ขายขนม
รายได้ 300 ล้านบาทต่อปี! เริ่มต้นอบคุกกี้จากเตาอบเล็กๆ สู่แบรนด์ “Fancypants” กวาดรายได้ปังๆ ใครหลายๆ คนก็มักจะเริ่มต้นอาชีพหรือทำธุรกิจจากความชอบเป็นส่วนใหญ่ แต่จะทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน เรื่องราวของผู้หญิงคนนี้ เริ่มต้นธุรกิจขนมคุกกี้มาจากความชอบ และต่อยอดกลายเป็นธุรกิจ จนสามารถสร้างรายได้ถึง 300 กว่าล้านบาทใน 1 ปี โดยเป็นเรื่องราวของ Maura Duggan ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Fancypants Baking Co. หลังจาก Maura Duggan สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาประสาทวิทยาและปริญญาโทสาขาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เธอทำงานเป็นนักวิจัยให้กับองค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการศึกษา แม้ว่างานนี้จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่เธอยังคงคิดถึงความท้าทายตัวเองและเรียนรู้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปได้ การอบขนมเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้เธอคิดถึงความทรงจำเกี่ยวกับแม่และยาย ดังนั้น เมื่อต้องการหารายได้พิเศษก็มักจะหันไปทำครัวและขนมสุดโปรด อย่างคุกกี้ ในปี 2547 เธอเริ่มทำจากครัวเล็กๆ ในคอนโด เมื่อเริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ กลายเป็นสิ่งที่ใหญ่กว่าอย่างรวดเร็ว และในไม่ช้า เธอก็พบว่าต
ออร์เดอร์ปังวันละหลักหมื่นชิ้น! หนุ่มจบประมง มาทำวุ้นถาด ขายปลีก-ส่งสร้างอาชีพ สร้างรายได้งามๆ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” มีหนึ่งร้านวุ้นแนะนำ ร้านนี้มีวุ้นให้เลือกทานมากกว่า 400 หน้า สลับหมุนเวียนกันไป ใส่ถาดวางเรียงสีสันน่าทานมากๆ เรียกว่า วุ้นถาด โดยมี คุณบิ๊ก-ฐาเกียรติ ศรีรุ่งนภาพร เป็นเจ้าของธุรกิจ ภายใต้แบรนด์ “พุงพลุ้ย” เดิมที คุณบิ๊กทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์น้ำ นั่นคือเลี้ยงกุ้ง เพราะเรียนจบคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ก็เกิดวิกฤตช่วงปี 2554 น้ำท่วมหนัก ทำให้ไม่เหลืออะไรเลย แต่ด้วยความชอบกินขนม และของหวานต่างๆ เขาจึงเปลี่ยนสายมาเอาดีทางด้านนี้ และเริ่มต้นด้วยการลงเรียนหลักสูตรขนม อาศัยครูพักลักจำบ้าง ใช้ความพยายามรวมทั้งการฝึกฝน จนสามารถคิดสูตรวุ้นได้ เกิดเป็นวุ้นถาดที่ทำขายถึงปัจจุบัน นำขนมที่ชอบทานมาพลิกแพลงจนกลายเป็นวุ้นถาดที่มีมากกว่า 400 หน้า แต่กว่าจะได้แต่ละหน้า ก็ทำทิ้งไปจำนวนมาก “ชอบทานอะไร ก็นำสิ่งนั้นมาเป็นไอเดีย ถามว่ามีสินค้ารูปแบบคล้ายกันวางจำหน่ายบ้างหรือยัง มันต้องมีบ้างอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าร้านไหนดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับรสชาติ แล
