อย.
อย. เตรียมมาตรการพร้อม สำรองยารับมือโควิด-19 อย. – เว็บไซต์ อย. ได้เผยแพร่ข่าว การเตรียมมาตรการความพร้อม และการสำรองยาที่จำเป็นสำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งกลุ่มยาโรคเรื้อรัง เพื่อป้องกันการขาดแคลนยาในสถานการณ์โรคระบาด และประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้านยา เพื่ออำนวยความสะดวกนำเข้ายาที่จำเป็น ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการเตรียมความพร้อมสำรองยาในประเทศ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19 ทั่วโลกทำให้มีการใช้ยาต้านไวรัสหลายขนานเป็นสูตรยาในการรักษา เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ ยารักษามาลาเรีย ยารักษาเอดส์ ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ทั่วโลกมีความต้องการนำเข้ายาสำเร็จรูปและวัตถุดิบในการผลิตยาสูงขึ้น จนอาจเสี่ยงต่อการขาดแคลนยาที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ซึ่ง อย. เล็งเห็นถึงปัญหาที่อาจตามมาจากการขาดแคลนยาดังกล่าว จึงได้อำนวยความสะดวกให้องค์การเภสัชกรรมนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 187,000 เม็ด และได้กระจายยาไปทั่วประเทศแล้ว รวมทั้งพร้อมจะนำเข้ายาอีกจำนวน 100,000 เม็ดสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่
อย. ลดระยะเวลาออกใบอนุญาต เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์รับมือโควิด-19 เพียงพอ อย. – เว็บไซต์ อย. ได้ออกประกาศ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ในการขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือ ป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเพียงพอ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ลดความแออัดตามนโยบายรัฐบาลให้เว้นระยะห่างทางสังคม ย้ำ อย. พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเต็มที่ ร่วมสู้วิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคโควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่าจะเป็น ยา เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย และเครื่องสำอางเพื่อรักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับผลกระทบจากมาตรการการควบคุม โควิด-19 ในต่างประเทศ และมาตรการลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น
อย. ประกาศเพิกถอนใบรับจดแจ้ง “แอลกอฮอล์ เจล” 24 ยี่ห้อ มีแบรนด์ไหนบ้าง เช็กเลย! แอลกอฮอล์ เจล – เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ประกาศเพิกถอนใบรับจดแจ้งและให้เรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 70% โดยปริมาตร จำนวน 24 รายการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือแอลกอฮอล์ที่ขายในท้องตลาด จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 70% ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางและให้เรียกเก็บคืนเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จ่านวน 24 รายการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2563 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือแอลกอฮอล์เป็นเครื่องสำอาง และต้องมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70 %โดยปริมาตร ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อเป็นการ
อย. เตือน เอกชนยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา! ย้ำ หากฝ่าฝืน มีโทษตามกฎหมาย กัญชา – เว็บไซต์ อย. ได้เผยแพร่ประกาศ เตือนประชาชน ขณะนี้กฎหมายยังไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนรายใดปลูกกัญชา ขอให้ตรวจสอบข้อมูลจาก อย. เท่านั้น หากฝ่าฝืน มีโทษตามกฎหมาย โดย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีพบภาคเอกชนแอบอ้างว่าได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย. ขอย้ำว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครองกัญชาต้องดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น และการผลิต นำเข้า ส่งออกต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้ โดยใน 5 ปีแรก ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก ต้องเป็นหน่วยงานรัฐหรือผู้ขออนุญาตอื่น (เช่น วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ) ที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งขณะนี้มีผู้ได้รับอนุญาตการปลูก จำนวน 17 ราย เช่น องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับวิสาหกิ
อย. เตือนอย่าหลงเชื่อ “สเปรย์พ่นปากอ้างฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา” ไม่จริง! วันที่ 25 ม.ค. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลส่งต่อออนไลน์ ใช้เบตาดีนสเปรย์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา ย้ำ อย. ไม่เคยมีการอนุญาตให้โฆษณาสรรพคุณในลักษณะดังกล่าว โดยจากการตรวจสอบเบตาดีนสเปรย์ที่ผ่านการอนุญาต เป็นสเปรย์พ่นปากที่มีตัวยา โพวิโดน ไอโอดีน มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ใช้สำหรับลดอาการอักเสบบริเวณช่องปาก ลำคอ เท่านั้น กรณีพบข้อมูลจากสื่อออนไลน์ระบุวิธีป้องกันอย่างง่ายทำได้ด้วยตนเองจากไวรัสโคโรนา โดยการใช้เบตาดีนสเปรย์ฆ่าเชื้อ นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอแจ้งว่า ไม่เคยมีการอนุญาตให้โฆษณาสรรพคุณตามที่ระบุบนสื่อออนไลน์ โดยเบตาดีนสเปรย์ที่ผ่านการอนุญาตกับ อย. มีสรรพคุณที่ได้รับอนุญาตเป็นสเปรย์พ่นปาก ที่มีตัวยาโพวิโดน ไอโอดีน มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อโรค โดยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ลดอาการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ ได้แก่ อาการระคายคอ ความรู้สึกไม่สบายที่คอ แผลในปาก และระงับกลิ่นปาก เท่านั้น หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยในเรื่องสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ขอให้สอบถามมาได้
ดีเดย์ 1 ม.ค. 63 อย.บังคับใช้กฎหมาย ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย คสอ.ที่ผสมไมโครบีดส์ 27 ธ.ค. ที่เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เผยแพร่ประกาศเกี่ยวกับการควบคุมการผลิต นำเข้า หรือขาย เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออก แล้วมีส่วนผสมของพลาสติกไมโครบีดส์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองสุขภาพของคนไทยในการอุปโภค นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 กำหนดให้เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกที่มีส่วนผสมของพลาสติกไมโครบีดส์ เป็นเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย ขณะนี้ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งการห้ามนำพลาสติกไมโครบีดส์มาใช้ในการผลิตเครื่องสำอางนี้ เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่ให้เลิกใช้พลาสติกไมโครบีดส์ในประเทศไทยภายในปี 2562 ตามโรดแมป (Roadmap) การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 โดยพลาสติกไมโครบีดส์ที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอ
อย. แนะ 6 วิธีใช้ “ยาดม” ที่ถูกต้อง อย่ามองข้ามความปลอดภัย หากใครเป็นคนติดยาดม ต้องฟังทางนี้ อย. แนะ 6 วิธีใช้ “ยาดม” ที่ถูกต้อง เพราะถ้าหากใช้ยาดมไม่ถูกวิธี อาจเป็นพาหะนำโรคได้ ยาดมบรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เพียงชั่วคราว หากอาการหนักควรพบแพทย์ 2. ยาดมที่เป็นน้ำ หรือขี้ผึ้ง ควรป้ายใส่ผ้า หรือทาบางๆ ที่หน้าอก แล้วสูดไอระเหย 3. ควรสูดดมใกล้ๆ แต่ไม่สัมผัสโดยตรง 4. ไม่ควรให้หลอดยาดมเข้าไปค้างในจมูก เพราะสารทุกตัวอาจทำให้ระคายเคืองหากไปสัมผัส 5. หลีกเลี่ยงการใช้หลอดยาดมที่สัมผัสกับจมูกผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ 6. หากเป็นโรคที่เกี่ยวกับโพรงจมูก ควรหลีกเลี่ยง เพราะหากสูดยาดมที่เข้มข้นมากๆ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
“อย.” ออกประกาศ 3 อาหารเสริมไม่ปลอดภัย เตือนประชาชนระวังซื้อ พร้อมลงโทษผู้กระทำผิด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 62 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการอาหารและยา จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่อง “ผลการตรวจพิสูจน์อาหาร” รายละเอียดคือ จากการที่ อย. ได้ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารของสถานที่ผลิตอาหาร บริษัท ฟารีดา ดราย ฟรุ๊ตส์ จำกัด เลขที่ 288/6-8 พ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. ส่งตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลปรากฏว่าตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่าความปลอดภัย (ADI) ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเห็นควรประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหารให้ประชาชนทราบ โดยผลิตภัณฑ์อาหารฉลากระบุ “ฟารีดาโกจิ อบแห้ง” ตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 7,515 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าเกินความความปลอดภัยจึงเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา 26(1) ฝ่าฝืนมาตรา 25(1) โทษตามมาตรา 58 แห่งพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ อย. อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป เรื่องที่
สุ่มตรวจ “ขนมจีน” พบยี่ห้อหมื่นบูรพา-บ้านขนมจีนปทุม วัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จับมือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มตรวจขนมจีนและเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยมีการสุ่มตรวจตัวอย่างขนมจีนทั้งหมด 31 ตัวอย่างจากตลาดสดและห้างสรรพสินค้าทั้งใน กทม. และปริมณฑล จากผลตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก แต่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกในทุกตัวอย่าง โดยเส้นขนมจีนที่มีปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน คือ เส้นขนมจีน ยี่ห้อ หมื่นบูรพา จากตลาดคลองเตย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก 1066.79 มก./กก. และ เส้นขนมจีน ยี่ห้อ M&A บ้านขนมจีนปทุม จากตลาดสี่มุมเมือง ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก 1316.12 มก./กก. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก ปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ในอาหารประเภทพาสต้า ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน ที่ผ่านกระบวนการ ชนิดสด ชนิดแห้ง และชนิดกึ่งสำเร็จรูป กรณีพบการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูด เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด จัดเป็นอาหารผิดมาตรฐา
อย.ชี้ชัด ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ โยง เบียร์ เล็งเอาผิดคนรีวิว อย. แจงเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท การโฆษณาต้องขออนุญาต อย. ก่อน โดยต้องไม่สื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดทั้งทางตรง ทางอ้อม หากตรวจสอบพบการกระทำผิด จะดำเนินการตามกฎหมาย พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เปิดตัวสินค้าใหม่เป็นเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ และพบว่ามีการโฆษณาในทำนองว่า เป็นเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า เบียร์จัดเป็นสุรา ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งหมายถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา แต่ไม่รวมถึงเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 0.5 ดีกรี การนำเบียร์ มาสกัดแอลกอฮอล์ออกหรือลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงให้ไม่เกิน 0.5 ดีกรี หรือไม่เกินร้อยละ 0.5 จัดเป็นเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้ว