โรงพยาบาลเวชธานี
เข้าใจภาวะสมองเสื่อม เพื่อดูแลคนใกล้ตัวอย่างถูกวิธี ภาวะสมองเสื่อม ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นความเสื่อมตามวัย ส่งผลให้ความจำหรือการรับรู้บกพร่องไป หากคนใกล้ตัวของผู้ป่วยพามาพบแพทย์เร็ว ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมลงได้ แพทย์หญิงดวงกมล สิงห์วิชา อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มักมีความผิดปกติของการรับรู้บกพร่องไป ซึ่งประกอบไปด้วยการรู้คิด 6 ด้าน ได้แก่ ความจำ, สมาธิจดจ่อ, การรับรู้ตำแหน่งของวัตถุต่างๆ, การวางแผน, การใช้ภาษา, และการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักพบว่ามีการรู้คิดที่บกพร่องมากกว่า 1 ด้าน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง เช่น ไม่สามารถจัดยาเองได้ หรือเดินทางไปธุระคนเดียวแล้วหลงทาง ภาวะสมองเสื่อม เกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุที่สามารถรักษาได้ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคขาดวิตามินบี 12 เนื้องอกในสมอง โรคซึมเศร้า โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และสาเหตุที่ไม่สามารถรักษาได้ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ โรคอัลไ
รู้ทันความเสี่ยง ช่วยเลี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ หลายปีที่ผ่านมามีแนวโน้มการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วย “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าอัตราการเสียชีวิตกลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองและวิทยาการด้านการรักษาที่พัฒนาไปมาก เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายมากที่สุด นายแพทย์ณัฐชดล กิตติวรารัตน์ อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตจะพบบใกล้เคียงกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย คือประมาณ 1 ต่อ 25 คน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามความเสี่ยงอื่นๆ ของผู้ป่วย ซึ่งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากติ่งเนื้อหรือ Polyp ในลำไส้ใหญ่ โดยปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุการเกิดได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล ได้แก่ อายุ ในอดีตพบว่ามากกว่า 90% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ มีอายุมากกว่า 50 ปี และอายุเฉลี่ยที่พบคือ 60-65 ปี แต่ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ อุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 50 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่อายุน้อยท
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ปล่อยทิ้งไว้ อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการปวดเกร็งท้องหรือท้องเสีย เป็นๆ หายๆ ควรระวัง เพราะเป็นสัญญาณว่าอาจเสี่ยงเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รับการรักษาจนเกิดการอักเสบมากขึ้น อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แพทย์หญิงศศิพิมพ์ จามิกร อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease หรือ IBD) เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการอักเสบของทางเดินอาหาร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่อาจมีหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธุกรรม ซึ่งมักพบในยุโรปและอเมริกามากกว่าแถบเอเชีย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบโรคนี้มากขึ้นในประเทศไทย เราจึงควรให้ความสำคัญ, มีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ผิดปกติจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง, ปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และความเครียด โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ – โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (Ulcerative Colitis : UC) อาการจะเกิดที่บริเวณ
เช็ก! สัญญาณเตือนคร่าชีวิต “ฮีตสโตรก” ภัยใกล้ตัวหน้าร้อน สภาพอากาศในช่วงนี้ร้อนแรงจนทำให้ใครหลายคนเหงื่อตก จนไม่กล้าสู้แดดไปตามๆ กัน มีการคาดการณ์ว่าฤดูร้อนปีนี้จะพุ่งสูงไปถึง 43 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว โดยแสงแดดและอากาศที่ร้อนระอุในช่วงกลางวัน ส่งผลให้ผู้ที่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ อาจมีความเสี่ยงอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ จากโรคลมแดด หรือ “ฮีตสโตรก” เนื่องจากร่างกายปรับสภาพไม่ทัน นายแพทย์นริศ สมิตาสิน อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า โรคลมแดด หรือฮีตสโตรก จะมาพร้อมกับอากาศที่ร้อนจัดจนทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน เมื่อความร้อนในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส สมองส่วนควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจะเกิดความผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง สำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ได้แก่ 1. ผู้ที่ต้องทำงานกลางแดดหรือออกกำลังกายกลางแดดเป็นเวลานาน 2. กลุ่มคนที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน 3. กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งร่างกายจะระบายความร้อนได้ไม่ดีเหมือนวัยหนุ่มสาว 4. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 5. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ 6. ผู้ที่ทำงานในห้อง
การรักษามะเร็งด้วย CAR T-cell ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือด มะเร็งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งใหม่ราวๆ 130,000 ราย และในปี 2564 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 84,000 คน โดยคาดว่าตัวเลขจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ต่อจากนี้ นายแพทย์อิศรา อนงค์จรรยา อายุรแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากการรักษามะเร็งที่เป็นแบบมาตรฐานเช่น การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด ยังมีการพัฒนาวิธีการและยารักษาโรคมะเร็งใหม่ๆ ที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงน้อยกว่า เช่น ยามุ่งเป้า และยาภูมิคุ้มกันบำบัด รวมถึงการรักษาที่เรียกว่า CAR T-cell (Chimeric Antigen Receptor T-cell) ด้วย T-cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งการรักษาที่เรียกว่า CAR T-cell เป็นเทคนิคการรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลเพื่อให้การรักษามะเร็งระบบเลือดโดยเฉพาะ โดยแพทย์จะเก็บเซลล์ T-cell จากเลือดของผู้ป่วย เพื่อนำไปปรับแต่งเซลล์ในห้องปฏิบัติการ จนได้ออกมาเป็น Chime
มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต “มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง ยังมีเทคโนโลยีการรักษาด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็ง นายแพทย์ณัฐชดล กิตติวรารัตน์ อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า การรักษาโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้องแบบเดิม คือการให้ยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือด เพื่อให้ตัวยากระจายไปฆ่าเซลล์มะเร็งต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่พบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ตัวยาเคมีบำบัดไม่สามารถเข้าถึงเนื้องอกที่แพร่กระจายในช่องท้องได้ดีเท่าที่ควร อีกทั้งความเข้มข้นของยาเคมีบำบัดที่ให้ทางเส้นเลือดยังไม่เพียงพอที่จะทำลายเซลล์มะเร็งจำนวนมาก ปัจจุบัน จึงมีการรักษาโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้องด้วยการทำ Cytoreductive surgery (CRS) ร่วมกับ Hyperthermic Intra Peritoneal Chemotherapy (HIPEC) เพื่อเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดของผู้ป่วย HIPEC คือ การให้ยาเคมีบำบัดที่มีอุ
กินแป้ง-กินหวาน-กินดึก ระวังไว้ รู้ทันก่อนสาย ภัยร้าย “อ้วน” เสี่ยงโรค! ในแต่ละปีมีผู้ป่วยจาก “โรคอ้วน” เพิ่มสูงขึ้นทุกเพศทุกวัยอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในโรคฮิตของ “วัยทำงาน” โดยเฉพาะชาวออฟฟิศเพราะมีการใช้พลังงานในแต่ละวันน้อย ขาดการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารสำเร็จรูปที่มักจะประกอบด้วยแป้งและไขมัน เพราะต้องการความรวดเร็วและสะดวกสบาย นอกจากนี้ อาจมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารหนักๆ ในมื้อเย็นหรือมื้อดึก ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ส่งเสริมให้เป็นโรคอ้วนมากขึ้น นาวาโทนายแพทย์บุญเลิศ อิมราพร อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า โรคอ้วนปัจจุบันพบได้บ่อยมากขึ้นในคนวัยทำงานที่ไม่มีเวลาพักผ่อนหรือมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง โรคอ้วนเกิดจากการที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนมีหลายสาเหตุ ได้แก่ การรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต แป้ง อาหารหวาน ของหวาน เบเกอรี่ ขาดการออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ ซึ่งมักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หรือมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ การกินยาบางชนิด เช่น ยาคุม สเตียรอยด์ และเมื่ออายุเยอะขึ้น ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง พ
