Bangkok Bank SME
บทพิสูจน์ทายาทรุ่น 3 ‘วรพร’ สานตำนานมะม่วงแปรรูปโกอินเตอร์ สร้างยอดขายเฉียด 160 ล้าน ธุรกิจมะม่วงแปรรูป ‘วรพร’ จากร้านเล็กๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ดองมะม่วงใส่โหลขาย ก่อนจะเติบโตสู่ บริษัท ผลไม้แปรรูปวรพร จำกัด ผู้ผลิตเจ้าแรกของเมืองไทยที่นำมะม่วงแช่อิ่มสูตรโบราณ ที่สานต่อธุรกิจครอบครัวมายกระดับบรรจุซองทันสมัย ส่งขายผ่านร้านสะดวกซื้อเจ้าดัง จนสินค้าเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศและต่างประเทศ มายาวนานกว่า 60 ปี สร้างยอดขายเกือบ 160 ล้านบาทต่อปี จุดเริ่มต้น ธุรกิจผลไม้แปรรูปร้อยล้าน คุณชัยพร โสธรนพบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลไม้แปรรูปวรพร จำกัด ทายาทรุ่น 3 เจ้าของแบรนด์ ‘วรพร’ เผยถึงที่มาของธุรกิจครอบครัวให้ฟังว่า เมื่อ 60 กว่าปีก่อน อากง ‘ไต่ไฮ้ แซ่โค้ว’ มาทำมาหากินที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เห็นว่าแปดริ้วมีมะม่วงเยอะ จึงนำภูมิปัญญาการดองผลไม้ตามตำรับชาวจีนซัวเถามาใช้ดองมะม่วง เพื่อผลิตเป็นสินค้าออกขายหน้าบ้าน โดยนำมะม่วงดองใส่โหลแก้วตักใส่ถุงขาย สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ต่อมา ‘คุณชัยรัตน์ โสธรนพบุตร’ ทายาทรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นคุณพ่อของตน อดีตข้าราชการครูสอนวิชาเคมี ที่ ทำงานสอนนักเรียนสัปดาห
เจาะ Insight ‘Future Food’ ไต้หวัน ชี้ช่องผู้ประกอบการไทยชิงส่วนแบ่งตลาด 1 ล้านล้าน จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก สภาพอากาศที่มีความเปลี่ยนแปลง (Climate Change) รวมถึงมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในอนาคต ส่งผลให้ Future Food หรืออาหารแห่งอนาคต กลายเป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่เติบโตต่อเนื่องได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงในไต้หวัน ซึ่งมีการประเมินว่าในปี 2050 ไต้หวันจะมีมูลค่าตลาดโดยรวมของ ‘ฟิวเจอร์ ฟู้ด’ สูงถึง 32,200 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้สำหรับผู้ประกอบการและ SMEs ไทย ได้ศึกษาแล้ว Business Transformation องค์กร ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคไต้หวัน อาหารแห่งอนาคต (Future Food) ประกอบด้วยอาหาร 4 กลุ่มหลักคือ 1. อาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) ผลิตภัณฑ์อาหารที่เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกาย แล้วจะสามารถทำหน้าที่อื่นๆ ให้กับร่างกาย นอกเหนือจากความอิ่มและรสสัมผัส (ความอร่อย) ให้คุณค่าทางอาหารที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ทั้งในด้านการปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบการทำงานของร่างกาย ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ บำบัดหรือลดอาการของโรคที่เกิ
เจาะ 5 Digital Technology เคล็ดลับสู่เส้นชัยและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตรไทย การนำ Digital Technology เข้ามาปรับใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเปลี่ยนให้เป็น ‘เกษตรดิจิทัล’ เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เมื่อมองในภาพใหญ่มีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคน จำนวนประชากรโลกที่มากขึ้น ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ประเทศไทย จำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ อีกทั้งวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัจจัยด้านต้นทุนในการดูแลพืชก็เพิ่มสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมเกษตรกำลังเผชิญกับความท้าทาย Digital Technology จะมีบทบาทหรือส่วนช่วยอย่างไรในอุตสาหกรรมการเกษตรกันบ้าง สำหรับ Digital Technology ที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยยกระดับการทำเกษตรได้จริง มี 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1. เทคโนโลยีอัจฉริยะ Internet of things (IoT) การนำระบบเซ็นเซอร์มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เซ็นเซอร์วัดความชื้น เซ็นเซอร์ความดัน เซ็นเซอร์วัดธาตุอาหารพืช N-P-K ที่เชื่อมโยงการทำงานของเครื่องวัดและอุปกรณ์ทำการเกษตรต่างๆ เข
ผ่าวิสัยทัศน์ S&J ผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรคุณภาพ ที่มีจุดแข็งด้าน Supply Chain Management สู่การเป็นเส้นเลือดใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหาร Bangkok Bank SME ชวนอ่านแนวคิดการทำธุรกิจของ ‘เอสแอนด์เจ โปรดักท์’ ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป จากวัตถุดิบคุณภาพดีในแหล่งเพาะปลูกท้องถิ่น ใช้ขั้นตอนการผลิตที่พิถีพิถันตามมาตรฐานสากล พร้อมใส่ใจในการควบคุมคุณภาพและความสะอาดของสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นสำคัญ ตั้งแต่การจัดสรรวัตถุดิบ การแปรรูป ไปจนถึงการจัดส่งถึงมือลูกค้า คุณสมเกียรติ โอวรารินท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสแอนด์เจ โปรดักท์ จำกัด เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจนี้ว่า ตนได้จัดตั้งบริษัทขึ้นในปี 2537 โดยเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจนี้เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าที่มีมักมีราคาผันผวนตามฤดูกาล จึงมีแนวคิดที่จะทำธุรกิจผลิตและแปรรูปพืชผลทางการเกษตรเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศและโรงงานต่างประเทศ โดยได้เริ่มต้นจากสินค้าเกษตรแปรรูป อาทิ กระเทียมแปรรูป และพริกแปรรูป ซึ่งใช้ผลผลิตจากเครือข่ายเกษตรกรในท้องถิ่นจังหวัดลำพูน รวมทั้งผู้รวบรวมพืชผลทางการเกษตรในพื้นที่ทางภาคเหนือ โดยตระ
ส่งออก 500 ตันต่อปี! เจาะเคล็ดลับ ‘ไร่สินธนา’ ผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแถวหน้าเมืองไทย เชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรรุกตลาดโลก เรียนรู้เคล็ดลับ พร้อมเทคนิคสำคัญจากผู้ผลิตมะม่วงมืออาชีพ ‘ไร่สินธนา’ ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองระดับพรีเมี่ยม ที่ใส่ใจคัดสรรมะม่วงคุณภาพจากสวนมาตรฐาน ที่มีความอร่อย หวานฉ่ำ กลิ่นหอม จากแนวคิดในการเรียนรู้จากความผิดพลาดของ คุณอาทิตา ตุลยวาณิช กรรมการ บริษัท ไร่สินธนา จำกัด สู่ผู้ส่งออกมะม่วงแถวหน้าของเมืองไทย สร้างโอกาสรุกตลาดโลก คุณอาทิตา เล่าว่า ไร่สินธนาเริ่มต้นจากการเป็นเกษตรกรปลูกมะม่วง โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเป็นของตนเองรวมประมาณ 500 กว่าไร่ ทั้งในเขตจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี เชียงใหม่ ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าจึงควบคู่ไปกับการเป็นผู้รวบรวมส่งมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อส่งออกไปต่างประเทศมามากกว่า 28 ปี พร้อมทั้งส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงให้มีรายได้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง คัดสรรมะม่วงคุณภาพจากสวนมาตรฐาน ด้วยรสชาติที่โดดเด่น คัดสรรมะม่วงคุณภาพจากสวนมาตรฐาน ด้วยจุดเด่นของมะม่วงที่มีผิวสีทอง และรสชาติที่โดดเด่น กลิ่นหอม หวานฉ่ำ อร่อยลงตัว ที่ขึ้
‘บุญนภาพัฒนาการเกษตร’ เปลี่ยน Mindset เกษตรกรไทย ใช้เทคโนโลยีสารปรับปรุงดิน กว่า 15 ปีที่บริษัท บุญนภาพัฒนาการเกษตร จำกัด มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีสารปรับปรุงดิน เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และเปิดโครงการตรวจดินให้เกษตรกรฟรี เพื่อให้ทราบถึงสภาพดินในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรเอง ว่าเป็นอย่างไร และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายเพื่อบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและครบวงจรที่สุด คุณนพรัตน์ ศิริบุญนภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท บุญนภาพัฒนาการเกษตร จำกัด บอกเล่าถึงที่มาของธุรกิจว่า ดำเนินธุรกิจผลิตสารปรับปรุงดินมากว่า 15 ปี โดยบริษัทได้สร้างแบรนด์สินค้า โดยแบ่งเป็น 2 แบรนด์เพื่อแบ่ง Market Segmentation ที่ชัดเจน คือ สารปรับปรุงดิน ‘ตราช้าง’ จำหน่ายให้กับร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ส่วนสารปรับปรุงดิน ‘ตราหมี’ จำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ ซึ่งสารปรับปรุงดินที่บริษัทใช้ คือ โดโลไมต์ (Dolomite : เป็นปูนชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบของธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) โดโลไมต์ มีลักษณะทางเคมีเป็นด่าง) เป็นผงแร่ธาตุที่ได้มาจากจังหวัดกาญ