สรรพากร
สรรพากร แจงเพิ่มแล้ว ยื่นภาษีออนไลน์ เจอชื่อ 2 บริษัท จ่ายเงินได้ โฆษกกรมสรรพากรชี้แจงเพิ่มเติมกรณียื่นภาษีออนไลน์แล้วมีช่องรายได้แปลกๆ ปรากฏชื่อ 2 บริษัท เป็นผู้จ่ายเงินได้ ชี้เกิดข้อผิดพลาดจากการปรับปรุงระบบ ยังไม่กระทบผู้เสียภาษีแน่นอน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีมีกระแสการยื่นภาษีทางออนไลน์ แล้วมีช่องแสดงรายได้แปลกๆ โผล่ขึ้นมา ซึ่งก่อนหน้านี้กรมชี้แจงว่า เกิดจากการปรับปรุงระบบนั้น โฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า กรณีที่มีการแสดงข้อมูลรายได้ไม่ถูกต้องในระบบการยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร โดยปรากฏชื่อ บริษัท อินโฟเฟด จำกัด และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เป็นผู้จ่ายเงินได้ เป็นความผิดพลาดของกรมสรรพากรในการปรับปรุงระบบ ไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินได้ของทั้ง 2 บริษัทแต่อย่างใด ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้ดำเนินการแก้ไขความผิดพลาดเรียบร้อยแล้ว และได้มีการประสานงานเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและขออภัยต่อผู้จ่ายเงินได้ทั้ง 2 รายแล้ว กรมสรรพากรขออภัยมาในความไม่สะด
SMEs หายห่วง! สรรพากรออกคู่มือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คนละครึ่ง สำหรับร้านค้า เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 เว็บไซต์ประชาชาติ รายงานว่า กรมสรรพากรได้ออกคู่มือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เพื่อไม่ให้กังวลใจในเรื่องภาษี โดยการรับเงินของผู้ประกอบการ ร้านค้า คนละครึ่ง จะได้รับเงินจากการขายสินค้า อาหาร เครื่องดื่มและบริการ ซึ่งส่วนที่ 1 เป็นเงินส่วนที่ลูกค้าชำระผ่านแอพพลิเคชั่น “ถุงเงิน” และส่วนที่ 2 เป็นเงินที่สนับสนุนจากภาครัฐ (สิทธิคนละครึ่ง) หลังจากประชาชนใช้สิทธิคนละครึ่ง โดยการยื่นแบบของผู้ประกอบการ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง จะคำนวณ ส่วนที่ 1 รวมกับส่วนที่ 2 และรวมกับรายได้อื่นๆ เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย/เงินปันผล ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ การรับเหมา หรือเงินสดที่ได้รับจากการขายสินค้าและบริการ แบ่งเป็น – ภาษีครึ่งปี นำรายได้จากค่าเช่า, วิชาชีพอิสระ, การรับเหมา หรือการประกอบธุรกิจ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ของปีภาษี (เงินได้ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร) โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย. ของปีภาษีท
สรรพากร ยัน ไม่มีเป้าหมายเรียกเก็บภาษีจาก ร้านค้าร่วมโครงการรัฐ ตามที่มีข่าวในสื่อออนไลน์ว่า นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ระบุมีข้อกังวลเรื่องภาษีของผู้ค้าขาย เนื่องจากกรมสรรพากรส่งแบบประเมินภาษีปี 2563 ให้พ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล เช่น “คนละครึ่ง” แต่ได้รับในปี 2564 ทำให้เข้าใจผิดว่าถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง อีกทั้งโครงการประเภทนี้เป็นโครงการระยะสั้น เป้าหมายคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงไม่ควรประเมินรายได้ภาษีในส่วนนี้ นั้น นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว ดังนี้ 1. ในการประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2563 ผู้ประกอบกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐ หรือไม่ หากผู้ประกอบการมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก็มีหน้าที่ต้องนำรายได้มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียเงินได้บุคคลธรรมดาภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ดี กรมสรรพากรได้ขยายเวลาการยื่นแบบฯ จากวันที่ 31 มีนาคม 2564 ไปเป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของผู้ประกอบการ
