กฏหมายธุรกิจ
การเข้าพักในโรงแรม หากมีกรณีสัมภาระหรือทรัพย์สิน หรือรถยนต์ ของผู้เข้าพัก สูญหายไป กรณีนี้ ทางโรงแรมจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ หรือการที่ ทางโรงแรมมีข้อความจำกัดความรับผิด ประกาศอยู่ภายในห้องพัก ว่าจะรับผิดไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ ข้อจำกัดความรับผิดนั้น จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายได้หรือไม่ กรณีดังกล่าว ต้องพิจารณาจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ มาตรา 674 เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา นั่นคือ โดยหลักแล้ว ทางโรงแรมต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ หากเป็นทรัพย์สินมีค่า อาจจะต้องพิจารณาจาก มาตรา 675 วรรค 2 ที่ว่า ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จำกัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง ส่วนกรณีที่ ทางโรงแรม มีข้อจำกัดความรับผิด ปิดเป็นป้ายประกาศไว้ เมื่อดูจาก มาตรา 677 ที่ว่า ถ้ามีคำแจ้งความปิดไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่อื่นท
กรณีที่ ลูกจ้างลักสมุดเช็คจากนายจ้าง แล้วปลอมลายเซ็น นำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร ธนาคารก็จ่ายเงินให้ได้ มีคำถามกรณีนี้ ทางธนาคารมีสิทธิ์ไปหักเงินจากบัญชีของนายจ้างหรือไม่ (ใครต้องเป็นฝ่ายรับความเสียหายนี้) จาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๗๒ ถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน อนึ่ง ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดังว่านั้น นั่นหมายความว่า เงินที่ลูกค้า (เคสนี้คือนายจ้าง) นำไปฝากไว้กับธนาคาร ย่อมเป็นเงินของธนาคารแล้ว ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นธนาคารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ (ทางธนาคารจะไปหักเงินจากบัญชีของนายจ้างหรือลูกค้า หาได้ไม่) กรณีปัญหาดังกล่าวมีคำพิพากษาฎีกาที่เคยตัดสินไว้ ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15447/2555 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา 672 ว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แ
หลายคนเข้าใจว่า หากมีการตบตีทำร้ายร่างกายกันเล็กๆน้อยๆ จากนั้นก็ขึ้นโรงพัก เสียค่าปรับ ก็จบ แต่ในแง่ของกฎหมายแล้ว อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการตบตี ทำร้ายร่างกายอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391ที่ว่า “ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ในกรณีความผิดตามมาตรา 391นี้ เป็นคดีลหุโทษ ตามกฎหมายอาญามาตรา 102 ที่ว่า “ความผิดลหุโทษคือ ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” สำหรับคดีลหุโทษ หากจะเลิกกันได้ ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 38 นั่น คือ เจ้าพนักงานต้องเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก จะมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ ขณะเดียวกัน ต้องมีความยินยอมของผู้ต้องหาและผู้เสียหายด้วย คดีจึงจะเลิกกันได้ด้วยการปรับของเจ้าพนักงาน ดังนั้น ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าถ้าเจ้าพนักงานไม่เห็นควร หรือ หากผู้เสียหายไม่ยินยอม หรือแม้ผู้เสียหายยินยอมแต่ผู้ต้องหาไ
“การให้” เป็นสัญญาทางแพ่งประการหนึ่ง ซึ่งมีบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตั้งแต่มาตรา 521-536 ใครจะยกทรัพย์สิน ทั้งสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ให้กับใคร เมี่อให้ไปแล้ว คล้ายว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เมื่อผู้รับยินดีรับก็น่าจะจบเรื่อง แต่ปัญหาจะเกิดมีขึ้น เมื่อให้ไปแล้ว จะขอคืนในภายหลังนี่สิ จะขอคืน จะเอาคืนได้หรือไม่ เรื่องของการให้ โดยหลัก ให้แล้วให้เลย หรือให้แล้วขอคืนไม่ได้ แต่ในทางกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการขอคืน อันเป็นข้อยกเว้น เอาไว้ด้วย ภาษากฎหมาย เรียกการขอคืนนี้ว่า “ถอนคืนการให้” ถ้าจะถอนคืนได้ จะต้องมีเหตุหรือเข้าเหตุ 3 ประการ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 531 ดังนี้ “อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาชญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาชญา หรือ (2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ (3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผ
ปัจจุบัน คอนโดมีเนียม อาคารชุด ตึกสูงมีอยู่มากในเมืองใหญ่ และตึกเหล่านี้ บางตึก ใช้กระจกเป็นผนังอาคาร ซึ่งดูเหมือนไม่มีอะไร แต่….อาคารกระจกเหล่านี้กลับสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับอาคาร เนื่องจาก มีแสงสะท้อนจากอาคารชุดสาดใส่บ้าน นั่นเอง ตัวอย่างเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นจริง เมื่อ ศาลฎีกา มีคำพิพากษา ให้บริษัทเจ้าของโครงการอาคารชุดอยู่อาศัยขนาดใหญ่กลางกรุง ที่ใช้กระจกติดตั้งรอบตัวอาคาร ชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของบ้านใกล้เคียงที่ฟ้องคดี ระบุว่า ต้องเจอปัญหา ๖ เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน ของทุกปี เกิดภาวะตะวันอ้อมข้าว แสงสะท้อนจากอาคารชุดสาดใส่บ้าน เกิดความร้อนจนอยู่ไม่เป็นสุข จนกว่าจะแก้ไขลดแสงสะท้อนให้สิ้นไป (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๗๒/๒๕๕๗ ในคดีที่ประชาชนผู้มีบ้านอยู่อาศัยใกล้กับโครงการอาคารชุด ที่ระบุว่าได้รับผลกระทบจากโครงการอาคารชุดขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นอาคารที่ติดตั้งกระจกรอบตัวอาคาร แสงสะท้อนจากกระจก ก่อให้เกิดความร้อนจนไม่สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างปกติสุขฟ้องคดี ขอให้แก้ไขความเดือดร้อน และเรียกค่าสินไหมทดแทนจนกว่าจะแ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท…. และมาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ มาตรา ๑๖๐๑ ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน นั่นหมายความว่า นอกจากทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ที่ผู้ตายก่อไว้อีกด้วย โดยรับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่รับมา ตาม มาตรา ๑๖๐๑ ทายาทนั้น มี ๒ แบบ คือ ทายาทโดยธรรม และทายาทโดยพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม ทั้งนี้ ทายาทโดยธรรมมีใครบ้าง? การกำหนดตัวทายาทโดยธรรม มาตรา ๑๖๒๙ ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๖๓๐ วรรค ๒ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ (๑) ผู้สืบสันดาน (๒) บิดามารดา (๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (๕) ปู่ ย่า ตา ยาย (๖) ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา ๑๖๓
ฎีกาชาวบ้าน ตอน น้ำท่วมที่จอดรถคอนฯ รถเสียหาย นิติบุคคลต้องรับผิดหรือไม่ จากปัญหา น้ำท่วมที่จอดรถคอนโดมิเนียม แล้วรถยนต์ของเจ้าของร่วมที่จอดอยู่บริเวณที่จอดรถเสียหาย มีปัญหาว่านิติบุคคลต้องรับผิดหรือไม่ กรณีดังกล่าว อาจพิจารณา จากหลักกฎหมาย ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องละเมิด คือ “มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” ประกอบกับ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา๓๓ วรรค ๒ ที่บัญญัติว่า “นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการ และดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมติของเจ้าของร่วม ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้” จากเหตุดังกล่าวและข้อกฎหมายข้างต้น น่าพิจารณาว่า ที่จอดรถคอนโดมีเนียม นั้นจัดเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ที่นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องดูแล ดังนั้น หากกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นกับรถเจ้าของร่วมที่นำมาจอดไว้ในที่จอดรถส่วนกลาง อาจต้องพิ
การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลธรรมดาทั่วไปกับการกู้เงินจากสถาบันการเงิน มีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ดังจะได้พิจารณาจากข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ สำหรับ อัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น มีบัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี การกู้ยืมเงินกันเองนั้นอยู่ภายใต้บังคับ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ที่ว่า มาตรา 3 บุคคลใด (ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ท่านว่า บุคคลนั้น มีความผิดญานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ —————————- มาตรา 654 นั้นเป็นเรื่องของการยืม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่อง ดอกเบี้ยของการยืมใช้สิ้นเปลืองไว้ว่า ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เป็นหลักทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการยืมทรัพย์ที่ใช้สิ้นเปลืองชนิดใด หากกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อไปให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี แต่เมื่อเป็นกรณีการกู้ยืมเงินกัน มีพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้
อันที่จริงแล้ว แม้จะมีการประกันภัยในลักษณะต่างๆ เพื่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถ ให้มีบริษัทประกันภัยเข้ามารับภาระความเสี่ยงในส่วนนั้นไป โดยเจ้าของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ได้เอาประกันภัย และจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ขับขี่กันเอง อันจะนำไปสู่การวิวาท ทำร้ายร่างกายกัน นำไปสู่การบาดเจ็บเสียหายต่อร่างกายที่มีค่ายิ่งกว่า ทว่า ปัญหาใช้ถนนร่วมกันมีโอกาสเกิดการกระทบกระทั่งกันได้ง่าย ไม่เฉพาะในบ้านเรา แม้ต่างประเทศเองก็มีเกิดขึ้นให้ได้เห็นใน วิดิโอ คลิป ทาง YouTube กันอยู่เสมอๆ หากว่าเกิดเหตุแล้ว ผู้เป็นเจ้าของรถที่ถูกเฉี่ยวชน ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ถึงขนาดลงจากรถไปคว้าคอเสื้อคู่กรณีอีกฝ่าย ลากมาดูแผลที่เกิดจากการเฉี่ยวชน แถมด้วยชกหน้าคู่กรณี บังคับให้กราบร่องรอยถูกชน หรือให้ทำอย่างอื่น จนผู้ถูกบังคับลากมานั้นยอมกระทำ โดยมีเพื่อนที่มาด้วยลงมายกมือห้ามไม่ให้คนอื่นยุ่งเกี่ยว เมื่อผู้ที่เห็นเหตุการณ์ตะโกนให้สติว่า อย่าทำร้ายกัน กรณีเช่นนี้ อาจบานปลายกลายเป็นการกระทำความผิดอาญาที่ต้องระวางโทษร้ายแรงได้ เช่นผู้ที่ไปคว้าคอคู่กรณีลากมา อาจจะมีความผิดในความผิดต่อเสรีภาพ ต
ปัจจุบัน บริษัทประกัน มีโปรแกรม หรือแผนประกัน การคุ้มครอง กันออกมาค่อนข้างมาก ซึ่งการทำความเข้าใจประกันภัยแต่ละชนิด ก่อนตัดสินใจซื้อประกัน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อย่างประกัน ที่โฆษณาว่า “ไม่ต้องตอบปัญหาสุขภาพ” หรือ “ไม่ถามปัญหาสุขภาพสักคำ” แท้จริงแล้วเป็นประกันประเภทใด และมีความคุ้มครองเพียงใด ต่างจากประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิตอื่นๆ หรือไม่ ติดตามรายละเอียดได้จากคลิป หมายเหตุ : รายการฎีกาชาวบ้าน เป็นรายการกฎหมายใกล้ตัว ออกอากาศ ทาง www.matichon.co.th โดยมี นายโอภาส เพ็งเจริญ คอลัมนิสต์สัพเพเหระคดี หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และนางสาวเสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน เป็นผู้ดำเนินรายการ