สังคมสูงวัย
เปลี่ยนภาพจำ ลูกหลานไม่กตัญญู “จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้” เมืองดูแลผู้สูงวัย อาณาจักร “จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้” เมืองแห่งการดูแลผู้สูงวัย บนเนื้อที่ 140 ไร่ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และไลฟ์สไตล์ของผู้สูงวัยที่ยังมีพลังในการใช้ชีวิตอย่างสุขเกษม ในวัยเกษียณ อย่างสมบูรณ์แบบครบวงจร นายทิมโมตี้ อีเมน เลิศสมิติวันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด เปิดเผยถึงความเป็นมาของ จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ (Jin Wellbeing County) ว่า เกิดขึ้นจากความคิดของ นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ที่มองว่าเมืองไทยขณะนี้เป็น “สังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอด” แต่การเตรียมพร้อมด้านที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยยังมีจำกัด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ เมืองแห่งการดูแลผู้สูงวัย ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุได้อย่างครบวงจร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ครอบคลุมทั้งสังคมที่ดี สะดวก สบาย มีกิจกรรม และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ มีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เชื่อมั่นว่าหากเกิดการเจ็บป่ว
รับมือ สังคมสูงวัย แนะใช้สมุนไพรใกล้ตัว ชะลอโรค ป้องกันสมองเสื่อม ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2564 และมีการคาดการณ์ว่า ราวปี 2573 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่น เพราะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากขึ้นถึง 28 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรในประเทศ แต่มีการเพิ่มขึ้นของประชากรเพียง 0.18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า การที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้คาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยของผู้คนยาวนานขึ้น ในขณะเดียวกัน การเจ็บป่วยจากความเสื่อมของร่างกายก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อระบบบริการสุขภาพ ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทางออกของปัญหาที่กำลังจะมาถึงนี้คือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น โดยเฉพาะภาวะของการถดถอยของสมอง ซึ่งนับว่า สมอง มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของพวกเรามาก สมองไม่ใช่เพียงสั่งการให้ร่างกายทำกิจวัตรประจำวันได้เท่านั้น แต่สมองยังเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวว่า สภาพสังคมปัจจุบัน ที่กด
กายภาพบำบัด ธุรกิจดาวรุ่ง ตอบโจทย์คนเป็น ออฟฟิศซินโดรม ยุคสังคมสูงวัย ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากสถิติจำนวนประชากรไทยช่วงอายุ 25-54 ปี หรือกลุ่มวัยทำงานมีจำนวนมากถึงเกือบ 30 ล้านคน หรือ 45 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยทั้งหมด อัตราการเกิดและการตายลดลงรวมถึงอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรกลุ่มวัยทำงานมีช่วงเวลาในการทำงานที่ยาวนานมากขึ้น ทำให้ประชากรส่วนนี้เริ่มตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศที่มีพฤติกรรมการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานจึงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งพบในประชากรสังคมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คลินิกกายภาพบำบัด จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ของคนในวัยทำงาน รวมถึงผู้ที่มีอาการบาดเจ็บทางกล้ามเนื้อและกระดูกที่อาจเกิดจากการเล่นกีฬาหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดปกติ เนื่องจากสามารถเข้าถึงบริการและนวัตกรรมเครื่องมือในการรักษาที่ตอบโจทย์ตามมาตรฐานสากลและสะดวกสบาย โดยคลินิกกายภาพบำบัดจะต้องมีบุคลากรที่เรียนจบด้านกายภาพบำบัดและสอบได้ใบประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันนี้ วิชาชีพกายภาพบำบั
ส่องเทรนด์ที่อยู่อาศัย ดีไซน์บ้านอย่างไร ให้โดนใจวัยเกษียณ รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวในปี 2565 และในปี 2573 คาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น 26.9% ของประชากรทั้งประเทศ จากอัตราการเกิดของประชากรทั่วโลกที่มีแนวโน้มลดลง แต่มีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นจากเทรนด์ด้านสุขภาพและการรักษา ส่งผลให้คนที่เกิดในยุค Baby Boomers ช่วงปี 2489-2507 ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยการทำงานในระดับประเทศมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณสุข ส่วนในระดับครอบครัวสิ่งที่ลูกหลานทำได้ดีที่สุดน่าจะเป็นการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องอาหาร ไปจนถึงที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมกับช่วงวัยของท่านจริงๆ บ้านแบบไหนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี “สูงวัย” อยู่แล้วมีความสุข โดย สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association : HBA) จะมาแบ่งปันประสบการณ์ และส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้กับทุกครอบครัว ซึ่งความต้องการของ ปู่ย่า ตายาย ท่านไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่าการได้อยู่กับลูกหลาน แวดล้อมด้วยบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ ให้ได้สูดอากาศที่สดชื่นในตอนเช้า และมีร่มไม้ร่มรื่นให้ได้นั่งเล่นในยามบ่าย “การมี
เร่งสร้างต้นแบบ สถานบริบาลผู้สูงอายุครบวงจร วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่พึ่งผู้สูงวัยไทย ปี 2565 ประเทศไทย เข้าสู่ สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” (Super-aged Society) คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง จึงได้ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) อย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างต้นแบบให้ตอบรับกับโจทย์ สังคมสูงอายุไทย ศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา รองคณบดีฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ในปัจจุบันพบว่าสถานบริบาลผู้ป่วยสูงอายุไทยที่มีภาวะพึ่งพา (Nursing Homes) ทั้งในภาครัฐและเอกชนนั้น ยังมีปัญหาในด้านการวางแผนจัดการ หรือออกแบบการดูแลในผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มที่มีโรคมาก เปราะบาง และ/หรือสมองเสื่อม โดยทั่วไป สถานบริบาลผู้ป่วยสูงอายุ มักมุ่งเน้นให้การดูแลในด้านสุขอนามัย และด้านการทำกิจวัตรประจำวั
นักวิชาการจุฬาฯ ชี้ อาชีพไหน รุ่ง อาชีพไหน ร่วง ในยุคสังคมสูงวัย คณาจารย์สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ผศ.ดร. ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ ผศ.ดร.ภัทเรก ศรโชติ รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน และ ผศ.ดร.สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์ ได้ร่วมกันเขียนบทความทางวิชาการ นำเสนอประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่ทราบมาก่อนว่า บางอาชีพอาจจะ รุ่ง ในขณะที่บางอาชีพอาจจะ ร่วง ในยุคสังคมสูงวัย “จากการคาดประมาณขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยในระดับสุดยอด (super-aged society ) ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งหมายถึงว่าประชากรประมาณ 1 ใน 3 จะมีอายุมากกว่า 60 ปี การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ของประเทศแล้ว ยังจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่โดยเฉพาะในด้านตลาดแรงงานของประเทศอีกด้วย” คณาจารย์จากศศินทร์ จุฬาฯ เริ่มต้นให้ข้อมูลมาอย่างนั้น ก่อนระบุต่อ ส่วนสาเหตุสำคัญ ที่ทำไมบางอาชีพอาจจะ “รุ่ง” ในขณะที่บางอาชีพอาจจะ “ร่วง” ในยุคสังคมสูงวัยนั้น เกิดจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของทักษะในการทำงานที่แตกต่าง
บ้านวัยเก๋า ก่อสร้าง-ต่อเติม อย่างไร ให้คนที่คุณรัก อยู่สบายและปลอดภัย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ไว้ปี 2564 ไทย จะเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัย อย่างสมบูรณ์ เป็นประเทศที่สองของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ โดยประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด สังคมผู้สูงวัย จึงกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวในทุกมิติ โดยเฉพาะเรื่องของความต้องการขั้นพื้นฐาน อย่าง ที่อยู่อาศัย ซึ่งหลายคนให้ความสำคัญ ล่าสุด ทาง SCG Experience สาขาเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เปิดพื้นที่ บ้านวัยเก๋า ที่ขนเอานวัตกรรมเพื่อบ้านสำหรับผู้สูงวัย ตั้งแต่การให้ความรู้ คำปรึกษา เพื่อออกแบบพื้นที่ผู้สูงวัย และการออกแบบเพื่อรองรับการอยู่อาศัยในแต่ละกลุ่ม อาทิ ห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น มาคอยให้บริการลูกค้าผู้สนใจ อย่างไรก็ตาม ก่อนจะก่อสร้างต่อเติมบ้านเพื่อผู้สูงวัย ต้องมีการสำรวจก่อนว่าปูชนียบุคคลในครอบครัวนั้น ย่างเข้าสู่วัยสูงอายุหรือยัง เริ่มต้นจากการสังเกต การทำงานของร่างกายภายนอก เช่น จมูก การดมกลิ่น และ รับกลิ่นไม่ดี ระบบหายใจ เหนื่อยง่าย สำลักอาหารง่าย ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง หก
“แผลเป็นจากการตกงาน” ปรากฏการณ์ในสังคมสูงวัย ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายประเทศนั้นอาจดูเสมือนว่าจะผ่านจุดสูงสุดของวิกฤตในด้านจำนวนผู้ติดเชื้อไปแล้ว แต่หลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย และ อินเดีย จำนวนผู้ติดเชื้อยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีกมาก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในระดับโลกอีกครั้งเป็นรอบที่สอง หรือแม้กระทั่ง รอบที่สามก็เป็นได้ บทความนี้ คณะผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ในมิติของสังคมสูงวัยซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น และหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งประเทศไทย อะไรคือ สังคมสูงวัย สังคมสูงวัย หมายถึง สังคมที่สัดส่วนประชากรสูงวัย (บางประเทศใช้อายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่บางประเทศใช้ อายุ 65 ปีขึ้นไป) ต่อประชากรทั้งหมดอยู่ในระดับสูง สังคมสูงวัย เป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสัดส่วนประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลง สวนกระแ
อายุเป็นเพียงตัวเลข! ลุงชวนป้าขับแกร็บหารายได้ เพราะไม่อยากเป็นภาระลูกหลาน อีกหนึ่งเรื่องราวสุดประทับใจ เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊ก Phakhanut Blackbox เจ้าของร้านซูชิที่หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้โพสต์ภาพลุงกับป้าคู่หนึ่งที่ทำอาชีพแกร็บมารับอาหารที่ร้าน โดยลุงเป็นคนหาลูกค้า ส่วนป้านั่งซ้อนท้ายช่วยสะพายกระเป๋าใส่อาหาร ผู้โพสต์ระบุว่า ความน่ารักของพี่ Grab วันนี้ มาเป็นคู่เลย “ลุงไม่อยากเป็นภาระลูกหลาน ยังมีแรงก็ทำไป ป้าแกอยู่บ้านคนเดียวกลัวแกเหงาชวนมาเป็นเพื่อน” อายุเป็นเพียงตัวเลข ลุงแกว่างี้ น่ารักที่สุด หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ต่างมีคนเข้ามาให้กำลังใจลุงกับป้าเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งอวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงแนะ เร่งแก้ปัญหาปากท้องด่วน ห่วงคนไทย “ตายก่อนรวย” หลังเข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัย เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์อินสตาแกรมส่วนพระองค์ ความว่า Good morning วันจันทร์ค่ะ💛 ได้เห็นบทความที่บลูมเบิร์ก (Bloomberg) เขียนถึงประเทศไทย ในประเด็นที่ว่า ไทยเรากำลังเข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัย หรือ Aging Society ซึ่งเขาว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Country) แต่เกิดไปมีปัญหาของประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งเศรษฐกิจเขารองรับได้ แต่เรามีคนจนมากกว่าคนรวย และเรากำลังมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอยด้วย เพราะเขาว่าภายใน 10 ปี ประชากร 25% ของไทยจะมีอายุมากกว่า 60 ปี คนรุ่นใหม่ซึ่งมีน้อยลงทุกทีก็ต้องแบกภาระทางสังคมและการคลัง ฝรั่งเขาเลยว่า “คนไทยตายก่อนรวย” คือ “แก่และจน” ฟังแล้วเศร้านะ ทั้งแก่ทั้งจน😱👴🏻👵🏻 การแก้ปัญหาก็ค่อนข้างยาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ฐานะลำบากและไม่ค่อยมีโอกาส สภาพสังคมก็มีปัญหา และเมื่อคนเข้ามาทำงานในเมืองหลวงก็มีลูกน้อย ทำให้จำนวนประชากรรุ่นใหม่มีน้อยลงทุกที การแก้ก็คงต้องมองไปในหลายๆประเด็นพร้อมๆกัน ท