ยางพารา
อดีตข้าราชการตำรวจวัยเกษียณ เกิดที่นครศรีธรรมราช ผันตัวมาสวมบทบาทเกษตรกร และใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภอเมืองจังหวัดระนอง ด้วยการปลูกปาล์ม ปลูกยางพารา ปลูกผักสวนครัว และบรรดาผลไม้สารพัด บนที่ดิน 170 ไร่ แถมลดต้นทุนด้วยการทำปุ๋ยใช้เอง จนเได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2555 ปัจจุบันเก็บผลผลิตขาย มีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสน ด.ต.สมนึก โมราศิลป์ บ้านเลขที่ 1/9 บ้านห้วยปลิง หมู่ที่ 7 ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง เผยว่า ในอดีตเคยรับราชการตำรวจ และเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด เมื่อปี 2543 โดยส่วนตัวเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ชอบเรื่องเกษตร จึงไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ช่วงแรกปลูกพืชระยะสั้นบนพื้นที่ 2 ไร่ อาทิ พริก แตงกวา มะเขือ ใบโหระพา กล้วย ขิง ข่า ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราว 100 ไร่ รวมเบ็ดเสร็จ ปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 2,200 ต้น ปาล์มน้ำมันของ ด.ต. สมนึก ถูกบำรุงดูแลรักษาเป็นอย่างดี ให้ผลผลิตเดือนละ 2 ครั้ง แถมยังได้มาตรฐาน GAP ก่อเกิดรายได้ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างคุ้มค่า และด้วยความต้องการอยากทำเกษตรผสมผสาน เกษตรกรคนเก่ง เลยปลูกยางพารา ผลไม้ ผักสวนครัว อย่างอื่นร
สมอ. หนุนผู้ประกอบการ SMEs “หมอนและที่นอนยางพารา” ขอ มอก. ดึงแล็ป 5 แห่งรองรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลังลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์จนสามารถขอ มอก. ได้ สนองนโยบายรัฐบาลแก้ปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน เตรียมลงใต้ 24 พ.ค. นี้ที่จังหวัดสงขลา พัฒนาผู้ประกอบการยางผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เร่งนำยางธรรมชาติมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น นายพิสิฐ รังสฤษฏ์วุฒิกุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยภายหลังนำสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราธรรมชาติ จังหวัดปทุมธานี ของบริษัท เนเชอรัล เลเท็กซ์ แมทเทรส อินดัสตรี (ไทยแลนด์) จำกัดว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่องตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งมาตรการด้านการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน มาตรการด้านภาษีและมาตรการด้านการเพิ่มขีดความสามารถให้ SMEs เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การตลาด และโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อสร้างคว
ปีนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมยางพารา ในงาน “วันยางพาราบึงกาฬ 2560” อย่างยิ่งใหญ่ โครงการนวัตกรรมยางพารา มจพ. ตอบโจทย์ 2 ข้อ แนวทางแรก โชว์ผลงานนวัตกรรมใหม่ ได้แก่ ถนนยางพาราดินซีเมนต์ ผิวถนนกันลื่น บล็อกปูถนนจากยางพารา อิฐมวลเบาจากยางพารา แนวทางที่ 2 โชว์นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาภาคเกษตร เช่น นวัตกรรมสารกำจัดกลิ่นโรงงานยางพารา สารใส่น้ำยางพารา IR เร่งการตกตะกอนเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ นวัตกรรมยางพาราดังกล่าว เป็นผลงานวิจัยของ ผศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุและกระบวนการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและกระบวนการ บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) และรองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรม สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี การจัดนิทรรศการในครั้งนี้ ผศ.ดร. ระพีพันธ์ ได้นำเสนอการใช้สูตรส่วนผสมน้ำยางพาราดัดแปลงสำหรับทำถนนยางพาราดินซีเมนต์ โดยพัฒนาน้ำยางให้สามารถยึดเกาะซีเมนต์และวัสดุอื่นๆ เพิ่มความทนทานต่อแรงด
