สร้างรายได้
ชาวนาอีสานแห่เก็บเมล็ดกระบก ผลไม้มากสรรพคุณ สร้างรายได้ยามหน้าแล้ง (คลิป) เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานถึงวิถีชีวิตของชาวอีสาน หลังจากว่างเว้นจากการทำนา มักจะออกไปขุดปู จับปลา มารับประทาน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน ขณะเดียวกันที่หมู่บ้านขวาง ต.ตั้งใจ อ.เมือง จ.สุรินทร์ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่ต่างออกเก็บผลไม้รสเด็ด คือ เมล็ดกระบก หรือ เมล็ดจะบก ซึ่งเมล็ดกระบกนั้น มีลักษณะกลมรีและแบนเล็กน้อย เป็นเมล็ดเดี่ยวเปลือกแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอัดแน่นอยู่ รสชาติกรอบมันอร่อย หากได้ลองชิมแล้วจะติดใจ ในช่วงวันหยุดเรียน บรรดา ปู่ ย่า ตา ยาย ต่างพาบุตรหลาน ออกเดินลัดเลาะตามท้องไร่นาเพื่อตามหาต้นกระบก ซึ่งช่วงฤดูหลังการเก็บเกี่ยว เมล็ดกระบกต่างสุกงอมเต็มที่และหล่นลงมาที่พื้นทั่วบริเวณรอบต้น บางครอบครัวได้มาก ก็จะนำเอาไปจำหน่าย โดยนำมาผ่าซีกกลางตามรอยต่อของเปลือกเมล็ด ก็จะพบ เนื้อในมีเปลือกสีน้ำตาลเข้มห่อหุ้มอยู่ รสชาติจะฝาดหน่อย แต่หากแกะเอาเปลือกห่อหุ้มออก จะเห็นเป็นเนื้อสีขาว รสชาติมันเนื้อนุ่มกรอบอร่อย จำหน่ายในราคาแก้วละ 10 บาท โดยการนำแก้วน้ำดื่มมาตวงว
ปลูกหม่อน พร้อมแปรรูปครบวงจร สินค้าดี มีคุณภาพ สร้างรายได้งาม คุณเมจิรา สงวนชม เจ้าของสวนชนาภัทร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้นำต้นหม่อนมาปลูกเพื่อเป็นไม้ขุดล้อม ต่อมาเมื่อไม้สามารถให้ผลผลิตได้ จึงนำมาแปรรูปให้มีความหลากหลาย จึงเกิดเป็นสินค้าติดตลาดสร้างรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดีทีเดียว คุณเมจิรา เล่าให้ฟังว่า การทำสวนเป็นอาชีพที่ทำมานานตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ของเธอ แต่ในสมัยนั้นเรื่องเหล่านี้ยังไม่ได้อยู่ในสายตาของเธอเลยก็ว่าได้ เพราะมองว่าเป็นงานที่หนักและไม่น่าจะมีความสุขในสายงานนี้ จึงทำให้ไปหางานทำทางด้านอื่นเพื่อเป็นอาชีพให้กับตนเอง แต่ก็ยังไม่เกิดความสุขในงานบริษัทที่ได้ไปสัมผัส จึงได้ตัดสินใจกลับมาบ้านและลองทำสวนอย่างจริงจังในเวลาต่อมา “ช่วงแรกที่จะกลับมาทำ คนเขาก็มองว่าเราจะทำได้เหรอ เพราะสมัยก่อนทำงานบริษัทมันน่าจะสบายกว่าการที่มาทำสวน เสร็จแล้วเราก็ลองมาทดลองทำดู เพราะมองว่าของแบบนี้มันก็เหมือนอยู่ในสายเลือด เพราะช่วงที่เรายังเด็กก็จะเห็นแม่เขาปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ซึ่งของพวกนี้ปีหนึ่งผลผลิตมันก็จะได้ครั้งเดียว เราก็มามองว่
“โจ๊ก ธนากฤต” วัย 34 ปี อดีตนักกีฬาฟันดาบทีมชาติไทย สร้างชื่อให้ประเทศนับครั้งไม่ถ้วน จังหวะชีวิตเปลี่ยน! พลิกผันชีวิต กลับบ้านเกิดเมืองตรัง สร้างครอบครัว เปิดร้านขายข้าว-ก๋วยเตี๋ยว ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าแน่น ขณะที่ชีวิตครอบครัว พอกินพอใช้ เปรยในใจลึกๆอยากเป็นครู กลับไปรับใช้ชาติเช่นเก่า ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า ที่ร้านกว้องจั้น สาขา 4 ถ.