ธุรกิจครอบครัว
บัณฑิตป้ายแดง ไม่ทิ้งอาชีพครอบครัว ต่อยอด ขายทุเรียนออนไลน์ คว้ารายได้กว่า 6 ล้านบาท ใน 5 เดือนแรก หลายปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เลือกเดินออกจากอาชีพเกษตรกรรม เพราะบางคนมองเป็นงานหนัก บางคนมองว่าไม่เท่ รวมถึงเป็นงานยากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับ คุณนิ้ง-สิริยากร ธรรมจิตร์ บัณฑิตป้ายแดง เธอเลือกกลับมาสานต่อธุรกิจสวนทุเรียนของครอบครัว ด้วยการสร้างแบรนด์ลูกสาวกำนัน คุณนิ้ง เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมเธอเป็นเด็กที่ชื่นชอบงานด้านวิชาการ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ช่วง ม.6 คุณพ่อของเธอไปเห็นทุนการศึกษา ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะเกษตรนวัตและการจัดการ (IAM) คณะที่ช่วยให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ที่สร้างรายได้สูง “ตอนแรกเคยตั้งคำถามว่า ถ้าเรียนด้านเกษตรกรรมเฉยๆ จะไหวหรือไม่ แต่ที่บ้านบอกเราชัดเจนว่า ไม่ได้อยากให้เรากลับมาเพื่อทำสวน แต่อยากให้มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม คณะก็ให้เราเรียนรู้ด้านเกษตรควบคู่กับธุรกิจ ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี แต่ให้เราได้เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริงๆ ตลอด 4 ปี ทั้งการฝึกงานที่สวนทุเรียนในจังห
กรณีศึกษา ส่งต่อธุรกิจครอบครัวและทรัพย์สิน จากรุ่นสู่รุ่น ทำอย่างไร ไม่ให้เจอศึกสายเลือด เมื่อพูดถึงเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่มีทรัพย์สินมากหรือน้อยก็มีโอกาสเกิดความขัดแย้งได้พอๆ กัน สาเหตุหลักมาจากครอบครัวไม่เห็นความสำคัญจากศึกภายใน ด้วยความคิดที่ว่าสมาชิกรักใคร่กันดีไม่มีปัญหา ขนบธรรมเนียมที่ครอบครัวปฏิบัติสืบกันมาเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกรุ่นยอมรับได้ หรือการส่งต่อทรัพย์สินเป็นเรื่องของรุ่นผู้ให้อย่างเดียวไม่จำเป็นต้องฟังความคิดเห็นของรุ่นผู้รับ ความคิดเหล่านี้ทำให้ครอบครัวขาดการวางแผนและสื่อสาร จนเป็นที่มาของความขัดแย้งไม่ว่าในรุ่นเดียวกันหรือระหว่างรุ่น พี่น้องรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง ในอีกด้านหนึ่ง พ่อแม่รู้สึกว่าลูกหลานไม่เชื่อฟัง ไม่สามัคคีกัน บ่มเพาะและนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจครอบครัว ทั้งนี้ ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญและเป็นรากฐานของเศรษฐกิจโลก จากข้อมูลระบุว่า 2 ใน 3 ของบริษัททั่วทุกประเทศเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งสร้างรายได้กว่า 70% ของ GDP โลก ในขณะที่ประเทศไทย ธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนสูงที่ 60% ของ GDP ด้วยเหตุนี้เอง องค์กร
‘ธุรกิจครอบครัว’ ได้เวลาลุกขึ้นมาแต่งตัวใหม่ ปลุก Loyalty ลูกค้ากลับมา ‘ธุรกิจครอบครัว’ หรือ Family Business นั่นคือธุรกิจที่มีรูปแบบของการทำธุรกิจที่หุ้นของกิจการมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเจ้าของโดยสมาชิกของครอบครัว หรือเป็นธุรกิจที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งแนวทางการบริหารงานของธุรกิจครอบครัวนั้น ค่อนข้างมีความเฉพาะตัว กล่าวคือ นอกจากจะมีการบริหารด้านการตลาด, การบริหารคน หรือระบบบัญชี ที่เหมือนกับธุรกิจทั่วไป ยังมีเรื่องของสมาชิกในครอบครัว