ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในยุคที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การทำธุรกรรมทางการเงินก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากเดิมที่ต้องเดินทางไปธนาคารหรือสถาบันการเงิน ปัจจุบันผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้นผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะแอปกู้เงินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้แอปเงินกู้จากผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และการวางแผนการชำระเงินคืนอย่างรัดกุม จะช่วยให้การกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเงินทุนฉุกเฉินในยามจำเป็น ทำความเข้าใจว่าแอปกู้เงินคืออะไร แอปกู้เงินถูกกฎหมายเป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการกู้ยืมเงินผ่านทางสมาร์ทโฟน โดยจะเป็นการให้บริการจากสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) อย่างถูกต้อง ซึ่งจะแตกต่างจากแอปเงินด่วนนอกระบบออนไลน์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก BOT และอาจมีการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การยืมเงินถูกกฎหมายผ่านแอปเงินกู้จะมีการระบุเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาการผ่อนชำระที่ชัดเจน รวมถึงมีการตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ได้อย่า
คนไทยโดนหลอกจากมิจฉาชีพสูงถึง 500,000 กว่าราย เป็นจำนวนเงิน 63,000 ล้านบาท! ส่วนใหญ่เป็นการถูกหลอกจากออนไลน์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในการดำเนินการสำคัญคือ การออกพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อจัดการบัญชีม้าที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับเงินและถ่ายโอนเงินจากการกระทำผิด และแลกเปลี่ยนเส้นทางเงินเพื่อสนับสนุนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ รวมถึง พ.ร.ก. ได้กำหนดโทษเอาผิดกับบัญชีม้าให้ชัดเจนขึ้นด้วย โดยพบว่าช่วงที่ผ่านมา การหลอกลวงมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น แต่การหลอกลงทุน คือ วิธีการสูงสุด รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงิน และหลอกให้ซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น โดยจากข้อมูลมีจำนวนคดีการหลอกลวงสูงถึง 500,000 กว่าคดี นับเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 63,000 ล้านบาท นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 “ที่ผ่านมา การจัดการกับบัญชีม้า
ผ่อนดอกกันต่อไป กนง.ไม่ปรับลดดอกเบี้ย หลัง มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.50% ต่อปี ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างกระทบการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากกว่าที่ประเมินไว้ แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศที่น้อยลง และผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง แต่การบริโภคยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว กรรมการส่วนใ
การเงินธนาคาร มอบรางวัลเกียรติยศ MONEY & BANKING AWARDS 2023 วิทัย รัตนากร คว้านักการเงินแห่งปี ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2023 จัดโดย วารสารการเงินธนาคาร ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องรีเจนซี่บอลรูม โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร เปิดเผยว่า วารสารการเงินธนาคาร ประกาศรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2023 เป็นปีที่ 16 เพื่อยกย่องผู้บริหาร ธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทจดทะเบียนที่มีผลงานยอดเยี่ยมในรอบปี พร้อมสนับสนุนความสำเร็จของบุคลากร สถาบันการเงิน ในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพให้พร้อมรับการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้อย่างแข็งแกร่ง เพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจการเงิน การลงทุนของประเทศและสังคมส่วนรวม สำหรับรางวัล Money & Banking Awards 2023 ประกอบด้วย 7 สาขารางวัล รวมทั้งหมด 52 รางวัล 1. รางวัลนักการเงินแห่งปี 2565 Financier of the Year 2022 เป็นรางวัลที่มอบให้กับนายธนาคาร
เปิดอินไซต์! 8 เรื่องจริง การเป็นหนี้ ของคนไทย ส่วนใหญ่เป็น วัยทำงาน เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน คนส่วนใหญ่จะนึกถึง การกู้เงิน เป็นหลัก ซึ่งทำให้มีห่วงติดตัวที่เรียกว่า เป็นหนี้ และส่วนใหญ่ก็คิดว่า ไหนๆ แล้วก็กู้ให้เต็มที่ไปเลย เผื่อจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉินในอนาคต โดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้เงินและภาระการผ่อนชำระรายเดือนที่ตามมา ในตอนหนึ่งของ เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยถึง 8 ข้อเท็จจริงการเป็นหนี้ของคนไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือถูกต้อง : 4 ใน 5 ของปัญหาในขั้นตอนการเสนอขายสินเชื่อของสถาบันการเงิน คือ ลูกหนี้มักได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ย วิธีการคิดดอกเบี้ย นอกจากนี้ ลูกหนี้บางส่วนยังได้รับข้อมูลด้านเดียว เช่น โปรโมชันผ่อนน้อย แต่ไม่บอกให้ชัดเจนว่าต้องผ่อนนาน 2. เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น : กว่า 62% ของครัวเรือนไทยมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินไม่เพียงพอ และหากเกิดเหตุที่ทำให้รายได้ลดลง 20% จะมีครัวเรือนเกินครึ่งที่มีเงินไม่พอจ่ายหนี้ ทำให้ต้องไปกู้จากทั้งในและนอกระบบเพื่อดำรงชีพ และส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายคืนได้ เพราะราย
เปิด 5 เรื่องฮิต เศรษฐกิจไทย ที่คนพูดถึงมากที่สุด ในปี 2565 ก่อนก้าวเข้าสู่ปีใหม่ มาดูกันว่าในปี 2565 คนไทยพูดถึงเศรษฐกิจไทยเรื่องไหนกันบ้าง โดย เพจธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สรุป 5 เรื่องฮิต เศรษฐกิจไทย ไว้ดังนี้ 1. เงินเฟ้อ เงินเฟ้อไทยปีนี้ (2565) เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน (Cost-push) ตามราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่หากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้คนเริ่มคาดว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อยๆ ยากที่จะลดลง ลูกจ้างจะขอขึ้นค่าแรงเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ธุรกิจปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ แบงก์ชาติจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อช่วยดูแลเงินเฟ้อในภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากโควิดแล้ว ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป 2. เงินสำรองระหว่างประเทศ มีไว้เพื่อเป็นกันชนรองรับความเสี่ยงด้านต่างประเทศ เช่น กรณีเงินทุนไหลออกจำนวนมาก หรือตลาดการเงินขาดสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเฉียบพลัน หากประเทศมีเงินสำรองเพียงพอ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
ไขข้อข้องใจ ธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ ดีกว่าเดิมยังไง หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย ออกใช้ “ธนบัตรพอลิเมอร์” ชนิดราคา 20 บาท วันแรก 24 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยสามารถแลกได้ที่ธนาคารทั่วประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง เชื่อว่าหลายคนมีข้อสงสัย ว่าธนบัตรพอลิเมอร์คืออะไร แตกต่างจากธนบัตรเดิมอย่างไร และที่สำคัญ ใช้แล้วดีกว่าเดิมหรือไม่ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับธนบัตรออกใหม่ดังกล่าว โดยละเอียด ดังนี้ ทำไมถึงต้องเปลี่ยนวัสดุเป็นพอลิเมอร์ ธนบัตรที่ผลิตด้วยกระดาษ โดยเฉพาะชนิดที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือสูง สกปรกง่าย มีอายุการใช้งานสั้น เพียง 2-3 ปี และเก่าเร็ว ธนบัตรที่ผลิตด้วยพอลิเมอร์ จะช่วยให้ธนบัตรมีความทนทาน สะอาด และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย คาดว่ามีอายุการใช้งานนานขึ้น ประมาณ 5 ปี มีประเทศไหนใช้ธนบัตรพอลิเมอร์บ้าง ปัจจุบันมีมากกว่า 30 ประเทศ ใช้ธนบัตรพอลิเมอร์ โดยออกใช้หลายชนิดราคา เช่น แคนาดา ชิลี ซาอุดีอาระเบีย สกอตแลนด์ อังกฤษ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม อากาศร้อน และพฤติกรรมการใช้ธนบัตรของคนไทย ส่งผลต่ออายุการใช้งานของธนบัตรพอลิเมอร์อ
ใครเป็นหนี้เช็กเลย! สรุป มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ปี 65 มีอะไรบ้างอ่านเลย! เฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สรุปมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ประจำปี 2565 มีดังนี้ เมื่อมีปัญหาหนี้ ต้องทำยังไง? 1. ติดต่อสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อเข้าร่วมมาตรการและการปรับโครงสร้างหนี้ต่างๆ 2. เข้าร่วมมาตรการความช่วยเหลือของแบงก์ชาติ ตามประเภทหนี้และความต้องการ การแก้ไขหนี้เดิม และ การปรับโครงสร้างหนี้ 1. สินเชื่อส่วนบุคคล / บัตรเครดิต : คลินิกแก้หนี้ : ซึ่งรวมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นก้อนเดียว ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% 2. สินเชื่อบ้าน / สินเชื่อไม่มีหลักประกัน : Debt Consolidation : รวมหนี้บ้าน และหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย 3. หนี้ธุรกิจ : โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ : การโอนทรัพย์ชำระหนี้ โดยให้สิทธิซื้อคืน 4. หนี้ทุกประเภท : แก้หนี้ระยะยาว (3 ก.ย. 64) : ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้สอดคล้องกับรายได้ 5. หนี้ทุกประเภท : แก้หนี้ระยะยาวของ SFls (1 ม.ค. 65-31 ธ.ค. 66) : ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ให้สอดคล้องกับรายได้ 6. หนี้ทุกประเภท : ทางด่วนแก้หนี้ : 6.1 ลงทะเบียนขอปรับชำระเง
มัดรวมมาเบ็ดเสร็จ! สรุป มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ปี 2565 มีอะไรบ้าง มาดูกัน เมื่อมีปัญหาเรื่องหนี้ ลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อเข้าร่วมมาตรการต่างๆ และปรับโครงสร้างหนี้ หรือเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของแบงก์ชาติ ตามประเภทและความต้องการ โดย เฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand (ธปท.) ได้สรุปมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในปี 2565 ดังนี้ 1. แก้ไขหนี้เดิม/ปรับโครงสร้างหนี้ – สินเชื่อส่วนบุคคล/บัตรเครดิต : รวบหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเป็นก้อนเดียวผ่อนนานสูงสุด 10 ปี ดอกเบี้ย 5% ผ่าน www.debtclinicbysam.com – สินเชื่อบ้าน/สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน หรือ Debt consolidation รวบหนี้บ้าน และหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย – หนี้ทุกประเภท : แก้หนี้ระยะยาว (3 ก.ย. 64) ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้สอดคล้องกับรายได้ – หนี้ทุกประเภท : แก้หนี้ระยะยาวของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้สอดคล้องกับรายได้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65-31 ธ.ค. 66 – หนี้ทุกประเภท : ทางด่วนแก้หนี้ 1. สามารถลงทะเบียนขอปรับเงื่อนไขการชำระหนี้
เทรนด์ใช้ชีวิต Next Normal หลังโควิด-19 กับ 10 ปัจจัย ที่ผู้ประกอบการควรรู้และปรับตัว สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบให้รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยี บริการดิจิทัลใหม่ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ นำไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ Next Normal จึงทำให้ธุรกิจ ต้องปรับกลยุทธ์การตลาด รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้ากับเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมเทรนด์การใช้ชีวิตแบบ Next Normal ให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ได้นำมาศึกษาและนำมาปรับใช้ในธุรกิจของตนเอง ดังนี้ อาหาร : เน้นการกินอย่างยั่งยืนที่ทั้งดีต่อสุขภาพ และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เน้นรูปแบบการบริโภคอาหารสไตล์ Plant Forward พร้อมเน้นส่วนผสมที่เป็นผักผลไม้ธัญพืชต่างๆ หรือเนื้อสัตว์ทางเลือก Plant Based Meat จะได้รับความนิยมขยายเป็นวงกว้าง เงิน : คนไทยจะหันมาจับจ่ายผ่านรูปแบบ e-Payment, Card Payment และ Internet & Mobile Banking กันมากขึ้น เพื่อชำระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคการซื้อสินค้า รวมถึงชำระค่าโฆษณาผ่านการทำการตลาดในช่องทางโซเชียลมีเดีย e-Co