ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม หนังสือพิมพ์ ซันเดย์ ไทม์ส เผยแพร่ข้อเขียนของนายมาร์ก โมเบียส ผู้จัดการกองทุนเทมเปิลตัน ซึ่งมีเป้าหมายระดมทุนเพื่อลงทุนในตลาดเกิดใหม่รวมทั้งไทยโดยเฉพาะ กล่าวถึงการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่ายังความเศร้าโศกเสียใจกับประชาชนไทยอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมาก ตนเองเคยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน รู้สึกเศร้าสลดต่อการนี้ พร้อมตระหนักว่าในหลวงได้รับความเคารพเทิดทูนสูงเพียงใด พระองค์ไม่เพียงเป็นศูนย์รวมของความมั่นคงของประเทศเท่านั้น หากยังทรงสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศในท่ามกลางภาวะปั่นป่วนที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ ฉบับวันที่ 22 ตุลาคม ตีพิมพ์ข้อเขียนของ ดร.ไนเจลกูลด์-เดวีส์ อาจารย์และผู้อำนวยการโครงการวิเทศสัมพันธ์ ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านการเมืองและการต่างประเทศ ประจำมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวถึงมรดกตกทอดที่แท้จริงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ว่าเป็นมรดกตกทอดทางการเมือง คือการรังสรรค์รูปแบบทางการเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่
นายกฯปราศรัยเนื่องในวันสหประชาชาติ 24 ต.ค. ภูมิใจชาวโลกประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มั่นใจความสำเร็จของไทยเป็นพลังขับเคลื่อนสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เนื่องในวันสหประชาชาติว่า วันที่ 24 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสหประชาชาติ ซึ่งมีความหมายสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ โดยสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์ในการทำหน้าที่เป็นองค์การสากลระหว่างประเทศ ในการบรรเทาทุกข์และแก้ไขปัญหาของโลก จรรโลงสันติภาพและความมั่นคง ปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสร้างเสริมความเจริญรุ่งเรืองแก่มวลมนุษยชาติ ภายหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงประเทศไทยมีบทบาทเข้มแข็งในฐานะสมาชิกสหประชาชาติมาตลอด 70 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากองค์กรและประเทศสมาชิก ด้วยการมีส่วนร่วมให้ความเห็นและแบ่งปันประสบการณ์แก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจของสหประชาชาติที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งในปี 2559 นี้ เป็นปีเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของสหประชาชาติ โดยเป็นปีแรกของการดำเนิน
เดินหนีระบบลูกจ้าง สู่หนทางเกษตรอินทรีย์ เด็กหนุ่มวัย 28 ปี เดินหนีระบบลูกจ้าง ก้าวสู่วิถีเกษตรกรรม ด้วยต้นทุนที่ดินมีอยู่เดิม แต่ด้วยสภาพดินเสื่อมโทรม ขาดแหล่งน้ำ จะทำเช่นไร “เดินตามรอยพ่อ” คือแนวทางนำมาใช้ จนเกิดเป็น “ไร่สุขพ่วง” คุณอภิวรรษ สุขพ่วง เกษตรกรรุ่นใหม่ หัวใจพอพียง เจ้าของ “ไร่สุขพ่วง” คือเด็กหนุ่มที่หันมาสู่วิถีเกษตร เขาเลือก “เดินตามรอยพ่อ” กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ จนเกิดเป็นความสุข พออยู่พอกิน สร้างรายได้ และถ่ายทอดสิ่งที่ตนรู้สู่ผู้สนใจ จนหลายๆ คนได้เกิดอาชีพบนหนทางเดียวกัน คุณอภิวรรษ หันหลังให้การทำงานในระบบลูกจ้าง แล้วก้าวสู่บ้านเกิดในตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เขาค้นพบว่าสิ่งที่จะทำคืออาชีพเกษตรกรรม แต่ทว่าในเวลานั้น สภาพพื้นที่เสื่อมโทรม ขาดแหล่งน้ำ นั่นหมายถึง ไม่เหมาะกับการทำเกษตร “ผมมีต้นทุนเรื่องของที่ดิน 25 ไร่ แต่ต้องพบกับปัญหา พื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีระบบชลประทาน ดินเสื่อมโทรม จึงต้องการนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่พื้นที่ของตัวเอง ซึ่งก็พยายามหาความรู้จากหลายๆ แห่ง กระทั่งได้พบปรัชญาของพระองค์ท่าน โดยสิ่งแรกที่ผมนำมาปรับใช้เ