หนี้นอกระบบ
ห่วง คนรุ่นใหม่ แห่ลงทุนสกุลเงินดิจิทัล ระวังเสี่ยงสูง พลาดอาจเป็นหนี้นอกระบบ ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องรูปแบบการใช้จ่าย จากเดิมที่เคยใช้เงินสด บัตรเครดิต เมื่อเข้าสู่ช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่หันไปใช้ระบบออนไลน์ ทั้งการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ใช้สแกน QR Code และการโอนเงิน เพื่อการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสกันมากขึ้น เช่นเดียวกับการลงทุน พบว่า คนรุ่นใหม่สนใจใช้เงินสกุลดิจิทัล “Cryptocurrency” กันมากขึ้นทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในประเทศไทย พบว่า เริ่มมีใช้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กันบ้างแล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยส่วนใหญ่ยังขาด “ทักษะทางการเงิน” หรือ “Financial Literacy” ที่เพียงพอรองรับเทคโนโลยีดังกล่าว โดยแม้ว่าในคนรุ่นใหม่ จะเข้าถึงเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและง่ายกว่าคนรุ่นอื่นๆ แต่ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจอาจยังคงมีจำกัด
สรุปมาตรการ จัดการหนี้นอกระบบแบบครบวงจร ของ ธ.ก.ส. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ผ่าน 3 โครงการ วันที่ 26 เม.ย.64 คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และบุคคลในครัวเรือนที่ประสบปัญหาดังกล่าว ธ.ก.ส. จึงได้ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบ 3 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน สำหรับชำระหนี้นอกระบบที่เกิดจากเกษตรกรลูกค้า คู่สมรส บุตร บิดามารดาของเกษตรกรลูกค้าหรือของคู่สมรสซึ่งอยู่ในอุปการะของเกษตรกรลูกค้า วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท เว้นแต่กรณีมีวัตถุประสงค์ในการสงวนที่ดินทำกินที่ลูกหนี้ใช้ที่ดินในการจำนองไม่เกินรายละ 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลาชำระหนี้ 10 ปี สูงสุดไม่เกิน 12 ปี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และการคืนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 30 ของดอกเบี้ยที่ชำระหนี้ 2. โครงการสินเชื่อชำระดีมีวงเงิน Smart Cash
ธ.ก.ส. ออกมาตรการ ช่วยเกษตรกร จัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.63 นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มุ่งสนับสนุนให้เกษตรกรและประชาชนในภาคชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยส่งเสริมทั้งด้านความรู้ในการประกอบอาชีพ และเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนบางส่วนว่างงานหรือไม่สามารถขายผลผลิตได้ตามปกติ ทำให้ไม่มีรายได้ จนนำไปสู่ปัญหาการกู้เงินนอกระบบ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาดังกล่าว ธ.ก.ส. จึงได้ออกมาตรการจัดการหนี้ นอกระบบอย่างยั่งยืน จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน สำหรับชำระหนี้นอกระบบ วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท เว้นแต่กรณีมีวัตถุประสงค์ในการสงวนที่ดินทำกินที่ลูกหนี้ใช้ที่ดินในการจำนองไม่เกินรายละ 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลาชำระหนี้ 10 ปี สูงสุดไม่เกิน 12 ปี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองสินเ
บริษัทติดตามหนี้ เผย “มนุษย์เงินเดือน” ไม่มีอาชีพเสริม ค้างชำระ มากที่สุด!! จากการเสวนาเปิดมุมมอง “เล่าความเสี่ยงหนี้นอกระบบ” จัดโดย “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อไม่กี่วันก่อน คุณชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ “เคทีซี” กล่าวตอนหนึ่งว่า “หนี้นอกระบบ” เกิดขึ้นจากการที่บุคคลขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงมีความจำเป็นต้องหันไปพึ่งพาเจ้าหนี้บุคคลนอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงเป็นรายวันหรือรายเดือน นอกจากนี้ หากลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็อาจใช้วิธีการตามทวงที่รุนแรง ซึ่งต่างจาก “หนี้ในระบบ” ที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ ภายใต้กรอบการกำกับที่ชัดเจนขององค์กรกลาง และยังมีสิทธิพิเศษที่ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ขอสินเชื่อ” “ภาครัฐเอง ตระหนักถึงความรุนแรงและความเสี่ยงของปัญหาหนี้นอกระบบ จึงได้หามาตรการดึงลูกหนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบถูกต้อง โดยได้ออกสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ หรือ “นาโนไฟแนนซ์” (Nano Finance) เพื่อให้บุคคลธรรมดาที่มีรา