คือมีความเป็นเจ้าของเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารด้วย ในบางครั้งจึงทำให้เกิดความซับซ้อนมากกว่าธุรกิจอื่น บทความนี้ ขอพูดถึงอีกมุมหนึ่งของ การบริหารธุรกิจครอบครัว กับการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ หรือเข้ากับยุคสมัย ด้วยวิธีการรีแบรนด์ (Re-Brand) หรือเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของแบรนด์ใหม่ ให้สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของลูกค้า โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจครอบครัว โดยส่วนใหญ่ มักจะเป็นธุรกิจเก่าแก่ที่อยู่มานานหลายสิบปี มีการบริหารงานแบบสืบทอดต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยการบริหารแบบดั้งเดิมเพื่อคงคุณค่าที่ผู้ก่อตั้งสร้างไว้ จะทราบได้อย่างไร? ว่าธุร
เจนสองพลิกวิกฤต จากบริษัทที่เกือบเจ๊ง สู่ผู้ผลิตตุ๊กตาสุดฮิต สร้างยอดขาย 30 ล้านใน 6 เดือน แม้จะเรียนจบด้านดนตรี และมีแพชชันแรงกล้าว่าจะไม่ทำธุรกิจครอบครัว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ในวันที่บริษัทตุ๊กตาย่ำแย่ ช่องทางการขายหลักอย่างห้างสรรพสินค้าเริ่มไม่ตอบโจทย์ และตุ๊กตายังถูกมองว่าเป็นแค่ของเล่นสำหรับเด็กที่ใครๆ ก็ขายกัน ทำให้ คุณทอย-กรชนก ตรีวิทยานุรักษ์ ลูกสาวคนโต ลุกขึ้นมาพลิกชีวิตบริษัทให้กลับมาสดใส ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์คาแร็กเตอร์ที่หลายคนหลงรักในวัยเด็กมาผลิตเป็นตุ๊กตา พวงกุญแจ และสินค้าหลากหลาย จนกลายเป็นไอเทมที่ทุกคนต้องมีติดตัว ซื้อมาห้อยกระเป๋าได้อย่างไม่เคอะเขิน คุณทอย เจ้าของ Codec Creation วัย 27 ปี ทำธุรกิจอย่างไรและทำการตลาดแบบไหนให้คาแร็กเตอร์สุดน่ารักครองใจลูกค้า เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาทุกคนไปหาคำตอบ บริษัทตุ๊กตา ธุรกิจจากรุ่นแม่ คุณทอย เล่าให้ฟังว่า บ้านของเธอทำธุรกิจตุ๊กตามาตั้งแต่รุ่นแม่ โดยเริ่มจากขายการ์ดดินปั้นที่ได้กำไรเพียงชิ้นละ 2-3 บาท ไม่คุ้มกับความเหนื่อย จึงเปลี่ยนมาขายตุ๊กตาที่รับจากสำเพ็งแล้วนำมาติดโบว์ ติดปีกให้น่ารักจนขายดิบขายดี แต่วันหนึ่งก็มีคนเลียนแบบ
ต่อยอดอาชีพพ่อแม่! ขายเตาปิ้งย่างจากถังน้ำยาแอร์ บน TikTok ออร์เดอร์ปังวันละ 100 กว่าใบ จากถังน้ำยาแอร์ ที่ก่อนหน้านี้ไม่รู้ว่าจะนำมาทำอะไรดี เมื่อนำมาดัดแปลงเป็นเตาปิ้งย่าง ก็ใช้งานง่าย สะดวกไม่แพ้เตาทั่วไป จนก่อเกิดเป็นธุรกิจครอบครัว ที่เมื่อก่อนพ่อกับแม่ต้องขับรถเร่ขายตามจังหวัดต่างๆ ค่ำไหนนอนนั่น ปัจจุบันเมื่อได้ คุณยูมิ-ชลนิภา จิตมาตย์ ผู้เป็นลูกสาวมาช่วยสานต่อ นำเตาปิ้งย่างขายบน TikTok พ่อกับแม่จึงไม่ต้องเหนื่อยเหมือนที่ผ่านมา เพราะขายดิบขายดีวันละ 100 กว่าใบ จุดเริ่มต้น ยูมิเตาปิ้งย่าง คุณยูมิ วัย 26 ปี เล่าที่มาของธุรกิจ “ยูมิเตาปิ้งย่าง” ให้ฟังว่า แม่และป้านำถังน้ำยาแอร์มาทำเตาปิ้งย่างใช้เองภายในบ้าน จากนั้นได้เริ่มทำขาย โดยพ่อแม่รับหน้าที่ขับรถกระบะเร่ขายตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งการออกขาย 1 ครั้งใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์ พอตกเย็นก็อาศัยนอนวัด ส่วนเธอ ขณะนั้นกำลังเรียนต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อเรียนจบถึงได้กลับมาช่วยสานต่อธุรกิจครอบครัว “เรียนปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษธุรกิจ ด้วยอยากพัฒนาตัวเองเลยเลือกไปฝึกงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมความฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตส
ลูกสาวคนดี ยอมพักความฝัน เปิดไอจี ขายลูกชิ้นปลา ช่วยครอบครัวพลิกวิกฤตเป็นรายได้ เดือนละหลักแสน เพราะอยากช่วยกู้ธุรกิจครอบครัวที่ทำมา 14 ปี ให้พ้นวิกฤต คุณมิ้ม-ปิยกมล ปิยะพงษ์ ผู้เป็นลูกสาว จึงยอมพักความฝันอยากมีแบรนด์เสื้อผ้า มาช่วยต่อยอด “ลูกชิ้นชาวเรือ” จากหน้าร้านสู่การขายในไอจีและออกบูธ จนสร้างยอดขายหลักแสนบาทต่อเดือน ความพิเศษของ ลูกชิ้นชาวเรือ นอกจากความเก่าแก่ของแบรนด์แล้ว ที่ยังคงคุณภาพไม่เปลี่ยนคือสูตรการทำ ซึ่งใช้เนื้อปลาล้วนถึง 98% เรียกว่าแทบไม่มีแป้ง เมื่อนำไปทอดจึงได้ความกรอบฟู ไม่แข็ง สีสันน่าทาน ราดด้วยน้ำจิ้มสูตรเด็ดของคุณยาย โปะด้วยแตงกวากรอบๆ นั่นคือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าติดใจ จุดเริ่มต้นของ ลูกชิ้นชาวเรือ เป็นมาอย่างไร ติดตามได้ในบทสัมภาษณ์นี้ ลูกชิ้นชาวเรือ ธุรกิจที่ครอบครัวช่วยกันสร้าง คุณมิ้ม วัย 24 ปี เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า ครอบครัวเริ่มสร้างแบรนด์ลูกชิ้นปลา “ลูกชิ้นชาวเรือ” เมื่อปี 2552 ด้วยชลบุรีคือแหล่งวัตถุดิบและมีอาหารทะเลชั้นดี จึงอยากนำมาผลิตเพื่อส่งต่ออาหารคุณภาพให้คนในจังหวัดได้ชิม โดยคิดสูตรกันเอง แล้วเริ่มขายที่ตลาดเก่าอ่างศิลา 13
เปิด 4 เทคนิค ส่งต่อ ‘ธุรกิจครอบครัว’ จากรุ่นสู่รุ่น ไม่ต้องเปิดศึกแย่งชิง เหมือนในละคร การข้ามผ่านความเป็นครอบครัวไปสู่การบริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆ ครอบครัว แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถทำได้ ในประเทศไทยเอง มีหลายธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จและสามารถส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้ ล่าสุด เรื่องราวประเด็นปัญหาการส่งต่อธุรกิจ ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นซีรีส์เกาหลีที่ได้รับความนิยม เล่าเรื่องเกี่ยวกับตระกูลมหาเศรษฐีที่บริหารธุรกิจกันโดยสมาชิกในครอบครัว สะท้อนให้เห็นถึงปมปัญหาธุรกิจครอบครัวที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อไปสู่รุ่นลูก โดยที่พ่อยังยึดมั่นในธรรมเนียมดั้งเดิมที่ต้องการส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคนโต เมื่อเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม พี่น้องจึงพร้อมแย่งชิงธุรกิจและทรัพย์สมบัติกันเองจนแทบไม่เหลือความเป็นครอบครัว จากซีรีส์เกาหลีเรื่องดังกล่าว ได้สรุปเป็น 4 เทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จ ได้แก่ “วางแผน-กำหนดกติกา-สร้างการมีส่วนร่วม-บริหารอย่างมืออาชีพ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. วางแผน สมาชิกในครอบครัวต้องร่ว
How To บริหารธุรกิจ ครอบครัว ให้ไปต่อ อย่างไม่สะดุด ด้วย 7 เทคนิคนี้! ปัจจุบัน ผู้คนต่างมีความฝันที่ว่า อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรืออยากสร้างธุรกิจขึ้นมาเพื่อเป็นนายตัวเอง กันเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีไม่น้อย ที่ได้รับมรดกตกทอดเป็น ธุรกิจของครอบครัว มาบริหารต่อ บ้างอาจจะชอบ บ้างอาจไม่ชอบ แต่เมื่อได้มาแล้วก็ต้องทำให้อยู่รอดให้ได้ แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? เพราะการรับธุรกิจต่อมาจากรุ่นที่ 1 