สัมมนา
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม C โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว คุณวรมิตร ครุฑโต รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กล่าวตอนหนึ่งในงานสัมมนา “ทางเหลือ-ทางรอด SMEs ยุค 4.0” ซึ่งจัดโดย “เส้นทางเศรษฐี” นิตยสารรายเดือน เฟซบุ๊กแฟนเพจ และเว็บไซต์ เพื่อผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ว่า ปัจจุบัน เอสเอ็มอี แบงก์ มีเงินทุนสินเชื่อให้ผู้ประกอบการกู้ยืม 50,000 ล้าน โดยผู้ประกอบการสามารถกู้ยืมได้ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้าน ดอกเบี้ย 3% ใน 3 ปีแรก สามารถกู้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา โดยใช้ บสย. ในการค้ำประกัน และหากอยากกู้มากกว่านี้ ทางธนาคารสามารถประสานงานติดต่อกับสินเชื่อเจ้าอื่นให้ท่านได้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME Bank เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลที่จัดขึ้นมาเพื่อดูแลผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะ ทางธนาคารมองว่า การที่จะนำเงินไปลงทุนในกิจการของท่านอย่างเดียวนั้น ไม่ใช่ทางรอด ทางรอดที่สำคัญนอกจากเงินคือการเปลี่ยนแนวคิดของท่าน ทำแล้วมันเกิดผลและไปเชื่อมต่อกับสังคมออนไลน์เพื่อเป็นการต่อยอดให้ธ
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 5 ก.ย. โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว คุณสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่ง ในพิธีเปิดงานสัมมนา “ทางเหลือ-ทางรอด SMEs ยุค 4.0” ซึ่งจัดโดย “เส้นทางเศรษฐี” นิตยสารรายเดือน เฟซบุ๊กแฟนเพจ และเว็บไซต์ เพื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ว่า ตนติดตาม “เส้นทางเศรษฐี” มาโดยตลอด เพราะเป็นสื่อสำคัญ ที่ทำหน้าที่ช่วยอุ้มชูให้ผู้ประกอบการอยู่รอดมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น “เกิดง่าย ตายง่าย” มีอายุเฉลี่ย 3-5 ปี เหตุเพราะเป็น “คนตัวเล็ก” เกิดขึ้นมาท่ามกลางความขาดแคลน ทั้งเงินทุน ความสามารถการจัดการบริหาร ทีมงานที่ดี ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ คือ องค์ประกอบหลักในการทำให้ธุรกิจเติบโต หากแต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่นั้น มีคุณสมบัติสำคัญ “พลังบวก” คือ หัวใจที่แข็งแกร่ง และทำให้ธุรกิจของพวกเขาอยู่ยืนและเติบโตได้ “แทบทุกธุรกิจในโลก เริ่มต้นด้วยเอสเอ็มอี ทั้งนั้น จากนั้นจึงค่อยๆ เติบโตเรียนรู้ และพัฒนาไปเป็นขนาดใหญ่ขึ้น จึงอยากให้กำลังใจเอสเอ็มอี การเกิดง่าย ตายง่าย นั้น ไม่น่าท้อแท้ เพ