พยาบาล ล่าฝัน! ลาออกจากงาน มาทำขนมขาย แถมแบ่งรายได้ทำบุญทุกปี ตลอด 3 ปี ของการทำขนมขายควบคู่งานประจำ ทำให้ คุณฟาง-กมลชนก หงษ์นิกร มีเวลาอยู่กับตัวเอง มีสมาธิ และค้นพบไอเดียใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้คือความสบายใจและความสุขล้ำค่า…จากงานพยาบาลที่ทำมาเกือบ 10 ปี วันนี้เธอกลายเป็นคนทำขนมเต็มตัว พร้อมรับออร์เดอร์ และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งทำบุญทุกปีช่วงวันเกิด เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณฟาง เธอเล่าให้ฟังว่า การมีงานทำมากกว่า 1 อย่างเป็นเรื่องดี ก่อนหน้านี้ได้ค้าขายมาบ้าง เช่น เสื้อผ้า แต่ยังรู้สึกไม่ใช่ กระทั่งวันหนึ่งอยากกินขนม แต่หาร้านหวานน้อยยากมาก จึงลองฝึกทำเอง เริ่มต้นจาก คุกกี้ ไม่ได้ลงเรียนคลาส แต่ปรับสูตรจากยูทูบ ก็สำเร็จในครั้งแรกตามตั้งใจ เหมือนมีพรสวรรค์ติดตัว เมื่อนำไปให้เพื่อนๆ ที่ทำงานชิม หลายเสียงบอกตรงกันว่าอร่อย เป็นจุดเริ่มต้นให้เริ่มขายขนม เพราะได้ออร์เดอร์แรกจากที่นี่ แล้วคุณฟางแบ่งเวลาทำขนมอย่างไร เธออธิบายว่า เมื่อก่อนรับออร์เดอร์ได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องเข้าเวรดึก ช่วง 23.00-07.00 น. พอมีการปรับเวรใหม่เป็นช่วง 09.00-21.00 น. 1 สัปดาห์ทำงาน 4 วัน ทำให้มีเวลา
ยายทำให้หลานขาย ร้านขนมไทย แผงเล็กๆ ที่ขายได้วันละ หลักหมื่น “ยายทำให้หลานขาย” ร้านขนมไทย ที่อัดแน่นไปด้วยขนมหวานไทย จากฝีมือคุณยาย กว่า 40 เมนู หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปแต่ละวัน วันละ 20 เมนู ได้หลานคนเก่ง คนรุ่นใหม่มาช่วยทำการตลาด ทุกวันนี้ขายดิบขายดี หากขายหมดแผงจะสร้างรายได้ วันละ 20,000-30,000 บาท โดยประมาณ จุดเริ่มต้นของร้านนี้มาจาก คุณนัท-พัชริดา มะลา วัย 28 ปี ก่อนหน้านี้ เธอและแฟน (คุณอนงค์นาฎ สุหาลา หรือ ปู) เคยทำงานประจำ แถมรับงานฟรีแลนซ์เป็นตากล้อง และคอนเทนต์ครีเอทีฟ แต่เมื่อโควิดมา ทั้งคู่จึงไม่มีงาน ประจวบเหมาะ คุณยายซึ่งยึดอาชีพขายขนมไทยมานานกว่า 50 ปี อยากมีรูปขนมสวยๆ ไว้ดู จึงวานให้เธอและแฟนช่วยถ่ายรูปให้ อีกทั้งคุณแม่ ซึ่งปกติจะนำขนมของคุณยายออกขายตามตลาดนัด ก็ไม่สามารถไปขายได้เหมือนเดิม เพราะมีโรคระบาด และไม่เคยขายออนไลน์ด้วยเป็นคนรุ่นเก่า คุณนัทจึงนำรูปถ่ายโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว และเปิดรับออร์เดอร์แรก “เพื่อนๆ เห็นโพสต์แล้วให้ความสนใจกันเยอะมาก ชมว่ารูปสวย ขนมดูน่าทานมาก เลยเปิดรับออร์เดอร์แรกจากเฟซบุ๊กตัวเอง จากนั้นก็เริ่มโพสต์ขายในกลุ่มของกินโซนล