มีทั้งส่วนที่ทำไว้ดีมากและส่วนที่ยังต้องแก้ไข คุณชินภัทร วิสุทธิแพทย์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจครอบครัว ได้แนะวิธีการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้ไปต่อได้อย่างไม่สะดุด ในงานสัมมนา “เคล็ดลับบริหารธุรกิจครอบครัวมืออาชีพ” ดังนี้ 1. ปรับโมเดลธุรกิจ : ต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ว่า โมเดลธุรกิจของเราเป็นอย่างไร? เราที่มารับช่วงต่อ นิยามธุรกิจไว้อยู่ในตลาดไหน? คู่แข่งของเราคือใครบ้าง? ลูกค้าคือกลุ่มไหน? สินค้าของเราคืออะไร? 2. โครงสร้างการ ถือหุ้น ต้องชัดเจน : ปรับโครงสร้างการถือหุ้นของเรา จากที่เคยถือมั่วๆ ลอยๆ หรือถือแทนกัน ให้แบ่งเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่า ใครถือหุ้นอยู่บ้าง? แต่ละคนถือกันคนละเท่าไหร่
ถอดสูตรสำเร็จ ยายทำให้หลานขาย ร้านขนมไทยสุดฮิต ทำอย่างไร ถึงครองใจลูกค้า “ยายทำให้หลานขาย” คือร้านขนมไทยแผงเล็กๆ แต่ขายดีมาก แถมเป็นที่รู้จักในซอยอารีย์ เสิร์ฟขนมไทยมากกว่า 20 ชนิดต่อวัน จากสูตรเด็ดของคุณยายผู้ขายขนมไทยมานานกว่า 50 ปี กระทั่งได้หลาน คุณนัท-พัชริดา มะลา วัย 28 ปี มาช่วยต่อยอด หากขายหมดแผงจะสร้างรายได้ วันละ 20,000-30,000 บาท โดยประมาณ อะไรคือสูตรสำเร็จ ของ “ยายทำให้หลานขาย” เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ไขคำตอบให้แล้ว 1. เมนูหลากหลาย ราคาสบายกระเป๋า แม้จะเป็นร้านขนมแผงเล็กๆ แต่ ยายทำให้หลานขาย มีขนมไทยให้เลือกชิมมากกว่า 40 เมนู หมุนเวียนหน้าร้านวันละ 20 กว่าเมนู ไม่มีเบื่อ โดยขนมทั้งหมด ปรุงจากสูตรเด็ดของคุณยายผู้ทำขนมขายมากว่า 50 ปี ปรุงสดใหม่ทุกวันจากบางบัวทอง ก่อนนำมาเสิร์ฟหน้าร้าน โดยขนมที่ต้องมีติดหน้าร้านเป็นประจำทุกวัน คือ ขนมใส่ไส้ ข้าวต้มมัด ขนมกล้วย ขนมโค ขนมต้ม เปียกปูน เป็นต้น ขายราคาสบายกระเป๋า เริ่มต้น 25-35 บาท 3 กล่อง 100 บาท ตอบโจทย์ลูกค้าที่อยากทานหลายอย่าง 2. แบ่งวันขาย พบปะลูกค้าหลายๆ กลุ่ม ยายทำให้หลานขาย ไม่ได้เปิดแผงประจำอยู่แห่งเด
มุมสะท้อนธุรกิจครอบครัว! ถอดบทเรียนจาก แบรนด์ดังระดับโลก วางแผนและกำหนดกติกาให้ชัดเจน เพื่อบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนสายเกินแก้ ในช่วงที่ผ่านมาคอหนังหลายคนคงได้ชมภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับตระกูลแฟชั่นแบรนด์ดังจากอิตาลี ที่นำเสนอเรื่องราวช่วงระหว่างการส่งต่อธุรกิจจากทายาทรุ่นที่ 2 ไปยังทายาทรุ่นที่ 3 ท่ามกลางความรุ่งเรืองของธุรกิจ ไปพร้อมๆ กับปมของความขัดแย้งอันนำไปสู่ความแตกแยกและการฆาตกรรม ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า ดูหนังดูละครแล้วให้ย้อนมาดูตัว จากพื้นฐานของครอบครัวอิตาเลียนกับครอบครัวไทยที่ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกัน ทำให้การจัดการธุรกิจครอบครัวมีข้อดีและข้อด้อยใกล้เคียงกัน ปมความขัดแย้งธุรกิจครอบครัวในเรื่องนี้จึงเป็นภาพสะท้อนปัญหาธุรกิจครอบครัวไทยได้เป็นอย่างดีเช่นกัน ตำนานของแบรนด์มีจุดเริ่มต้นจากร้านเครื่องหนังและโรงงานเล็กๆ แต่ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในเรื่องการออกแบบและการตัดเย็บ ธุรกิจก็เติบโตขึ้นจนสามารถขยายกิจการไปยังเมืองหลวงได้ในระยะเวลาไม่นาน หลังจากนั้น ครอบครัวได้มีการแบ่งหุ้นให้กับลูกชายทั้ง 3 คน ซึ่งธุรกิจก็ยังเติบโตไปได้ด้วยดี จนได้เปิด Flagship Store ครั้ง