แบงก์ชาติ
แบงก์ชาติ คงดอกเบี้ยต่ำลากยาว ขึ้นเมื่อไหร่ มีธุรกิจได้ประโยชน์ และกระทบรุนแรง ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เผยถึงสถานการณ์ด้านการเงิน โดยภาพรวมในขณะนี้ว่า สหรัฐฯ เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงในรอบกว่า 40 ปี ในขณะที่อีกหลากหลายประเทศ ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วหรือส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยในเวลาอันใกล้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ก็เผชิญปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งแรงและรวดเร็ว แล้วทำไมทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำลากยาว โดยยังไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆ ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาอันใกล้ “เชื่อว่าทาง ธปท. คงกังวลในประเด็นเงินเฟ้ออยู่บ้าง แต่คงไม่อยากส่งสัญญาณอะไรที่จะทำให้ตลาดผันผวนจนกระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีความชัดเจนในช่วงเวลาหรือสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของไทย จึงขอปรุงสูตรลับที่ทางแบงก์ชาติสงวนเอาไว้ไม่ได้เปิดเผย มาลองดูว่าจะสามารถชี้ให้นักลงทุนและผู้ประกอบการเห็นว่าควรเตรียมรับมือกับดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยได้เมื่อไร” ดร.อมรเทพ กล่าว อย่างไรก็ตาม หาก ธปท. เห็นสัญญาณดังกล่าวและเ
ไขข้อข้องใจ ธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ ดีกว่าเดิมยังไง หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย ออกใช้ “ธนบัตรพอลิเมอร์” ชนิดราคา 20 บาท วันแรก 24 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยสามารถแลกได้ที่ธนาคารทั่วประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง เชื่อว่าหลายคนมีข้อสงสัย ว่าธนบัตรพอลิเมอร์คืออะไร แตกต่างจากธนบัตรเดิมอย่างไร และที่สำคัญ ใช้แล้วดีกว่าเดิมหรือไม่ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับธนบัตรออกใหม่ดังกล่าว โดยละเอียด ดังนี้ ทำไมถึงต้องเปลี่ยนวัสดุเป็นพอลิเมอร์ ธนบัตรที่ผลิตด้วยกระดาษ โดยเฉพาะชนิดที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือสูง สกปรกง่าย มีอายุการใช้งานสั้น เพียง 2-3 ปี และเก่าเร็ว ธนบัตรที่ผลิตด้วยพอลิเมอร์ จะช่วยให้ธนบัตรมีความทนทาน สะอาด และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย คาดว่ามีอายุการใช้งานนานขึ้น ประมาณ 5 ปี มีประเทศไหนใช้ธนบัตรพอลิเมอร์บ้าง ปัจจุบันมีมากกว่า 30 ประเทศ ใช้ธนบัตรพอลิเมอร์ โดยออกใช้หลายชนิดราคา เช่น แคนาดา ชิลี ซาอุดีอาระเบีย สกอตแลนด์ อังกฤษ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม อากาศร้อน และพฤติกรรมการใช้ธนบัตรของคนไทย ส่งผลต่ออายุการใช้งานของธนบัตรพอลิเมอร์อ
สมาคมธนาคารไทย แจงกรณีตัดเงินผิดปกติ คืนเงิน 30 ล้านบาท เข้าลูกค้าบัตรเดบิตแล้ว วันที่ 26 ต.ค. 2564 นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้า โดยเกิดจากมิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีระบบให้ทำการยืนยันก่อนทำรายการ เช่น การใช้ One Time Password (OTP) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1-17 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา จำนวนรวม 10,700 ใบนั้น ทุกธนาคารได้ดำเนินการคืนเงินเข้าบัญชีของลูกค้าเรียบร้อยแล้ว สำหรับบัตรเดบิตจำนวน 4,800 ใบ จำนวนเงิน 30 ล้านบาท หากมีรายการตกหล่นขอให้ลูกค้าติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรโดยตรง สำหรับบัตรเครดิต 5,900 ใบ จำนวน 100 ล้านบาท ธนาคารได้ดำเนินการตั้งพักยอด และยกเลิกรายการ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระเงินตามยอดเรียกเก็บที่ผิดปกติและไม่มีการคิดดอกเบี้ย นอกจากนี้ หากมีธุรกรรมผิดปกติ ซึ่งทำรายการผ่านบัตรเดบิตออนไลน์โดยร้านค้าที่ไม่มี OTP เข้ามาในรูปแบบเดียวกันหลังวันที่ 17 ตุลาคม 2564 เมื่อได้รับแจ้งแล้วพบว่า ลูกค้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำรายการ ธนาคารจะพิจารณาคืนเงินภายใน 5
แบงก์ชาติ (ธปท.) รวมมาตรการช่วยลูกหนี้ จากผลกระทบโควิด ใครจ่ายไม่ไหว ติดต่อเลย! เฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศ รวมการช่วยเหลือลูกหนี้ จากสถานการณ์ COVID-19 โดยระบุว่า 1. ติดต่อสถาบันการเงิน เพื่อขอเข้ามาตรการต่างๆ และปรับโครงสร้างหนี้ 2. เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของแบงก์ชาติ ตามประเภทหนี้และความต้องการ หากต้องการคำปรึกษาสำหรับหนี้ทุกประเภท อย่าลืม “หมอหนี้เพื่อประชาชน”
แบงก์ชาติ จับมือ ธนาคาร ประกาศพักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยประชาชน เริ่ม ก.ค. 64 วันที่ 15 ก.ค. 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ออกแถลงการณ์ โดยระบุว่า แบงก์ชาติ สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้ และเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ จึงเห็นร่วมกันที่จะออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการ “พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย” ให้แก่ “ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย” เป็นระยะเวลา 2 เดือน ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุม
แบงก์ชาติ รับ ธนบัตรที่ระลึก ไม่มียูไรอัน ยืนยัน ปลอมแปลงยาก ตามที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอชี้แจงดังนี้ ธนบัตรที่ไม่มี EURion (ยูไรอัน) ไม่ได้หมายความว่าจะถูกปลอมแปลงได้ง่าย ยูไรอัน เป็นหนึ่งในรูปแบบของการป้องกันการคัดลอกจากเครื่องถ่ายเอกสาร หรือการสแกน แต่ไม่ใช่รูปแบบที่จำเป็นหรือสำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันการผลิตเพื่อปลอมแปลง ซึ่งหลายประเทศทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและยุโรปก็ไม่ได้นำ ยูไรอัน มาใช้ แต่เน้นที่การให้มีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงเพื่อให้ประชาชนสังเกตได้ง่าย และมิจฉาชีพทำปลอมแปลงให้เหมือนของจริงได้ยาก สำหรับธนบัตรที่ระลึก ที่ผลิตในครั้งนี้ไม่ได้นำ ยูไรอัน มาใช้ เช่นเดียวกับธนบัตรที่ระลึกส่วนใหญ่ในอดีต แต่มีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในหลายจุด และยังคงนำเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงตามมาตรฐานขั้นสูงมาใช้เหมือนธนบัตรหมุนเวียนและธนบัตรที่ระลึกทุกรุ่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากมีการปลอมธนบัตรโดยการสแกนและพิมพ์ขึ้นมา กระดาษและหมึกที่ใช้ ตลอดจนลายน้ำนั้นจะไม่มีทางทำให้เหมือนธนบัตรจริงได้ ประชาชนสาม
ธปท. ขอสถาบันการเงิน ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจาก ‘ไวรัสอู่ฮั่น’ เมื่อวันที่ 30 ม.ค. นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แบงก์ชาติมีความห่วงใยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงขอความร่วมมือให้สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้ 1. ด้านเงินทุนและสภาพคล่องแก่ลูกหนี้เพื่อให้ประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น ให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ลดหรือยกเว้นดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียม 2. ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของยอดคงค้าง 3. ผ่อนผันเพดานวงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 63
