ESG
เมืองไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “Save Paper, Save Life” ชวนลูกค้าสมัครรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านสภากาชาดไทย นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมืองไทยประกันชีวิต มีความมุ่งมั่นในการเดินหน้าแนวนโยบายด้วยการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติสังคม (Social) และมิติบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG เพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงเป็นที่มาของโครงการ MTL e-Document หรือ การรับเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนการรับเอกสารที่เป็นกระดาษ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ล่าสุด เมืองไทยประกันชีวิต ยังคงเดินหน้านโยบายรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการสนับสนุนการลดการใช้กระดาษอย่างต่อเนื่อง พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “Save Paper, Save Life” เชิญชวนลูกค้าทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกด้วยการสมัคร MTL e-Document และทุกการสมัครยังจะถูกเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคจำนวน 20 บาทต่อ 1 กรมธรรม์ที่สมัครสำเร็จ แล
ลงทุน ESG ผลตอบแทนดี และดีกับโลก จิรไพบูลย์ รัตนภาณุรักษ์ รองผู้อำนวยการที่ปรึกษาทางการเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย พร้อมด้วย อธิพัฒน์ ศรีประไพ Investment Manager บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จํากัด ให้มุมมองการลงทุนธีมที่กำลังมาแรงอย่าง ESG โดยมองว่า การตัดสินใจลงทุนโดยคำนึงถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) ของธุรกิจ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และลักษณะของธุรกิจ เพื่อค้นหาบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง จะช่วยสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว ผ่านการจำกัดความเสี่ยงรวมถึงการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจในหลากหลายมิติ ซึ่งจากข้อมูลในช่วงกรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน ESG สามารถช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลง (Downside Limit) ได้ดีกว่าดัชนีชี้วัดโดยเปรียบเทียบ ทั้งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้โลกอีกด้วย ทั้งนี้ การบรรยายเป็นส่วนหนึ่งของ ESG Event งานสัมมนาอัปเดตตลาดเพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืน จัดขึ้นโดยทีม CIMB Preferred นำโดย กมลพรพรรณ ภัทรฤทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ กลยุทธ์ลูกค้าบุคคลธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไ
เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) ชี้ รายงาน ESG คือสิ่งจำเป็นเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับธุรกิจยุคใหม่ในทุกไซซ์ องค์กรทุกขนาดที่แม้จะมีระดับความพร้อมไม่เท่ากัน ก็สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้ หากมีการเตรียมพร้อมด้าน Sustainability Transformation ที่ดี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาความยั่งยืนกลายเป็นภารกิจสำคัญของทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมากในปี 2566 ที่ทำให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าโลกกำลังเข้าสู่ “ยุคโลกเดือด” ตามที่ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์เมื่อไม่นานมานี้ ย้อนไปเมื่อปี 2558 องค์กรสหประชาชาติประกาศเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน 17 ข้อ (UNSDGs) ที่ครอบคลุม 3 ด้านหลักคือ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อนโลกไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นและมีความยั่งยืนมากขึ้น เป้าหมายเหล่านี้จึงกลายมาเป็นหลักการที่ชี้นำการปฏิบัติงานของทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เริ่มจากเปลี่ยนการมุ่งเน้นสร้างกำไรและผลประโยชน์ด้านการค้ามาเป็นการสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปด้วยในวิสัยทัศน์ คำมั่นสัญญา และการลงม
เปิดโมเดลธุรกิจ ESG กับ “คุณกร สุริยพันธุ์” ผู้บริหาร บจก. เทพไทย โปรดัคท์ ยกระดับสมุนไพรไทยสู่ธุรกิจพันล้าน พูดคุยกับ “คุณกร สุริยพันธุ์” ผู้บริหารบริษัท เทพไทย โปรดัคท์ จำกัด ผู้นำแบรนด์ยาสีฟันสมุนไพรไทย “เทพไทย” สู่ธุรกิจยาสีฟันชั้นแนวหน้าของประเทศ สร้างความภูมิใจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยตำรับโบราณ ที่สร้างยอดขายสู่ธุรกิจพันล้าน โดยเริ่มต้นจากสมุนไพรไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่น ย้อนกลับไปในปี 2540 เป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่อย่าง “ต้มยำกุ้ง” สถานการณ์นี้เอง ทำให้คุณแม่ของคุณกร ตัดสินใจย้ายครอบครัวจากกรุงเทพฯ มาอยู่ในหาดใหญ่ จ.สงขลา ด้วยความหวังที่จะมาเริ่มต้นทำธุรกิจเล็กๆ ซึ่งคุณแม่เอง ก็ได้รับสืบทอดความรู้ด้านสมุนไพรมาจากรุ่นคุณปู่ ประกอบกับเล็งเห็นว่า ที่หาดใหญ่มีค่าครองชีพต่ำ และการแข่งขันน้อยกว่าในกรุงเทพฯ คุณกร สุริยพันธุ์ ผู้บริหารบริษัท เทพไทย โปรดัคท์ จำกัด เล่าว่า “…เราเริ่มจากทำยาสีฟันสมุนไพรใช้กันเองในบ้าน กวนในกะละมัง วันหนึ่ง มีเพื่อนคุณแม่มาหาที่บ้าน แล้วเขาปวดฟัน คุณแม่จึงให้ยาสีฟันไปใช้ หลังจากนั้
SME D Bank ร่วมสัมมนาเรียนรู้แนวทาง ESG ในรัฐวิสาหกิจไทย เดินหน้าประยุกต์ใช้ เพิ่มประสิทธิภาพขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนายเจษฎา ช.เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ พร้อมคณะผู้บริหารธนาคาร เข้าร่วมงานสัมมนา “ESG โอกาสและความท้าทายของรัฐวิสาหกิจไทย” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) และบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อนำความรู้และทำความเข้าใจแนวทาง ESG อย่างลึกซึ้ง มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนองค์กร โดย SME D Bank ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นนำหลัก ESG มาใช้ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อม สังคม พร้อมมีการกำกับดูแลที่ดี ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานและพาองค์กรสู่การพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมี ดร.เสรี นนทสูติ รองกรรมการผู้จัดการ IRDP และทีม เป็นวิทยากรในงาน จัด ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566
เมื่อ ESG หรือ ความยั่งยืน ไม่ใช่แค่กระแส แต่คือ โอกาส SMEs ทำแล้วได้อะไร? ในทุกวันนี้เรื่องที่อยู่ใน “กระแส” ของธุรกิจที่ใคร ๆ ก็พูดถึง หนีไม่พ้นเรื่อง “ESG” แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวของ ESG ไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องทำ โดย ESG นั้นกล่าวง่าย ๆ ก็คือ แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 มิติ คือมิติของแนวทางการพัฒนาด้าน สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ หลักธรรมมาภิบาล (Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต finbiz by ttb วิเคราะห์ว่า แรงหนุนที่ทำให้ธุรกิจต้องรีบพัฒนาองค์กรตามแนวคิด ESG ไม่ใช่เพียงเพราะว่า ธุรกิจเป็นส่วนหลักในการสนับสนุนโลกให้ยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังมีแรงหนุนอื่น ๆ ทำให้ธุรกิจตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึง SME ต้องสนใจ จำเป็นต้องเข้าถึง และใช้แนวคิด ESG ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1) ความกังวลด้านวิกฤตการเปลี่ยนแปลง และ Climate Crisis & Environmental Concerns การคาดหวังว่าธุรกิจจะมีส่วนช่วยลดอุณหภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.5 อ
ลดต้นทุน ไม่ลดคุณภาพ SMEs มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ด้วยหลักการ LEAN จากกระแสความยั่งยืน (ESG) ที่กำลังเป็นที่สนใจในช่วงนี้ และจะยังคงเป็นหลักในการพัฒนาองค์กรต่อไป แต่จะทำอย่างไรให้ไปถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในคำตอบของกระบวนการผลิต กระบวนการปฏิบัติงานอันนำไปสู่ การลดต้นทุน การลดความสิ้นเปลือง รวมไปถึงการลดปริมาณขยะลงได้ LEAN จึงเป็นกุญแจอีกดอกที่ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ เต็มศักยภาพ และนำไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน finbiz by ttb ขออธิบายหลักการ LEAN เบื้องต้นว่า คืออะไร และเหตุใดจึงสำคัญกับธุรกิจเป็นอย่างมาก LEAN คือ การลดความสูญเปล่า ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้ธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ เน้นที่การมองหาความสูญเปล่า (Waste) และ ลดละเลิกความสูญเปล่านั้น ภายใต้แนวคิด “พยายามทุกวิถีทางในการลดความสูญเปล่า ในกระบวนการทำงานลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งไม่มีความสูญเปล่าอีกต่อไป เพราะลูกค้ายอมจ่าย เพื่อให้ได้คุณค่า (ไม่ได้จ่ายให้กับ ความสูญเปล่า)” โดยความสูญเปล่า มีทั้งหมด 7+2 ประการ ดังนี้ 1. Over Production : ผลิตมากเกินความจำเป็น 2. Over Proc
กรุงศรี สนับสนุนความร่วมมือเศรษฐกิจอาเซียน–ญี่ปุ่น ผสานผู้เชี่ยวชาญเผยเทรนด์ ESG และ การค้าดิจิทัล สร้างการเติบโตยั่งยืนระหว่างภูมิภาค กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ร่วมมือกับ Mitsubishi UFJ Research and Consulting Co., Ltd. และ บริษัท เอ็มยู รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “The Latest Trends of ESG & Digital Trade Toward the Sustainable Growth of ASEAN – Japan” เนื่องในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น 50 ปี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้นนำร่วมเผยทิศทางความร่วมมือด้าน ESG และดิจิทัล ระหว่างภูมิภาค ซึ่งงานสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 ราย จากหลากหลายองค์กรในประเทศไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเวียดนาม นายโยชิยูกิ โฮริโอะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานโดยเผยวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อร่วมสะท้อนวิสัยทัศน์การร่วมสร้างสรรค์ด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ของคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