PM2.5 อาจกระตุ้นภูมิแพ้ แก้ได้ ด้วยการจี้ RF หรือ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ นายแพทย์นัทพล ธรรมสิทธิ์บูรณ์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่หลายคนคงเคยได้ยิน หากใครที่มีการสัมผัสกับฝุ่นละอองชนิดนี้ อาจส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาวได้ ดังนี้ ผลกระทบในระยะสั้น 1. ก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตา จมูก คอ ทางเดินหายใจ 2. ทำให้เกิดอาการแสบตา ไอ จาม น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย 3. ทำให้สมรรถภาพปอดแย่ลง 4. ทำให้โรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด หรือโรคหัวใจ กำเริบ ผลกระทบในระยะยาว 1. ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 2. สมรรถภาพปอดลดลง 3. เพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด เนื่องจากฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ถือเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ ฝุ่น PM2.5 จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการต่างๆ ของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้เรื้อรัง กำเริบขึ้นได้ ซึ่งการดูแลสุขภาพในสถานการณ์ PM2.5 กลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องภูมิแพ้เรื้อรังอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ควรล้างจมูกเพื่อชะล้างฝุ่นละอองท
“โรคหลอดเลือดสมอง” ต้นเหตุอัมพาต…ไม่ว่าวัยไหนก็เป็นได้ มีหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าโรคหลอดเลือดสมอง หรือ STROKE เป็นความเสี่ยงเฉพาะผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงโรคนี้สามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยบ่อยขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 18-50 ปี ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยอายุน้อย ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัจจัยที่มาจากอายุ เพศ หรือเชื้อชาติ แต่อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติด 2. ปัจจัยที่เกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวง่าย ความผิดปกติของหลอดเลือด และโรคทางพันธุกรรม 3. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคในผู้หญิง เช่น ไมเกรนชนิดมีอาการนำ การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และการตั้งครรภ์ โดยอาการของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยอายุน้อย จะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีอายุมาก ดังนี้ – ปวดศีรษะรุนแรงและฉับพลัน – คอแข็ง – พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง – คิดคำพูดไม่ออก สื่อสารไม่เข้าใจ – แขนขาอ่อนแรง ข้างใดข
อวดผิวสวย ท้าลมหนาว พร้อมแชร์เทคนิคในการดูแลผิวพรรณรับปีใหม่ เชื่อว่าหลายๆ คนต้องอยาก “อวดผิวสวย” รับเทศกาลปีใหม่อย่างแน่นอน แต่จะดูแลผิวพรรณอย่างไร เมื่อต้องเจอกับปัญหาผิวแห้ง แตกเป็นขุย ผิวขาดความชุ่มชื้น จากสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแบบเต็มตัวในสัปดาห์หน้า ซึ่งช่วงเวลานี้ควรจะต้องดูแลผิวพรรณให้ดีเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางวันที่ต้องเจอกับแสงแดดจ้าปะทะกับลมหนาว และช่วงเวลากลางคืนที่อุณหภูมิต่ำลง แพทย์หญิงดวงกมล ทัศนพงศากุล แพทย์ประจำศูนย์ผิวหนังและความงาม ของโรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงวิธีการดูแลผิวพรรณว่า เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะเราควรจะดูแลผิวหนังให้มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังควรทาโลชั่นให้ชุ่มชื้นหลังจากอาบน้ำเสร็จเป็นประจำทุกครั้ง เนื่องจากหลังอาบน้ำใหม่ๆ น้ำยังระเหยไปไม่หมด ช่วงเวลานี้ผิวจะอุ้มน้ำได้ดี หากมีแผนเดินทางไปท่องเที่ยว หรือสังสรรค์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และต้องเจออากาศที่หนาวเย็นจนเกิดอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แพทย์ทางด้านผิวหนัง แนะนำว่า เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นผื่น