เสวนาปันความรู้ KTC FIT Talks#5 จับเข่าคุย เล่าความเสี่ยง “หนี้นอกระบบ” “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล โดยคนไทยเพื่อคนไทย ขอเชิญร่วมงานเสวนา “KTC FIT Talks #5: จับเข่าคุย เล่าความเสี่ยงหนี้นอกระบบ” กับ คุณชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส-คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ และ คุณพรเลิศ เบญจกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วินเพอร์ฟอร์มานซ์ จำกัด ผู้ให้บริการติดตามหนี้และด้านกฎหมาย ในวันพุธที่ 5 มิ.ย.นี้ เวลา 10.30 – 12.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 14 “เคทีซี” อาคารสมัชชาวาณิช 2 ต้นซอยสุขุมวิท 33 ในงานนี้จะมีการร่วมเปิดมุมมองกับความแตกต่างและสัดส่วนของหนี้ในระบบกับหนี้นอกระบบ ความเสี่ยงหนี้นอกระบบกับภูมิคุ้มกัน ข้อพิจารณาเมื่อจำเป็นต้องขอสินเชื่อเงินสด ความเข้มข้นในการติดตามหนี้และบทลงโทษตามพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ ทำอย่างไรเมื่อมีภาระหนี้และถูกติดตาม รวมทั้งเคล็ดลับการบริหารเงินและค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่งหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุชาดา วีระสกุลรักษ์ สื่อสารองค์กรสัมพันธ์ “เคทีซี” โทรศัพท์ (02) 828-5732
‘บิ๊กป้อม’ สั่งเดินหน้าแก้ หนี้นอกระบบ ต่อเนื่อง! ย้ำต้องช่วยเหลือประชาชน-ตามดูแลให้เป็นผลครอบคลุมทั้งระบบ เผยจับกุม-ยึดทรัพย์ได้ ให้ทยอยคืนประชาชน เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่กระทรวงกลาโหม พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กำชับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร ให้ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือประชาชนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต่อไป โดยเน้นย้ำ ขอให้ กอ.รมน. เร่งประสานความร่วมมือกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันลงมาแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทั้งวงจรในทุกกลุ่มประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน การเข้าไปช่วยเจรจาปลดภาระหนี้และจัดทำสัญญาใหม่ที่เป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมาย การสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบของรัฐที่จัดขึ้นเฉพาะอย่างทั่วถึง การช่วยเหลือพัฒนาทักษะอาชีพให้เข้มแข็งและมีรายได้เพียงพอ รวมถึงการตามดูแลและเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจ เพื่อมิให้เกิดภาวะเครียดจนเกิดเป็นปัญหาในครอบครัว พล.ท.คงชีพ กล่าวอีกว่า เมื่อตำรวจเข้าตรวจค้น จับกุมและสามารถยึดทรัพย์ผู้กระทำผิดได้แล้ว ให้ทยอยส่งคืนให้ประชาช
ธ.ก.ส.โชว์ผลประกอบการครึ่งปีฟันกำไรเกือบ 6 พันล้าน คาดทั้งปีอาจได้ 9 พันล้าน ครึ่งปีหลังจ่อปล่อยสินเชื่อช่วยมัน ข้าว ข้าวโพด คาดทั้งปีปล่อยสินเชื่อใหม่ไม่ต่ำกว่า 8.6 หมื่นล้าน เร่งแก้หนี้นอกระบบ นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปีบัญชี 2560 (1 เมษายน-30 กันยายน 2560) ธ.ก.ส. มีกำไร 5.84 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีบัญชีก่อนที่มีกำไร 5.23 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีบัญชี และคาดว่าในปีบัญชีนี้มีกำไรตามเป้าหมายที่ประมาณ 9 พันล้านบาท นอกจากนี้ สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ 17,843 ล้านบาท ส่งผลยอดรวมของสินเชื่อคงค้างเป็น 1.29 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวจากบัญชีผ่านมา 1.40% คาดว่า สินเชื่อครึ่งปีบัญชีหลังจากปล่อยได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก โดยได้เตรียมสินเชื่อสินค้ามันสำปะหลังวงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท สินเชื่อบริหารจัดการข้าว 1.25 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อผู้ปลูกข้าวโพดอีก 7.5 พันล้านบาท โดยมั่นใจว่าตลอดทั้งปีบัญชี ธนาคารจะสามารถปล่อยสินเชื่อตามเป้าหมาย 86,000 ล้านบา
