เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
Featured สุขภาพ

ชวนรู้จัก Summer Depression ภาวะซึมเศร้าจากอากาศร้อน

อากาศร้อนๆ แบบนี้ อาจจะส่งผลถึง ‘สุขภาพใจ’ แบบไม่รู้ตัว เช่น บางคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่อยากพบเจอผู้คน ไม่อยากออกจากบ้าน แต่รู้หรือไม่ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณของ ‘อาการซึมเศร้า’ จะคล้ายๆ กับคนที่รู้สึกเศร้า หดหู่ หรือรู้สึกเหงาๆ ช่วงหน้าหนาว 

หลายคนอาจมองว่า แค่เหนื่อยหรือตัวเองเป็นคนขี้ร้อนเฉยๆ แต่รู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ ‘ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล’ หรือที่เรียกทางการแพทย์ว่า SAD (Seasonal Affective Disorder)

โดยทั่วไป คนมักจะพูดถึงอาการ SAD ในช่วงฤดูหนาว เพราะด้วยอากาศที่เย็นและมีแดดน้อย ทำให้รู้สึกหดหู่ แต่ในประเทศไทย จะมาในรูปแบบตรงกันข้าม นั่นคือ “Summer Depression” หรือภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อนนั่นเอง  

อาการของ Summer Depression 

– นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท

– เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

– กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย

– รู้สึกเครียด วิตกกังวลแบบไร้สาเหตุ

– บางครั้งอาจมีพฤติกรรมรุนแรงหรือก้าวร้าว

– ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน

โดยอุณหภูมิที่สูงและแสงแดดที่แผดเผา มีผลต่อการทำงานของสารเคมีในสมอง เช่น ซีโรโทนิน และเมลาโทนิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ การนอน และความรู้สึกต่างๆ

สำหรับอาการ SAD ในฤดูหนาว เช่น 

– การนอนหลับมากเกินไป (Hypersomnia) 

– การกินมากเกินไป โดยเฉพาะอาการอยากกินคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

– การปลีกตัวออกจากสังคม รู้สึกเหมือนกำลัง ‘จำศีล’

วิธีดูแลตัวเอง

– พยายามอยู่ในที่เย็น หลีกเลี่ยงความร้อน หาพัดลมหรือสถานที่เงียบสงบให้ตัวเองได้ผ่อนคลาย

– นอนพักผ่อนให้เพียงพอ 

– เลือกทานอาหารที่ดีต่อสมอง 

– ออกกำลังกายเบาๆ ในร่ม เช่น โยคะ หรือเดินในห้าง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข

– พูดคุยกับคนใกล้ตัว

แต่อาการซึมเศร้าตามฤดูกาลจะไม่เหมือนกับ ‘ซึมเศร้าช่วงหยุดยาว’ ซึ่งเป็นความรู้สึกเศร้าหรือวิตกกังวลจากความเครียดในช่วงปี ดังนั้น ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับวันหยุดยาว หรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล จะไม่เหมือนกับ “โรคซึมเศร้า”

อย่างไรก็ตาม หากมีความรู้สึกว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรเริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง และอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต 

อ้างอิง

National Institude of Mental Health

Related Posts

ทายาทรุ่น 2 ขนมแม่เอย ผุดไอเดีย 'ขายไส้ขนมสำเร็จรูป' ออนไลน์ ยอดขายพุ่งหลักแสนต่อเดือน
ทัพ 'แบรนด์ไทย' บุกยูนนาน นำเสนอของกินของใช้ คว้าใจผู้บริโภคชาวจีน
ไปรษณีย์ไทย ผนึกกำลัง กรมการค้าภายใน หนุนเกษตรกรไทยกระจายผลไม้คุณภาพแจกกล่อง-จัดส่ง EMS ส่งด่วนผลไม้ฟรี ถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศ
โอกาสของผู้ประกอบการไทย “ชาไทย” กลับมาฮิตในจีนอีกครั้ง