มหาวิทยาลัยมหิดล
ม.มหิดล เปิดประตูสู่ชุมชน สู่บทบาทเชิงรุก “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ“ ด้วยแนวคิดการสร้างความตระหนักรู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ที่ริเริ่มขึ้นโดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เมื่อ 3 ทศวรรษก่อน ปัจจุบันได้ขยายผลร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาหลักทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นศูนย์ประสานงานสำคัญแห่งหนึ่งของพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งครอบคลุมจังหวัดนครปฐม “จังหวัด 3 สมุทร“ ซึ่งได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ รวมทั้งจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และกรุงเทพมหานครบางส่วน ดร.สุนิสา แสงวิโรจนพัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง บทบาทในเชิงรุกของ “ศูนย์ประสาน อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยมหิดล“ ที่ต่อไปจะ “เปิดประตูสู่ชุมชน“ มากขึ้น โดยมุ่งสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งศูนย์ประสานงานทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชนและผู้เชี่ยวชาญ ในการสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการเรียนรู้โ
จาก วัชพืช สู่ พืชเศรษฐกิจ ร่วมยกระดับ เสื่อกก สู่สินค้า GI อวดตลาดโลก ปัจจุบัน ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และการสร้างสรรค์เทคโนโลยีจาก โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมผลักดันให้ “เสื่อกก” กลายเป็น “สินค้า GI (Geographical Indication) ชิ้นแรกของจังหวัดอำนาจเจริญ” ซึ่งแสดงถึง “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” ที่จะทำให้เมืองไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในสายตาของชาวโลก ผศ.ดร.วิทยา แก้วศรี หัวหน้าสำนักวิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความสำคัญของ “ต้นกก” ซึ่งจัดเป็น “วัชพืช” ที่สามารถพบได้โดยทั่วไปตามริมหนองน้ำ ในทางอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้ “บำบัดน้ำเสีย” เพื่อการเป็น “โรงงานสีเขียว” สำหรับความเป็นมาของ “เสื่อกก” ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล – จังหวัดอำนาจเจริญ กำลังผลักดันให้เป็น “สินค้า GI” ชิ้นแรกของจังหวัด นับเป็นสินค้าซึ่งสะท้อนถึงค่านิยมทางวัฒนธรรมของชาวอ
เพิ่มค่า “สำรับครอบครัว” ผ่านวัฒนธรรม อาจกลายเป็นขุมทอง สร้างรายได้ ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้รับผิดชอบรายวิชา “คติชนวิทยา” (Folklore) ของสาขาวิชาภาษาไทย ที่ว่าด้วยการศึกษาวัฒนธรรมจากรากเหง้า ต่อยอดสู่รายวิชา “อาหารและวัฒนธรรม” ที่เปิดกว้างให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดลจากทุกคณะ ได้มีโอกาสลงทะเบียนเรียนร่วมกัน พร้อมขยายผลสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ MUx ของมหาวิทยาลัยมหิดลในอนาคต เนื้อหาที่น่าสนใจของรายวิชาฯ ได้แก่ การบอกเล่าถึงที่มาของอาหารไทย ซึ่งอาจไม่ได้มาจากวัฒนธรรมไทยโดยตรง แต่เกิดจากการประยุกต์ดัดแปลงจนกลายมาเป็นอาหารไทย และเป็นที่นิยมจวบจนปัจจุบัน อาทิ ขนมที่น้อยคนนักจะทราบว่ามาจากวัฒนธรรมมลายู อย่าง ขนมชั้น ขนมสังขยา และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาในชั้นเรียน รู้จักกับอาหารไทยที่มีชื่อเรียกจากการสังเกตสิ่งรอบตัว อาทิ ขนมถั่วแปบ ที่มีชื่อเรียกจากการทำให้ขนมมีรูปร่างคล้ายฝักถั่วแปบ และขนมกลีบลำดวน ที่มีชื่อและลักษณะตาม
วัวแดง ใกล้สูญพันธุ์ ชี้ทางออก เพาะเลี้ยงใหม่ บริหารจัดการคุณภาพ “วัวแดง” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ในฐานะ “สัตว์ป่าคุ้มครองที่ใกล้สูญพันธุ์” ซึ่งพบมากที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และตาก ราว 500 ตัวในปัจจุบัน ครั้งหนึ่ง “สลักพระ” เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เคยอุดมไปด้วยสัตว์ป่าที่สวยงามอย่างเช่น “วัวแดง” ใน “ห้วยขาแข้ง” ก่อนต้องมาประสบภาวะ “สูญพันธุ์” จากพื้นที่ จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการลักลอบล่าสัตว์ป่า จึงได้นำไปสู่การริเริ่มเพาะพันธุ์วัวแดงเพื่อนำกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างอุดมสมบูรณ์อีกครั้งด้วยองค์ความรู้จากอาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ร่วมกับประชากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ อาจารย์นักวิจัยประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายถึงลักษณะของ “วัวแดง” ว่า มีความโดดเด่นสวยงามจ
บุหรี่ไฟฟ้า สุดอันตราย เรียกร้องรัฐ ใช้กฎหมายจริงจัง ปกป้องเยาวชน ในประเทศไทย พบว่า ปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้านับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2557 รวมถึงมีคำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีโทษปรับ 5,000 บาทสำหรับผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะที่ห้ามสูบเช่นเดียวกับบุหรี่ธรรมดา ก็ยังพบว่ามีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าอยู่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งเป้ากลุ่มเด็กและเยาวชนผ่านช่องทางออนไลน์ ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงอันตรายที่ไม่ควรมองข้ามจากฝุ่นควันที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าว่า นอกจากมีนิโคตินที่เป็นสารเสพติดอย่างรุนแรงเลิกยากแล้ว ยังมีสารที่เป็นอันตรายทั้งโลหะหนักและสารก่อมะเร็งต่างๆ รวมถึงมีสารที่มีขนาดเล็กจิ๋ว PM2.5 อยู่ในควันบุหรี่ไฟฟ้า แต่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงไอน้ำที่ส่งกลิ่นหอม โดยไม่คาดว่ากลิ่นหอมนั้น จ
ม.มหิดล ห่วงใยประชาชน เตรียมเปิดหลักสูตรออนไลน์ รับมือภัยโจมตีข้อมูลทางไซเบอร์ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงตัวตน และกระเป๋าเงินผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งเปรียบเสมือนการพกพา “ผู้จัดการส่วนตัว” ซึ่งขาดเสียไม่ได้ที่จะต้องนำติดตามไปด้วยในทุกที่ทุกเวลา จนทำให้เกือบทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันต้องดำเนินการผ่านโลกไซเบอร์ จึงอาจกลายเป็นช่องทางของเหล่ามิจฉาชีพมุ่งเอาประโยชน์ได้หากไม่ใช้ความระมัดระวังให้มากพอ อาจารย์ ดร.อิทธิพล รัศมีโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวแสดงความห่วงใยถึงสวัสดิภาพทางข้อมูลและทรัพย์สินของประชาชน ทางคณะฯ จึงเตรียมเปิดหลักสูตรออนไลน์ “Cyber Security Fundamental” สำหรับบุคคลทั่วไป ให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่าน MUx โดยเป็นความรู้พื้นฐานทางความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ ซึ่งอาชญากรรมทางไซเบอร์อาจเกิดขึ้นได้ทุกวินาที โดยได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ที่มักพบบ่อย ได้แก่ 
กระชายขาว ยับยั้งแบคทีเรียก่อมะเร็ง นักวิจัยไทยเจ๋ง เตรียมบุกตลาดโลก ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึง แผนการต่อยอดวิจัยพืชสมุนไพรไทย “กระชายขาว” จากที่ได้ค้นพบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารว่า เป็นความร่วมมือวิจัยในเบื้องต้น ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาวิจัย จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ บริษัท ฟาร์ม่าเฮอร์เบิล จำกัด ในการพัฒนาสารสกัดจากกระชายขาว โดยที่ผ่านมาได้ค้นพบว่า พืชสมุนไพรไทยกระชายขาวมีฤทธิ์สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ก่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในระดับหลอดทดลอง ซึ่งทางศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) รับหน้าที่ในการทำการทดลองในระดับหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง รวมไปถึงร่วมคิดค้นสูตรตำรับ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือยาสมุนไพร ภายใต้ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งเป็นเหมือ
คิดเก่ง จาก ข้าวระยะเขียว เหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นม-ถั่วเหลือง “ทุ่งกุลาร้องไห้” บนที่ราบสูง 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดทางภาคอีสาน ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ และยโสธร จากที่เคยแห้งแล้งมีแต่ดินปนทราย ปัจจุบัน ได้รับการพลิกฟื้นสู่แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นแหล่งเพาะปลูก “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ทุ่มเททำวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาด “ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง” จนสามารถทำให้ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ระยะเขียว” ส่วนเหลือทิ้ง สร้างรายได้อย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรในชุมชน ผศ.ดร.สุภัทร์ ไชยกุล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้าทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้อธิบายถึงวงจรของข้าวว่า สามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพ นับตั้งแต่ที่ข้าวเริ่มออกรวง 10 วัน โดยการทำเ
นักวิจัยไทย เจ๋ง แก้ปัญหาให้ชาวสวนลำไย ไม่พึ่งคนกลาง ส่งสินค้าได้เอง ลำไย เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกลำไยสดไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท เป็นที่ต้องการมากจนต้องมองหา “ลำไยนอกฤดู” แต่อุปสรรคสำคัญกลับไม่ได้มาจากคุณภาพของลำไยเป็นปัจจัยหลัก แต่มักเกิดจากการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ และวิธีการขนส่งที่ไม่เหมาะสม ผศ.ดร.สิริยุภา เนตรมัย และ อาจารย์ ดร.ฐิติศิลป์ กิจเชวงกุล คณาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลำไยสด และศึกษาระบบการขนส่งทางไปรษณีย์ จนสามารถหาทางออกให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไยชาวไทย ให้สามารถสู้วิกฤตเศรษฐกิจ ส่งสินค้าด้วยตัวเองโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เพียงออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดพอดี เพื่อไม่ให้ผลลำไยหลุดออกจากพวง เพราะจะทำให้สูญเสียมูลค่า และวางแผนการขนส่ง โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าระหว่างการขนส่ง เช่น อุณหภูมิ และแรงกระแทก ทีมวิจัย พบว่า แรงกระแทกเป็นส
ข้าวโอ๊ต อาหารสู้ชีวิต สร้างสรรค์เมนูนานาชาติ น้ำพริกตาแดง ยังทำได้ หากเหตุผลในการเลือกรับประทานอาหารมาจากปัจจัยด้านคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มีที่มาจากมุมโลกไหนๆ ก็สามารถนำมาทำเป็น “อาหารเพื่อชีวิต” โดยนำมาผสมผสานกับวัตถุดิบภายในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าได้ เช่นเดียวกับ “ข้าวโอ๊ต” แม้จะมีที่มาจากเขตเมืองหนาว ที่ต้องต่อสู้กับความยากลำบากและความหนาวเย็น จาก “อาหารสู้ชีวิต” จึงได้กลายเป็น “อาหารเพื่อชีวิต” ด้วยคุณสมบัติเด่นของความเป็นอาหารพลังงานสูงที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ง่ายต่อการเตรียม โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการขัดสี หรือบดเป็นผงก่อนนำมารับประทาน รศ.ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงคุณค่าทางโภชนาการของ “ข้าวโอ๊ต” นั้น ประกอบด้วย “เบต้ากลูแคน” (Beta Glucan) ซึ่งพบไม่มากเท่าในข้าวชนิดอื่นๆ ซึ่งหากร่างกายได้รับเบต้ากลูแคน อย่างสม่ำเสมอ ไม่ต่ำกว่า 3 กรัมต่อวัน สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โร