แบงก์กรุงเทพ แจ้งว่า ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหายหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1333 หรือ 02-645-5555 กด *3 ตลอด 24 ชั่วโมง ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
ลูกค้า LINE BK รับฟรี Whoscall พรีเมียม ตัวช่วยเช็กเบอร์มิจฉาชีพ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด เผยว่า LINE BK ในฐานะ Social Banking ผู้ให้บริการด้านการเงินครบวงจรบนแอปพลิเคชัน LINE ได้ตระหนักถึงปัญหาใหญ่ในสังคม ที่ปัจจุบันมีประชาชนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อถูกกลุ่มมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ ทั้งโทรหรือส่งข้อความเพื่อหลอกเอาเงิน โดยที่ผ่านมา LINE BK มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรับมือมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ มาตลอด และเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการตรวจสอบเบอร์แปลกที่อาจเป็นมิจฉาชีพ จึงได้ร่วมกับ บริษัท Gogolook เจ้าของแอปพลิเคชัน Whoscall จัดกิจกรรมแจกโค้ดใช้บริการ Whoscall พรีเมียมฟรีนาน 6 เดือน ให้แก่ลูกค้า LINE BK ซึ่งบริการ Whoscall จะช่วยในการคัดกรองและระบุแหล่งที่มาของสายโทรเข้า รวมถึงข้อความ เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ก่อนที่จะกดรับสายหรือกดลิงก์ทำธุรกรรมใดๆ ด้าน แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Gogolook ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Whoscall กล่าวว่า Whoscall มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มอบสิทธิพิเศษให้ก
ผู้ค้าออนไลน์ต้องรู้! How To เช็ก สลิปปลอม ป้องกันการหลอกโอนเงินทิพย์ หนึ่งในปัญหาที่ คนขายของออนไลน์ มักพบ คือ สลิปปลอม ที่มิจฉาชีพแฝงมาในคราบของลูกค้าได้ใช้ในการหลอกลวงว่า ได้โอนเงินให้แล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้โอนเงินจริง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลงเชื่อ ส่งสินค้าให้ จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งกับร้านและวงการขายสินค้าออนไลน์ เพจ เตือนภัยออนไลน์ ได้เผยวิธีเช็ก สลิปการโอนเงินของจริง รวมถึงสลิปการโอนของปลอม ที่ใช้ได้กับทุกธนาคาร ดังนี้ สังเกต QR Code ในสลิปการโอนเงิน โดยผู้รับโอนหรือฝั่งทางผู้ค้าออนไลน์ เซฟรูปสลิปที่ได้รับมาเข้าในเครื่องของผู้ค้า จากนั้นเปิดแอปธนาคารอะไรก็ได้แล้วเลือกรูปเพื่อสแกน QR Code ในสลิปนั้นๆ เมื่อสแกนแล้วรายละเอียดต้องตรงกันกับที่ผู้ค้าออนไลน์ได้รับมา ข้อควรระวังคือ ห้ามใช้แอปอื่น ที่ไม่ใช่แอปธนาคารสแกน QR Code เพราะจะสแกนไม่ได้ ส่วนร้านไหนที่มียอดขายเยอะ ให้ใช้บริการแจ้งเตือนเงินเข้า-ออกที่หลายๆ ธนาคารเปิดให้บริการเป็นตัวช่วยในการตรวจสอบจะดีที่สุด