ค่าครองชีพสูง
เมื่อเราอยู่ในยุคเศรษฐกิจย่ำแย่ ค่าครองชีพสูง วัตถุดิบราคาสูง “อยากให้รัฐเข้ามาดูแลในเรื่องของราคาวัตถุดิบ เพราะตอนนี้สินค้าในกลุ่มของการบริโภคขึ้นราคาทุกวัน” เศรษฐกิจในยุคนี้ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารต่างเดือดร้อนหนัก ทั้งเรื่องของวัตถุดิบ ค่าครองชีพ ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยน้อยลง และทำให้ร้านค้า ร้านอาหารขาดทุนกันมากขึ้น เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการร้านอาหารเจ้าหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านขายข้าวมันไก่เจ้าดังย่านรังสิต ถึงแม้จะเป็นร้านดัง ขายดี แต่ปัญหาที่พบเจอที่ไม่ต่างจากผู้ประกอบการร้านอาหารอื่นๆ เช่นกัน เศรษฐกิจที่แปรปรวน ค่าวัตถุดิบที่แพงขึ้น ดังนั้น ทางเจ้าของร้านจึงอยากจะสะท้อนปัญหาเหล่านี้ออกมา เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้ และปัญหาที่เจ้าของร้านอยากจะสะท้อนออกมา คือ พิษจากเศรษฐกิจ กับราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น จากที่ได้นั่งพูดคุยกับเจ้าของร้านข้าวมันไก่ และเราได้ถามว่า ในเรื่องของเศรษฐกิจ ปัญหาต่างๆ ทางร้านอยากจะสะท้อนอะไรออกมาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งทางเจ้าของร้านได้สะท้อนออกมาว่า “อยากให้ดูแลในเรื่องของราคาวัตถุดิบ เพราะตอนนี้สินค้าในกลุ่มของการบริ
ข่าวดี! ตรึงราคา ก๊าซหุงต้ม ถัง 15 กก. ไว้ที่ 408 บาท ถึงสิ้นปี วันที่ 20 ตุลาคม 2565 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กล่าวว่า กบง. มีมติเห็นชอบทบทวนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) โดยให้คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นแอลพีจีที่ 19.9833 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อให้ราคาขายปลีกแอลพีจีอยู่ที่ประมาณ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.-31 ธ.ค. เพื่อช่วยลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ราคาแอลพีจี เพื่อพิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบกับผู้ใช้ก๊าซ ปัจจุบันยังผันผวน เห็นได้จากเดือน ก.ย.-ต.ค. ราคาแอลพีจีตลาดโลกลดลง 11% หรือประมาณ 69.40 เหรียญสหรัฐต่อตัน จาก 644.65 เหรียญสหรัฐต่อตัน สู่ระดับ 575.25 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง ยูเครน-รัสเซีย ส่งผลให้เกิดวิกฤตราคาพลังงานทั่วโลก ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ภาพรวมเศรษฐกิจ และค่าครองชีพของประชาชน ราคาขายปลีกแอลพีจีในประเทศอยู่ที่ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ส่งผลต่อส
เปิดคะแนนความสุข ‘คนไทย’ – พฤติกรรมการใช้จ่าย ในวันค่าครองชีพสูง วันที่ 14 ตุลาคม 2565 สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND)) เปิดเผย รายงานการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย รอบเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งร่วมกับบริษัทในเครือ ฮาคูโฮโด เพื่อศึกษาแนวโน้มการบริโภคของคนไทยทุกๆ 2 เดือน โดยสำรวจทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 19-29 สิงหาคม 2565 จากผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม เพศชายและเพศหญิงจำนวน 1,200 คน อายุ 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ผลการศึกษาระบุว่า แนวโน้มการใช้จ่ายยังคงสูงเท่าเดิม โดยเฉพาะอาหารและสินค้าจำเป็น แต่ข้อสังเกตคือ คนไทยปรับตัวอย่างเห็นได้ชัดเรื่องการใช้จ่าย โดยเน้นเฉพาะสินค้าอาหารและของใช้ประจำวันเพื่อกักตุน จากราคาของที่สูงขึ้น อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ อินไซต์ความเห็นของผู้บริโภค มีความต้องการที่ซื้อของช่วงนี้มากขึ้น เพราะช่วงนี้เด็กๆ ปิดเทอม และเป็นการซื้อเพื่อการเยียวยาจิตใจ ต่อให้เศร้าแค่ไหนก็มีเงินมาเยียวยาใจได้ ขณะที่บางความเห็นเลือกซื้อแต่ของที่จำเป็น เพราะราคาสินค้าสูงขึ้นมาก การส
ธุรกิจออนไลน์ รายได้ตกฮวบ หันขาย กะเพรา 20 บาท มีเงินหมุนใช้จ่ายทุกวัน เพราะธุรกิจสายมู บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำมานาน 7 ปี ยอดขายตกฮวบ จากหลักแสนบาท เหลือหลักหมื่น หรือบางเดือนขายไม่ได้เลยก็มี ทำให้ คุณสราวุฒิ น่วมนารีย์ อายุ 34 ปี ต้องปรับตัว หาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ คือเปิดร้านกะเพรา 20 บาท ที่ชายหนุ่มมองว่า ราคานี้ลูกค้าซื้อง่าย จับต้องได้ในยุคค่าครองชีพสูง ธุรกิจออนไลน์ย่ำแย่ คุณสราวุฒิ เล่าให้ฟัง ขณะทำงานเป็นเซลส์ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ได้เริ่มศึกษาและบูชาพระแม่อุมาเทวี วัดแขก สีลม โดยขอพรให้มีทุกอย่างใน 4 ปี ทั้งบ้าน รถ เมื่อได้ตามใจหวัง จึงเปิดธุรกิจออนไลน์ “ศรีมหาเดวี” ให้เช่าบูชาเทวรูปจากอินเดีย มาเลเซีย ไทย ฯลฯ ธูป กำยาน รวมถึงสินค้าอื่นๆ ในราคาย่อมเยา ธุรกิจนี้สร้างรายได้ให้มากมาย ขนาดว่าไม่ต้องทำงานอื่นยังได้ แต่คุณสราวุฒิไม่คิดแบบนั้น ชายหนุ่มลาออกจากงานเดิม กลับมาใช้ชีวิตยังบ้านเกิด จ.ราชบุรี และเริ่มต้นงานใหม่ ตำแหน่งผู้จัดการร้าน แต่ทำได้ไม่นาน ต้องลาออกมาดูแลแม่ที่กำลังป่วยหนัก ในฐานะลูกคนเดียว เท่ากับว่า คุณสราวุฒิมีรายรับจากร้านศรีมหาเดวีทางเดียว ซึ
ภาวะค่าครองชีพสูง แต่ทำไม ธุรกิจ Nursing Home ยังเติบโต ธุรกิจ Nursing Home ยังคงจำเป็นสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลแม้ในสภาวะค่าครองชีพสูง ซึ่งอัตราค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือนที่ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาทนี้ ส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้บริการจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีกำลังซื้อเพียงพอ และมีการกระจุกตัวของธุรกิจอยู่ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าปี 65 ธุรกิจ Nursing Home ยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตได้จากความต้องการของกลุ่มลูกค้าศักยภาพ ในขณะที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์และประชากรมีความเสี่ยงโรคเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ น่าจะยังมีสัดส่วนน้อย แต่คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวตามการเปิดประเทศและความเชื่อมั่นในการเดินทาง ทั้งนี้ โอกาสทางธุรกิจในอนาคต ยังคงดึงดูดให้ผู้เล่นทั้งรายเดิมและรายใหม่หันมาลงทุนเพื่อขยายธุรกิจรองรับความต้องการที่มีแนวโน้มเติบโต โดยปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น อยู่ที่การรักษาคุณภาพบริการ มาตรฐานและความเชี่ยวชาญของบุคลากร ทำเลที่ตั้ง ความสะดวกในการเดินทาง และราคาค่าบริการที่เหมาะสม
ยำยำ ขาย 6 บาท ราคาเดิม! พาณิชย์ ย้ำ ไม่อนุญาต ให้ขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรายำยำ เปิดเผยกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรายำยำ ได้ปรับขึ้นราคาขายส่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองละ 10 สตางค์ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ว่า ในเดือนนี้ยังไม่ได้มีการปรับราคาขายส่งแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่าจำเป็นจะต้องปรับลดส่วนลดทางการค้าที่ให้กับผู้ค้าส่งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป เพราะต้นทุนการผลิตและต้นทุนค่าขนส่งปรับสูงขึ้นในหลายส่วน เช่น ราคาแป้งสาลี ราคาน้ำมันปาล์ม และราคาน้ำมันดีเซล เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าราคาขายปลีกจะยังคงเป็นซองละ 6 บาทเท่าเดิม ด้าน ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรายำยำแล้ว ได้รับการยืนยันว่าในเดือนนี้ยังไม่ได้มีการปรับส่วนลดทางการค้าตามที่เป็นข่าว แต่กำลังจะมีการปรับลดส่วนลดในช่วงของการค้าส่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นกระบวนการในทางธุรกิจ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบถึงราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคได้รับ เนื่องจากบะหมี่กึ่งสำเ
ยุคของแพง ผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย ธุรกิจอาจต้องยอมขาดทุน เพื่อแลกยอดขาย จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะดีเซลซึ่งล่าสุดทะลุลิตรละ 30 บาทไปแล้วตั้งแต่เดือน พ.ค. 65 ตามการทยอยลดความช่วยเหลือของภาครัฐ ซึ่งหากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังยืนสูงต่อ ต้นทุนของผู้ประกอบการย่อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าครองชีพและกำลังซื้อของผู้บริโภคได้รับผลกระทบตามมาจากการทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าหลายรายการในระยะข้างหน้า โดยในภาวะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในขณะที่รายได้อาจไม่ต่างจากเดิมมากนัก ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายอย่างระมัดระวังหรือประหยัดมากขึ้น และส่งผลย้อนกลับมายังยอดขายของธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่น่าจะทำยอดขายได้บ้าง ประกอบด้วยสินค้า 3 ประเภทต่อไปนี้ 1. สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ของใช้ส่วนตัว และผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็น แต่ผู้บริโภคจะหันมาให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคาและความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น 2. สินค้าที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้า และแผงโซลาร์เซลล์ 3. สินค้ามือสอง เ
คนไทย เผชิญค่าครองชีพสูง รายได้ลด เป็นหนี้นอกระบบ 3,800 ต่อครัวเรือน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics เปิดเผยว่า แนวโน้มรายได้สุทธิครัวเรือนไทยปี 2565 ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ ประกอบกับภาระผ่อนจ่ายหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันแนวโน้มกำลังซื้อ เพิ่มความเปราะบางต่อภาวะการเงินของครัวเรือนไทย หลังผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตโควิด-19 โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2565 กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอมิครอนและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ยังส่งผลกดดันต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศอยู่ ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่เกิดขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัว และเศรษฐกิจไทยในระยะเวลาข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงยังคงระมัดระวังการจ้างงานใหม่ และหากจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพิ่มเติมจะเป็นการจ้างงานชั่วคราวมากกว่าประจำ เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนและปรับจำนวนการจ้างงานได้ ปัจ
สงกรานต์ ปี 65 ไม่คึกคัก คนกรุง กิน-ช้อป-เที่ยว ประหยัด เพราะค่าครองชีพสูง จากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 64 ต่อเนื่องถึงต้นปี 65 ซ้ำเติมด้วยสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารและพลังงานดีดตัวสูงขึ้น กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว ในขณะที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 65 น่าจะหดตัวต่อเนื่องจากปี 64 เหลือ 23,400 ล้านบาท เนื่องจากชาวกรุงลดกิจกรรมฉลองสงกรานต์และเลือกใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นสะท้อนว่า มูลค่าการใช้จ่ายส่วนใหญ่ปรับลดลงเกือบทุกประเภท โดยในส่วนของการใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงสังสรรค์/ค่าอาหารและเครื่องดื่มคิดเป็น 40% ของเม็ดเงินรวม หรืออยู่ที่ 9,500 ล้านบาท ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีแผนทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน โดยเน้นประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะที่เม็ดเงินการช้อปปิ้งซื้อสินค้า อยู่ที่ 4,200 ล้านบาท โดยงดหรือลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เน้นซื้อสินค้าที่มีโปรโมชั่นลดราคา และมีแนวโน้มชะลอการซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง อย่างเครื่องใช้
เปิดโพล สนง.สถิติฯ ประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการให้ รัฐ เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง – เยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมตอบรับนโยบาย คุมโควิด กระตุ้น ศก. ฟื้นตัว เฟซบุ๊ก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เผย นางปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลการสำรวจความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการในปี 2565 มากที่สุด – กว่าร้อยละ 84 คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง เช่น ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง และขนส่งมวลชน รองลงมาคือ การจ่ายเงินเยียวยา-ชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 – กว่าร้อยละ 45 แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น แจกชุดตรวจ หน้ากากอนามัย – กว่าร้อยละ 34 การแก้ปัญหาด้านการเกษตร เช่น ราคาพืชผลตกต่ำ และจัดหาตลาดรองรับผลผลิต – กว่าร้อยละ 28 การแก้ปัญหาการว่างงาน – กว่าร้อยละ 63 เห็นด้วยกับนโยบายให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยการปรับตัวและป้องกันตนเองอย่างเข้มข้น โดยให้เหตุผลว่า คนจะมีรายได้ มีงานทำ และเศรษฐกิจดีขึ้น ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1. การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร