มิจฉาชีพ
นักช้อปออนไลน์รู้ไว้! How To สังเกต ร้านค้า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เช็กเบื้องต้น ได้ 6 วิธีนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมา ข่าวมิจฉาชีพ มีให้เห็นและเตือนภัยกันให้ถี่ โดยจะชอบแฝงตัวมาในช่องทางหลากหลาย ซึ่ง ร้านค้าออนไลน์ ที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับผู้คน ณ ขณะนี้ ก็เป็นอีกช่องทางยอดฮิตที่แม้จะระวังยังไง ก็ยังโดนโกงอยู่ดี ดังนั้น เป็นเรื่องที่ขาช้อปทั้งหลาย ต้องป้องกันและรู้จักวิธีสังเกตร้านก่อนช้อปปิ้งออนไลน์ โดย เฟซบุ๊ก PCT Police ได้เผยแพร่ วิธีสังเกตเบื้องต้นว่า ร้านค้าออนไลน์ ที่เรากำลังจะสั่งซื้อของอยู่นี้ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ดังนี้ มีเพจ หรือหน้าร้านชัดเจน ตรวจสอบได้-ร้านค้าที่ได้มาตรฐาน ขายสินค้าที่มีคุณภาพ มักมีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าอยู่เป็นประจำ และมีจำนวนผู้ติดตามเพจค่อนข้างมาก มีช่องทางการชำระเงินหลากหลาย-ให้ลูกค้าได้เลือกวิธีชำระเงินตามที่ลูกค้าสะดวก เช่น โอนเงินเข้าบัญชี ให้ชำระเงินปลายทาง และการจ่ายผ่านบัตรเครดิต มีเจ้าหน้าที่คอยตอบข้อซักถาม-ควรมีเจ้าหน้าที่แอดมินของทางร้านเข้ามาดูแลให้คำตอบโดยเร็ว โดยสามารถให้ข้อมูลอย่างละเอียดกับลูกค้าได้ สินค้ามีราคาสมเหตุสมผล-ข
หยิบมือถือขึ้นมาเช็กด่วน! ใครมี 13 แอพนี้ ลบทิ้งทันที ถ้าไม่อยาก โดนดูดเงิน-สอดแนม เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 65 เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand หรือ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้โพสต์อ้างอิงจาก Realnewsthailand เรื่อง การแจ้งเตือนประชาชน เกี่ยวกับ 13 แอพพลิเคชั่นอันตราย ที่อาจทำให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพไซเบอร์ โดยระบุ 13 แอพ อันตราย “ดูดเงิน อ่านข้อความ สอดแนม” ลบทิ้งด่วน มีรายงานจาก Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยด้านไอที ว่า พบแอพพลิเคชั่น Joker หรือแอพที่มีโฮสต์มัลแวร์อันตราย ที่สามารถขโมยเงินสดของผู้ใช้ อ่านข้อความ และสอดแนมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องได้ โดยมีทั้งสิ้น 13 แอพ และแนะนำให้ผู้ใช้ลบทิ้งทันที 1. Battery Charging Animations Battery Wallpaper 2. Classic Emoji Keyboard 3. Battery Charging Animations Bubble -Effects 4. Easy PDF Scanner 5. Dazzling Keyboard 6. Halloween Coloring 7. EmojiOne Keyboard 8. Smart TV Remote 9. Flashlight Flash Alert On Call 10. Volume Booster Hearing Aid 11. Now QRcode Scan 12. Volume Booster Louder S
เตือนภัยไซเบอร์! 4 กลโกงเหล่ามิจฉาชีพ เกี่ยวกับ บัตรเครดิต – รหัส OTP ปัจจุบัน ภัยคุกคามในภาคการเงิน เหล่ามิจฉาชีพเปลี่ยนบทสร้างสถานการณ์หลอกลวงให้เราตกเป็นเหยื่อมากมาย และถ้าหลวมตัวตกหลุมพรางของมิจฉาชีพ ความสูญเสียอาจไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เงินในบัญชีของเหยื่อ แต่อาจถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้สร้างบัญชีแฝง ซึ่งจะทำให้เหยื่อตกเป็นแพะรับบาปที่ยากต่อการจำกัดขอบเขตความเสียหายได้ เคทีซี ได้เผยกลโกงเกี่ยวกับบัตรเครดิต-รหัส OTP ที่เหล่ามิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ ไว้ดังนี้ 1. กรณีที่ผู้ทุจริต หรือ มิจฉาชีพ มีข้อมูลบัตรเครดิตของเหยื่อ : มักจะมาหลอกขอรหัส OTP เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ และอ้างการคืนเงินประกัน เป็นต้น 2. กรณีที่ผู้ทุจริต หรือ มิจฉาชีพ ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิต แต่ใช้วิธีการ สุ่มโทรเข้ามา : โดยมักหลอกว่า ตรวจพบสิ่งของต้องสงสัย และโอนสายหลอกๆ เพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ / DSI / ปปง. ปลอมๆ ให้เหยื่อโอนเงินในบัญชี ไปตรวจสอบ เป็นต้น 3. กรณีที่ผู้ทุจริต หรือ มิจฉาชีพ ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิต แต่ใช้วิธีการ แฝงตัวเข้ามาเป็นผู้ช่วยเหลือ : เช่น การหลอกจะคืนเงินหลังโอนเงินชำระค่าสินค้า แต่เหยื่อไม่ได้
โอนเงินคืน มุกใหม่มิจฉาชีพ มาริสา แม่ค้าคนดัง ครวญ #โกงเด็กไม่ดีนะคะ ข่าวมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน ทุกวันนี้มีสารพัดรูปแบบ หากจับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน อาจต้องเสียหายกันไปชนิดน่าเจ็บใจ ล่าสุด น้องริสา-มาริสา เวชสุภาพร แม่ค้าเด็กคนดัง เจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ขนมสไตล์ คีโต แบรนด์ Risa Vejsupaporn-Masterchef Junior โพสต์เรื่องราวที่ไม่น่าเกิดกับเด็กๆ อย่างเธอ ตอนหนึ่งว่า อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : เด็กหญิงเงินล้าน ประธานบริษัท อายุ 14 มี ขนมคีโต เป็นอาวุธหารายได้ “วันนี้หนูโดนโกงค่ะ มาสั่งของแล้วให้หนูโอนเงินคืน เพราะโอนเกิน คุณแม่ก็รีบโอนให้ เพราะเห็นบอกว่าต้องรีบใช้เงิน สุดท้าย วันนี้ก็มาแบบเดิมอีกว่า จะสั่งเพิ่มไปขาย แต่โอนเงินเกินมา พอเช็กเงินในบัญชีไม่มีเงินโอนมาตั้งแต่เมื่อวานแล้วค่ะ” “ที่ผ่านมา หนูไม่เคยคิดว่าจะเจอเองค่ะ เพราะตลอดมาลูกค้าหนูน่ารักทุกคนค่ะ หนูรู้ว่าพี่ไม่ใช่ลูกค้าหนูแน่นอน โกงเด็กก็ได้เหรอคะ ระวังกันด้วยนะคะ อย่าให้ใครเจอแบบหนูนะคะ ระวังกันด้วยนะคะ #โกงเด็กไม่ดีนะคะ” หลังจากโพสต์ดังกล่าว มีคนเข้ามาให้กำลังใจแม่ค้าตัวน้อยกันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ได้มีชาวเน็ตจำนวนห
สายฟรี ต้องระวัง! WIFI FREE ในที่สาธารณะ อีกหนึ่งกลโกง มิจฉาชีพ ยุคไซเบอร์ ในยุคที่อินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำธุรกรรมทางการเงิน ที่แม้จะง่าย สะดวก รวดเร็ว แต่ก็เป็นช่องทางหวานหอม ที่เหล่า แฮกเกอร์ หรือ มิจฉาชีพไซเบอร์ เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์กันมากมาย โดยในตอนหนึ่งของ งานเสวนา KTC FIT Talks 7 รับมือความเสี่ยงและภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ที่จัดโดย เคทีซี ได้พูดเกี่ยวกับ อันตรายของการใช้ Public WIFI หรือ WIFI ฟรี สาธารณะ ที่อาจกลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพยุคไซเบอร์ (Public WIFI Thief) รู้ทัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์! เปิด 9 ลักษณะ ต้มตุ๋น ที่ มิจฉาชีพ มักโทรมาหลอก! โดยส่วนใหญ่ Public WIFI หรือ WIFI ฟรี ในที่สาธารณะ (ที่ไม่ใช่ WIFI ของผู้ให้บริการค่ายมือถือและอินเทอร์เน็ต) มักจะมีการเปิดให้เข้าใช้ได้ฟรี ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องอันตรายสำหรับผู้ใช้มือถือเป็นอย่างมาก เพราะ แฮกเกอร์ หรือ คนร้าย จะเลือกใช้วิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อที่มาใช้ WIFI ฟรี ไม่ว่าจะเป็น User ID (ยูสเซอร์ ไอดี), ประวัติการใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึง ข้อมูลการใช้เลขบัตรเครดิต โดยวิธีการ
ปิดแล้ว เปิดแล้ว จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส ท้อใจมิจ เดินหน้าต่อ เพื่อน้องพี่สีชมพู ช่วงหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา เกิดเรื่องฮือฮาไม่น้อยในแวดวงตลาดออนไลน์ เมื่อ จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส ประกาศขอยุติกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ สืบเนื่องมาจาก มีมิจฉาชีพ เข้ากลุ่มมา และก่อความเสียหาย ให้กับสมาชิกหลายคน ”เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราดำเนินการ Approve Post ด้วย ระบบ Manual ก็คือช่วยกันอ่านช่วยกันดู กด Approve ตามช่วงเวลาที่ว่าง แต่สิ่งที่พบเจอหลังๆ คือ การถูกต่อว่าอย่างหนัก จนไม่อยากแม้แต่จะเปิดเข้าไปอ่านในทางช่องทางข้อความส่วนตัว ไม่ว่าจะด้วยเรื่องใดก็ตาม เช่นการ Approve Post ช้า การที่เราอาจจะไม่ได้ตรวจสอบ หรือ ดูประวัติสมาชิก ให้ดีจนเกิดมิจฉาชีพเข้ามาในพื้นที่กลุ่ม” แอดมินเพจ จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส ระบุอย่างนั้น ก่อนบอกด้วยว่า ขออภัยที่ต้องตัดสินใจแบบนี้ ไว้เจอกันใหม่เมื่อพร้อม แต่คล้อยหลังไม่กี่วัน แอดมิน คงมีกำลังใจมากขึ้น จึงออกประกาศการกลับมาดำเนินการต่อของกลุ่มจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส อีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ มีการวางกฎ-กติกา-มารยาท ไว้แบบละเอียดยิบ อาทิ งดแสดงความคิดเห็นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง แสดงความคิดเห
รู้เท่าทัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์! เปิด 9 ลักษณะ ต้มตุ๋น ที่ มิจฉาชีพ มักโทรมาหลอก! ปัจจุบัน ธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์ มีแนวโน้มเติบโตรวดเร็ว โดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าและบริการบนอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมสูงต่อเนื่อง มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม 9.79% ต่อปี ในช่วงปี 2560-2564 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ทำให้เกิดเป็นช่องทางที่ มิจฉาชีพ เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ได้เช่นกัน โดย เคทีซี ได้กล่าวในตอนหนึ่งของงานเสวนา KTC FIT Talks 7 รับมือความเสี่ยงและภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับ 9 ลักษณะการหลอกลวง ที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ ได้แก่ 1. คนใกล้ตัว สามารถเข้าถึงข้อมูลบัตรเครดิต หรือ มือถือ ของเจ้าของบัตร และเป็นผู้ทำรายการ (เช่น มีการผูกเลขบัตรเครดิตเข้ากับอุปกรณ์มือถือส่วนตัว และ อุปกรณ์มือถือพ่วงที่อาจเป็นของบุตรหลาน ซึ่งอาจกดเข้าแอพพลิเคชั่นที่มีการเสียเงิน เช่น เกม เป็นต้น) 2. ข้อมูลหน้าและหลังบัตรเครดิต ถูกจดไปโดยเจ้าหน้าที่แคชเชียร์ และมีการนำไปทำธุรกรรมผ่านอีคอมเมิร์ซ 3. ผู้เสียหายหรือเหยี่อ ได้รับอีเมล (E-Mail Phishing) หลอกให้ทำการอัพเดตข้อมูลบัตรเครดิต และนำข้อมูลที่ได้ไปทำรายก
