มิจฉาชีพ
เตือนผู้สมัครสอบ ธ.ก.ส. ระวัง!! มิจฉาชีพแอบอ้างหลอกเงินแลกเข้าทำงาน ธ.ก.ส. แจ้งเตือนผู้สมัครสอบเพื่อเป็นพนักงาน ปี 2566 ทุกท่าน อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้มีอำนาจหรือมีความสามารถฝากเข้าทำงาน ธ.ก.ส. ได้ และมีการเรียกรับผลประโยชน์ตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อม ธ.ก.ส. ยืนยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และพร้อมดําเนินการเอาผิดตามขั้นตอนทางกฎหมายกับผู้ที่หลอกลวงต่อไป นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการและโฆษกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากการที่ ธ.ก.ส. ได้มีการเปิดรับสมัครบุคคลภายนอก เพื่อเป็นพนักงานปฏิบัติงานประจำสาขาและสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดทั่วประเทศ ปีบัญชี 2566 และมีผู้สนใจเข้าสมัครเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาพบว่า มีผู้แอบอ้างว่า สามารถให้ความช่วยเหลือให้สามารถเข้าทำงานกับ ธ.ก.ส. ได้ และมีการเรียกรับผลประโยชน์ตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการติวและการขายข้อสอบ ทำให้มีผู้สมัครบางคนหลงเชื่อและสูญเสียเงินให้แก่บุคคลดังกล่าว จึงขอเรียนว่า ในการสอบคัดเลือกดังกล่าว ธ.ก.ส. ไม่มีวิธีการอื่นใด นอกเหนือจากการใช้ความรู้ ความสามารถของผู้สมัครในการสอบตามเกณฑ์ที่ประกาศเท่านั้น
How To เช็ก! 6 จุดสังเกต ความน่าเชื่อถือ ร้านค้าออนไลน์ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ปัจจุบันคนนิยมซื้อสินค้าออนไลน์กันเป็นอย่างมาก ด้วยความสะดวก ราคาถูก และความรวดเร็วในการจัดส่ง จึงได้ใจผู้บริโภคไปเต็มๆ แต่บางครั้งก็อาจถูกหลอกจากการซื้อสินค้าออนไลน์ได้ เพราะ มิจฉาชีพมักจะใช้อุบายในลักษณะ การทำราคาสินค้าให้ถูก โปรโมชันดี ดึงดูดคนให้ตกเป็นเหยื่อ เว็บไซต์ กองบังคับการปราบปราม มีวิธีการสังเกตร้านค้าได้ง่ายๆ เพื่อไม่ให้ถูกหลอกเวลาซื้อของออนไลน์ ดังนี้ 1. มีการลงทะเบียนธุรกิจออนไลน์ ดูจากเครื่องหมายการลงทะเบียน DBD กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2. มีการตอบรับที่ดี สังเกตจากกระทู้ เว็บไซต์ หรือโซเชียลในการรีวิวไปในทางบวก 3. เปิดเว็บไซต์อย่างน้อย 1 ปี เช็กอายุเว็บไซต์ได้ที่ https://who.is// ลิงก์ร้านค้า 4. บอกรายละเอียดของสินค้าครบถ้วน สังเกตความกระตือรือร้นของผู้ขาย ในการให้รายละเอียดของสินค้าครบถ้วน 5. มีเงื่อนไขประกันสินค้า มีการระบุบริการหลังการขายอย่างชัดเจน 6. ขายสินค้าถูกกฎหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสินค้าเลียนแบบ เพราะหากโดนโกง ไม่สามารถหาตัวผู้ผิดได้
เตือนภัย แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แนวใหม่ อ้างบริษัทลูก TikTok หลอกยิงแอด เมื่อเร็วๆ นี้ คุณส้ม-ภรณี วัฒนโชติ ผู้สมัคร ส.