เครือเจริญโภคภัณฑ์
CPF – มูลนิธิซีพี เดินหน้าส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน มุ่งสร้างแหล่งโภชนาการและความมั่นคงทางอาหารโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท (ซีพี) และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน แก่โรงเรียนบ้านห้วยไม้หก และโรงเรียนบ้านยางครก เพื่อสร้างเสริมภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร หนุนนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะอาชีพติดตัว พร้อมสร้างคลังอาหารยั่งยืนในโรงเรียนและชุมชน โดยมี นายปรีชาพล พูลทวี นายอำเภออมก๋อย เป็นประธานในพิธี ณ โรงเรียนบ้านห้วยไม้หก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ นายจอมกิตติ ศิริกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท (ซีพี) เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ มูลนิธิซีพี และซีพีเอฟ มุ่งขยายโอกาสให้โรงเรียนทั่วประเทศเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนที่เพียงพอ เพื่อให้นักเรียนมีโภชนาการที่เหมาะสม อันเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างแข็งแรงและพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ โครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ช่วยให้โรงเรียนสามารถจัดหาอาหารกลางวันจ
12 สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10 เข้าพิธีบรรพชา สู่การ “ตามรอยทศบารมี” ณ สถานปฏิบัติธรรม ธวีธรรม โคราช ชมสดเรียลลิตี้ธรรมะแห่งทศวรรษ ผ่านทุกแพลตฟอร์มทรู ถึง 18 พ.ค. นี้ พระราชภาวนา วชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ ในฐานะพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ใหญ่ ให้ความเมตตาประกอบพิธีบรรพชาแก่สามเณร 12 รูป ที่ร่วมโครงการสามเณร ปลูกปัญญาธรรม ปี 10 ซึ่งจัดขึ้นโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในวาระครบรอบ “1 ทศวรรษ แห่งความดี 10 ปี แห่งความยั่งยืน” นำเหล่าสามเณร สู่บนถนนสายธรรมอย่างงดงามอีกครั้ง พร้อมเปิดห้องเรียนธรรมะถ่ายทอดสด ภายใต้แนวคิด “ความรักจักรวาล : รัก-เรียน-เพียร-ให้” ซึ่งในปีนี้ สามเณรจะได้เรียนรู้ธรรมะ “ทศบารมี คุณธรรมความดี 10 ประการ” ที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ เป็นแบบอย่างที่สามเณรทั้ง 12 รูป จะได้ปฏิบัติตามตลอดการบรรพชา 1 เดือนเต็ม ณ สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม (ไร่แสงงาม) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในโอกาสนี้ ท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ (แถวหน้า-กลาง) ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาสของโครงการ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส (แถวหน้า-ที่
โลตัส ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กองทัพบก ในโครงการจัดหางาน นำร่อง 13,000 อัตราทั่วประเทศ ให้แก่ทหารที่ปลดประจำการ สร้างอาชีพและรายได้มั่นคง โลตัส ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กองทัพบก ใน โครงการจัดหางานให้แก่ทหารกองประจำการที่ปลดประจำการ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กองทัพบก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะความสามารถทหารกองประจำการ ให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพหลังปลดประจำการ โดยโลตัส พร้อมเปิดรับสมัครผู้ที่มีความพร้อม ความเชี่ยวชาญ และความเหมาะสมเข้าร่วมงานกว่า 1,100 ตำแหน่ง กระจายในสาขาทั่วประเทศ เพื่อช่วยสร้างอาชีพในท้องถิ่นให้ทหารปลดประจำการและครอบครัว สามารถมีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายด้านความยั่งยืนของโลตัสที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้านการสร้างคุณค่าและประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
หลังจากมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้เข้ามาร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพทุเรียนซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชา หรือโครงการทุเรียนคุณภาพ ต่อเนื่องสู่ปีที่ 3 ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่า จากการที่มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เปิดการรับซื้อผลผลิตในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชา หรือโครงการทุเรียนคุณภาพ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพของทุเรียน ซึ่งคาดว่าผลผลิตทุเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีนี้ จะมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,655 ตัน หรือ 1,655,000 กิโลกรัม จากเกษตรกร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 564 ราย และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรประมาณ 160 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีผลผลิตรวม 1,687 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่า 141 ล้านบาท นายการัณย์ กล่าวว่า ในปีนี้ มูล
เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) รับผู้ตกงานจากผลกระทบโควิด-19 จ้างงานที่ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) วิกฤต COVID-19 จะทำให้แรงงานมีความเสี่ยงถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 8.4 ล้านคน ทั้งแรงงานในภาคการท่องเที่ยว แรงงานในภาคอุตสาหกรรม และการจ้างงานในภาคบริการอื่น โดยแรงงานที่ตกงานบางส่วนจะเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเอง ทั้งนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ตระหนักถึงปัญหาของผู้ถูกเลิกจ้างงานที่แม้กลับภูมิลำเนาก็จะยังไม่มีรายได้ เนื่องจากมีแรงงานภาคการเกษตรรอทำงานเต็มตามฤดูกาลอยู่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จึงจัดตั้ง “ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว” ขึ้นที่ บ้านแม่วาก ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อรับผู้ตกงานจากผลกระทบโควิด-19 เข้ามาทำงานเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฯ นี้ประกอบไปด้วยโรงเรือนเพาะชำกล้าพันธุ์ไม้จำนวน 4 โรงเรือน สามารถเพาะชำกล้าไม้ระยะสั้
มณฑลทหารบกที่ 42 ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ “ยกทัพสินค้าราคาพิเศษ ช่วยค่าครองชีพ” ให้พี่น้องชาวหาดใหญ่ จ.สงขลา มณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์ ผสานพลังร่วมกับพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ “ยกทัพสินค้าราคาพิเศษ ช่วยค่าครองชีพ” เพื่อแบ่งเบาภาระของพี่น้องประชาชนภาคใต้ในเขตพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภายใต้โครงการ “ร่วมใจสู้ภัย COVID-19 (สินค้าราคาพิเศษช่วยเหลือพี่น้องประชาชน)” พลตรี อดิศักดิ์ ประชากิตติกุล ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์ กล่าวว่า จากวิกฤตที่เกิดขึ้น ทำให้หลายภาคส่วนได้รับผลกระทบ แต่ในวิกฤต ก็จะเห็นน้ำใจของคนไทยที่ออกมาช่วยเหลือพี่น้องคนไทยซึ่งกันและกัน ส่วนของมณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์ มีจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง อาทิ มอบเครื่องใช้อุปโภคบริโภค บริการรถครัวสนามทำอาหารกล่องแจกให้กับประชาชน โครงการ “Army Delivery” คือ ปฏิบัติการส่งข้าวสารอาหารแห้งที่จำเป็นให้กับประชาชน ผู้ยากไร้ ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง โดยรถมอเตอร์ไซค์ส่งถึงบ้าน โครงการจิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ โครงการทหารงดลา พาเยี่ยมบ้าน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และนำเครื่อ
“เจ้าสัว” ย้ำ ซีพี ไม่ได้ผูกขาด แค่เห็นโอกาสแล้วเริ่มก่อน คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มหาเศรษฐีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ กล่าวตอนหนึ่งบนเวที เปิดตัวหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน คุณธนินท์ บอกว่า ในช่วงที่เจอวิกฤต สิ่งสำคัญที่สุด คือ “อย่าตาย” ต้องเอาชีวิตรอดไว้ก่อน ตายไปเอาชีวิตคืนมาไม่ได้ หลังวิกฤตเชื่อว่ามักจะมีโอกาสตามมาอยู่เสมอ “ตอนนี้เมืองไทยมีโอกาส เช่น สหรัฐอเมริกา กับ จีน มีปัญหากัน คนจะย้ายฐานการผลิต เราควรจะฉวยโอกาสตรงนี้ไว้ เพราะถ้าเราไม่ฉวยโอกาสนี้ ฐานการผลิตจะถูกย้ายไปเวียดนาม อินโดนีเซีย หากพลาดโอกาสนี้ไป คงต้องรออีกนาน 10 ปี เลยก็เป็นไปได้” เจ้าสัว เพิ่มเติมว่า หากสังเกตให้ดี ขณะนี้เมืองไทยกำลังถดถอย ลองวิเคราะห์ดู 70 เปอร์เซ็นต์ของหลายธุรกิจ ญี่ปุ่นมาลงทุน ซึ่งคนไทยควรหวงแหนสินค้าเกษตร เพราะสินค้าเกษตร คือ น้ำมันบนดิน เป็นทรัพย์ของชาติ คนไทยมักละเลย ต้องให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตรให้มากกว่านี้ สำหรับอาณาจักรเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันมีพนักงานราว 3 แสนคน ซึ่
“เจ้าสัวซีพี” แนะ เจอวิกฤตมืดที่สุดอย่าท้อ เอาชีวิตรอดก่อน แสงสว่างจะมาเอง คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มหาเศรษฐีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ กล่าวตอนหนึ่งบนเวที เปิดตัวหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน ว่า ตนเห็นโอกาสของเซเว่นฯ แต่ไม่เห็นโอกาสของอาลีบาบา เพราะมันไม่มีตัวตน มองไม่เห็น เป็นภาพเล่าเฉยๆ ตนยังเป็นคนล้าสมัย ต้องเห็นของจริงก่อน ถ้าตอนนั้นไปลงทุนกับเขา ได้กำไรหลายร้อยเท่า แต่ยังไม่กล้า เพราะมองไม่ชัด คิดไม่ออกว่า จะสำเร็จได้ยังไง เพราะไม่มีทางเดิน แต่เขาเชื่อมั่นของเขา เขาเห็นว่าภูเขาเป็นทอง แต่เรามองไปคือต้นไม้ ดิน และหิน เหมือนกับเซเว่นฯ ตนเห็นแล้วทำสำเร็จที่สหรัฐอเมริกาเลยมาศึกษาที่ไทย เห็นชัดว่าสำเร็จ เชื่อว่าทำได้แน่นอน ตนรู้จักสองพี่น้อง เจ้าของเซเว่นฯ ไปพูดตรงๆ กับเขาว่าสนใจ อยากมาลงทุนที่ไทย เชิญมาที่ไทยเลย ดูงานเสร็จ ก่อนกลับเขาเตือนว่าอย่าทำเลย ทำไม่ได้หรอก รายได้น้อยกว่าสหรัฐอเมริกาตั้ง 10 กว่าเท่า ไม่คุ้มที่จะลงทุน กำลังซื้อไม่พอ 1 คนเขามาซื้อ เท่ากับไทยต้องมาซื้อ 15
เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ซีพีจะลงทุนหลายแสนล้านบาท สร้างโครงการเมืองใหม่ที่แปดริ้ว บนพื้นที่ 10,000 ไร่ มีคอนเซปต์เป็น smart city มีการวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน รวมทั้งบริการอื่นๆของเมืองให้รวมอยู่จุดเดียว เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า เหตุที่เลือกฉะเชิงเทราเป็นสถานที่แรก ก็เพื่อเป็นโครงการทดลองในการเชื่อมต่อกับอีอีซี และอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในระบบรางเชื่อมต่อเข้ามายังสถานีมักกะสัน ให้เดินทางจากเมืองให้เข้ามาถึงกรุงเทพภายใน 20 นาที รถไฟจะออกทุก 1 หรือ 2 นาที ในเมืองจะใช้ระบบ zero waste หรือการรีไซเคิลขยะให้เป็นศูนย์ เช่น การรีไซเคิล การผลิตไฟฟ้า การแปรรูป ถนนในเมืองจะทำเป็น 3 ชั้น ชั้นบนที่อยู่บนพื้นเป็นสวนสาธารณะ ชั้นกลางเป็นถนน/ทางรถไฟ ชั้นล่างสุดเป็นส่วนของการบริการ เช่น ขยะ ท่อน้ำเสีย ท่อบริการของระบบไฟฟ้า-ประปา นายธนินท์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ศูนย์การค้าใหญ่จะอยู่กลางเมือง ให้รวมเอาไว้ที่เดียว เพราะแนวคิดเมืองใหม่คือรถจะต้องไม่ติด