บาทหลวงอาเดรียง โลเนย์ (Adrien Louney) ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า นับแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ทรงเข้าพระทัยในความจริงทันทีที่ทรงเห็นกองทหารฝรั่งเศสเข้ามาในสยาม ทำให้พระองค์ทั้งฉงนพระทัยและหวาดกลัว บรรดาข้าราชสำนักก็พากันกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นการมอบประเทศให้ชาวตะวันตกอย่างแท้จริง

ในส่วนชาวฮอลันดาก็พากันยุยงส่งเสริมว่า หากเกิดอะไรขึ้นแล้วฮอลันดาไม่เสียอะไรเลยมีแต่จะได้ ผู้สูญเสียก็มีแต่ชาวสยามเท่านั้น

บาทหลวงโลเนย์ยังบันทึกความรู้สึกของฟอลคอนขณะนั้นไว้ว่า “…ฟอลคอนซึ่งยังมีอำนาจปกครองประเทศอยู่ ก็รู้สึกอึดอัดใจที่ต้องคอยเอาใจจอมเผด็จการ และต่อสู้กับความอิจฉาที่รุนแรงอย่างลับๆ ของเหล่าขุนนาง นอกจากนี้รอบๆ ตัวของเขาก็มีชาวต่างชาติที่ต้องเอาใจและคอยห้ามปรามในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ฟอลคอนจึงต้องใช้กลวิธีสำหรับศาสนาที่เป็นอริกัน ผลประโยชน์ขัดกัน และมีความอาฆาตกันไม่เลิกรา อย่างไรก็ตามเขาจะประสบความสำเร็จในการคงไว้ซึ้งอำนาจชั่วคราวและโชคชะตาที่ซวนเซได้ก็ต่อเมื่อใช้กลวิธีที่แคล่วคล่องและชั่วร้าย…”

จากบันทึกของบาทหลวงโลเนย์ ทำให้รู้ถึงภาวะที่ลำบากของฟอลคอนในการที่จะดำเนินการดึงกำลังทหารฝรั่งเศสมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวดังที่เข้าต้องการ

 

 

อ้างอิง : หนังสือ การเมืองในประวัติศาสตร์ “ขนมหวาน” ของ ท้าวทองกีบม้า “มาดามฟอลคอน” “ขนมไทย” หรือ “ขนมเทศ”. โดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๔๖ และ ศิลปวัฒนธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน