อย.
เปิดขั้นตอน การขออนุญาตปลูก กัญชง พืชเนื้อหอม ฝาแฝดกัญชา ว่ากันตามตรงแล้ว กัญชา และ กัญชง ถือเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน นั่นคือ Cannabis sativa L. จึงทำให้ลักษณะมีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายส่วน แต่จะว่าสังเกตดีๆ ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว จุดเด่นของกัญชงนั้น ไม่ใช่สาร THC เหมือนอย่างกัญชา แต่จะเป็น CBD (Canabidiol) ซึ่งเสพแล้ว จะไม่ได้มีอาการเคลิบเคลิ้มเหมือนกับกัญชา สารสกัดจากกัญชงจึงถูกสกัดออกมาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มากกว่า กัญชงจึงถือเป็นพืชที่เนื้อหอมที่ใครๆ ก็อยากปลูก พอๆ กับกัญชาเลยทีเดียว เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เผยว่า ตามที่กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา มีประชาชน เกษตรกร และทุกภาคส่วนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ขอรับคำปรึกษาทั่วประเทศกว่า 2,000 คน และมีประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้ 1. การยื่นคำขออน
กสทช.-อย. จับมือฟันโฆษณาถั่งเช่าเกินจริง อวดอ้างสรรพคุณเป็นยา วันที่ 20 ม.ค.64 พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากการที่ กสทช. ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ในการจัดการปัญหาการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มาตั้งแต่กลางปี 2561 มีการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน ได้แก่ การบูรณาการบังคับใช้กฎหมาย โดย กสทช. ทำการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาทางโทรทัศน์ และ อย. เป็นผู้วินิจฉัยข้อความการโฆษณานั้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยปรากฏผลการดำเนินการจนถึงปัจจุบันคือ ตรวจจับการโฆษณาทางโทรทัศน์ดิจิตอลได้ 17 ราย 77 กรณีโฆษณา โทรทัศน์ดาวเทียม 90 ราย 190 กรณีโฆษณา และวิทยุ 2,150 ราย 4,058 กรณีโฆษณา กสทช. มีอำนาจในการกำกับดูแลการโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียงเท่านั้น ในส่วนของการโฆษณาทางสื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ จะมีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดส.) ร่วมมือกับ อย. ในการจัดการปัญหาการโฆษณา “จากความร่วมมือก่อให้เกิดการปรับตัวของผ
อย. เชือด กาละแมร์ พิธีกรดัง รีวิวอาหารเสริมโอ้อวดเกินจริง ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏว่า พิธีกรชื่อดัง กาละแมร์-พัชรศรี เบญจมาศ ทำคลิปวิดีโอบรรยายสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “กรอบหน้าชัด เหนียงหาย หน้ายก ตาที่เคยหนังตาตกก็เป็นตา 2 ชั้น รอยขมวดคิ้วหาย ร่องแก้มตื้น จมูกเข้ารูป ย้ำอีกครั้งว่า ไม่เคยทำจมูกอะไรใดๆ ตอนนี้กินแต่ผลิตภัณฑ์ตัวเองเท่านั้น” โดยคลิปดังกล่าวได้มีการแชร์ทางสื่อออนไลน์เป็นจำนวนมากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบพบว่า คลิปดังกล่าวเป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โบเทรา ดริ้งค์ เลขสารบบอาหาร 10-1-03958-5-0229 และ โบเทรา ชอต เครื่องดื่มชนิดผง เลขสารบบอาหาร 10-1-03958-5-0233 ทางอินสตาแกรม “hipowershot” และเฟซบุ๊ก “Botera โบเทรา สวยทรงพลัง” โอ้อวดสรรพคุณว่าช่วยกระชับผิวหน้า ลดไขมันส่วนเกินบนใบหน้า เพิ่มชั้นตา อีกทั้งมีการเปรียบเทียบว่าสามารถทดแทนการศัลยกรรมได้ ซึ่ง อย. ขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารตัวใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือการทำงานของร่างกายได้ตามที่กล่าวอ้าง การโฆษณาดังกล่าวเป็
อย. แนะ 3 ขั้นตอน เลือกซื้อและเก็บรักษาแอลกอฮอล์เจล เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อเจลแอลกอฮอล์ เพื่อให้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ดังนี้ 1. ตรวจสอบฉลาก ต้องมีข้อความแสดงให้เห็นชัดเจน ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อทางการค้า ประเภทหรือชนิดของผลิตภัณฑ์ ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ คำเตือน เลขที่ใบรับจดแจ้ง 2. ต้องบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันการระเหยของแอลกอฮอล์ เมื่อเปิดใช้จะมีกลิ่นเฉพาะของแอลกอฮอล์ และไม่เกิดการแยกชั้น เปลี่ยนสี จับเป็นก้อน หรือตกตะกอน 3. ตรวจสอบเลขที่ใบรับจดแจ้งเครื่องสำอาง ที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ “ตรวจสอบผลิตภัณฑ์” ซึ่งในรายละเอียดการจดแจ้งเครื่องสำอางต้องแสดงเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกาย รูปแบบใช้แล้วไม่ล้างออก หรือผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องระว
แม็คโคร จับมือ กรมอนามัย-อย. วางแผน-ยกระดับมาตรการขั้นสูงสุด ทุกสาขา สร้างความเชื่อมั่นอาหารสดปลอดภัย บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หนุนมาตรการป้องกันโควิด-19 เชิงรุก บูรณาการภาครัฐ กรมอนามัยและ อย. สร้างความเชื่อมั่นอาหารสดปลอดภัย ยกระดับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังขั้นสูงสุด ตอกย้ำผู้นำอาหารสด และสถานประกอบการปลอดภัยไร้โควิด-19 รองรับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ช่วงการระบาดรอบล่าสุด คุณศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในหลายพื้นที่ของประเทศ แม็คโครได้วางแผนเชิงรุกในการยกระดับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังขั้นสูงสุด โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมอนามัย และ อย. ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด พร้อมวางมาตรการเสริมเพิ่มเติม เพื่อสร้างความมั่นใจในช่วงการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของสินค้าอาหารสด อาหารทะเล แม็คโครได้เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบตลอดห่วงโซ่การผลิตและจัดจำหน่าย เพื่อให้ถึงมือผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างปลอดภัย “ในสถานการณ์ที่พี่น
พยาธิ ภัยที่มากับอาหาร รู้ไหมว่ามีกี่ชนิด พร้อมชี้อาการและวิธีเลี่ยงพยาธิ หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวเกี่ยวกับพยาธิที่ปนเปื้อนในอาหาร แล้วรู้หรือไม่ว่า พยาธิที่เราพบ มีกี่ชนิด? และมีวิธีการหลีกเลี่ยงพยาธิเหล่านั้นอย่างไร เว็บไซต์ อย. เผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการพบเจอพยาธิในอาหารไว้ดังนี้ ชนิดของพยาธิ ที่มักพบในอาหารประเภทต่างๆ พยาธิใบไม้ตับ พบในอาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดที่ไม่สุก เช่น ปลาร้าดิบ ส้มปลา เป็นต้น พยาธิตัวตืด พบในเนื้อหมู วัว ที่ปรุงไม่สุก สามารถมองเห็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดสาคู หรือผักสดที่ล้างไม่สะอาดและมีไข่พยาธิปนเปื้อน พยาธิไส้เดือนและ พยาธิแส้ม้า พบในผักผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด อาหารไม่สะอาดปนเปื้อนไข่พยาธิ มีแมลงวันตอม หรือหยิบของที่ตกบนพื้นดินเข้าปาก พยาธิตัวจี๊ด พบในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก เช่น ปลา ไก่ กบ เป็นต้น พยาธิอะนิซาคิส พบในอาหารประเภทปลาทะเลที่ไม่สุก ปลาดิบ หลีกเลี่ยงพยาธิเหล่านี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ? – เลือกซื้ออาหารที่สดใหม่สะอาด หากเป็นเนื้อสัตว์ต้องสังเกตุดูว่ามีตัวอ่อนพยาธิซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดสาคูปนเปื้อนหรือไม่
อย. ออกประกาศ แนะ ปชช. ซื้อปลาหมึกแห้ง จากแหล่งน่าเชื่อถือ ลดเสี่ยง แคดเมียม เว็บไซต์ สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยข่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผลตรวจสอบปลาหมึกแห้งพบการปนเปื้อนของแคดเมียม อย. ร่วมกับ สสจ. เข้าตรวจสอบและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลตรวจวิเคราะห์ แนะผู้บริโภคซื้อปลาหมึกแห้งจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อความปลอดภัย นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เผยผลการตรวจสอบปลาหมึกแห้ง จำนวน 13 ตัวอย่าง พบ 7 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณ 2.003, 2.393, 2.537, 3.006, 3.303, 3.432 และ 3.872 มก./กก. ตามลำดับนั้น อย. ขอชี้แจงว่า แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่พบปนเปื้อนได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งดิน และน้ำ จึงพบการปนเปื้อนในปลาหมึกซึ่งเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจและหลีกเลี่ยงได้ยาก ด้วยเหตุนี้ อย. จึงออกประกาศ สธ. ว่าด้วยเรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยกำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในปลาหมึกสดได้ไม่เกิน 2 มก./กก. (น้ำหนักเปียก) ซึ่งคำนวณเป็นปริมาณการปนเปื้อนในปลา
5 วิธีล้างผัก-ผลไม้ง่ายๆ ช่วยลดสารฆ่าแมลง และสิ่งสกปรก อยากทานผักและผลไม้แบบปลอดภัย ไร้สารฆ่าแมลง ไม่ยากอย่างที่คิด เส้นทางเศรษฐีออนไลน์มีเคล็ด(ไม่)ลับ 5 วิธีล้างผัก-ผลไม้ง่ายๆ ช่วยลดสารฆ่าแมลง และสิ่งสกปรก จากเพจ Fda Thai ของ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาฝาก ล้างผัก ผลไม้ โดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่ทิ้งไว้นาน 15 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ 90-95% แช่ผัก ผลไม้ ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู ใช้น้ำส้มสายชูละลายน้ำความเข้มข้น 0.5% (น้ำส้มสายชู อสร. 1 ขวด/น้ำ 4 ลิตร) แช่ผักที่เด็ดแล้วนาน 15 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ 60-84% เปิดก๊อกน้ำให้ไหลผ่าน ล้างนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ 54-63% ลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ 50% การต้มจะลดได้เท่ากับการลวกผัก แต่อีก 50% สารพิษจะออกจากผักไปอยู่ในน้ำแกง แช่ผัก ผลไม้ ในน้ำสะอาด ควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดจากสิ่งสกปรกครั้งหนึ่งก่อน และเด็ดเป็นใบๆ แช่ลงในอ่าง ใช้น้ำปริมาณ 4 ลิตร แช่นาน 15 นาที ลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ 7-33% ข้อมูลจากเพจ Fda Thai เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562
อย. ชี้แจง “ซูชิเรืองแสง” อาจเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ วันที่ 31 ก.ค. 63 นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ภาพซูชิที่มีแสงสีฟ้าสะท้อนออกมาจากตัวกุ้ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า การเรืองแสงของกุ้งและอาหารทะเลเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การเจริญของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหารทะเลและสามารถผลิตสารเรืองแสงได้ โดยเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ถ้าอาหารทะเลถูกทำให้สุกก็จะสามารถทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้ได้ แต่ถ้ายังดิบอยู่หรือไม่ได้ฆ่าเชื้อให้หมด ประกอบกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม อาจจะส่งผลให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนเรืองแสงได้ ทั้งนี้ อย. ได้กำหนดให้สถานประกอบการผลิตต้องผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ (Good Manufacturing Practice, GMP) เพื่อควบคุม กำกับ ดูแล และเฝ้าระวังความปลอดภัย ซึ่งขณะนี้ อย. ได้ตรวจสอบสถานที่จำหน่าย และเก็บตัวอย่างวัตถุดิบรวมถึงผลิตภัณฑ์ซูชิดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแล้ว ซึ่งหากพบการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ
อย. ตรวจพบ เมทิลแอลกอฮอล์ ใน “มีมีคอส แฮนด์ แซนนิไทเซอร์ พลัส” เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ อย. – เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เผยแพร่ข่าว อย. เตือน มีมีคอส แฮนด์ แซนนิไทเซอร์ พลัส พบผสมเมทิลแอลกอฮอล์ โดย นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี ตรวจสอบบริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด เลขที่ 76 หมู่ที่ 6 ตำบลโพกรวม อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี หลังตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์เจล มีมีคอส แฮนด์ แซนนิไทเซอร์ พลัส เลขที่ใบรับจดแจ้งเครื่องสำอาง 17-1-6300005783 ครั้งที่ผลิต (lot) 63065-16 วันที่ผลิต 21/02/2020 วันหมดอายุ 21/02/2022 ขนาด 450 มิลลิลิตร ของบริษัทฯ มีส่วนผสมของเมทิลแอลกอฮอล์ 70.90 %w/w ทางบริษัทฯ ยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ มีมีคอส แฮนด์ แซนนิไทเซอร์ พลัส จริง โดยได้ซื้อวัตถุดิบแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง จากร้านจำหน่ายวัตถุดิบในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 ครั้ง และบริษัทฯ แจ้งว่าได้มีการตรวจสอบวัตถุดิบแอลกอฮอล์