เปิด 3 รู้ สุดยอดทริกจัดการภาษีอย่างง่าย จาก ถนอม กูรูเรื่องภาษีชื่อดัง นับเป็นธุรกิจมาแรงต่อเนื่อง สำหรับ ธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา แม้หลายคนจะได้รับโอกาสจากการโกยเงินของธุรกิจดังกล่าวอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ทำการค้าออนไลน์กลับคิดไม่ถึง และมองข้ามไปก็คือ การจัดการภาษี ซึ่งพบปัญหาทั้งการเริ่มต้นยื่นภาษี เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ การจะยื่นภาษีว่าต้องใช้แบบใด การเลือกระบบบริหารจัดการ และที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือบรรดาผู้ค้าออนไลน์หลายรายยังไม่รู้แม้กระทั่งว่าการทำธุรกิจดังกล่าวต้องมีการเสียภาษีเลยทีเดียว เพื่อให้คนทำธุรกิจออนไลน์เข้าใจเรื่องภาษีได้มากขึ้น กรมสรรพากร จึงได้แนะแนวทางเกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ควบคู่กับการบริหารภาษี โดย คุณถนอม เกตุเอม เจ้าของเพจ TaxBugnomsซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้เรื่องภาษีในรูปแบบภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ให้กลยุทธ์ 3 รู้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ว่า รู้รายได้ ควรจะทราบถึงรายได้ของตนเองก่อนว่ามีรายได้เข้ามาจากทางใดบ้าง และมีหลักฐานที่มาของรายได้อย่างไร เพื่อที่จะได้ทราบว่าตนเองควรจะยื่นภาษีเงินได้ในประเภทใด เพราะในแต่ละประเภทก็มีอัตรา ใน
กรมสรรพากรเตือน 2 ล้านราย อย่าลืมยื่นภาษี ใน 31 ส.ค. นี้ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 63 กรมสรรพากรขอเชิญผู้มีเงินได้ที่ยังไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 อีกกว่า 2 ล้านราย ยื่นแบบ ภายใน 31 สิงหาคม 2563 แนะให้ยื่นแบบฯ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต สะดวก ง่าย ได้ทั้งจ่ายและผ่อนชำระภาษี ส่วนผู้ที่ขอคืนภาษีแนะนำให้สมัครพร้อมเพย์ได้ภาษีคืนเร็ว นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมสรรพากร ห่วงใยความปลอดภัยของผู้เสียภาษี เพื่อผ่อนคลายความกังวลจากภาระการเดินทางของผู้เสียภาษี จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ โดยสนับสนุนให้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเตอร์เน็ต และได้มีการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ปีภาษี 2562 ไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยจากข้อมูลจำนวนผู้ยื่นแบบในปีภาษี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 2 สิงหาคม 2563 มีผู้ยื่นแบบฯ แล้ว รวมกว่า 9.57 ล้านราย ซึ่งยังมีผู้เสียภาษีอีกประมาณกว่า 2 ล้านราย ที่ยังไม่ไ
สรรพากรขยายเวลา! ให้ผู้ประกอบการ ยื่นแบบฯ ผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยลดเสี่ยงติดโควิด-19 ขยายเวลายื่นแบบภาษี – เพจ สถานีข่าวกระทรวงการคลัง ได้เผยแพร่ข่าว กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร ได้ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่ง และการชำระภาษีอากร สำหรับเดือนภาษีมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2563 เฉพาะผู้ประกอบการที่ยื่นแบบผ่านทางอินเตอร์เน็ตทุกราย ช่วยผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางมายื่นแบบฯ ด้วยตนเอง ลดความเสี่ยงในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่ง และการชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ให้ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบฯ ผ่านอินเตอร์เน็ตทุกราย เพื่อช่วยผู้ประกอบการลดภาระ และปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อีกทั้งเพื่อเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการอยู่บ้าน ลดการเดินทาง และมีการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายกำหนดเวลาการยื่
สรรพากร ขยายเวลายื่นแบบฯ ให้ผู้ประกอบการทั่วไปสู้ภัยโควิด-19 วันที่ 6 เม.ย. นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรออกไปให้ครอบคลุมผู้ประกอบการเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจากประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 25631 เพื่อช่วยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ ผู้บริหารหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องการยื่นแบบภาษีต้องถูกกักตัวจาก โควิด-19 จนไม่สามารถทำงานได้หรือสำนักงานบัญชีที่ไม่สามารถเข้าไปในสถานประกอบการเพื่อเตรียมทำบัญชีและภาษี หรือสถานประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน เดียวกันกับสถานประกอบการที่ถูกปิดกิจการ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่รณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีอากรในครั้งนี้ มีรายละเอียดดังนี้ 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (
อย่ากังวล! สรรพากร แจงไม่นำข้อมูลลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com มาตรวจสอบภาษี นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ากรมสรรพากรจะนำข้อมูลของผู้ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ไปใช้ในการตรวจย้อนหลังของกลุ่มผู้มีอาชีพอิสระนั้น ไม่เป็นความจริง ขอเรียนว่ากรมสรรพากร ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้เสียภาษีและประชาชนโดยทั่วไป ภายใต้สถานการณ์ ที่ทุกคนประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิตจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 “ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ กรมสรรพากรจึงได้มีมาตรการภาษีเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 12 มาตรการ โดยเฉพาะมาตรการเยียวยาผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น ขยายเวลายื่นแบบเสียภาษีจากวันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นวันที่ 31 สิงหาคม 2563 มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ในส่วนค่าตอบแทนพิเศษที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2563 สำหรับการปฏิบัติงานเสี่ยงภัยเกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อลดภาระภาษีและเพิ่มขวัญกำลังใจ และมาตรการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่
สรรพากรยัน! ไม่ตรวจสอบภาษี จากร้านร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้” เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2562 กรมสรรพากร ได้ออกจดหมายข่าว ว่าด้วยเรื่องรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการการขายสินค้าและบริการ เข้าร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้ เฟส 1 และ เฟส 2” ซึ่งปัจจุบันประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิครบถ้วนแล้วจำนวน 13 ล้านคน และสามารถใช้จ่ายเงินจาก g-Wallet ได้ถึง 31 ธันวาคม 2562 โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้ที่ www.ชิมช้อปใช้.com อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ การส่งข้อมูลธุรกรรมจากมาตรการ “ชิมช้อปใช้” ให้กรมสรรพากรติดตามและตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอเรียนว่า กรมสรรพากรใช้ระบบในการตรวจสอบความเสี่ยง หรือระบบ RBAs (Risk based audit system) ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจากหลายช่องทางและมีการจำแนกเกณฑ์ในการคัดเลือกรายชื่อผู้ประกอบการกลุ่มดี กลุ่มเสี่ยง โดยผู้ประกอบการร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการชิมช้อปใช้ และมีการใช้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) กรมสรรพากรถือว่าผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มดี และไม่ใช่เป้าหมายในการตรวจสอบภาษี ในขณะท
สรรพากรชงคงแวต 7% ต่อ ให้รัฐบาลเคาะขยายเวลาอีก 1-2 ปี ชี้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวมาก สรรพากรชงคงแวต 7% ต่อ – นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า สัปดาห์นี้จะเข้าหารือกับนายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เพื่อเสนอให้ขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต จาก 10% เป็น 7% ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 2562 นี้ ออกไปอีก ส่วนจะขยายเวลาการลดออกไป 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายนโยบาย เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในสัปดาห์หน้า “เศรษฐกิจไทยตอนนี้ชะลอตัวมาก ไม่เหมาะที่จะปรับขึ้นภาษีแวตเป็น 10% กรมสรรพากรจึงเสนอให้ขยายเวลาการลดภาษีแวตเหลือ 7% เหมือนเดิมไปก่อน” นายเอกนิติ กล่าว สำหรับการปฏิรูปภาษีกรมสรรพากร และการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 10% ตามนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ขณะนี้ รมว.คลัง ได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ทั้งภาษีกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร โดยมีนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้มีการประชุมนัดแรกไปแล้วเพื่อกำหนดแนวทางการศึกษาปฏิรูปภาษีว่าควรทำอย่างไรบ้าง