SMEs 4.0
ตั้งแต่ต้นศักราชใหม่เป็นต้นมา พบข้อมูลวิเคราะห์จากบรรดา “กูรู” ทางเศรษฐกิจของไทย หลายต่อหลายท่าน ต่าง “ฟันธง” ไปในทางเดียวกันว่า ปี 2561 น่าจะเป็นปีที่ SMEs ไทย ต้องเพิ่มความระมัดระวัง และอาจถึงขั้น “อยู่ยาก” ด้วยภาพรวมของประเทศมีความผันผวนสูงมาก อันเกิดจากปัจจัยประกอบหลายด้าน อาทิ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ราคาพลังงานมีแนวโน้มขาขึ้น ปัจจัยเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ อัตราเงินเฟ้อที่ไม่แน่นอน มีความผันผวน ผนวกกับหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการ เป็นต้น และถึงแม้ที่ผ่านมา รัฐบาลโดยหลายหน่วยงาน จะพยายามออกนโยบายและกลยุทธ์มากมาย โดยเฉพาะมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ด้วยเล็งเห็นว่าผู้ประกอบการ SMEs ไทย นั้น เป็น “ฟันเฟือง” ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3 ล้านราย มีภาคแรงงานกระจายอยู่กว่า 11 ล้านคน และนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากแต่ความพยายามดังกล่าวนั้น หลายฝ่ายต่างลงความเห็น ยังไม่ทำให้สถานการณ์ของเหล่า SMEs ไทย ดีขึ้นมากนัก ดังเห็นได้จากตัวอย่างในหลายธุรกิจ ที่ต่
ธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ SMEs Startup ครั้งที่ 1 ปี 2561 “GSB Symposium for Startup #1” “ออมรักษ์” เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้ก้าวไกลรับไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้แนวคิด “เสือคืนถิ่น สิงห์คืนถ้ำ” คุณบุญสน เจนชัยมหกุล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส กล่าวว่า SMEs Startup ถือเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยในปี 2560 ที่ผ่านมาธนาคารได้ดำเนินงานในหลายพันธกิจสำคัญพร้อมกันหลายด้านเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs Startup ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม “สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ธนาคารออมสินจัดภายใต้แนวคิด เสือคืนถิ่น สิงห์คืนถ้ำ มีความมุ่งหวังเพื่อให้ความรู้และแรงบันดาลใจการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ หรือคนรุ่นใหม่ที่เริ่มดำเนินธุรกิจ เกิดไอเดียใหม่ๆ สามารถนำภูมิปัญญาไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ เกิดอาชีพ สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9” ภายในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจากเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หัวข้อรักษ์นวัตกรรม โดยดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการศูนย์การสร้า
งานสัมมนาประจำปี 2560 ของนิตยสารเส้นทางเศรษฐี ที่จะมีขึ้น วันที่ 29 สิงหาคมนี้ ภายใต้หัวข้อ “เปิดเส้นทาง SMEs 4.0 : เศรษฐียุคดิจิตอล ใครว่ายาก” ฯพณฯ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งให้เกียรติปาฐกถาเกี่ยวกับนโยบายรัฐกับการสร้าง SMEs 4.0 ได้ให้ภาพของประเทศไทยในการแข่งขันทำธุรกิจกับประเทศต่าง ๆ ในอนาคตไว้ว่า ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก ไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการปรับตัวเพื่อรองรับนวัตกรรมโลก เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นดิจิตอลไลฟ์ ที่จะกระทบกับวิถีชีวิตประจำวัน และกระทบต่อธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการเองต้องดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและตามให้ทันเหตุการณ์ รวมถึงการเชื่อมโยงเทคโนโลยีระหว่างกัน(ดิจิตอล ออพติก)ในวันข้างหน้าจะเข้ามาแทนที่แบบเดิม ๆ ซึ่งจะเกิดเป็น Value Chain ทิศทางไทยแลนด์ 4.0 ไม่แค่เปลี่ยนสังคม แต่เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างประเทศ กระทบถึงผู้ประกอบการ รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีด้วย ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของธุรกิจไทย อย่างไรก็หนีไม่พ้นที่จะถูกผลกระทบจาก 4.0 ดังนั้น รัฐต้องสร้างให้เป็นเอสเอ็มอี 4.0 ประกอบด้วยการเพิ่มคุณสมบัติ ใส่เทคโนโลยี และเกาะติดกระแสใหม่ที่ต้องเผชิ