โปรดระวังมิจฉาชีพ แอบอ้างชื่อ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด หลอกให้ร่วมลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด แจ้งเตือนภัย กรณีขณะนี้ได้มีมิจฉาชีพกลุ่มหนึ่งแอบอ้างชื่อ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย และผ่านไลน์ ชื่อ บริษัทหุ้นหลักทรัพย์ เพื่อหลอกลวงชักชวน ให้ประชาชนและนักลงทุนหลงเชื่อเข้าร่วมลงทุน โดยให้ข้อมูลว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ บริษัทฯ ขอเรียนแจ้งว่าบริษัทฯ ไม่มีส่วนรู้เห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด และบริษัทฯ ไม่มีนโยบายเชิญชวน ให้ประชาชนเข้าร่วมการลงทุนใดๆ ในลักษณะดังกล่าวด้วยเช่นกัน การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำให้ประชาชน นักลงทุน และชื่อเสียงบริษัทฯ เสียหาย เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา ผู้กระทำความผิดจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง และขณะนี้บริษัทฯ กำลังดำเนินการทางกฎหมายกับผู้แอบอ้างชื่อบริษัทฯ ไปหลอกลวงประชาชน จึงขอประกาศให้ลูกค้า นักลงทุน ได้รับทราบข้อเท็จจริงนี้ และอย่าได้หลงเชื่อพวกมิจฉาชีพเหล่านี้เป็นอันขาด “หากผู้ลงทุนหลงเชื่อการหลอกลวงดังกล่าวและโอนเงินไปแล้วขอให้รีบแจ้งธนาค
รู้ทันเหลี่ยมโจร! 4 กลโกง มิจฉาชีพ ใช้แอบอ้าง หลอกให้จ่ายภาษีศุลกากร ช่วงนี้มิจฉาชีพ หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ระบาดหนัก หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ต้องรู้ทันกลโกงให้ได้ โดยกรมศุลกากร ได้ออกเตือน พร้อมแจ้ง 4 กลโกงที่มิจฉาชีพ ใช้แอบอ้างหลอกประชาชน ไว้ดังนี้ 1. กรณี ส่งอีเมล เพื่อให้ชำระภาษีศุลกากร มิจฉาชีพจะส่งอีเมลมาให้ผู้รับบริการ โดยอ้างว่า ส่งมาจากบริษัทขนส่งสินค้า แต่ไม่สามารถจัดส่งพัสดุได้ เนื่องจากยังไม่ได้จ่ายภาษีศุลกากร พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้ผู้รับบริการกรอกข้อมูลบัตรเครดิต ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายภาษีศุลกากร สำหรับสินค้าที่ส่งผ่านบริษัทขนส่งต่างๆ จะต้องมีเอกสารที่ออกโดยกรมศุลกากรแนบมาด้วย หากการเรียกเก็บค่าภาษีศุลกากรครั้งใด ไม่มีหลักฐานดังกล่าว ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากบริษัทฯ ให้แน่ใจก่อนการชำระเงิน 2. กรณีเพื่อนต่างชาติที่รู้จักผ่านทางออนไลน์ อ้างว่าส่งของมีค่ามาให้แต่ติดปัญหาศุลกากร โดยแอบอ้างว่าได้ส่งของขวัญหรือของมีค่าต่างๆ มาให้ผู้เสียหาย และให้รอรับการติดต่อจากบริษัทขนส่งสินค้า จากนั้นก็จะได้รับการติดต่อจากบริษัทขนส่งสินค้าทางอีเมลและโทรศัพท์ โดยให้โอนเงินจำนวนมากไปยังบริษ
ระวังให้ดี! มุกใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นตำรวจ หลอกเอาเงินประชาชน ในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรรมในรูปแบบของ มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้การแอบอ้างเป็นไปรษณีย์, DHL, ปปง. หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย โดยอ้างว่าบัญชีธนาคารของเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ต้องโอนเงินมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เพื่อแลกกับการช่วยเหลือต่างๆ ล่าสุด พบว่ามิจฉาชีพได้เปลี่ยนวิธีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยโทรศัพท์หลอกว่ามีการค้างชำระค่าปรับจราจร หากไม่ชำระตอนนี้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโอนเงินให้ชำระค่าปรับจราจรเด็ดขาด และสามารถตรวจสอบด้วยตนเองว่ามีใบสั่งจราจรที่ค้างชำระค่าปรับหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ “ใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน” https://ptm.police.go.th/ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วนจราจร 1197 ที่มา เพจ ไทยคู่ฟ้า