ถอดสูตรสำเร็จ ยายทำให้หลานขาย ร้านขนมไทยสุดฮิต ทำอย่างไร ถึงครองใจลูกค้า “ยายทำให้หลานขาย” คือร้านขนมไทยแผงเล็กๆ แต่ขายดีมาก แถมเป็นที่รู้จักในซอยอารีย์ เสิร์ฟขนมไทยมากกว่า 20 ชนิดต่อวัน จากสูตรเด็ดของคุณยายผู้ขายขนมไทยมานานกว่า 50 ปี กระทั่งได้หลาน คุณนัท-พัชริดา มะลา วัย 28 ปี มาช่วยต่อยอด หากขายหมดแผงจะสร้างรายได้ วันละ 20,000-30,000 บาท โดยประมาณ อะไรคือสูตรสำเร็จ ของ “ยายทำให้หลานขาย” เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ไขคำตอบให้แล้ว 1. เมนูหลากหลาย ราคาสบายกระเป๋า แม้จะเป็นร้านขนมแผงเล็กๆ แต่ ยายทำให้หลานขาย มีขนมไทยให้เลือกชิมมากกว่า 40 เมนู หมุนเวียนหน้าร้านวันละ 20 กว่าเมนู ไม่มีเบื่อ โดยขนมทั้งหมด ปรุงจากสูตรเด็ดของคุณยายผู้ทำขนมขายมากว่า 50 ปี ปรุงสดใหม่ทุกวันจากบางบัวทอง ก่อนนำมาเสิร์ฟหน้าร้าน โดยขนมที่ต้องมีติดหน้าร้านเป็นประจำทุกวัน คือ ขนมใส่ไส้ ข้าวต้มมัด ขนมกล้วย ขนมโค ขนมต้ม เปียกปูน เป็นต้น ขายราคาสบายกระเป๋า เริ่มต้น 25-35 บาท 3 กล่อง 100 บาท ตอบโจทย์ลูกค้าที่อยากทานหลายอย่าง 2. แบ่งวันขาย พบปะลูกค้าหลายๆ กลุ่ม ยายทำให้หลานขาย ไม่ได้เปิดแผงประจำอยู่แห่งเด
อิ่มตัวจากงานประจำ หันขายกราโนล่า อร่อยจนเพื่อนฝูงบอกต่อ ฟันรายได้หลักหมื่น เพราะอิ่มตัวจากงานประจำ ทำให้ คุณเจี๊ยบ-กิตติศักดิ์ สองเมือง วัย 52 ปี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับกลางในบริษัทแห่งหนึ่ง ยอมทิ้งเงินเดือนหลักแสนเมื่อปลายปี 2563 หันมาใช้เวลาดูแลครอบครัวและสร้างความสมดุลให้ชีวิต จากที่ไม่ค่อยได้พักผ่อน “ลาออกแล้วรู้สึกอิสระ แต่พอเจอโควิด สิ่งที่คิดว่าจะทำก็ไม่ได้ทำ ทุกอย่างถูกยกเลิกหมด ผมมีเวลาว่างมากเกินไป ตอนนั้นคิดอยากกลับไปทำงานออฟฟิศเหมือนเดิม แต่ก็หยุดความคิดไว้ เพราะอิ่มตัวแล้วจริงๆ จมอยู่กับตัวเองพักใหญ่ จนที่สุดผมตั้งคำถามกับตัวเองใหม่ว่าจะทำอะไรดี” หลังคิดวนไปวนมา คุณเจี๊ยบ ตกผลึกความคิดได้ว่า ชอบทำอาหารและขนม เพราะทำแล้วมีความสุข “ผมนำสิ่งที่ชอบมาต่อยอด เพราะอุปกรณ์มีพร้อมทำอาหารทำขนมโฮมเมดได้เลย ด้วยเป็นคนดูแลสุขภาพประมาณนึงจึงอยากทำขนมอบขาย แต่ไม่เน้นสุขภาพจ๋าจนจืดชืดเพราะตัวเองยังติดรสชาติ ที่สำคัญ ต้องพกพาได้ จัดส่งง่าย เก็บได้นาน วัตถุดิบหาไม่ยาก ซึ่งกราโนล่าตอบโจทย์ที่สุด” คุณเจี๊ยบ เล่า ด้วยกราโนล่า เป็นสินค้ายอดนิยมหลายคนทำขายมานาน ทำให้มีสูตรในอินเท
วิกฤตซัดธุรกิจ OEM หันสร้างแบรนด์ตัวเอง ขายเค้กนุ่มดีลิเวอรี่ หารายได้เข้าบริษัท จากโรงงานผลิตอาหารและเบเกอรี่ รับ OEM ให้แบรนด์ชั้นนำต่างๆ มานาน 10 ปี วันนี้เมื่อวิกฤตมา เพื่อความอยู่รอดและประคับประคองลูกน้อง จึงต้องปรับตัวมาสร้างแบรนด์ของตัวเอง นำอาหารและเค้กนุ่มแช่แข็ง มาจำหน่าย ในร้านมอลลี่เค้กนุ่ม ตั้งแต่การระบาดรอบแรก คุณมอลลี่-มลฤดี สัมพันธารักษ์ เจ้าของบริษัท บองอาร์ทพะทิช จำกัด เล่าให้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ฟังว่า ก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ในวงการข่าว และเดินทางไปเรียนต่อด้านเชฟ จากนั้นกลับมาทำธุรกิจร่วมกับหุ้นส่วนอีกสองท่าน คือ คุณพัชรินทร์ สกุลชัยพรเลิศ และคุณมนสุภา ไสยสุข ในปี 2011 ได้เปิดโรงงานผลิตอาหารและเบเกอรี่ ภายใต้ บริษัท บองอาร์ทพะทิช จำกัด ตั้งอยู่ย่านรัชโยธิน เป็นครัวกลางรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ในกลุ่มร้านอาหารและร้านกาแฟ โดยสินค้าของบริษัท เน้นแช่แข็ง ใช้งานง่าย ลดปัญหาการสูญเสีย เพื่อให้ลูกค้าบริหารจัดการหน้าร้านได้ง่ายและสะดวกที่สุด “โดยส่วนใหญ่บริษัทครัวกลางคืออุตสาหกรรมใหญ่ แต่เราเป็น SMEs ตัวเล็กๆ ข้อดีของเราคือ ยืดหยุ่นออร์เดอร์ได้ ลูกค้าไม่ต้
เปิดแค่ปีละ 3 รอบ! บุฟเฟ่ต์ขนมไทยโบราณสูตรลับจากคุณยาย อิ่มละ 79 บาท ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย หอมหวาน ต้องยกให้ขนมไทย ไม่ว่าจะชนิดไหนรสชาติก็ดีเยี่ยม แต่ถ้าอยากกินขนมไทยโบราณขนานแท้ต้องนึกถึงชื่อนี้ ร้านขนมไทย บ้านดารา เสิร์ฟขนมไทยโบราณสูตรลับจากคุณยาย 30 เมนู ในราคาบุฟเฟ่ต์ 79 บาท เปิดเมื่อไหร่คนเต็มเมื่อนั้น คุณนุ่น-ธัญพร คุณะดิเรก วัย 35 ปี เจ้าของร้านขนมไทย บ้านดารา เล่าให้ฟังว่า คุณยายทำขนมไทยขายมาตั้งแต่สมัยสาวๆ เมื่อก่อนยังไม่มีสื่อออนไลน์ หรือเฟซบุ๊กไว้ขายของอย่างปัจจุบัน แต่คุณยายก็สามารถขายขนมได้ ด้วยการเคาะประตูบ้านถามคนนู้นคนนี้ว่าอยากกินอะไร แล้วจะทำมาขายให้ หรือว่าใครมีงานบุญก็มาสั่งขนมกับคุณยาย เปรียบได้กับการพรีออร์เดอร์สินค้าสมัยนี้ “พอมาถึงรุ่นเรามีร้านขายอาหารอยู่แล้วจึงให้คุณยายทำขนมมาวางขายในร้าน และเริ่มใช้สื่อออนไลน์มาช่วยขายได้ประมาณ 5 ปี ด้วยรสชาติที่อร่อยทำให้ลูกค้าเรียกร้องอยากให้เปิดหน้าร้าน เลยตัดสินใจเปิดหน้าร้านจริงจังมาได้ราวๆ 2 ปี” คุณนุ่น เล่า ปัจจุบันคุณยายเจ้าของสูตรขนมไทย บ้านดารา มีอายุ 74 ปี คุณนุ่น บอกว่า เธอโชคดีมาก เพราะได้ความรู้เรื