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน กระทรวงการคลังเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเพื่อนำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบมาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน จากที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบมักจะทำเป็นส่วนๆ ซึ่งตามมติครม.เปิดโอกาสเจ้าหนี้นอกระบบมาเป็นผู้ประกอบการพิโคไฟแนนซ์ เพื่อทำปล่อยกู้อย่างถูกกฎหมาย สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้ถึง 36% ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม และจะเปิดให้ขอทำพิโคไฟแนนซ์ในเร็วๆ นี้ นายสมชัย กล่าวว่า จากนี้ไปหากเจ้าหนี้นอกระบบรายใดยังปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่า 15% จะถูกปรับ ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ไขกฎหมายกระทรวงยุติธรรม กำหนดโทษเพิ่มเติมมีทั้งโทษปรับและจับติดคุก จากขณะนี้ปรับอย่างเดียว ระหว่างที่รอแก้ไขกฎหมายเรื่องดอกเบี้ย ขอความร่วมมือกับตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สำหรับการดูแลลูกหนี้นอกระบบนั้น มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ระดับจังวัดมาช่วยดูแล รวมถึงมีธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ตั้งหน่วยงานในองค์กรขึ้นมาดูแลหนี้นอกระบบเ
หอการค้าเปิดผลสำรวจพบหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งขึ้นกว่า 20% สูงสุดรอบ 9 ปี ชี้ไม่น่าห่วงเหตุมีทรัพย์สินหนุนหลัง สวนทางหนี้นอกระบบที่ลดลงเหลือ 37% ต่ำสุดรอบ 8 ปี นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2559 สำรวจวันที่ 1-12 กันยายน 2559 จำนวน 1,221 ตัวอย่างว่า ครัวเรือนไทยที่เป็นหนี้มีอยู่ 85.7% ไม่มีหนี้ 14.3% โดยมีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 298,005 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 20.2% จากปี 2558 แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 62.3% และหนี้นอกระบบ 37.7% ก้อนหนี้ที่มีอยู่นั้นเป็นหนี้เก่าและใหม่ 59.3% หนี้เก่าทั้งหมด 27.9% และหนี้ใหม่ทั้งหมด 12.8% สาเหตุที่หนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วเพราะมีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น เช่น บ้าน รถ ผ่อนสินค้ามากเกินไป ค่าครองชีพสูงขึ้น ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาก และค่าเล่าเรียนบุตร-หลาน รายได้ลดลง เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้จากภัยธรรมชาติ ขาดรายได้เนื่องจากถูกออกจากงาน และพนันบอล “ยอดหนี้ครัวเรือนเกือบ 300,000 บาทต่อครัวเรือน อัตราการเพิ่มของหนี้ที่ 20.2% และสัดส่วนคนมีหน
หนี้นอกระบบเป็นหนึ่งในมูลเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาใหญ่ในสังคมไทย ทั้งเศรษฐกิจ อาชญากรรม และครอบครัว แม้จะมีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 บังคับใช้มาแล้วกว่า 84 ปี แต่เนื่องจากปัจจุบันปัญหาหนี้นอกระบบมีการพัฒนารูปแบบไปมากจนกฎหมายฉบับเก่าไม่อาจครอบคลุม เกิดการเอารัดเอาเปรียบโดยอาศัยความอ่อนด้อยของประชาชน และได้ยกระดับขึ้นสู่เครือข่าย “องค์กรอาชญากรรม” ที่มีนายทุนและผู้มีอิทธิพลหนุนหลัง ล่าสุด (1 ก.ย. 2559) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณาเห็นชอบรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ….ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สามารถคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญคือเป็นกฎหมายกลาง บังคับใช้กับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราทั้งหนี้กู้ยืมในระบบสถาบันการเงินและหนี้นอกระบบ การกำหนดความผิดในการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราให้มีความชัดเจน กำหนดความผิดที่มีลักษณะฉกรรจ์ พร้อมทั้งกำหนดอัตราโทษให้สูงขึ้น คือโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมไปถึงกำหนดโทษเจ