ค้าขาย
โควิด ตัวเร่งตลาดอีคอมเมิร์ซ โตกระฉูด-แข่งขันเดือด พ่อค้าแม่ขาย ต้องรับมือยังไง? ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้ โควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งให้มูลค่าตลาด B2C e-Commerce ปี 2564 มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือมีการขยายตัวสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ปัญหาที่ตามมา คือ การแข่งขันที่มีความยากและรุนแรงขึ้นสำหรับพ่อค้าแม่ขาย นั่นเอง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว เพื่อสู้กับคู่แข่งขันให้ได้ โดยได้แนะนำ How To ปรับตัวรับการแข่งขันไว้ ดังนี้ 1. ทำการตลาดแบบ Omni-channel ต้องมีการวางแผนและปรับตัวในแต่ละช่องทางการขาย เชื่อมแพลตฟอร์มออนไลน์-ออฟไลน์ เข้าด้วยกัน เพื่อรับมือกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เปลี่ยนไป 2. สร้างฐานข้อมูลไว้ใช้วางแผนธุรกิจ ด้วยการลงทุนเรื่อง Big data เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งผลที่จะได้รับจากการลงทุนเรื่อง Big data นั้นจะทำให้เราเห็นภาพธุรกิจชัดเจนมากขึ้น 3. ขยายคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้น 4. รักษาความเชื่อม
สต๊อกของ สำคัญอย่างไร SMEs ต้องสต๊อกแบบไหน ทุนไม่จม? เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่น่าสนใจ สำหรับเหล่าผู้ประกอบการ SMEs ว่าด้วยเรื่อง ความสำคัญของการสต๊อกสินค้า โดยระบุว่า จุดประสงค์ของการสต๊อกสินค้าของเหล่าผู้ประกอบการนั้น สต๊อกเพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อการขาย หากสินค้าชิ้นใดขายดีก็ควรจะมีการผลิตหรือหามาเก็บไว้ในปริมาณที่มากสักหน่อย ซึ่งการนำสินค้ามาสต๊อก ก็ควรพิจารณาให้รอบด้าน เช่น อายุการใช้งาน เวลาเก็บรักษา ความนิยมของสินค้าในแต่ละช่วง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาสินค้าไว้ขายทั้งสิ้น แล้วจะสต๊อกอย่างไร ให้ทุนไม่จม ของไม่ขาด เรามีเทคนิคบริหารสต๊อกมาฝากกัน 1. ควรมีการบันทึกสินค้า เข้าออกทุกครั้งเมื่อมีการซื้อเข้ามาหรือขายออกไป 2. บันทึกสินค้าคงเหลือทุกครั้งหลังปิดการขายในแต่ละวัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได่ว่า สินค้าใดบ้างจะต้องซื้อเพิ่ม และสินค้าใดบ้างจะต้องกระจายออก 3. กําหนดจํานวนขั้นตํ่าของสินค้าคงเหลือแต่ละชนิดว่า มียอดคงเหลือปริมาณเท่าไร จึงจะต้องสั่งซื้อเพิ่มเข้ามาไว้ในสต๊อก 4. สรุปยอดขายของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อจะได้รู้ว่า สินค้าใดขาย
เปิดเทคนิค ออกแบบหน้าร้านออนไลน์ บน Shopee-Lazada ให้ลูกค้ารีบซื้อ ในยุคปัจจุบัน การซื้อของออนไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางยอดนิยมของผู้บริโภคเกือบทุกวัย ซึ่งแน่นอนว่าการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในยุคนี้ ไม่ได้ยากลำบากแต่อย่างใด เพราะมีแพลตฟอร์มให้ผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก รายใหญ่ สามารถนำสินค้าที่ตนเองมีอยู่เข้าไปวางจำหน่ายได้อย่างง่ายดาย โดย Plearn by Krungsri Guru ได้แนะ 5 เทคนิคการออกแบบหน้าร้านบน Shopee และ Lazada อย่างไรให้มีความน่าสนใจ ไว้ดังนี้ 1. ตั้งชื่อร้านให้รู้ว่าเป็นแบรนด์ของคุณ ชื่อร้าน เป็นปราการด่านแรกที่จะทำให้ลูกค้ารับรู้ สำหรับเทคนิคการตั้งชื่อร้านค้าให้ดึงดูดมีหลากหลายวิธี คือ ชื่อร้านต้องเป็นคำสั้นๆ ประมาณ 2-5 พยางค์ ซึ่งอาจจะใส่ไอเดียสร้างคำที่สื่อถึงสินค้าที่ขาย เช่น หากขายเสื้อผ้าอาจจะตั้งชื่อร้านว่า SHIRTORIA ที่แสดงให้เห็นถึงชื่อแบรนด์ และสินค้าที่ขายว่าคืออะไร หรืออาจจะใช้ชื่อภาษาไทยเพื่อสื่อความหมายโดยตรงอย่างเช่น เชิ้ตชาย ก็ได้ 2. ตกแต่งหน้าร้านให้น่าดึงดูด การขายสินค้าผ่านหน้าแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada มีข้อดีอยู่ตรงที่ผู้ประกอบการสามารถออกแบบหน้าร้านได้ต
อ่านเลย 7 วิธีง่ายๆ ช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหัวใจหลักในการทำธุรกิจนั้นคือ ‘ลูกค้า’ ฉะนั้นแล้วการเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรจะมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง แล้วเราจะสามารถเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างไร? โดย ธนาคารกรุงเทพ ได้รวบรวมวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้คุณนั้นเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้ามาฝาก ทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคจากผลสำรวจและสถิติที่มีอยู่ โดยปกติแล้วบริษัทใหญ่ๆ หรือองค์กรขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลในเรื่องการเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้อยู่แล้ว ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณสามารถนำข้อมูลของลูกค้าต่างๆ มาวิเคราะห์และทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ โดยที่ไม่ต้องออกแรงไปสำรวจพฤติกรรมลูกค้าใหม่ทั้งหมด หรือเรียกง่ายๆ ว่า อ้างอิงจากข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในมือนั่นเอง Consumer Research คือการทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าโดยตรง ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายวิธี เช่น การทำแบบสอบถามของลูกค้า การขอสัมภาษณ์ความรู้สึก เป็นต้น โดยวิธีดังกล่าวจะทำให้คุณสามารถเข้าใจและรับรู้พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้เป็นอย่างดี แต่มันจะมีปัญหาตรงที่ว่าลูกค้าจะไม่ค่อยให้ความร่วมมื
ค้าขายเยาวราชเงียบ! จาตุรนต์ จี้รัฐวางแผนเยียวยา ไม่ใช่สั่งปิดแล้วแก้ทีหลัง วันที่ 11 ม.ค. 64 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงบรรยากาศการค้าขายบนถนนเยาวราช ที่เงียบกว่าทุกครั้ง เพราะผลกระทบจากโควิด รวมถึงมาตรการห้ามรับประทานอาหารที่ร้านหลัง 21.00 น. ส่งผลให้ลูกค้าหายไปกว่า 80% ส่วนบางร้านก็เลือกที่จะปิดบริการ เพราะเปิดไปคงขายไม่ได้ รวมถึงอยากให้รัฐบาลระบุมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการให้ชัดเจน โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า “เสียงสะท้อนจากเยาวราช ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปแถวๆ เยาวราช เลยแวะไปกินกวยจั๊บเจ้าอร่อย มีโอกาสพูดคุยทักทายพ่อค้าแม่ค้าเจ้าประจำที่คุ้นเคยกัน จึงได้รู้ว่าในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เยาวราชวันนี้แปลกตา ภาพผู้คนที่เคยเนืองแน่น จับจ่ายใช้สอย ไม่เหมือนเดิมเลย คนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด วันนั้นมีโอกาสถ่ายภาพมาด้วย จึงคิดว่าควรนำเนื้อหาสาระที่น่าสนใจจากการได้พูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า มาเล่า มาแบ่งปันกันเพื่อข้อมูลและเป็นกำลังใจให้กันในสถานการณ์นี้ กวยจั๊บเจ้าประจำหน้าโรงหน
ระวัง! พบ หมึกบลูริง ปิ้งขายในตลาดนัด พิษร้ายแรง อันตรายถึงชีวิต เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 เพจเฟซบุ๊ก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โพสต์เตือนผู้บริโภค ถึงการบริโภคปลาหมึกย่าง หากพบหมึกมีลายเป็นวงๆ สีน้ำเงินทั่วตัวจนไปถึงเส้นหนวด ให้หลีกเลี่ยงด่วน เพราะมีพิษร้ายแรง โดยระบุว่า “กรม ทช. โดยสถาบันวิจัย ทช. รับแจ้งจากคุณจันทรา พุ่มแจ่ม แจ้งพบหมึกบลูริง เสียบไม้ปิ้งขายในตลาดนัดตอนเย็น พื้นที่ จ.ปทุมธานี แม้ว่าหมึกย่างจะอร่อยมากก็จริง ยิ่งเจอน้ำจิ้มรสเด็ดยิ่งแจ่ม แต่ให้สังเกตเพิ่มกันหน่อย ทั้งพ่อค้าแม่ค้าคัดแยกให้ดีก่อนเอามาปรุงอาหารขาย ลูกค้าก็เช่นกันก่อนบริโภคสังเกตลายสักนิด ถ้าพบหมึกมีลายเป็นวงๆ สีน้ำเงินทั่วตัวจนไปถึงเส้นหนวด ให้หลีกเลี่ยงด่วน อันตรายมากเพราะพิษของหมึกชนิดนี้ แม้ปรุงสุกก็ไม่สลาย ยังมีอันตราย พิษนี้ทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้น แม้ย่างสุกก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ ปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษใดๆ ต่อต้านได้”
พ่อค้าแม่ขาย ตลาดนัด SCB วอนม็อบช่วยอุดหนุนหน่อย เมื่อวันที่ 24 พ.ย. เวลา 22.30 น. เพจเฟซบุ๊กทางการ เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ได้ประกาศมีการเปลี่ยนสถานที่นัดชุมนุมของทางฝั่งกลุ่มราษฎร จากเดิมที่มีการนัดหมายว่าจะไปร่วมชุมนุมที่ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนมาเป็น หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก วันที่ 25 พ.ย. เวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าว เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ลงพื้นที่สำรวจภาพบรรยากาศใกล้เคียงจุดนัดหมายม็อบ อย่าง ตลาดนัด SCB หรืออีกชื่อคือ ตลาด BOXSPACE รัชโยธิน พบว่า บรรยากาศโดยทั่วไปยังคึกคัก ยังมีพ่อค้าแม่ขายมาตั้งร้านขายของ รวมถึงมีพนักงานจาก SCB ที่ทยอยกันมาจับจ่ายซื้อของก่อนเข้าไปทำงานกันตามปกติ ก่อนที่ทางสำนักงานใหญ่ของธนาคารจะออกประกาศให้พนักงานทำงานเพียงครึ่งวัน และแจ้งปิดทำการสาขาสำนักงานใหญ่ รัชโยธิน เป็นเวลา 1 วัน จากการสอบถามบรรดาพ่อค้าแม่ขายในตลาด เจ้าของร้านขายเสื้อผ้ารายหนึ่ง กล่าวว่า ในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็อยากให้อดทนสู้ๆ แต่ในฐานะแม่ค้าก็อยากให้เข้ามาช่วยอุดหนุนสินค้ากันสักเล็กน้อย ร้านน้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ กล่าวว่า เศรษฐกิจมันต้องเดินหน้า ถ้าการเมือ
คนละครึ่ง วันแรกเงียบ ร้านค้า เผย ลูกค้างงเงื่อนไข สู้ชิมช้อปใช้ไม่ได้ วันที่ 23 ต.ค. ผู้สื่อข่าวเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ลงพื้นที่สำรวจการค้าขายย่านท่าน้ำนนท์ ซึ่งเป็นวันแรกที่ประชาชนเริ่มใช้สิทธิผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล “คนละครึ่ง” คุณเหน่ง เจ้าของร้านยีนส์ท่าน้ำนนท์ เผยกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เข้าร่วมโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่โครงการชิมช้อปใช้ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถกระตุ้นยอดขายให้กับร้านได้ เมื่อมีโครงการคนละครึ่งจึงได้เข้าร่วมโครงการต่อ เพราะขั้นตอนการสมัครไม่ยาก แต่เท่าที่ทราบมายังมีคนลงทะเบียนน้อยมาก เจ้าของร้านยีนส์ท่าน้ำนนท์ ยังเผยต่อว่า โครงการนี้ประชาชนต้องควักเงินจ่ายเองอีกครึ่งคนจึงไม่ค่อยกระตือรือร้นและไม่อยากใช้เงินตัวเอง ดูเงียบเหงาต่างกับชิมช้อปใช้ที่รัฐให้เงินมาจึงทำให้คนกล้าใช้จ่าย “วันนี้เพิ่งเริ่มใช้สิทธิวันแรก ยังประเมินไม่ได้ว่าคนจะมาใช้สิทธิผ่านโครงการเยอะหรือไม่ แต่พบว่าตั้งแต่เปิดร้านช่วงเช้าคนยังใช้จ่ายเงินสดกันอยู่ เท่าที่สอบถามส่วนใหญ่ลูกค้าไม่ได้ลงทะเบียน เพราะยังงงว่าเริ่มใช้สิทธิวันไหน และไ
หมดปัญหา ลูกค้าพร้อม F แต่ไม่พร้อมโอน แก้ได้ด้วย 6 ทริก ง่ายๆ บางครั้งการขายของออนไลน์ก็ไม่ได้ง่ายเหมือนที่หลายคนคิด เจ้าของร้านหลายคนประสบปัญหาลูกค้าสนใจสินค้า เมื่อเจ้าของร้านให้ข้อมูลและพูดคุยกันจนถึงขั้นคอนเฟิร์มซื้อสินค้าอย่างดิบดี แต่แล้วจู่ๆ เหมือนฝันสลาย ลูกค้าคนนั้นเงียบหายไปในกลีบเมฆ โดย คุณศุภกร สินธุธาน หรือ คุณมิ้นท์ เจ้าของธุรกิจ Super V Remover นักธุรกิจหนุ่มที่เริ่มธุรกิจจากศูนย์ แต่ด้วยความมุ่งมั่นบวกกับกลยุทธ์การขายที่ไม่จำเป็นต้องง้อฐานแฟนเพจ ทำให้เขาสามารถปั้นยอดขายสินค้าบนเฟซบุ๊ก เพียงแค่แพลตฟอร์มเดียวสูงสุดถึง 7 หลักต่อเดือน วันนี้เขาจะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากประสบการณ์ตรง ที่รับรองว่าเทคนิคนี้ จะช่วยให้ลูกค้าไม่แค่ทัก แต่จะรักพร้อมโอนอย่างไวกันเลยทีเดียว มีอะไรบ้างมาดูกัน ตอบคำถามชัด มัดใจอยู่หมัด ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาทักแชต มักจะมาด้วยการสอบถามราคา เจ้าของร้านที่ดี นอกจากการแจ้งราคาแล้ว ควรต้องอธิบายรายละเอียดข้อดีของสินค้าร้านเราเพิ่มเติมเข้าไปด้วย ให้ลูกค้าเห็นความแตกต่างว่าทำไมต้องซื้อสินค้าร้านเราเท่านั้น ตอบยิ่งไว ยิ่งได้ใจ ค่าเฉลี่ยในการตอบแชตลูกค้า
หนุ่มออฟฟิศ ผันตัวเป็นพ่อค้า ขายมะพร้าวในม็อบ เพราะพิษเศรษฐกิจแย่ นอกจากสินค้าสัญลักษณ์ที่ขายในการชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้ว ยังมีสินค้าน่าสนใจอีกจำนวนมาก อย่างเช่น ร้านขายมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว ของอดีตหนุ่มออฟฟิศวัยกลางคน พ่อค้าขายมะพร้าว เผยว่า เมื่อก่อนตนยึดอาชีพเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง แต่เพราะเกิดโควิด-19 เศรษฐกิจแย่ จึงต้องเปลี่ยนอาชีพมาขายมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วแทน โดยมะพร้าวที่นำมาขายนั้นรับมาจากสวนโดยตรงจากบ้านแพ้วแหล่งมะพร้าวคุณภาพขึ้นชื่อ “ราคาที่รับมาขายช่วงนี้ไม่สูงมาก เพราะสวนมะพร้าวส่งออกไม่ได้ ส่วนที่นำมาขายในวันนี้ ผมขนมาจากบ้านแพ้ว 1,000 ลูก จำนวนนี้ขนมาเผื่อไว้ มาตั้งร้านกับทีมงานตั้งแต่ตี 1 มาเร็วเพราะกลัวว่าจะเข้าพื้นที่ไม่ได้” พ่อค้าหนุ่ม เผยต่อว่า ปกติเค้ามาร่วมการชุมนุมบ่อย แต่เมื่อก่อนนั้นไม่ได้นำของมาขายด้วย จึงไม่ต้องกังวลอะไร มาวันนี้ขนมะพร้าวมาเยอะพอขายได้เรื่อยๆ “ผมขายลูกละ 20 บาท ราคานี้พอได้กำไร วันนี้หวังให้ให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ขายกันสดๆ กินแล้วชื่นใจ อยากช่วยให้พี่น้องที่มาชุมนุมได้กินของอร่อยๆ ในราคาที่เอื้อมถึง” พ่อค้ามะพร้าว