พิกุลทอง อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง (เขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว) ผู้คนที่ผ่านไปมาคงรู้สึกคุ้นตากับชายหนุ่มและหญิงสาวคู่หนึ่งที่เปิดร้านชายข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ และก๋วยเตี๋ยว ตั้งแต่เช้าตรู่ 06.00น.-14.00น.ทุกวัน แท้จริงแล้วร้านดังกล่าวเป็นร้านของ นายวิทย์สรัช ก้องสุวรรณคีรี หรือภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น นายธนากฤต สุรโชคธรากร หรือ “โจ๊ก” อดีตนักกีฬาฟันดาบทีมชาติไทย วัย 34 ปี พลิกผันชีวิตตัวเองมาเปิดร้านดังกล่าว มานานเกือบ 5 ปี ถึงแม้จะเคยเป็นถึงนักกีฬาทีมชาติที่มีความเก่งกาจในฝีไม้ลายมือ ศิลปะแห่งการต่อสู้ฟันดาบ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่เมื่อจังหวะและโอกาสไม่เอื้ออำนวยก็จำเป็นต้องกลับบ้านเกิดเพื่อสร้างครอบครัว ทั้งนี้นายธนาก
การใช้ประโยชน์จากที่พักอาศัยอยู่ริมแม่น้ำด้วยการปลูกผัก เลี้ยงปลา ถือเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยมาช้านาน ด้วยเจตนาเพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือน หรือบางรายทำหลายชนิดเพื่อยึดเป็นอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงปากท้องในครอบครัว คุณดวงเดือน ทองญวน อยู่บ้านเลขที่ 74/2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และบ้านหลังนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ดังนั้น เธอจึงใช้ประโยชน์ด้วยการปลูกผักบุ้งและผักกระเฉดแบบชีวภาพ ตลอดริมฝั่งแม่น้ำซึ่งติดกับเนื้อที่บ้านไปเป็นแนวยาวกว่า 300 เมตร ยึดเป็นอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวมานานกว่า 20 ปี ด้วยความที่ต้องเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก จึงทำให้คุณดวงเดือนมองว่าในยามว่างควรหาอะไรทำที่ได้เงิน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการเลี้ยงครอบครัว ขณะเดียวกัน การมีบ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำจึงสบโอกาสให้เธอใช้ประโยชน์ด้วยการปลูกผักบุ้งแล้วเก็บขาย เพราะมองว่าไม่ได้ลงทุน หรือลงแรงอะไรมากนัก “สมัยก่อนที่เริ่มทำในละแวกนี้ยังไม่มีใครทำกัน พอได้รู้ว่าเพื่อนบ้านที่อยู่ถัดออกไปไกลจากบ้านตัวเองทำอาชีพนี้อยู่จึงพายเรือไปขอต้นพันธุ์ผักบุ้งมา แต่ตอนนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องการปลูกเลี้ยงดีนัก จึงไม่ได้ผูกยอดต
“ถ้าให้เลือกระหว่างเลี้ยงกระบือกับการทำไร่ทำนา แบบไหนดีกว่ากันในปัจจุบันนี้ สำหรับผมเลือกเลี้ยงกระบือ เพราะการเลี้ยงกระบือไม่ได้ขายตัวละ 7,000-8,000 บาทเหมือนสมัยก่อน ซึ่งต่อตัวถ้าเลี้ยงเป็นเนื้อ ก็สามารถขายได้เป็นหลักหมื่นบาท เพียงแต่เราต้องมีวิธีการที่ต้องศึกษาให้ถูกต้อง เพื่อให้การเลี้ยงประสบผลสำเร็จ ซึ่งเดี๋ยวนี้วิทยาการต่างๆ สามารถหาข้อมูลศึกษาได้ เมื่อถึงเวลาขายคนเลี้ยงเองสามารถกำหนดเรื่องราคาได้อีกด้วย” คุณพรทรัพย์ กล่าว คุณพรทรัพย์ พาภักดี อยู่บ้านเลขที่ 494 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือจนประสบผลสำเร็จ โดยเน้นผลิตลูกพันธุ์ขายให้กับผู้ที่สนใจนำลูกไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ จนทำให้เวลานี้เขาได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้เรียนรู้และมีแนวทางการแก้ปัญหาไปด้วยกัน โดยลดที่ทำนาบางส่วนมาทำแปลงปลูกหญ้าให้กระบือกิน เพื่อเป็นการลดต้นทุนเรื่องอาหาร จึงทำให้ทุกคนในกลุ่มเกิดรายได้ มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี แปลงปลูกหญ้า ใช้เวลาว่าง เลี้ยงกระบือ คุณพรทรัพย์ ชายผู้มากด้วยรอยยิ้มเล่าให้ฟังว่า ชุมชนในย่านนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรกรรม คือทำ
ใครเลยจะรู้ ว่าก้านจากเครือกล้วยที่เหลือจากการคัดตัดแต่งแล้ว จะมีค่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกโดยไม่ต้องทิ้ง “ตลาดสี่มุมเมือง” พ่อค้า-แม่ค้า ได้นำเอาเศษขยะอินทรีย์อย่างก้านเครือกล้วยมาประยุกต์ใช้กับวิถีการค้าได้อย่างลงตัว โดยพื้นที่ตลาดค้าส่งแห่งนี้ เขาขายก้านของเครือกล้วยที่นำมาตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ ใส่ถุงพลาสติก ขายถุงละ 20 บาท กลุ่มผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าที่จำหน่ายผลไม้อย่าง แผงแตงโม แผงส้มโอ และแผงสตรอเบอรี่ สำหรับแผงแตงโมและแผงส้มโอ จะนำเอาเครือกล้วยมาตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ตกแต่งปลายให้เฉียง แล้วมาวางไว้ตามมุมต่างๆ รอบกองแตงโมที่เรียงซ้อนกันเป็นรูปพีระมิด วัตถุประสงค์เพื่อบังคับการจัดเรียงสินค้าให้มีสวยงามและกันไม่ให้สินค้าลื่นไหลหรือล้ม แล้วทำไมพ่อค้า-แม่ค้า เลือกใช้วัสดุเหล่านี้มารองสินค้า ด้วยวิธีจัดเรียงสินค้าหน้าร้านแบบเดิมเขาจะใช้ไม้เนื้อแข็งมาตัดมุมเฉียงในการรองสินค้าที่จำหน่ายหน้าร้าน แต่เนื่องจากองศาของไม้รองไม่เหมาะสมกับการจัดเรียง และต้องเตรียมไม้ขนาดต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสินค้าในจำนวนมาก ยิ่งสินค้าที่กองไว้หน้าร้านเริ่มมีอายุมากขึ้นเปลือกก็จะนิ่มลง และการใช้ของแข
จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ไม่เอื้ออำนวยต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของปลา และสัตว์น้ำจืดตามธรรมชาติ ประกอบกับการหาปลาที่เกินกำลังผลิตของสัตว์น้ำ ตลอดจนภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบเสียหายอย่างรุนแรงต่อชนิดและปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ กล่าวคือ พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทยบางชนิดได้สูญพันธุ์ไป นอกจากนี้ พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทยอีกหลายชนิดมีปริมาณลดลง การเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ จึงเป็นที่สนใจของหลายๆ คน เพื่อสร้างรายได้ ซึ่งบางคนหารายได้เสริม จากการเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ จนสามารถสร้างรายได้มากกว่างานประจำที่ทำเหมือนเช่น คุณธีระกิจ เมณร์กูล อยู่บ้านเลขที่ 82 หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่ละทิ้งงานบริษัทสู่อาชีพเกษตรกรรม คุณธีระกิจ เมณร์กูล (ซ้าย) คุณกริชเพชร อัฐวงศ์ (ขวา) จากพนักงานบริษัท ผันชีวิตเกษตรกรเพาะพันธุ์ปลา คุณธีระกิจ คลื่นลูกใหม่ไฟแรงวัย 28 ปี เล่าให้ฟังว่า เดิมทีครอบครัวทำสวนส้มอยู่ที่หมู่บ้านสุเม่น ตำบลแม่สิน ซึ่งคนในหมู่บ้านสุเม่นทำสวนส้มกันส่วนใหญ่ เมื่อทำไปนานๆ การทำสวนส้มไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่า