ส. พรรครวมไทยสร้างชาติ เขตห้วยขวาง-วังทองหลาง โพสต์เตือนภัยประชาชน โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ระบุว่า วันก่อนหลังลงพื้นที่ กำลังพักทานข้าว จู่ๆ ก็ได้รับโทรศัพท์ซึ่งเป็นเบอร์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย จึงรีบรับสายเพราะเกรงว่าจะเป็นประชาชนในพื้นที่ต้องการแจ้งเหตุต่างๆ กระทั่งได้ยินเสียงทางปลายสายแจ้งว่า เป็นบริษัทลูกของ TikTok จะมาช่วยทำการตลาดยิงแอดให้ จึงลองพูดคุยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมว่า เป็นบริษัทลูกของ TikTok ที่จดทะเบียนบริษัทชื่ออะไร หรือเป็น Ad agency บริษัทช่วยทำการตลาดที่ได้เป็นพาร์ตเนอร์กับ TikTok ในการยิงแอดหรืออย่างไร ซึ่ง ปลายสายไม่ตอบ พอรุกหนัก เขาตอบกลับมาว่า “ขอไป แ…ก ข้าวก่อนนะคะ” ก่อนจะกระแทกสายวางหูไป ทำให้ทราบว่าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์รูปแบบใหม่ “ขอฝากความห่วงใยมายังประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนห้วยขวาง-วังทองหลาง ที่ประกอบอาชีพขายสินค้าออนไลน์เป็นจำนวนมาก ให้ระวังอาชญากรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลรูปแบบใหม่นี้ด้วย เกรงจะทำให้กำลังใจของพ
หมดปัญหา มิจฉาชีพกวนใจ เปิดวิธีบล็อกข้อความสแปมใน 4 ขั้นตอน ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาข้อความสแปมที่มีเนื้อหาล่อลวงให้คลิกลิงก์มีอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ ทั้งข้อความชวนให้สมัครสินเชื่อวงเงินสูง ชวนลุ้นรับรางวัล ชวนเล่นเกมออนไลน์ และพนันออนไลน์ หากบางคนรู้ไม่เท่าทัน หรือเผลอกดลิงก์ข้อความดังกล่าว อาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลไปถึงมิจฉาชีพ หรือบางครั้งอาจถึงขั้นสูญเสียทรัพย์สิน วันนี้จึงขอแนะนำวิธีป้องกันข้อความสแปมที่เป็นอันตรายด้วยการตั้งค่าบล็อกข้อความสแปม สำหรับระบบปฏิบัติการทั้ง iOS และ Android ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ วิธีบล็อกข้อความสแปมสำหรับระบบปฏิบัติการ Android 1. เข้าไปที่แอปพลิเคชันข้อความ (Messages) เลือกที่ไอคอน 3 จุด แล้วเลือกเมนูตั้งค่า (Setting) 2. เลือกบล็อกเบอร์ และสแปม (Block Numbers and Spam) 3. เลือก ID ผู้โทร และการป้องกันสแปม (Caller ID and Spam Protection) 4. เลือกเปิดแถบสีเขียวด้านบน และเลื่อนลงมาเพื่อเปิดแถบสีเขียวหรือกดให้ความยินยอมในการบล็อกการโทร และข้อความสแปมและจากมิจฉาชีพ (Block All Spam and Spam Calls) นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกบล็อกเฉพาะเบอร์ได
เปิดกลโกง พี่มิจ(ฉาชีพ) แฝงตัวเป็น แอดมินปลอม แนะ 6 วิธี รับมือให้อยู่หมัด เหล่ามิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ นับวันนั้นยิ่งแพร่ระบาดไปทั่วทุกแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าคนอยู่ที่ไหน พี่มิจ(ฉาชีพ) ก็ตามไปที่นั่น พร้อมพัฒนารูปแบบกลโกงให้ตามกันแทบไม่ทัน ซึ่งบางทีก็แฝงตัวอยู่ในกลุ่มได้อย่างแนบเนียน ชนิดที่ถ้าหากไม่สังเกตดีๆ หรือเอะใจสักนิด ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อไปแบบไม่รู้ตัว เช่นเดียวกันกับ LINE OPENCHAT คอมมูนิตี้ออนไลน์ที่รวมเหล่าผู้ที่ชื่นชอบและมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ที่เหล่ามิจฉาชีพกำลังแฝงตัวมาในรูปแบบ “แอดมินปลอม” เป็นรูปแบบกลโกงที่มาในหลากหลายสถานการณ์และกำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยทำให้สมาชิกในกลุ่มเข้าใจผิดคิดว่าเป็น “แอดมินตัวจริง” และหลงเชื่อทำตาม เปิดสถานการณ์ “แอดมินปลอม” ชวนย้ายกลุ่มโอเพนแชตใหม่ ด้วยสารพัดเหตุผล ที่มักจะตามด้วยลิงก์ให้กดติดตาม ได้แก่ ชวนย้ายกลุ่มโอเพนแชตใหม่ อ้างโทรศัพท์มีปัญหา ชวนย้ายกลุ่มโอเพนแชตใหม่ อ้างกลุ่มเต็ม ชวนย้ายกลุ่มโอเพนแชตใหม่ อ้างเจ้าตัวเข้าบัญชี LINE เดิมไม่ได้ ชวนย้ายกลุ่มโอเพนแชตใหม่ อ้างกลุ่มเดิมโดนสแปมก่อกวน ชวนย้ายกลุ่มโอเพนแชตใหม่ พร้อมของรางวัลหล
เราหยุดแล้ว แต่มิจฉาชีพไม่เคยหยุด! รวมเบอร์โทรด่วน ศูนย์รับแจ้งเหตุ ภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ โทรได้ 24 ชั่วโมง เฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยข่าว รวมเบอร์ ศูนย์รับแจ้งเหตุ ภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ ของธนาคาร รวม 8 แห่ง เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยสามารถโทรแจ้งเหตุ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนี้ 1. ธนาคารกสิกรไทย 0-2888-8888 กด 001 2. ธนาคารกรุงไทย 0-2111-1111 กด 108 3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1572 กด 5 4. ธนาคารกรุงเทพ 1333 หรือ 0-2645-5555 กด *3 5. ธนาคารไทยพาณิชย์ 0-2777-7575 6. ธนาคารทหารไทยธนชาต 1428 กด 03 7. ธนาคารออมสิน 1115 กด 6 8. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย 0-2626-7777 กด 00
เปิด 4 อาชีพ เจ้าหน้าที่ ที่ มิจฉาชีพ ชอบแอบอ้าง รู้ทันเอาไว้ ไม่โดนหลอก! ปัญหาการถูกหลอกจาก มิจฉาชีพ ได้สร้างความเสียหายปีหนึ่งๆ คิดเป็นมูลค่าแล้วมหาศาล แน่นอนว่า ทุกคนย่อมมีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ทั้งสิ้น แม้เราจะรู้ทัน แต่มิจฉาชีพก็มักมีมุกใหม่ๆ มาใช้เสมอ โดยเฉพาะเหล่าผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ที่อาจตกใจได้ หากมี เจ้าหน้าที่ โทรเข้ามาบอกว่า ธุรกิจของเรามีปัญหา เว็บไซต์ กสิกรไทย ได้เผย 4 เจ้าหน้าที่ ที่มิจฉาชีพมักแอบอ้างเข้ามาหลอกลวง เหล่าผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ดังนี้ เจ้าหน้าที่สรรพากร ทำการค้าย่อมมาพร้อมกับภาษี มิจฉาชีพจึงแฝงตัวมาในคราบเจ้าหน้าที่สรรพากร เพื่อเรียกเก็บเงินภาษีจากร้านค้า โดยการโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ พร้อมกับแจ้งว่าสามารถผ่อนจ่ายภาษีได้ แล้วจัดการช่วยทำรายการให้ทุกอย่าง แต่ท้ายที่สุดเงินไม่ได้ถูกนำเข้าในระบบของกรมสรรพากร เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ถูกมิจฉาชีพนำไปแอบอ้าง โดยจะโทรศัพท์หาผู้เสียหายและบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สังกัด ส่วนคดีฟอกเงินทางอาญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ จากนั้นจะแจ้งเลขประจำตัวป
รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพ บนแอพ LINE พร้อมวิธีรับมือง่ายๆ ที่ป้องกันได้จริง นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปราม และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็กก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง 1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์ ขู่ระงับบัญชี LINE บริษัทฯ จะไม่มีการติดต่อผู้ใช้งานผ่านช่องทางโทรศัพท์ หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ไปพูดคุยถึงปัญหาการใช้งานต่างๆ อย่างแน่นอน โดยปกติจะติดต่อผ่านแบบฟอร์มสอบถาม contact-cc.line.me และอีเมลที่ให้กรอกในฟอร์มเท่านั้น และทาง LINE จะไม่ขอรหัสผ่านหรือข้อม
ลงทุนออนไลน์ อีกหนึ่งกลโกงมิจฉาชีพที่โดนกันบ่อย สังเกตอย่างไรไม่ให้ถูกหลอก มิจฉาชีพ ไม่ได้มีแค่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เท่านั้น แต่มิจฉาชีพยังแฝงอยู่ในทุกวงการ ไม่เว้นแวดวงการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้น ลงทุนคริปโทฯ และลงทุนธุรกิจต่างๆ ที่มักจะมีข้อเสนอชักชวนให้อยากร่วมลงทุน เพื่อความรวยเร็วแบบพลิกฝ่ามือ เฟซบุ๊ก PCT Police ได้แชร์วิธีสังเกตและวิธีป้องกันตัวเอง จากการตกเป็นเหยื่อหลอกลงทุนออนไลน์ ดังนี้ ข้อควรสังเกตการหลอกลวงลงทุน ผลตอบแทนที่สูง ล่อตาล่อใจโดยจะการันตีผลตอบแทนด้วย เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน ดึงดูดใจด้วยสินทรัพย์ใหม่ๆ วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพหลอกลงทุน ศึกษาอย่างลึกซึ้งก่อนลงทุน ไม่ใช่ศึกษาแบบผิวเผิน และต้องดูว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร ไม่ลงทุนจากคำชวนของคนใน Social Media โดยไม่ตรวจสอบชื่อหรือหน่วยงาน ซึ่งอาจมีการแอบอ้าง ไม่ฝาก หรือโอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนตัวโดยเฉพาะคนที่มาชวนลงทุนหรืออ้างเป็นตัวแทนบริษัท ต้องโอนเงินเข้าบัญชีชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคาร รักษาความเป็นส่วนตัว และตั้งค่าความปลอดภัยบน Social Media สังเกตสัญญาณเตือนภัยกลโกง
ออมสิน เตือนอีกครั้ง อย่าหลงเชื่อ SMS เพจ เว็บไซต์ปลอม ชวนกู้เงิน!! วันที่ 4 ส.ค. 2565 รายงานข่าวจาก ธนาคารออมสิน แจ้งว่า ตามที่ได้มีกลุ่มมิจฉาชีพ นำชื่อ, โลโก้ ตลอดทั้งสินเชื่อของธนาคารออมสินไปแอบอ้างส่งข้อความสั้น (SMS) หรือตั้งชื่อเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ เชิญชวนให้กู้เงินพร้อมแนบลิงก์แอพพลิเคชั่นไลน์ให้กดรับสิทธิ โดยใช้ข้อความเชิญชวนลักษณะกระตุ้นให้เกิดความสนใจ อาทิ คุณได้รับสิทธิยื่นขอสินเชื่อ GSB ออมสิน 60,000 คลิก, เปิดลงทะเบียนแล้ว, ลงทะเบียนด่วน, ลงทะเบียนที่นี่ เป็นต้น และพยายามเปลี่ยนรูปแบบข้อความเชิญชวนให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งสื่อเหล่านั้นไม่ใช่สื่อของธนาคารออมสิน ธนาคารไม่มีนโยบายในการให้กู้เงินผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ และธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งธนาคารได้มีการแจ้งเตือนประชาชนมาอย่างต่อเนื่องนั้น ขณะนี้ได้มีข้อความสั้น (SMS) เพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคารออมสินเพิ่มจำนวนมากขึ้น ธนาคารจึงขอแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอีกครั้ง ขออย่าได้หลงเชื่อ ไม่แอดไลน์สมัครใช้บริการ ไม่กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและไม่แชร์ SMS เพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต