EXIM BANK
EXIM BANK เสริมวัคซีน 4 เข็ม ให้นักรบส่งออกไทย โดยเฉพาะ SMEs วันที่ 13 ส.ค. 2564 ดร.กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเปิดงาน “EXIM One Solution Forum” ในหัวข้อ “วัคซีนประกันการส่งออก (Export Credit Insurance : ECI) ส่งออกมั่นใจ ยังไงก็ไม่โดนเท” ว่า ในครึ่งหลังของปี 2564 ภาคการส่งออกไทยคือพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันส่งเสริมผู้ส่งออกไทย ทั้งเรื่องการตลาด การเสริมความรู้ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งมีฐานทุนน้อยและเปราะบางต่อความเสี่ยงทางธุรกิจมากกว่า ประกอบกับโควิด-19 ส่งผลกระทบให้หลายกิจการทั่วโลกประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หากผู้ส่งออกไทยค้าขายกับคู่ค้าเหล่านี้ ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า “ประกันการส่งออก” จึงเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้ส่งออกจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจนขาดสภาพคล่องธุรกิจ หรืออาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ในปีนี้เครื่องยนต์ที่น่าจะทำงานได้ด
EXIM BANK พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ตั้งเป้าสร้างผู้ส่งออก SMEs ช่วยลูกค้าสู้วิกฤต พร้อมผุด Pavilion การค้าออนไลน์ และบริการครบวงจรเพื่อผู้ส่งออก ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโควิด-19 ยังแพร่ระบาดทั่วโลก แต่หลายประเทศเริ่มปรับตัวและรับมือเพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินต่อไปได้ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวได้สูงถึง 6% โดยได้อานิสงส์จากประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อาทิ สหรัฐฯ จีน และบางประเทศในยุโรป โตมากกว่า 6% ซึ่งประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนเกินกว่า 50% ของ GDP โลก เป็นผลจากความพร้อมในการผลิตวัคซีนเองและฉีดให้แก่ประชาชนของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความพร้อมของเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศมาตรการล็อกดาวน์ โรงงานในบางพื้นที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนต้องหยุดการผลิต ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่ยังมีความเปราะบาง จนหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญหลายแห่งคาดว่
EXIM BANK แถลงผลดำเนินงานครึ่งปีแรก ช่วยเหลือ ผปก.ได้กว่า 9,400 ราย สร้างปริมาณธุรกิจกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นธุรกิจ SMEs 35% ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ EXIM BANK ได้ขยายบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินเพื่อประคับประคองและส่งเสริมธุรกิจส่งออก ลงทุน และที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย EXIM BANK มีสินเชื่อคงค้าง 137,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,908 ล้านบาท หรือ 8.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 33,772 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการลงทุน 103,637 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 14.09% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการให้สินเชื่อทั้งหมดของ EXIM BANK ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 87,888 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เท่ากับ 31,516 ล้านบาท หรือคิดเป็น 35.86% สะท้อน
EXIM BANK จับมือ กระทรวงพาณิชย์-พันธมิตร ช่วย SMEs ส่งออก เข้าถึงแหล่งทุนอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขพิเศษ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจับคู่กู้เงิน…สถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออกและสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีอนุมัติสินเชื่อระหว่าง ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กับผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งได้รับสินเชื่อจาก EXIM BANK จำนวน 7 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติรวมจำนวน 22.2 ล้านบาท ภายใต้โครงการดังกล่าว ณ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพาณิชย์ กับ EXIM BANK และ 5 พันธมิตร ประกอบด้วย หอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจส่งออกหรืออยู่ใน Value Chain ของธุรกิจส่งออกในเครือข่ายของกระทรวงพาณิชย์และลูกค้าของ EXIM BANK มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ที
เอ็กซิม แบงก์ ชี้ทางรอด SMEs ไทย พร้อมเปิดบริการ “สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจครบวงจร” วันที่ 23 มิ.ย. 2564 ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวในหัวข้อ “อนาคต SMEs ไทย เติบโตสู่ Supply Chain โลก” ว่า ในการแก้ปัญหา “ความย้อนแย้ง” ในเชิงโครงสร้างของ SMEs ไทย โดยเฉพาะการที่ SMEs ไทย มีจำนวนมากถึง 3.1 ล้านราย หรือ 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งระบบ แต่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจเพียง 35% ของ GDP รวมเท่านั้น สาเหตุสำคัญมาจาก SMEs ไทยส่วนใหญ่ค้าขายภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ผู้ส่งออก SMEs มีจำนวนไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งระบบ ซึ่งการขยายตลาดภายในประเทศมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น เศรษฐกิจไทยโตต่ำ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 2% ตลาดมีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนประชากรเพียง 66 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากถึง 18% ของประชากรรวม กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ทางรอดของ SMEs ไทย จึงได้แก่ การเข้าไปเชื่อมโยงในวงจรการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำได้ 2 แนวทาง 1. การยกระดับไปเป็นผู้ส่งออก ซึ่งแ
EXIM BANK บุก เวียดนาม เปิด สนง.ผู้แทนแห่งที่ 4 ในนครโฮจิมินห์ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ได้เปิดทำการสำนักงานผู้แทน EXIM BANK แห่งที่ 4 ในนครโฮจิมินห์ เวียดนาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 มี คุณจักรกริช ปิยะศิริกุล เป็นหัวหน้าสำนักงานผู้แทนฯ ทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนภายใต้ทีมประเทศไทย ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทยกับประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน โดยมีเป้าหมายขยายสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV เพิ่มขึ้น คิดเป็นยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อ 50,000 ล้านบาทภายในปี 2568 เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 45% จากยอดคงค้างจำนวน 34,500 ล้านบาทในปี 2563 ทั้งนี้ EXIM BANK เปิดดำเนินการสำนักงานผู้แทนแห่งแรกในย่างกุ้ง เมียนมา เมื่อปี 2560 จากนั้นจึงเปิดสำนักงานผู้แทนในเวียงจันทน์ สปป.ลาว และพนมเปญ กัมพูชา ในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ ส่วนสำนักงานผู้แทนในนครโฮจิมินห์จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2564 ถึงต้นปี 2565 กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า EXIM BANK จัดตั้งสำนักงานผู้แทนใน
EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อ ฟื้นฟู-พักทรัพย์ พักหนี้ ช่วยเหลือ SMEs พร้อมแถลงผลการดำเนินงาน ไตรมาสแรก ปี 64 ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เผย EXIM BANK ออกมาตรการความช่วยเหลือ สอดรับมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จำนวน 2 มาตรการ ดังนี้ EXIM BANK รับโอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อนำมาชำระหนี้กับ EXIM BANK เป็นการช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว โดยไม่ถูกกดราคาทรัพย์สิน และมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์คืนได้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีนับแต่วันที่รับโอน โดยผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถแจ้งความจำนงขอรับมาตรการ หรือสอบถามได้ที่ EXIM HOTLINE (02) 037-6099 นอกจากนี้ ดร.รักษ์ ยังเผยผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2564) ว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 EXIM BANK ได้ขยายบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในด้านการเงิน ทั้ง
EXIM BANK ผุด ตู้ EXIM 1 ปันสุข เยียวยาประชาชนรายได้น้อย เขตพญาไท ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดโครงการ “ตู้ EXIM 1 ปันสุข” ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) “EXIM เพื่อสุขภาพชุมชน” โดยจัดให้มีตู้อาหารแห้งที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารและเพื่อนพนักงาน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในชุมชนพญาไท ณ ด้านหน้าและด้านหลัง EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564
EXIM BANK ออกมาตรการช่วย SMEs ไทยใน CLMV จากวิกฤตไวรัส-สถานการณ์ภายในเมียนมา ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ไต่อันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยไปตลาด CLMV มีเหตุสะดุดลงในปี 2563 โดยหดตัวกว่า 11% ขณะที่ในปี 2564 ยังต้องเผชิญกับปัญหารอบด้าน ทั้งวิกฤตโควิด-19 ประกอบกับสถานการณ์ภายในเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ดำเนินธุรกิจส่งออกและลงทุนในตลาดเมียนมา ขณะที่ในภาพรวมกลุ่มประเทศ CLMV ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตทางเศรษฐกิจและมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการของไทยอยู่มาก EXIM BANK จึงออกมาตรการช่วยเหลือดังต่อไปนี้ • มาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ : เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี ใช้เพียงหนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกัน
EXIM BANK พลิกโฉม สู่แบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เร่ง ซ่อม-สร้าง-เสริม SMEs ไทย รุกตลาดโลก อย่างสมดุล ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงแนวนโยบายและบทบาทของ EXIM BANK ภายหลังเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ หลังจากในปีที่ผ่านมา หดตัวสูงสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ความต้องการซื้อภายในประเทศยังเปราะบาง การท่องเที่ยวยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัวในเร็ววัน การฟื้นตัวของภาคการส่งออกจึงเป็นความหวังในระยะสั้น ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเผชิญปัญหาความย้อนแย้งในเชิงโครงสร้างของผู้ประกอบการ แม้มีจำนวน SMEs มากถึง 3.1 ล้านราย คิดเป็น 99.5% ของทั้งระบบ ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีเพียง 1.5 หมื่นราย หรือ 0.5% ของทั้งระบบ แต่กลับมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสูงเกือบ 60% ของ GDP รวม อีกทั้งเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย GDP ต่อกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจสูงกว่า SMEs ถึง 350 เท่า ยิ่งตอกย้ำว่าแม้ SMEs มีจำนวนมาก แต่ยังสร้างแรงส่งต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ควร น