แบงก์ชาติ ปรับมาตรการ LTV ช่วยคนไทยมีบ้านหลังแรกได้ง่ายขึ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 แบงก์ชาติได้ปรับมาตรการ LTV เพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ประชาชนกู้บ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงได้ง่ายขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ในการกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท แม้ว่ายังคงเพดาน LTV 100% สำหรับสินเชื่อบ้าน แต่ผู้กู้สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกันสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัยจริง เช่น การตกแต่งบ้าน การซ่อมแซมหรือต่อเติม ซึ่งหนี้ส่วนนี้เมื่อกลายเป็นหนี้ที่มีบ้านเป็นหลักประกัน จะมีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้แบบไม่มีหลักประกัน นอกจากนี้ กำหนดให้วางดาวน์น้อยลงจาก 20% เป็น 10% สำหรับการกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อดูแลผู้ที่จำเป็นต้องมีบ้าน 2 หลังที่มีวินัยในการผ่อนชำระหนี้สัญญาที่ 1 มาแล้วพอสมควร ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ขณะที่ยังคงส่งเสริมให้มีการออมก่อนกู้ โดยผ่อนเกณฑ์ให้การกู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 ที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ต้องมีเงินดาวน์ 10% หากผ่อนชำระสัญญาที่ 1 มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี (จากเดิมกำหนด 3 ปี) อย่างไรก็ดี ย
ข่าวดี SMEs! ธปท. สั่งสถาบันการเงินทั่วประเทศ ปรับเกณฑ์คิดดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมใหม่ ลดภาระประชาชน แบงก์ชาติ – วันนี้ (7 ม.ค.) เพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โพสต์ประกาศ สั่งให้สถาบันการเงินทั่วประเทศไทย ปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและ SMEs นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ในครั้งนี้ ปรับอยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (prepayment) สำหรับสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด เดิมผู้ประกอบการบางราย คิดค่าปรับจากฐานวงเงินสินเชื่อทั้งก้อน แต่เกณฑ์ใหม่จะกำหนดให้คิดค่าปรับบนยอดเงินต้นคงเหลือ รวมทั้ง ให้กำหนดช่วงระยะเวลาที่จะยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับการไถ่ถอน ซึ่งค่าปรับที่ไม่สูงนี้ จะช่วยให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกผู้ประกอบการที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด และช่วยเพิ่มการแข่งขันในระบบ รวมทั้งทำให้ตลาดรีไฟแนนซ์ (refinancing) เกิดขึ้นในประเทศไทย 2. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ สำหรับสินเชื่อที่อยู่อา
แบงก์ชาติจับตาว่างงานเพิ่ม ทั้งภาคเกษตร-ภาคผลิต ผลพวงส่งออกติดลบ-ภัยแล้งซ้ำเติม นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. จะติดตามตัวเลขอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราการว่างงานเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 1.1% เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่ 0.9% ตามการจ้างงานโดยรวมที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม โดยการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลงแม้ปริมาณผลผลิตภาคเกษตรกรรมในภาพรวมทรงตัว แต่ผลผลิตข้าวยังคงหดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลงจากภาคการก่อสร้าง ภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก รวมทั้งภาคการค้าลดลงทั้งในภาคการค้าปลีกและค้าส่ง ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการทรงตัว ซึ่งพบว่ามีการจ้างงานในกลุ่มการเงินและอสังหาริมทรัพย์ลดลง ขณะที่การจ้างงานในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และขนส่งเพิ่มขึ้น “อัตราการว่างงานแม้ว่าจะอยู่ในระดับต่ำแต่ทิศทางไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งอัตราการว่างงานเดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนถือว่ามีนัยระดับหนึ่ง เพราะหากอัตราการว่างงาน