ทำไรรวย
ปัจจุบันงานทางการเกษตรกำลังเป็นอีกหนึ่งสายงานที่คนหนุ่มสาวในยุคนี้เลือกทำ เพราะนอกจากจะได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวแล้ว ยังเป็นการสานต่ออาชีพดั้งเดิมที่ทำสืบต่อกันมา เพื่อให้กิจการงานเหล่านั้นคงอยู่ ซึ่งบางรายถึงกับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเพื่อเล่าเรียนทางสายเกษตรโดยตรง เป็นการหาวิชาและนำความรู้ที่ได้มาต่อยอดให้กับธุรกิจของตนเอง เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิตให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น คุณพรภินันท์ ดุสฎีกาญจน อยู่บ้านเลขที่ 77/7 หมู่ที่ 1 ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นเกษตรกรสาวคลื่นลูกใหม่ไฟแรงที่ยึดอาชีพทางการเกษตรคือ ทำสวนกล้วยไม้ โดยรับช่วงต่อจากครอบครัว พร้อมทั้งศึกษาเทรนด์ทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยการออกจำหน่ายผลผลิตของตามงานต่างๆ จึงทำให้เกิดความชำนาญและรู้ถึงความต้องการของตลาด และเกิดความชำนาญที่จะผลิตกล้วยไม้ออกมาแต่ละช่วงให้สอดคล้องกับความต้องการ ครอบครัวทำสวนกล้วยไม้ มากว่า 40 ปี คุณพรภินันท์ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่จำความได้เมื่อสมัยยังเด็กการปลูกกล้วยไม้ ถือเป็นอาชีพหลักของครอบครัวมาอย่างยาวนานตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า เมื่อเจริญวัยก็เกิดความรู้สึกว่าอาชีพที่ทำกันมาน
ต้นสำรอง พืชท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออก พบได้ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ มีสรรพคุณหลากหลาย มีผลออกปลายกิ่ง เรียกว่าลูกสำรอง หรือผลสำรอง ในหนึ่งกิ่งจะมี 4-5 ผล ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะผลกลมรี เหี่ยวย่น แห้ง ผลแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนเมล็ด มีเยื่อหุ้ม มีสารเมือกเป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาแช่น้ำ หรือถูกน้ำจะพองตัว กลายเป็นวุ้นคล้ายเยลลี่ ที่บ้านหนองสนม จ.ระยอง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ นำลูกสำรอง หรือผลสำรองมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มน้ำสำรอง รสชาติอร่อย วางจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับสมาชิก คุณอ้อย-กนิษฐา ธนะจินดา อายุ 51 ปี ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองสนม เล่าว่า สมาชิกในกลุ่มต้องการหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำขายและวางจำหน่ายได้ จึงเลือกนำผลไม้ท้องถิ่นทางภาคตะวันออกมาทำ ด้วยกรรมวิธีที่รู้อยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไร นำมาต้ม ผสมรสชาติให้หลากหลาย คือ ตะไคร้ หญ้าหวานกับดอกคำฝอย ใบเตย และเก๊กฮวย พี่อ้อย เล่าต่อว่า แรกๆ ทำขายแค่สูตรดั้งเดิม ขายให้กับนายทุน พ่อค้าคนกลาง รายได้ไม่ตาม
ร้าน Cake Pound หนึ่งร้านเบเกอรี่ที่ใช้ช่องทางออนไลน์ เป็นสื่อในการขาย โดยคุณแม่คนเก่ง คุณปอน-อำพร จันทร์ปาน อายุ 38 ปี ก่อนหน้านี้แม่ปอนทำงานเป็นพนักงานของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช หลังมีลูกคนที่สาม จึงลาออกมาเลี้ยงลูกแบบเต็มตัว แม้จะเป็นคุณแม่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน แต่แม่ปอนไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงนำความชอบมายึดเป็นอาชีพสร้างรายได้ ด้วยการทำเบเกอรี่ขาย ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวรวมทั้งทำส่งร้านกาแฟในจังหวัดมาร่วม 1 ปีแล้ว “ทำแรกๆ ยังไม่มีเตาอบ เลยทำแบบนึ่งกับเตาแก๊ส ช่วงหลังมีอุปกรณ์ครบ ก็เริ่มทำเต็มตัว ลงเรียนคอร์สออนไลน์ เข้ากลุ่มทำเค้ก เพื่อไว้อัพเดตสูตร และรูปแบบเค้กต่างๆ เป็นประจำ” มีเบเกอรี่เด่นๆ หลายอย่าง ตอนนี้คือคุกกี้ไส้สับปะรด ดีไซน์การ์ตูนน่ารัก เช่น ซุปเปอร์ฮีโร่ เจ้าหญิงดิสนีย์ ตามด้วยเค้กส้มที่เป็นลูกส้ม พร้อมด้วยบราวนี่นูเทลล่า ก็ขายดีไม่แพ้กัน ราคาขาย คุกกี้สับปะรด กล่องละ 169 บาท 12 ชิ้น เค้ก เฉลี่ยปอนด์ละ 250-300 บาท แล้วแต่รูปแบบและความยาก บราวนี่ ขายเป็นถาด ตัดได้ 25 ชิ้น ถาดละ 550 บาท หลายคนสงสัยว่าแบ่งเวลาอย่างไร เพราะเห็นเบเกอรี่มีหลายรายการ แม่ปอน
อดีตหนุ่มออฟฟิศเลี้ยงไก่ต๊อกสุดรุ่ง ไก่พันธุ์นี้ราคาดี-ออกไข่เยอะ ตลาดออนไลน์ซื้อไม่อั้น คุณพณิชย์ สังหาร อยู่บ้านเลขที่ 175 หมู่ที่ 6 ตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เป็นเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไก่ต๊อกจนประสบผลสำเร็จ ทำให้เขาถึงกับลาออกจากงานออฟฟิศ มาหาความสุขกับการเลี้ยงไก่ต๊อกและสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ เป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี คุณพณิชย์ ชายหน้าหวาน มากด้วยรอยยิ้ม เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ต่อมาประมาณปี 2557 ได้นำไก่ต๊อกมาทดลองเลี้ยงที่บ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริม เมื่อเลี้ยงมาได้สักระยะผลปรากฏว่าไก่ต๊อกออกไข่และสามารถจำหน่ายลูกไก่ต๊อกเป็นรายได้พอได้เงินเป็นค่าใช้จ่าย จึงเริ่มเลี้ยงมาเรื่อยๆ พร้อมทั้งหาสัตว์ปีกชนิดอื่นมาเลี้ยงภายในบริเวณบ้านอีกด้วย “ช่วงแรกผมเลี้ยงไก่ต๊อก ควบคู่ไปกับทำงานประจำ มาเลี้ยงสัตว์อย่างเต็มตัว ช่วงนั้นไก่ต๊อกผมหาซื้อมาเลี้ยงประมาณ 5 คู่ เลี้ยงไปเลี้ยงมาก็ไม่มีปัญหาอะไร ผมก็เริ่มสนใจไก่ชนิดอื่นด้วยก็หาซื้อมาเลี้ยง พอทำแล้วเริ่มรู้สึกสนุก มันมีอิสระในการทำ ก็ลาออกจากงานออฟฟิศมาเลี้ยงไก่อยู่ที่บ้านอย่างเต็มตัว” คุณพณิชย์ เล่
คุณณัฐวุฒิ ธรรมเมืองมูล หรือ คุณหมู ชายหนุ่มวัย 39 ปี เจ้าของโคมไฟหวาย แพมณิชา เท้าความว่า กิจการโคมไฟเป็นธุรกิจของครอบครัวฝ่ายภรรยา โดยพ่อตารับหน้าที่สานกระบุง ตะกร้า ภาชนะทุกชนิดที่สานจากไม้ไผ่ ตั้งอยู่ที่บ้านป่าบงหลวง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และจากการที่ได้เห็นทุกคนทำงานจักสานรู้สึกว่าไม่ยาก เกิดความรู้สึกอยากลองทำบ้าง คุณหมู เล่าต่อว่า การที่ได้เห็นพ่อตาและสมาชิกในครอบครัวสานกระบุง ตะกร้า มีรายได้เข้ามาทุกวัน บางวันก็ทำไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า เลยเกิดความคิดว่าอยากเข้ามาช่วย “เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ผมเห็นสมาชิกในครอบครัวสานกระบุง ตะกร้า ทำขายได้เรื่อยๆ ทำขายแทบไม่ทัน จึงคิดอยากจะทำบ้าง ประกอบกับพ่อตาสอนให้สานโคมไฟ เลยพอมีฝีมือติดตัว” หลังจากที่คุณหมูสานโคมไฟได้มีออร์เดอร์เข้ามา ระหว่างนั้นเองภรรยาตั้งครรภ์ และคุณหมูก็ทำงานไกลบ้าน นับ 100 กิโลเมตร เขา บอกว่า ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ มาทำงานจักสานเต็มตัว และพอภรรยาคลอดลูกได้ 4 เดือน ก็ขอแยกตัวออกจากบ้านพ่อตา มาเริ่มทำจักสานเอง “ผมอาศัยอยู่กับพ่อตา 1-2 ปี พอได้ความรู้เกี่ยวกับการทำจักสานมา ช่วงที่แยกตัวออกมา ช่วงนั้นสิน
คุณเจี๊ยบ-ธีรวุฒิ มีแสงนิล อดีตช่างภาพหนังสือพิมพ์ข่าวสด ผู้ผันตัวมาขายก๋วยเตี๋ยวเรือ ชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ เจี๊ยบบ้านแพน เขาเริ่มต้นเล่าที่มาว่า คิดมานานแล้วว่าอยากมีร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ เป็นของตัวเอง เพราะครอบครัวเคยทำขาย เด็กๆ ก็ไปช่วยงาน เลยซึมซับมาตั้งแต่ตอนนั้น “ช่วงหลังมานี้ หนังสือพิมพ์ เราก็รู้กันใช่ไหมว่าเป็นยังไง เลยตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่ทำตอนนี้ แก่ตัวเกษียณไปคงไม่ได้ทำแล้ว” เมื่อคิดแล้วว่าจะขายก๋วยเตี๋ยว คุณเจี๊ยบเริ่มตระเวนชิมก๋วยเตี๋ยวเรือ แล้วช่วยกันให้คะแนนกับแฟนว่าร้านไหนอร่อยบ้าง สรุปว่าร้านที่อร่อยอันดับ 1 เป็นร้านของเพื่อนแถวคลองจั่น บางกะปิ นำสูตรที่ได้จากร้านเพื่อนมาปรับร่วมกับสูตรของครอบครัว จนลงตัว สิ่งที่ทำต่อมาคือ เปิดร้าน คุณเจี๊ยบเช่าร้านขายแบบรับช่วงต่อ รายได้พออยู่ได้ แต่เพราะยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงย้ายไปเปิดร้านใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม อยู่แถวสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ จังหวัดนนทบุรี รายได้ตอนนั้น คุณเจี๊ยบ บอกว่า ขายดีจนแปลกใจ เพราะเปิดวันแรกคนแห่มากิน ยอดขายแตะหลักหมื่น ส่วนวันธรรมดาอยู่ราวๆ 6-7 พันบาท เจ้าตัวเล่าต่อว่า รายได้มีขึ้นมีลง ยอดขายเคยตกเหลื
“Apple and Noi are fabulous, if you can’t stay with them don’t miss their cooking class.” ข้อความข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลายร้อย “รีวิว” จากนักเดินทางต่างชาติ ซึ่งเคยมาแวะเวียนที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอาจเป็นตัวชี้ “ของดี” เมืองกาญจน์ ไม่ได้มีแค่เขื่อนหรือป่า หากยังมี “อาหารไทย” ซึ่งถูกปากและถูกใจอาคันตุกะจากแดนไกลกลุ่มใหญ่โข และที่สำคัญยังสามารถสร้างรายได้ ให้กับเจ้าของธุรกิจนี้…มาไม่น้อยแล้ว! หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ สอนทำอาหารไทยให้กับหนุ่มสาวชาวต่างชาติกลุ่มสุดท้ายของวัน คุณหน่อย- ศุทธนันทน์ ร่มโพธิ์เย็น หุ้นส่วนสำคัญของกิจการ Apple & Noi Thai Cooking กรุณาสละเวลาดูแลงานอื่นในเกสต์เฮ้าส์ มานั่งพูดคุยด้วยอัธยาศัยยิ้มแย้ม เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัว พื้นเพเป็นคนเมืองกาญจน์ จบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยทำงานในบริษัทขายอะไหล่เครื่องบินที่กรุงเทพฯ แต่ความใฝ่ฝันลึกๆ นึกอยากเป็น “ไกด์” ระหว่างนั้น จึงใช้เวลาส่วนหนึ่งไปเข้ารับการอบรม จนได้ใบอนุญาตประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ มาไว้เป็นต้นทุนสำคัญ หลังจากเป็นพนักงานบริษัทย่านสีลมได้หลายปี คุณหน่อย เริ่มม
ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิตอล ส่งผลให้ความ “ไฮเทค” ในเครื่องใช้ไม้สอย กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวซึ่งเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึง “กล้องถ่ายรูป” ที่สมัยก่อนอาจเป็นอุปกรณ์สำหรับคนเฉพาะกลุ่ม แต่มาวันนี้กลับกลายเป็นของ “พื้นๆ” ไปเสียแล้ว ฉะนั้นเวลาไปไหนมาไหน ใครต่อใคร ย่อมมีกล้องถ่ายรูปติดตัวได้ ไม่ว่าจะในรูปของกล้องถ่ายรูปที่ติดมากับโทรศัพท์มือถือ หรือ กล้องดิจิตอล ยิ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวด้วยแล้ว การบันทึกความประทับใจตามสถานที่ต่างๆ นั้น ย่อมเป็นกิจกรรมหลักที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะใน “ตลาด” ซึ่งมีบรรยากาศซื้อขายคึกคัก ย่อมมีการแข่งขัน “ไอเดีย” น่าตื่นตาตื่นใจ จึงเป็นธรรมดาที่บรรดานักท่องเที่ยวอยากจะถ่ายรูปความแปลกใหม่ของสินค้าเหล่านั้นเก็บไว้ หากยามใดที่ “ยกกล้อง” ขึ้นมาส่องหวังเก็บภาพ กลับเห็นป้ายเขียนข้อความ “ห้ามถ่ายรูป” บ้าง “No Photo” บ้าง ความตั้งใจของช่างภาพมืออาชีพ-สมัครเล่น คง “แป่ว” ลงฉับพลัน ครั้นจะไปขอตื๊อ “ขอถ่ายหน่อยเถอะ” อาจไปสร้างความลำบากใจให้กันโดยไม่จำเป็น เมื่อไม่นานมานี้ มีโอกาสได้ไปเที่ยวชม “ถนนคนเดิน” ในจังหวัดเชียงใหม่ เห็นกิจการริมทาง หลายร้านขึ้นป้ายห้ามถ่าย
ธุรกิจดีลิเวอรี่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้คนที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว แถมทุกวันนี้เทคโนโลยีก็เข้ามาช่วยให้การสั่งซื้อสินค้าและบริการทำได้ง่ายเพียงกดคลิกไม่กี่ครั้ง หลายๆ แนวคิดเรื่องดีลิเวอรี่ก็เหนือความคาดหมาย เพราะไม่ใช่แค่การจัดส่งอาหารหรือสินค้าทั่วๆ ไปเท่านั้น แม้แต่น้ำมันและบริการเสริมสวยก็ดีลิเวอรี่ได้ ในรัสเซีย ขณะนี้ผู้คนไม่ต้องขับรถไปต่อคิวเติมน้ำมันที่ปั๊ม ไม่ต้องฝ่าฟันการจราจรที่ติดขัดหรือสภาพอากาศที่หนาวเย็นออกไป แค่หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาสั่งซื้อออนไลน์ เท่านี้ก็หายห่วง บริษัท “Toplivo v Bak” ที่แปลว่า “เติมน้ำมัน” และบริษัท “ปั๊ม” เป็นบริษัทสตาร์ตอัพรัสเซีย 2 แห่งที่มองเห็นโอกาสในธุรกิจนี้ และนำร่องให้บริการใน 4 เมือง ได้แก่ กรุงมอสโก นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมืองโซชี และคราสโนดาร์ ทั้ง 2 บริษัทเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนใช้บริการ ซึ่งเมื่อน้ำมันใกล้จะหมด เจ้าของรถก็สามารถสั่งซื้อผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนที่จะระบุพิกัดของรถสำหรับดีลิเวอรี่น้ำมันได้ พนักงานของบริษัทจะได้รับคำสั่งซื้อดังกล่าว จากนั้นจะขับรถตู้ขนาดเล็กติดตั้งถังใส่น้ำมันที่มีทั้งน้ำ