ยางพารา
พินิจ นำทีมชุมนุมสหกรณ์สวนยางบึงกาฬชี้แจงสื่อ ถึงปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา มูลค่ากว่า 193 ล้านบาท ว่าเกิดจากความบกพร่องของระบบราชการ ไม่ใช่ประเด็นปัญหาทุจริต วันที่ 11 ก.ย. 2563 นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ นำทีมคณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ประกอบด้วย นายแน่น จำปาศรี ประธานชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด นายเกษตร สิทธิไกรพงษ์ ที่ปรึกษา และนายชูศักดิ์ สุทธิศรี ผู้จัดการโรงงานแปรรูปหมอนและที่นอนยางพารา รวมทั้งนายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ.บึงกาฬ) ตั้งโต๊ะแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ของจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ร่วมกันให้ข้อมูลว่า ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด ถูกจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพทุกมิติ ที่ผ่านมา เกษตรกรขายยางก้อนถ้วยในราคาต่ำ เพราะไม่มีการวัดค่าเปอร์เซ็
รมว.เกษตรฯ รับเรื่องยกเลิกพาราควอต ขอทบทวนมติ – พร้อมสนับสนุนใหม่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับเรื่องและจะจัดทำหนังสือยกเลิกการแบนพาราควอตถึงคณะกรรมการวัตถุอันตราย (คกก.วอ.) จากเกษตรกรกลุ่มพืชเศรษฐกิจเกือบร้อยราย โดยเร็วที่สุด นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และนายกสมาคมเกษตรปลอดภัย กล่าวถึงผลกระทบหลังจากการแบนพาราควอตว่า ปัจจุบัน ส่งผลให้เกษตรกรต้นทุนสูงขึ้น หนี้สินเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร บางส่วนเลิกทำเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมเกษตรประสบปัญหา อาจเกิดการเลิกจ้างงาน สินค้าผิดกฎหมายลักลอบผสมสารเคมีอ้างเป็นสารชีวภัณฑ์เพิ่มขึ้น เพราะขาดการตรวจสอบ ควบคุมสารชีวภัณฑ์ รวมทั้ง เกษตรกรได้นำแนวทางที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำแล้ว ได้แก่ สารทางเลือก ไกลโฟเซต และกลูโฟซิเนต พบว่า วัชพืชไม่ตาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชปลูก ผลผลิตเสียหาย รวมทั้งนักวิชาการแสดงความเห็นต่อสารทางเลือกต่างๆ พบว่า ไม่สามารถทดแทนพาราควอตได้ทั้งในแง่ของประเสิทธิภาพและราคา นอกจากนี้ สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย (สอนท.) ได้สำรวจและวิเคราะห์สารต
นวัตกรรม “หน้ากากผ้าปลอดเชื้อฟิลเตอร์ยางพารา” ได้รับการรับรองจากเนลสัน แล็บ ว่ากันไวรัสได้มากกว่า 95% ทุกชิ้นงานเย็บด้วยฝีมือชาวบ้านจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีที่โควิด-19 แพร่ระบาด ส่งผลให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนทั่วโลก และกลายเป็นสินค้าหายากขาดตลาดในชั่วข้ามคืน หน้ากากผ้าจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ให้เราเลือกสวมใส่ถึงปัจจุบัน และดูแล้วเราจะต้องสวมใส่หน้ากากกันไปอีกนานตามแบบวิถีชีวิต New Normal “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ขอเสนอทางเลือกใหม่ให้กับคนไทย “หน้ากากผ้าปลอดเชื้อฟิลเตอร์ยางพารา“ นวัตกรรมของคนไทยที่สามารถป้องกันไวรัสได้มากถึง 95% ซึ่งได้รับการรับรองจากเนลสัน แล็บ โดยนวัตกรรมชิ้นนี้มีที่มาจาก คุณเล็ก-ปณิตา ดีเหลือ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอ แอม เวิร์ค จำกัด บริษัทอีเว้นต์ออร์แกไนเซอร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่สามารถจัดงานใดๆ ได้ เพราะอีเว้นต์คืองานรวมพล เธอจึงต้องคิดวิธีการให้บริษัทและลูกน้องอีกหลายชีวิตอยู่รอด จากประสบการณ์ทำอีเว้นต์ทำให้คุณเล็กได้รู้จักผู้คนมากหน้าหลายตาที่เกี่ยวข้องกับยางพารา หนึ่งในนั้น
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ปล่อยสินเชื่อปลอดดอกฝากหมอนยางพารา ช่วยเหลือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วิสาหกิจชุมชนที่ผลิตหมอนยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ภาคการผลิต การตลาด และการส่งออกหยุดชะงักไป รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตหมอนยางพารา ซึ่งได้รับผลกระทบเนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นลูกค้ารายสำคัญชะลอการท่องเที่ยวในประเทศไทย และการสั่งซื้อหมอนยางพารา จึงจัดทำโครงการพัฒนาความร่วมมือการผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมยางพารา (สินเชื่อฝากหมอนยางพารา) ให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตหมอนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ขยายกำลังการผลิต และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการใช้ยางภายในประเทศ โดยการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมถึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายยางให้มากขึ้น ซึ่ง กยท. จะปล่อยสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย ให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางหรือวิสาหกิจชุมชน ที่ได้รับการอนุมัติวงเงินตามปริมาณสต๊อกหมอนยางที่มี โดยใช้เกณฑ์คุณภาพหมอนยางพา
รัฐออกมาตรการ แก้ไขปัญหารายได้เกษตรกร คาด ปีหน้าปีทอง มันสำปะหลัง-ยางพารา เมื่อวันที่ 28 กันยายน คุณรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแก้ปัญหารายได้เกษตรกรของรัฐบาลว่าที่ผ่านมาได้มีการออกมาตรการมาดูแลอย่างต่อเนื่อง ดังเห็นได้จากการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและปาล์มที่ได้รับการอนุมัติจากครม.ไปแล้ว ยังจะมีการพิจารณามาตรการประกันรายได้ชาวสวนยางเป็นลำดับต่อไป และเมื่ออังคารที่ผ่านมา ครม.ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรเสนอใน 2 เรื่องคือ 1. การแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการบรรเทาภาระหนี้เกษตรกรทั้งระบบ การปรับแก้จะเป็นการให้อำนาจกองทุนฟื้นฟูฯ สามารถรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ด้วย จากเดิมที่ให้เฉพาะที่มีทรัพย์สินค้ำประกัน 2. การขยายระยะเวลาแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร และโครงการแผนฟื้นการเกษตรออกไปอีก 5 ปี ซึ่งจะเป็นการต่อลมหายใจให้แก่เกษตรกร 3.4 หมื่นราย มากไปกว่านั้นครม.ยังได้เห็นชอบให้กระทรวงการคลังเบิกงบกลาง ปี 2562 จำนวน 10,000 ล้านบาทให้กับธน
ชาวสวนยางเฮ! รมว.เกษตรฯ เคาะประกันราคาโลละ 60 จ่อของบ ครม.ช่วย เมื่อวันที่ 9 ส.ค. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการมอบนโยบายการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ว่า สัปดาห์จะหารือกับภาคเอกชน ผู้ส่งออก ผู้ใช้และแปรรูปยาง รวมถึง 5 เสือยาง เพื่อขอความร่วมมือ ร่วมกันแก้ไขปัญหา รวมไปถึง มาตรการประกันรายได้เกษตรกร รวมทั้งกำหนดราคาชดเชยยางพาราให้เกษตรกรชาวสวนที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม และจะสรุปราคาและเงื่อนไขการชดเชยราคาให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อของบประมาณ ในวันที่ 27 ส.ค.นี้ “ได้สั่งการให้กยท.ประสานความเข้าใจระหว่างเกษตรกร เอกชน ซึ่งต้องยอมรับว่าราคายางตอนนี้อิงตลาดโลก แต่ราคาต่ำ 3 กิโลกรัม 100 บาทนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีปัจจัยที่ไม่ปกติบ้างคงไม่สามารถพูดได้ สำหรับการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำต้องดำเนินการให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม โดยไม่ต้องใช้เงินรัฐบาลอุดหนุนภายในปีนี้” นายเฉลิมชัย กล่าวว่า สำหรับการประชุม 3 ฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และตัวแทนชาวสวน ที่จะมีขึ้นอีกประมาณ 2 สัปดาห์ จะเร่งให้เกิดขึ้นเพื
เกษตรกรกลุ่มอ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ร้อง รมต.เกษตร เร่งช่วยเหลือ เกษตรกรกลุ่มอ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ประสบปัญหาหนัก ราคาตกต่ำต่อเนื่อง ภัยแล้ง ต้นทุนการผลิตพุ่ง แถมซ้ำเติมด้วยมาตรการจำกัดการใช้ 3 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช วอนขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หันมาช่วยเหลือเกษตรกร นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยว่า ปัญหาของราคายางตกต่ำเกิดขึ้นจากตลาดการซื้อขายยางล่วงหน้าจากประเทศจีน เกิดการบิดเบือนในราคาต้นทุนที่แท้จริง จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ไขปัญหาในระยะยาวมากกว่าการจัดการในระยะสั้น ด้วยนโยบายประชานิยม อาทิ การประกันราคายาง แต่อยากให้สานต่อแนวคิดของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการส่งเสริมให้แต่ละกระทรวงนำ ยางพารา ไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ รวมทั้งนำ พระราชบัญญัติควบคุมยางและพระราชบัญญัติของกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2542 เข้ามาบังคับใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกร และควบคุมการส่งออกได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ภาครัฐ ควรเปลี่ยนแนวคิดใหม่ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง
รัฐบาล แก้ปัญหา ‘ราคายางตกต่ำ’ แล้ว! ใช้ “ยางสด” ผสมทำถนน ทั่วประเทศ เมื่อวันที่13 ก.ค. พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ได้หารือกับกรรมการสมาคมผู้ค้ายาง และ ตัวแทน 5 บริษัทผู้ส่งออกยางพารา ถึงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่าการซื้อขายล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศมีผลกดดันให้ราคายางในประเทศตกลงมา ประกอบกับมีพ่อค้าต่างชาติเข้าปั่นราคายางในตลาดล่วงหน้าด้วย จึงทำให้ราคาผันผวน ทั้งนี้ รัฐบาลยืนยันประกาศว่าจะเดินหน้านโยบายการนำน้ำยางสดไปผสมทำถนนพาราซอยซีเมนต์ทั่วประเทศ โดยจะให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เข้าประมูลซื้อน้ำยางสดแทนการประมูลซื้อยางแผ่นเหมือนที่ผ่านมา และทางสมาคมผู้ค้ายางจะรับน้ำยางสดดังกล่าว ไปปั่นผสมสารเคมีเก็บไว้ โดยไม่คิดค่าบริการ เพื่อส่งต่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมาซื้อไปทำถนนต่อไป โดยจะเริ่มซื้อในจันทร์ที่ 15 ก.ค.นี้ เป็นต้นไป
‘ไทย-มาเลย์-อินโด’ ถกดันราคายางเกิน 50 บาท/ก.ก. เล็งชะลอส่งออก ตั้งสภาการยางอาเซียน-ตลาดกลางซื้อขายยาง และตลาดล่วงหน้าหวังดันราคายางพาราเพิ่มทั้งยวง ไทยถก ‘มาเลย์-อินโด’ ดันราคายาง – นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) สมัยพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเทศสมาชิก คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ว่า ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมจาก 3 ประเทศ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการหามาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ในวันที่ 4 มี.ค. 2562 โดยที่ประชุมสรุปข้อเสนอของทั้ง 3 ฝ่ายออกเป็น 5 เรื่องดังนี้คือ 1. มาตรการจำกัดปริมาณการส่งออกยาง จะพิจารณาร่วมกัน ซึ่งมีปริมาณระหว่าง 200,000-300,000 ตัน 2. มาตรการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศของทั้ง 3 ประเทศ 3. มาตรการลดพื้นที่การปลูกยางพาราเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนพร้อมๆ กัน ทั้ง 3 ประเทศ เพื่อบริหารจัดการผลผลิตใน (Supply Management Scheme : SMS) 4. การจัดตั้งตลาดกลางเพื่อซื้อขายยางพาราในตลาดซื้อขายจริง และตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยเป็นตลาดที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างภูมิภาค (Regional Rubber Market : RRM) เพื่อใช้เป็นตลาดกลางซื้อ
กยท.จับมืออาลีบาบา ซื้อขาย-ยางออนไลน์ดันราคา มั่นใจไทยได้ลูกค้าจีน-ทั่วโลก นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางกยท.อยู่ระหว่างหารือกับกลุ่มบริษัท อาลีบาบา ผู้ประกอบการตลาดสินค้าออนไลน์รายใหญ่ของจีน เกี่ยวกับการจัดทำแพลตฟอร์มซื้อขายยางทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยหารือแล้ว 2 ครั้ง โดยทางอาลีบาบา รับหน้าที่ออกแบบแพลตฟอร์มการซื้อขายยางในระบบออนไลน์ให้กับไทยเพื่อไว้ใช้ซื้อขายร่วมกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าไม่เกิน 1-2 เดือนจากนี้ แพลตฟอร์มขายยางร่วมกันน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น นายเยี่ยม กล่าวว่า เบื้องต้น กยท.กำหนดประเภทยางที่จะส่งขายไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์กับอาลีบาบา ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 1. น้ำยางข้น 2. ยางแท่ง (เอสทีอาร์20) และ 3. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (อาร์เอส3) โดยยางเหล่านี้จะมาจากสถาบันเกษตร หรือ สหกรณ์ที่สามารถผลิตยางและแปรรูปยางพาราได้ นอกจากนี้ การซื้อ-ขายยางออนไลน์ จะส่งผลทำให้ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้นเพราะราคายางจะถูกกำหนดโดยผู้ขายโดยตรง “ปัจจุบัน ราคายางพาราอยู่ในเกณฑ์ดี และเชื่อมั่นว่าราคายางพาราจะเพิ่มขึ้นถึงไตรมาสที่ 2 (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม