เชียงใหม่
สบายใจ ไม่รวย แต่พอกิน! คนรุ่นใหม่ทำเกษตร ปลูกผักสลัดบนดอย มีรายได้หลักหมื่น แถมได้ดูแลพ่อแม่ “ถามว่ามีความสุขไหม ทำเกษตรแรกๆ คือร้องไห้เลย มือแตก มือลอก รู้สึกว่า “กูปิ๊กมาอะหยังวะ” ท้อมาก แม่ก็ไล่กลับไปอยู่เวียง (เชียงใหม่) แต่เรารู้สึกว่าไม่สนุก เลยกลับมาสู้ต่อ เพราะทำเกษตรสบายใจกว่า ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองพอ ขยันมากก็ได้มาก และได้กลับมาอยู่กับพ่อแม่ด้วย” คำบอกเล่าจาก คุณกระแต-วนิดา สุขกำแหง สาววัย 27 ปี เธอเติบโตมาในครอบครัวชาวสวนลำไย จึงซึมซับวิถีเกษตรมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งเมื่อได้ลองทำงานประจำ แต่ไม่ตรงใจ การกลับมาทำเกษตร อาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ จึงเป็นความตั้งใจจริง นำมาสู่การสร้างรายได้ต่อเดือนที่มั่นคงจากผักสลัด ที่เริ่มจากปลูกเล็กๆ ในสวนลำไย สู่การเช่าพื้นที่บนดอยเพิ่มผลผลิต งานประจำไม่ใช่ทาง คุณกระแต เล่าให้ฟังว่า เธอไม่มีทุนเรียนต่อปริญญาตรี หลังจบ ปวส. ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ จึงหยุดเรียนเพื่อหาทุนศึกษาต่อ โดยเลือกทำงานประจำ เป็นบาริสต้า เปิดร้านกาแฟ และเป็นบาร์เทนเดอร์ ใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงินเดือนนาน 2 ปี
ยังฮอต! คนสนใจซื้อ/เช่าบ้าน ใน “กรุงเทพฯ” มากที่สุดในรอบปี 2567 ส่วนเชียงใหม่รั้งอันดับ 2 รับอานิสงส์การท่องเที่ยวฟื้น ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ www.DDproperty.com ในรอบปี 2567 (เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567) อัปเดตทำเลศักยภาพที่น่าจับตามอง “กรุงเทพฯ” ยืนหนึ่งจังหวัดยอดนิยมของคนหาบ้าน กรุงเทพมหานคร ยังคงครองความนิยมเป็นจังหวัดที่ได้รับความสนใจซื้อ/เช่าทั่วประเทศมากที่สุดในรอบปี 2567 ขณะที่หัวเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนครองอันดับ 2 ตามมาด้วยอันดับ 3 นนทบุรี, อันดับ 4 ภูเก็ต, อันดับ 5 ชลบุรี, อันดับ 6 ปทุมธานี, อันดับ 7 สมุทรปราการ, อันดับ 8 ประจวบคีรีขันธ์, อันดับ 9 ระยอง และอันดับ 10 ขอนแก่น ทั้งนี้ หัวเมืองท่องเที่ยวกลับมาติดอันดับต้นๆ จังหวัดยอดนิยมที่มีการค้นหาที่อยู่อาศัยมากขึ้น หลังจากตลาดอสังหาฯ ในปี 2567 ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวส่งผลให้จำนวนชาวต่างชาติที่เข้ามาในไทยเพิ่มมากขึ้น หัวเมืองท่องเที่ยวจึงได้รับความสนใจซื้อ/เช่าเพื่อใช้เป็น
รัฐบาล “แพทองธาร” เร่งผลักดันเชียงใหม่ ขึ้นแท่น “เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม” นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ Soft Power ของไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปสู่ระดับนานาชาติ และนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งปีนี้ วธ. มุ่งขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมด้วย 4 นโยบาย 3 แนวทาง 2 รูปแบบ สู่ 1 เป้าหมาย ทำให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลกมาเที่ยวในมิติด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยในส่วนของการเสริมสร้างระบบนิเวศและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม จะมีการยกระดับการบริการของพิพิธภัณฑ์โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของไทยให้เป็นที่รู้จักนั้น ล่าสุดได้หารือร่วมกับ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก ซึ่งแหล่งมรดกวัฒนธรรมเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการประกาศรายชื่อในบัญชีชั่วคราว (Tentative List) ในชื่อ “อนุสรณ์สถาน แหล่งต่าง
ข้าวโซอิก้าวสู่เวทีโลก! บุกลอนดอน คว้าใจคนต่างชาติ หวังเป็นเมนูตัวแทนอาหารไทยไปทั่วโลก เมนูฮอตฮิตติดหูจริงๆ คือ ต้มยำกุ้งและผัดไทย พูดไปคนรู้เลยว่านี่คือเมนูจากประเทศไทย เชฟวินหวังว่า สักวันหนึ่ง “ข้าวซอย” จะได้มีโอกาสเป็นเหมือนต้มยำกุ้งและผัดไทย ที่แค่ได้ยินชื่อข้าวซอย ก็รู้ทันทีเลยว่ามาจากประเทศไทย ความฝันที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงผลักดันของเชฟหนุ่มไฟแรง ที่อยากจะพาร้าน Khao-Sō-i ข้าวโซอิ ของตนเองมาเปิดขายในที่แห่งนี้ แล้วในที่สุด เขาก็ทำได้ Khao-Sō-i ข้าวโซอิ ร้านดังจากเชียงใหม่ ที่นำเสนอเมนูข้าวซอยในรูปแบบใหม่ ผสมผสานวัฒนธรรมอาหารไทยและญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน พร้อมคอนเซ็ปต์ที่เจ้าของร้านอย่างเชฟวิน ได้กล่าวเอาไว้ว่า “อยากจะพาข้าวซอยไทยไปไกลถึงเวทีโลกให้ได้” เชฟวิน ศรีนวกุล เชฟนักธุรกิจ ได้นั่งพูดคุยพร้อมบอกถึงที่มาของการตัดสินใจมาเปิดสาขาที่สยามพารากอนว่า ปกติมาหาทานข้าวที่สยามพารากอนอยู่บ่อยๆ แล้วคิดว่า สักวันหนึ่งอยากจะพาร้านข้าวโซอิมาเจิดจรัสที่แห่งนี้อย่างเขาบ้าง ในช่วงแรกยังเกิดความกังวล ด้วยที่มาจากต่างจังหวัด ยังไม่เข้าใจในเรื่อง
ลงทุนไม่ถึงหมื่น! “ขายน้ำชงบนจักรยาน” วันละ 400 แก้ว เจาะกลุ่มคนงบน้อย แบงก์ 20 ใบเดียวทุกเมนู “ขายน้ำชงบนจักรยาน” คือไอเดียธุรกิจที่ คุณแก้ว-เกศรินทร์ ทาคำฟู วัย 29 ปี ใช้สร้างรายได้ให้ครอบครัว หลังจากลองทำเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับร้านหม่าล่าที่นับวันยอดขายยิ่งเริ่มตก และร้านน้ำชงก็ไปได้ดีตั้งแต่วันแรก เธอจึงตัดสินใจทำอาชีพนี้เต็มตัว ซึ่งนอกจากขายได้วันละ 400 แก้ว ยังได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย ร้านหม่าล่าสู่ร้านน้ำชง ก่อนหน้านี้ คุณแก้วสร้างรายได้จากการเปิดร้านหม่าล่าที่จังหวัดชียงใหม่มานานถึง 12 ปี จากขายอยู่หลัง ม.เชียงใหม่ ขยับมาขายในตลาดนัดช่วงเย็น กระทั่งลูกๆ เริ่มโตขึ้นและพวกเขาอยากมีเวลาอยู่กับเธอผู้เป็นแม่ในช่วงเย็น ประกอบกับยอดขายของร้านหม่าล่าตกลงทุกวัน ไหนจะทุนสำรองที่หมดไปในช่วงโควิด การหาอาชีพที่สามารถทำได้ระหว่างวันที่ลูกไปโรงเรียน จึงเป็นแนวคิดใหม่ที่ผุดขึ้นมา ขณะเดียวกัน บริเวณหมู่บ้านที่อยู่อาศัย มีโครงการก่อสร้างผุดขึ้นมาพร้อมๆ กับแคมป์คนงาน และลุงแถวบ้านก็ขับรถพ่วงไปขายลูกชิ้นทอดในช่วงพักเที่ยงแถวนั้น เธอจึงปิ๊งไอเดียขายน้ำชงตั้งแต่นั้นมา แต่
#คาเฟ่เชียงใหม่ ผุดเต็มเมือง กว่า 1,000 แห่ง ขณะที่ธุรกิจในภาคเหนือ ปิดตัวกว่า 900 ราย เชียงใหม่ เมืองท่องเที่ยวยอดฮิตของไทย นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม วัดวาอาราม แหล่งศิลปวัฒธรรมต่างๆ แล้ว นั่นคือ การเติบโตของ “คาเฟ่” ที่ใครหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหนก็เจอ หรือจะเรียกว่าเป็นเมืองแห่งร้านกาแฟเลยก็ว่าได้ จนมีชาวเน็ตออกมาแซวกันว่า “เดินสะดุดเป็นลมตรงไหน จะมีร้านกาแฟพร้อมให้บริการคุณ” มีไวรัลที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้ นั่นคือ มีผู้ใช้ X ได้โพสต์ภาพหมุดร้านกาแฟในเชียงใหม่ พร้อมข้อความว่า “อาทิตย์หน้าเจอกันเชียงใหม่นะคับ จะไปเที่ยวร้านกาแฟให้ครบทุกร้านเลย” โดยมีคนแชร์ไปกว่า 38,000 ครั้ง และมีคนดู 1.9 ล้านยอดวิว ซึ่งภาพที่เป็นไวรัลอยู่ตอนนี้ ไม่ใช่ภาพจริง แต่สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงเท่านั้น จัดทำโดยเพจ Socialer Coliving & Coworking Space โดยผู้โพสต์ได้ระบุไว้ในโพสต์ว่าไม่ใช่ภาพแผนที่ของจริง แต่ถึงอย่างไร ร้านกาแฟและคาเฟ่ในเชียงใหม่ที่ชาวเน็ตออกมาแซวว่ามีเยอะมากๆ ซึ่งความจริงแล้วก็มีมากกว่า 1,000 แห่งจริง โดยอ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจของ TheUr
ปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน เป็นวาระแห่งชาติที่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคเอกชนอย่าง บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ภายใต้กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าเชิงรุกร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งคืนสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน ริเริ่ม โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” ขึ้น ผนึกกำลังกับพ่อค้าที่รวบรวมข้าวโพดใน 9 จังหวัดภาคเหนือ แหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใหญ่ของไทยช่วยกันป้องกันและยุติการเผาแปลงหลังเก็บเกี่ยว พร้อมเปิดตัวช่องทางให้ทุกคนสามารถร่วมแจ้งร้องเรียนพบการเผาแปลงข้าวโพดผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น “ฟ.ฟาร์ม” บีเคพีร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จัดสัมมนาให้ความรู้แก่คู่ค้าพันธมิตรใน 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ผนึกพลังกับคู่ค้าธุรกิจร่วมมื
AWC ร่วมกับ Marriott International เปิด “โรงแรม เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล” สนับสนุนเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว MICE ระดับลักซ์ชัวรี่ของไทย วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดโรงแรม เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล ซึ่งเป็นโรงแรมแมริออทแห่งแรกในเชียงใหม่ และยังสร้างสรรค์มาเพื่อรองรับการจัดประชุม MICE ระดับพรีเมียมที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย และด้วยวิสัยทัศน์ร่วมกันกับพันธมิตรอย่าง Marriott International ที่มุ่งสร้างความยั่งยืนให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม MICE ผสานกับศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่ที่เหมาะสำหรับตลาด MICE ทั้งในด้านความสวยงามของธรรมชาติ และศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรหรือกลุ่มผู้จัดงานสามารถสร้างสรรค์แผนการประชุม พร้อมสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงานได้ โดยโรงแรม เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล ยังพร้อมสรรพด้วยเทคโนโลยีและสิ่งอํานวยความสะดวกที่ทันสมัยสําหรับการจัดงานประชุม สัมมนา ทุกรูปแบบอีกด้วย โรงแรม
‘เดอะ กู๊ดวิว’ สร้างจุดเด่นเน้นจุดขายอะไร? ถึงเปลี่ยนร้านอาหารเล็กๆ ให้กลายเป็น Landmark เชียงใหม่ได้ ‘เดอะ กู๊ดวิว’ หนึ่งในร้านอาหารขวัญใจชาวเชียงใหม่ หนึ่งใน Landmark ที่ทุกคนต้องมาเยือน ที่ท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ สไตล์ริมแม่น้ำปิง นอกจากวิวสวยแล้ว ยังมีอาหารหลากหลายประเภทที่การันตีความอร่อย สด แถมยังคลอเคล้าด้วยเสียงเพลงสนุกสนาน สร้างความประทับใจให้แก่ชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้เป็นอย่างดี ซึ่งธุรกิจ ‘เดอะ กู๊ดวิว’ นั้นสืบทอดมาสู่รุ่นที่สอง ก้าวผ่านอุปสรรคและประสบความสำเร็จที่อยู่คู่เมืองเชียงใหม่มายาวนานกว่า 27 ปี คุณภัทรพล พุกพิบูลย์ กรรมการบริหาร บริษัท สมจิตรช้างเผือก (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เดิมทีครอบครัวทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมันและบริษัทรับเหมาก่อสร้างมาก่อน ซึ่งที่ตั้งของ ‘เดอะ กู๊ดวิว’ เมื่อก่อนเป็นที่จอดรถของปั๊มน้ำมัน และด้วยคุณพ่อกับเพื่อนๆ ที่เป็นคนเชียงใหม่ เห็นว่าพื้นที่ว่างตรงนี้น่าจะทำประโยชน์ได้ จึงลองเปิดร้านอาหารเล็กๆ จากขนาด 20 ที่นั่ง ขยายต่อมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันรองรับลูกค้าได้มากถึง 200 ที่นั่ง เปิดให้บริการมากว่า 27 ปีแล้ว โดยผมเป็นผู้บริหารรุ่นใ
เริ่มต้นจากตลาดนัด สู่แฟรนไชส์เนื้อย่างเจ้าดัง กำลังผลิต 800,000 ไม้ ส่งต่ออาชีพให้คนทุนน้อยด้วยงบหลักพันบาท จากจุดเริ่มต้นของคนชอบทานเนื้อย่าง สู่ร้านเล็กๆ ในตลาดนัดจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยสูตรเนื้อย่างต้นตำรับที่หาใครเลียนแบบได้ยาก ประกอบกับความนุ่มของเนื้อโคขุนจากเกษตรกรไทย ทำให้ ต.เนื้อย่าง กลายเป็นแบรนด์ชื่อดังที่ยืนหยัดธุรกิจมาได้ยาวนานกว่า 10 ปี และยังสร้างอาชีพให้กับผู้คนมากมายราว 500 สาขา ด้วยแฟรนไชส์ราคาเริ่มต้นหลักพันบาท จากร้านตลาดนัด สู่แฟรนไชส์ คุณโสภี เชื้อสาร เจ้าของ ต.เนื้อย่าง เล่าถึงจุดเริ่มต้นของแบรนด์ให้ฟังว่า ต.เนื้อย่าง ก่อตั้งโดยสามพี่น้อง ต้น ตั๊ก ต้า นำโดยพี่ใหญ่ คุณต้น ผู้ชื่นชอบการทานเนื้อย่างมาตั้งแต่เด็ก “ย้อนไปเมื่อ 15 ปีก่อน ต้นชอบกินเนื้อย่างมาก แต่ในจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีเนื้อย่างขายเหมือนร้านหมูปิ้งทั่วไป ถ้าอยากกินต้องรอช่วงเย็นตามร้านเหล้าที่เขาทำขายเป็นกับแกล้ม เลยทำให้เขามองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และมีความตั้งใจอยากทำเนื้อย่างให้หาซื้อง่ายเหมือนหมูปิ้ง ประกอบกับเมืองไทยมีการพัฒนาโคขุนสายพันธุ์ต่างๆ เขาจึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาสูตรประมาณ 1 ปี มันยากมา