มหาวิทยาลัยมหิดล
ม.มหิดล ค้นพบ PM2.5 เสี่ยงกระดูกพรุนจากภาวะอักเสบในหนูทดลอง ข่าวจาก คุณฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าหน่วยวิจัย COCAB ได้ร่วมกับ ผศ.ดร.นพ.ณัฐพล ภาณุพินธุ หัวหน้าหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิจัย จนค้นพบว่า PM2.5 เสี่ยงกระดูกพรุนจากภาวะอักเสบในหนูทดลอง ภายใต้ข้อสันนิษฐานถึงกลไกการเกิดโรคกระดูกพรุนจากการเสื่อมสลายของมวลกระดูก มีสาเหตุสำคัญจากการอักเสบ เนื่องจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันต้องต่อสู้กับฝุ่น PM2.5 ที่รับเข้ามาทางปอดและกระจายไปทั่วร่างกาย ไปเร่งให้เกิดกระบวนการอักเสบดังกล่าว ซึ่งจากการติดตาม ในหนูทดลองที่ได้รับฝุ่น PM2.5 พบการเพิ่มจำนวนขึ้นของเซลล์สลายกระดูก ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีต้นกำเนิดจากเม็ดเลือดขาวบางชนิด มีส่วนสำคัญที่ทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างต่อเนื่อง เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ฝุ่น PM2.5 ที่กำลังคุกคามสุขภาวะมนุษย์มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปในแ
ทั่วโลก กำลังซื้อลด นักวิชาการขอผู้ผลิตอาหารแพลนต์เบส อย่าเพิ่งถอดใจ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รวมถึงภาคเกษตรกรรม ในการเพิ่มมูลค่า และพัฒนาศักยภาพของสินค้าเกษตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น ผศ.ดร.สุภัทร์ ไชยกุล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานฯ ผู้อุทิศสร้างสรรค์นวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารทางการแพทย์ จากข้าว-น้ำนม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย และเศรษฐกิจชาติ จนได้รับพระราชทานโล่รางวัล “นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น ประจำปี 2566“ จาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้แนวคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมบนความเรียบง่าย แต่มากมายด้วยประโยชน์ ทำให้ในช่วงกลางปี 2567 นี้ คนไทยจะได้สัมผัสกับอาหารทางการแพทย์ฝีมือคนไทย จากการเพิ่มคุณค่าข้าวไทยในส่วนที่เหลือจากโรงสีข้าว ขยายผลเพิ่มเติมคุณค่าด้วยน้ำนมข้าว จาก “ข้าวระยะเขียว” ซึ่งอุดมไปด้วยคุณค่าจากสารอาหารต่างๆ มากมาย ก่อนต่อยอ
สังคม จะไม่ Toxic หากผู้คนฝึกทักษะ ความสามารถในการ “ยับยั้งชั่งใจ” ความเป็นพิษ (Toxic) ในปัจจุบัน ที่ผู้คนในสังคมยุคใหม่กำลังเผชิญ ไม่ได้มีเพียงแค่มลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ที่มาจากทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ แต่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม ปรากฏในรูปของอคติ เกลียดชัง ด้อยค่า ไม่ไว้วางใจ แบ่งขั้วแบ่งฝ่าย โดยจะยิ่งทวีความเป็นพิษรุนแรง จากระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ สู่ระดับโลก หากขาดการปลูกฝัง “ความรู้เท่าทัน” ให้เป็น “ภูมิคุ้มกัน” ภายในจิตใจตั้งแต่วันนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงสาเหตุของปัญหา “Toxic ในใจ” ที่กำลังคุกคามโลกยุคปัจจุบัน เป็นผลพวงจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี ที่ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และแต่ละคนยังสามารถตองสนองตอบโต้ นำเข้าข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตัวเองอย่างทันทีทันใด โดยเฉพาะในประเด็นที่ทำให้เกิดความไม่พอใจ ส่งผลกระทบในด้านลบตามมา ดังที่มีตัวอย่างปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวนี้คือ การฝึกฝนให้ตระหนัก รู้เท่าทันอารมณ์ความคิดของตนเอง ซึ่งเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยกา
ม.มหิดล ยกเครื่อง IT แพทยศาสตรศึกษา สู่ระบบ All-in-one ทุกวันนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงคุณภาพของความเป็นสถาบันผลิตแพทย์ที่ “เป็นหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยมีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีเป็นเบื้องหลังสำคัญของความสำเร็จ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึง ก้าวที่สำคัญของศิริราชเพื่อรักษาความ “เป็นหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้แก่ การปรับโครงสร้างของระบบสารสนเทศสำหรับบริหารการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์แบบ All-in-one หรือครบวงจรครั้งแรก โดยได้ปรับเปลี่ยนจาก “ระบบ SiCMS phase 2” ที่พัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ไปใช้ “ระบบ REXX” โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งตอบโจทย์การจัดการด้านแพทยศาสตรศึกษาและมีความคล่องตัวสำหรับผู้ใช้งานมากกว่า โดยสามารถทำงานได้บนแพลตฟอร์มที่หลากหลายในขณะเดียวกัน ร่วมกับสามารถติดตามสมรรถนะของนักศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านแพทยศาสตรศึกษา จากการทดลองและประ
วิจัย ภาวะกระดูกพรุนในอวกาศ เตรียมต่อยอด เยียวยาผู้ป่วยติดเตียง ปัจจุบัน เป็นยุคของการเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยวอวกาศ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตนวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งออกแบบเพื่อใช้สำหรับชีวิตในห้วงอวกาศหรือเทียบเท่าอย่างกว้างขวาง แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ได้อยู่แค่เพียงการเตรียมวัตถุสิ่งของ แต่คือการเตรียมความพร้อมของ “ผู้เดินทาง” ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ “สภาพไร้แรงโน้มถ่วง” ซึ่งเป็นสภาวะที่มนุษย์ไม่คุ้นชิน ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และอาจารย์นักวิจัยประจำหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก (COCAB – Center of Calcium and Bone Research) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม อยู่ในที่ที่แรงโน้มถ่วงพอเหมาะ ร่างกายจึงจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระดูก มีงานวิจัยจากหลายประเทศที่ค้นพบความผิดปกติของกระดูกอย่างชัดเจนทั้งในมนุษย์และสัตว์ที่ต้องเผชิญสภาพไร้น้ำหนักของห้วงอวกาศเป็นเวลานาน อย่างน้อยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากกระดูกที่เคลื่อนไหวภายใต้สภา
มะเขือเทศ ควบคุมความหวานระดับสูง ผลิตผลใหม่ เกษตรอัจฉริยะ ด้วยวงล้อเศรษฐกิจชาติที่ขับเคลื่อนด้วยโมเดล BCG ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีโลกสู่การเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ที่ทุกสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยถือเป็นภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยี ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ถือเป็นภารกิจสำคัญในการร่วมผลักดันเศรษฐกิจชาติสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน ด้วยพลังแห่งชุมชน บนพื้นฐานของ “เกษตรอัจฉริยะ” เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้องค์ความรู้จากการทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 3 ปีที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี จัดหลักสูตรเกษตรอัจฉริยะ “นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคต” แบบ Non Degree ตามนโยบาย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ปัจจุบันพร้อม “ออกดอกออกผล” แล้ว สู่การสร้าง Social Enterpris
แพทย์เตือน อันตราย จากการใช้ผลิตภัณฑ์ วิธีฟอกสีฟัน ไม่ได้มาตรฐาน ฟันที่ขาวสะอาด นอกจากบ่งบอกถึงการดูแลสุขอนามัยส่วนตัวที่ดีแล้ว ยังหมายถึงการเปิดรับโอกาสดีๆ ที่อาจเข้ามาสู่ชีวิต จากการมีรอยยิ้มที่มั่นใจคอยส่งเสริมบุคลิกภาพ ทพ.ศุภกิจ นิยมรัตนกิจ ทันตแพทย์ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การฟอกสีฟัน ในทางทันตสาธารณสุขถือเป็น ปัจจัยรองลงมา จากการรักษาสุขอนามัยช่องปากให้ปราศจากโรคฟันและโรคเหงือก ส่วนสาเหตุที่การฟอกสีฟันมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจากสื่อโฆษณา อย่างไรก็ดี การฟอกสีฟันให้ขาวสะอาดนั้น มีความจำเป็นที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในปัจจุบันสามารถทำได้ทั้งโดยทันตแพทย์ และด้วยตัวเอง ซึ่งน้ำยาที่ทันตแพทย์ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเปอร์ออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้เม็ดสีฟันที่เข้มจางลง โดยระดับความขาวขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของน้ำยาและเวลาที่ใช้ในการฟอก ซึ่ง น้ำยายิ่งเข้มข้น แม้จะยิ่งทำให้ใช้เวลาฟอกสีฟันได้สั้นลง แต่อาจส่งผลทำให้สารฟอกสีฟันแทรกซึมเข้าไปในชั้นเนื้อฟัน ทำให้ง่ายต่อการเสียวฟัน และเหงือกระคายเคืองได้ ระยะห
ซีอิ๊ว กลิ่นน้ำปลา ตอบโจทย์เทรนด์โลกยุคใหม่ คว้ารางวัลระดับเอเชีย ต้นกำเนิดของ “ซีอิ๊ว” (Soy Sauce) เครื่องปรุงรสที่อยู่คู่อารยธรรมโลกมานานนับหลายพันปีอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจากการหมักของถั่วเหลืองกับเกลือจนกลายเป็นเครื่องปรุงรสสำคัญของ “ตำรับอาหารจีน” ที่สืบทอดกันมาในปัจจุบัน ในขณะที่ “น้ำปลา” (Fish Sauce) คือ องค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้สำหรับ “ตำรับอาหารไทย” ซึ่งปรากฏใน “จดหมายเหตุลาลูแบร์” ตั้งแต่สมัยอยุธยา ด้วยนวัตกรรมอาหาร “ซีอิ๊วกลิ่นน้ำปลา” (PB Healthy Sauce หรือ Plant Based Healthy Sauce) ผลงานโดยนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะทำให้การปรุงอาหารกลายเป็นเรื่องง่าย โดยใช้เครื่องปรุงรสเพียงขวดเดียว พร้อมด้วยคุณค่าจากธรรมชาติ นางสาวญาณิศา ทับเจริญ นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ นางสาวศิริกัญญา ลับแล นักศึกษาจากภาควิชาและคณะเดียวกัน และนางสาวมณีรัตน์ เตชะวิเชียร ผู้ช่วยวิจัยในการพัฒนา “PB Healthy Sauce̶
ม.มหิดล ผนึกกำลังจิตตปัญญา – SDGs เพื่อสังคมไทย และสังคมโลกที่ยั่งยืน “การทำสมาธิ” อาจได้เพียง “ความสงบชั่วครู่” ในขณะที่การจดจ่อเพื่อให้เกิด “ความตระหนักรู้” ถึง “เหตุ” และ “ผล” อาจนำไปสู่ “แสงสว่าง” หรือ “ทางออกของปัญหา” ได้ด้วย “ปัญญา” อย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จิตตปัญญา” หากได้นำไปประยุกต์ใช้กับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) จะยิ่งทำให้บรรลุภารกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีร่วมกันของทุกประเทศทั่วโลกได้เร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น คนรุ่นใหม่จะสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ “Internal Force” ซึ่งเป็น “ความตระหนักรู้” ที่สร้างขึ้นด้วยตัวเองจากภายใน ยิ่งได้รู้ตัวว่ากำลังถูกคุกคามด้วย “External Force” หรือภัยพิบัติจากการบริโภคเกินจำเป็นที่จะนำไปสู่อนาคตที่ขาดแคลนได้เร็วเพียงใด เชื่อว่าจะทำให้สามารถต่อชีวิตโลกให้ยืนยาวได้มากขึ้นเท่าน
ม.มหิดล-ม.ในสมาพันธรัฐสวิส สร้าง AI ครูฝึกทักษะเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วางแผนยุทธศาสตร์ 19 ปี (พ.ศ. 2561-2579) มีวิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในระดับโลก” มุ่งสร้างสรรค์ผลิตบัณฑิต และงานวิจัยทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ในปี พ.ศ. 2566 สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 73 ของ Asia Pacific และเป็นอันดับที่ 1 ในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปี จากการจัดอันดับของ “SciVal” โปรแกรมวิเคราะห์-ค้นหางานวิจัย โดย สำนักพิมพ์ Elsevier ในหัวข้อการศึกษาในฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป้าหมายต่อไปของการก้าวขึ้นสู่ Top 100 ของโลกอยู่อีกไม่ไกล รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึง หนึ่งในงานวิจัยคุณภาพที่นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยฯ ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” โดยได้รับทุน Swiss Programme for International Research by Scientific Investigation Teams (SPIRIT) ของ Swiss National Science Foundation (SNSF) ส