กฏหมายธุรกิจ
ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓ เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากัน เพราะเหตุตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น วรรคสอง สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้ วรรคสาม ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ จากกฎหมายข้างต้น สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทนจากผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่า ทั้งกรณีที่มีการฟ้องหย่ากันตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคแรก หรือแม้มิได้มีการฟ้องหย่ากันตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคสอง รายละเอียด ดังนี้ ๑. ตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคแรก เป็นกรณีฟ้องหย่า “ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น” ๑.๑. ภริยา เรียกค่าทดแทนจากสามี และจากผู้ที่สามี
ประเด็นปัญหาที่ว่า ระหว่างที่ยังผ่อนรถ ในระยะสัญญาเช่าซื้อรถ อาจจะเป็น 48 งวด 60 งวด หรือกี่งวดก็ตาม หากรถที่เช่าซื้อมานั้นหายไป ถามว่า ผู้เช่าซื้อยังต้องผ่อนต่อหรือไม่ เรื่องนี้ ต้องพิจารณาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๒ บัญญัติ ว่า อันว่า เช่าซื้อ นั้น คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว” และมาตรา ๕๖๗ ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปทั้งหมดไซร้ ท่านว่าสัญญาเช่าก็ย่อมระงับไปด้วย” ลักษณะของสัญญาเช่าซื้อ ก็คือสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินที่เช่าสูญหายไป สัญญาเช่าย่อมต้องระงับลง นั่นหมายความว่า เป็นอันเลิกสัญญาต่อกัน ผู้เช่าซื้อไม่ต้องผ่อนต่อ แต่สัญญเช่าซื้อโดยทั่วไป ผู้ให้เช่าซื้อมักกำหนดต่อไปอีกว่า …หากทรัพย์ที่เช่าสูญหายไป ผู้เช่าซื้อก็จำต้องผ่อนต่อจนครบสัญญา …… ซึ่ง ในส่วนต่อท้ายนี้ ศาลฎีกามองว่า เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งก็เข้าลักษณะเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ดังนั้น
การกู้ยืมเงินกันเมื่อมีปัญหาขึ้นมา ถ้าจะต้องฟ้องร้องเป็นคดีจะใช้หลักฐานที่สำคัญคือหลักฐานเป็นหนังสือ ดังในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้น เงื่อนไขที่จะฟ้องคดีกู้ยืมเงินจะต้องมีลักษณะ ดังนี้ ๑. กู้ยืมกัน ๒,๐๐๐ บาทหรือ น้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาท ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องคดีได้ ๒. กู้ยืมเงินกันกว่า ๒,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้ ๓. หลักฐานเป็นหนังสือ ที่สำคัญคือ จะต้องปรากฏลายมือชื่อผู้กู้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๔๘/๒๕๓๐ จำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์ มีใจความว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปเพื่อสร้างบ้าน ท้ายจดหมาย จำเลยเขียนชื่อเล่นด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจง ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๒๖๒/๒๕๓๕ จำเลยทั้งสอง กู้ยืมเงินโจทก์ไป สัญญาตอนต้นมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ ๒ เป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อในช่องพยาน ส่วนจำเลยที่ ๑ ตอนต้นของสัญญาไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ ๑ ลงชื่อในช่
ตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องของผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะออกทดรองเงินไปก่อน ให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ซึ่งการใช้บัตรเครดิตก็เป็นกรณีที่ สถาบันการเงิน ได้ออกทดรองเงินไปก่อนให้กับลูกหนี้บัตรเครดิต จึงมีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ (ในใบแจ้งหนี้) เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551 “หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้” นอกจากนี้ก็มีคำพิพากษาฎีกาที่ 2456/2551 และ 8051/2551 มาในแนวทางเดียวกันที่ว่าหนี้จากการใช้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปี ทั้งนี้ หากมีกรณีที่หนี้ขาดอายุความแล้ว และ ข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ หรือจำเลย ต้องยกขึ้นมาต่อสู้โจทก์หรือเจ้าหนี้ เนื่องจากศาลไม่อาจนำขึ้นมาพิจารณาเองได้ ดังนั้น หากลูกหนี้บัตรเครดิตรายใด ถูกฟ้องให้ชำระหนี้บัตรเครดิต และได้รับหมายศาล จึงมีข้อแนะนำว่าต้องไปศาล และยื่นคำให้การว
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งของการล้อมรั้วกระแสไฟฟ้า เพื่อป้องกันทรัพย์สิน ในบ้านเรือน โรงงาน โรงเก็บของ เรือกสวนไร่นา กระทั่งมีคนได้รับบาดเจ็บหรือกระทั่งเสียชีวิต ในกรณีดังกล่าว ในแง่ของกฎหมายแล้ว กรณีใดที่จะเข้าข่ายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือกรณีใดที่จะเป็นการเจตนาทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องพิจารณา ข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป โดยอาจแยกได้เป็น 3 กรณีคือ ๑.ผิดตามปอ. มาตรา ๒๙๐ เจตนาทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย มาตรา ๒๙๐ ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ดังเช่น ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2528 การที่ ส. ผู้ตายได้เข้าไปในบริเวณบ่อปลาของนายจ้างของจำเลยเพื่อจะเกี่ยวหญ้า ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิทำร้ายผู้ตายได้เมื่อจำเลยขึงลวดไว้ภายในรั้วลาดหนามที่ล้อมรอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลาของนายจ้างและปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปตามลวดนั้นผู้ตายมาถูกสายไฟฟ้าของจำเลยเข้าถึงแก่ความตาย ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิของผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
จากประเด็นที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในเวลานี้ในเรื่องการใช้กฎหมายอาญา “ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” นั้น ในเรื่องดังกล่าว อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 อนุ 4 ดังนี้ มาตรา ๒๘๙ ผู้ใด …. (๔) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และมีโทษบัญญัติไว้ใน วรรค 2 นั้นคือ ต้องระวางโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่า เป็นโทษขั้นสูงสุด และเป็นโทษที่จะลงได้สถานเดียวซึ่งต่างจาก การฆ่าตามปกติ ในมาตรา 288 ที่ว่า มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ตัวอย่าง คำพิพากษาของศาลฎีกา ในเรื่องการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เช่น คำพิพากษาฎีกา 3576/2533 “ขณะจำเลย ผู้ตาย และพวกนั่งดื่มสุราอยู่ด้วยกัน ผู้ตายพูดว่า จำเลยหัวล้านหรอยจัง แล้วใช้มือลูบศีรษะจำเลย จำเลยลุกจากวงสุราไป ต่อมาประมาณ 15 นาที จำเลยถือปืนแก๊ปยาวมายิงผู้ตายถึงแก่ความตาย กรณีมิใช่โทสะที่พุ่งขึ้นเฉพาะหน้าขณะที่ผู้ตายใช้มือลูบศีรษะจำเลย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนมายิงผู้ตายทันที แต่เป็นกรณีที่จำเลยเกิดโทสะแล้วออกจากวงสุราไป เกิดความคิดจะฆ่าผู้ตายในภายหลัง และเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยจะต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนั
กรณีที่มี คนตะโกนขึ้นมาว่า “ตำรวจมา” เพื่อส่งสัญญาณให้กับนักพนันหนีการจับกุมของตำรวจนั้น เป็นความผิดลักษณะของการช่วยด้วยประการใดๆแก่ผู้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ดังคำพิพากษา 2448/2521 เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าทำการจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันไฮโลว์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลย ร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวว่า “ตำรวจมา ตำรวจมา” พวกที่เล่นการพนันบางคนหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานไปได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าว ก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้ผู้เล่นการพนันรู้ตัวเพื่อจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะของการช่วยด้วยประการใดๆ แก่ผู้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 บัญญัติว่า ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือป
การริบทรัพย์ในคดีอาญา จากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒ บัญญัติ ว่า ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ขณะเดียวกัน ใน มาตรา ๓๓ บัญญัติว่า ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ (๑) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ (๒) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด เว้นแต่ ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ทั้งนี้ มีคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2558 รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ขับในขณะเมาสุรา และขับรถหลบหนีด้วยความเร็วสูงโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ถือเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโดยตรงอันพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2539 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์แข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้พร้อมยึด
เรื่องของการรอลงอาญา ในภาษาที่เรียกกันทั่วไป หรือ การรอการลงโทษ ในภาษากฎหมาย ปัจจุบันกำหนดไว้ดังนี้ “ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ วรรคแรก ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือ สภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้น มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาโดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้ ดัง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ที่ ๗๖๖๓/๒๕๔๘ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ วรรคหนึ่ง จำคุกสี่ปี คำให้การและคำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ
จากการที่มีข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีคนลักมะพร้าว แล้วเจ้าทรัพย์เรียกเงินหลักหมื่น คนที่ลักมะพร้าวไม่มีเงินจ่าย เลยต้องถูกดำเนินคดี เรื่องดังกล่าวนี้ มีคำถามว่า เป็นไปได้ในทางกฎหมายหรือไม่ การที่จะทราบคำตอบนี้ ต้องดูหลักในทางกฎหมายประการหนึ่งนั่น คือ ความผิดอาญา อาจแบ่งได้เป็น 1.ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ และ2. ความผิดอาญาแผ่นดิน ที่ไม่สามารถยอมความได้ ความผิดฐานลักทรัพย์ มีบัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท ความผิดในหมวดนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดที่ยอมความได้ ดังนั้น ความฐานลักทรัพย์จึงเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ เมื่อเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ จึงไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นพนักงานสอบสวน นั่นหมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนแล้ว สรุปสำนวนเสนอความเห็นไปที่พนักงานอัยการเพื่อจะวินิจฉัย ว่าควรจะมีคำสั่งว่าจะฟ้อง หรือไม่ฟ้อง อันเป็นการดำเนินคดีในชั้นศาลต่อไป ความผิดฐานลักทรัพย์ พนักงานสอบสวนไม่สามารถเปรี