เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
Featured กฏหมายธุรกิจ ข่าววันนี้

“อินบ็อกซ์ถามราคาค่ะ” วลีชวนเซ็งขาช้อป ทำไม แม่ค้าออนไลน์ชอบทำ?

อินบ็อกซ์ถามราคาค่ะ” วลีชวนเซ็งของขาช้อป ที่แม่ค้าออนไลน์หลายๆ เจ้า ไม่บอกราคาสินค้าหน้าโพสต์ แต่เพราะอะไร ยังทำกัน?

ปัจจุบัน พ่อค้าแม่ค้านิยมหันมา ขายสินค้าในช่องทางสื่อออนไลน์ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไลน์ TikTok หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ ซึ่งช่องทางเหล่านี้ ถือเป็นช่องทางที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่าย

ทั้งยังสามารถจ้างให้มีการรีวิวจูงใจกระตุ้นการซื้อด้วยการใช้ภาพที่สวยงาม พรีเซนเตอร์ที่นำเสนอสินค้าให้เกิดความน่าสนใจ หรือการจูงใจด้วยโปรโมชั่นได้ด้วย

ซึ่งหลายครั้ง ภาพของสินค้า หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น ไม่มีการแสดงราคาให้เห็น จึงเกิดเป็นคำถามว่า ทำไมถึงไม่แสดงราคาไว้ในรายละเอียดของสินค้า? แต่ให้ผู้ที่สนใจสอบถามเข้ามาทางช่องทาง Inbox หรือ ข้อความส่วนตัว โดยมีการระบุข้อความว่า ให้ส่งข้อความส่วนตัว หรือ Inbox ไปถาม

นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของ กลยุทธ์การกระตุ้นความน่าสนใจในตัวสินค้านั้นๆ หรือเรียกว่า เทคนิคกระตุ้นความอยากของลูกค้าด้วยการไม่บอกราคาใต้โพสต์ โดยใช้ประโยคเด็ดกระตุ้น อย่างเช่น “สนใจ ทัก Inbox” หรือ “อินบ็อกซ์ถามราคาค่ะ”

แต่การกระทำเหล่านี้ ปัจจุบันผิดกฎหมายการไม่แสดงราคา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ของกระทรวงพาณิชย์ ในข้อหาไม่แสดงราคาจำหน่ายสินค้า จึงขอเตือนผู้ประกอบธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ให้เปลี่ยนกลยุทธ์ในการไม่แสดงราคาสินค้าในการกระตุ้นยอดความน่าสนใจ

โดยอาจจะเปลี่ยนวิธีด้วยการนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษ โดยใช้ข้อความว่า “สนใจ โปรโมชั่นพิเศษ ทัก Inbox” หรือ “อินบ็อกซ์เพื่อสอบถามส่วนลดพิเศษ” เป็นต้น ทั้งนี้ การขายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ควรปฏิบัติตามกฎหมายจะได้สบายใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ต้องมาเสียเวลา เสียค่าปรับ

หากมีข้อสงสัยไม่ว่าจะเป็นการแสดงราคาสินค้า การยื่นขอจดทะเบียนขายสินค้าออนไลน์ การโฆษณาสินค้า ก็สามารถสอบถามข้อมูล ข้อแนะนำ หรือเบาะแสร้องเรียนได้ที่สายด่วนหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมการค้าภายใน 1569 สายด่วน อย. 1556 และ สายด่วน สคบ. 1166

ข้อมูลจาก ocpb.go.th

Related Posts

80 ยังแจ๋ว "ป้าตุ่น" ครีเอเตอร์รุ่นใหญ่ ไม่หยุดเรียนรู้ โชว์ทำขนมบนโซเชียล เป็นขวัญใจคนทุกเจน
จากปัญหาของเล่นล้นบ้าน สู่ Keimen Kids ธุรกิจเช่าของเล่นที่อยากช่วยเซฟโลก เซฟเงินในกระเป๋าพ่อแม่
เปิดจักรวาล Karun! ปั้นแบรนด์น้องใหม่ เจริญสังขยา, Summer Bowl และ Avery Wong ปี 66 รายได้รวม 100 ล้านบาท