สจ๊วตรับจ๊อบ “ติวออนไลน์-ขายขนม” หารายได้ช่วงพักบิน รายได้อย่างต่ำแตะหมื่น! สจ๊วตรับจ๊อบ – เป็นที่พูดถึงกันมาสักพักแล้ว กับวงการธุรกิจการบิน หลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายการบินทั้งรายใหญ่รายย่อยต้องหยุดบิน ทำให้เหล่านักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส ต้องพักงานกันยาวๆ จนหันไปรับจ๊อบ ทำธุรกิจอื่นระหว่างรอให้สถานการณ์กลับมาเป็นเหมือนเดิม “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ได้สัมภาษณ์ คุณบอม-ภัทรภน สุวรรณเลิศ สจ๊วตของสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ วัย 29 ปี เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เขาเจออยู่ โดยเขาเล่าให้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ฟังว่า เขาทำงานเป็นสจ๊วตมาได้ 1 ปี กับอีก 4 เดือน เมื่อไวรัสโควิด-19 มาเยือน ทำให้บริษัทซึ่งเป็นธุรกิจการบิน ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงมีมติเห็นชอบ ในการปรับลดเงินเดือนของพนักงาน รวมถึงเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาสถานภาพทั้งทางธุรกิจและพนักงานเอาไว้ “ตอนรู้ว่าต้องหยุดงานแบบไม่มีกำหนดก็ตกใจครับ เพราะก่อนจะเกิดโควิด ก็มีไฟลต์บินปกติ ก็ไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้น แต่ผมก็รับติวเตอร์มาก่อนที่จะมาเป็นสจ๊วต และก็ทำเป็นจ๊อบเสริมมาเ
ยังบินไม่ได้! กัปตันการบินไทย ทำบราวนี่ขายยาวๆ แถมผุดโครงการ ช่วย รร.ขาดแคลน จากสถานการณ์ในปัจจุบัน แม้โควิด-19 จะคลี่คลาย หลายธุรกิจเริ่มฟื้นตัวกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง ในส่วนของสายการบินเองก็ทยอยกลับมาเปิดเส้นทางบินในประเทศ แต่เส้นทางบินต่างประเทศนั้นยังต้องติดตามต่อไป ระหว่างนี้จึงมีนักบินและลูกเรือหลายคน ยังไม่กลับไปบิน เช่นกับ คุณเดช-เดชพนต์ พูลพรรณ กัปตันการบินไทย วัย 39 ปี ที่ยังคงยึดอาชีพขายบราวนี่ Flying Sweets กระแสตอบรับยังดีไม่มีตก มีทั้งลูกค้าหน้าเก่าและหน้าใหม่แวะเวียนมาไม่ขาด จนต้องเพิ่ม Espresso รสชาติใหม่เป็นตัวเลือกให้ลูกค้า นอกจากนี้กัปตันยังส่งต่อความห่วงใย จัดทำโครงการ “บราวนี่เพื่อน้อง” นำรายได้ 1 บาท ต่อบราวนี่ 1 ชิ้น ไปซื้ออุปกรณ์กีฬา ให้โรงเรียนที่ขาดแคลนในโคราช อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง แอร์ฯ การบินไทย ผันตัวขับรถส่งของช่วงโควิด หาเงินส่งลูกเรียน คุณเดช เล่าให้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นผู้ช่วยกัปตันนาน 12 ปี จากนั้นได้สอบเลื่อนขั้นเป็นกัปตัน ซึ่งทำได้ประมาณ 4 ปีแล้ว บินเครื่องโบอิ้ง 787 และ เครื่องโบอิ้ง 777 ไฟลต์สุดท้ายก่อนหยุดบิ