วันที่ 23 มกราคม 2560 เกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดบึงกาฬต้องจำใจกรีดยางพาราทั้งที่ใบของต้นยางร่วงหล่นใกล้จะหมดต้นแล้ว เพราะราคายางพาราในช่วงนี้กำลังดี ถึงแม้จะเสี่ยงต่อการทำให้ต้นยางพาราเกิดอาการเปลือกแห้ง หรือกรีดแล้วไม่มีน้ำยางในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า แลกกับราคายางที่สูงขึ้นเพราะหวั่นจะเสียโอกาส ครั้นจะหยุดกรีดก็มีภาระที่จะต้องใช้จ่าย ช่วงปลายเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี จะเป็นช่วงต้นยางพาราผลัดใบ (หรือชาวสวนยางเรียกว่าช่วงปิดหน้ายาง) ประกอบกับสภาพอากาศที่ฝนทิ้งช่วง ฝนไม่ตกลงมายาวนานหลายเดือน ทำให้พื้นดินแห้งแล้งขาดน้ำได้ส่งผลกระทบต่อต้นยางที่เคยมีลำต้นสมบูรณ์เมื่อขาดน้ำนานเข้า ใบก็เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงและร่วงหล่นลงดิน น้ำยางที่เคยได้ 100% ก็ลดลงมาเหลือประมาณ 50-70 % ทำให้เกษตรกรเสียโอกาสในการสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว แต่ก็ต้องฝืนกรีดยางเพราะราคายางพาราที่สูงขึ้นทุกวัน ขณะที่ราคายางพาราล่าสุดที่ตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ราคายางแผ่นดิบ 1-3% อยู่ที่กิโลกรัมละ 82.98 บาท ยางแผ่นดิบ 3-5% กิโลกรัมละ 82.78 บาท ยางแผ่นดิบ 5-7% กิโลกรัมละ 81.85 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 กิโลกรัมล
หลังจบปริญญาตรีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กิตินัน นุ้ยเด็น เด็กหนุ่มจากตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เลือกใช้ชีวิตเป็นเกษตรกร โดยทำการเกษตรแบบเต็มรูปแบบ ร่วม 3 ปี บนไร่ อ.การเกษตร (สามพี่น้อง) ใช้ความรู้จากการศึกษาค้นหาและลงมือทำ ก่อนตัดสินใจพลิกสวนยางพาราอายุเกิน 25 ปี เป็นสวนมะละกอ สวนกล้วยหอมและกล้วยไข่ มีผลผลิตออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้งดงาม เฉลี่ยเดือนละ 30,000-50,000 บาท เป็นสินค้าเกษตรที่ตลาดต้องการ ทั้งในประเทศและเพื่อนบ้าน อาทิ เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ด้วยการบริหารจัดการในระดับแนวหน้าของจังหวัด จนประสบความสำเร็จเป็นเกษตรกรตัวอย่าง เป็นเกษตรยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรคนรุ่นใหม่ ตามโครงการของกระทรวงเกษตร “กิตินัน” เล่าว่า เนื่องจากสวนยางพารามีอายุมาก ต้นแก่มากแล้ว ประกอบกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งแล้วหันมาปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ พันธุ์แขกดำ 400 ต้น และปลูกกล้วยหอม กล้วยไข่ 2,000 ต้น ตั้งเป้าหมายว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ที่เหลือเป็นยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน ป
“ปัญหายางพาราราคาตกต่ำ” ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ ภาครัฐและเกษตรกรพยายามที่หาทางรอด ด้วยการเปลี่ยนพืชหลักใหม่ๆ เช่น ปาล์ม ทุเรียน หรือพืชชนิดอื่นๆ หรือเปลี่ยนอาชีพไปเลย หรือพยายามต่อสู้ต่อด้วยการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพาราด้วยการนำไปทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ถ้าโปรเจ็กต์ยักษ์น่าจะเป็นการทำถนนที่ภาคใต้ ที่เห็นค่อนข้างเกร่อเต็มตลาดคือ ทำหมอนยางพารา ด้วยตลาดมีความต้องการทั้งในและต่างประเทศ จึงมีการผลิตตามๆ กัน แข่งขันกันด้วยราคา ไม่คำนึงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐาน การผลิตที่ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับและพยายามมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายผู้ผลิตที่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เริ่มต้นพึ่งตนเอง ไม่กู้ธนาคาร เน้นกระจายรายได้ชุมชน มีรายได้ปันผลทันที คุณเกรียงไกร เทพินทร์อารักษ์ ประธานสหกรณ์ยางพาราเนินดินแดงตราด จำกัด เล่าว่า เดิมสหกรณ์ของกลุ่มยางพาราเนินดินแดง ตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 ช่วยเหลือเกษตรกรผลิตยางรมควันขาย แต่เห็นว่ายังเป็นการแก้ปัญหาที่กลางน้ำ เพราะไม่สามารถกำหนดราคาได้ จากข้อมูลการผลิตยางพาราวัตถุดิบส่งต่างประเทศ 90% และนำมาแปรรูปในประเทศเพียง 10% เป็นการเสียโอกาสอย่างยิ่ง ดังนั้น ในเดือนตุลาคม 2
คุณธนายุทธ ทองจินดาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.พี. สยามลาเท็กซ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท พี.พี. สยามลาเท็กซ์ฯ เป็นผู้นำธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยจำหน่ายสินค้าที่นอนและหมอนเพื่อสุขภาพที่ทำจากยางพารา 100% โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยภายหลังจากการรุกธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ยางพาราจนเป็นที่ยอมรับ จึงเกิดแนวความคิดในการส่งเสริมธุรกิจสินค้ายางพาราเพื่อให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ประกอบกับในปัจจุบัน การทำธุรกิจ ไม่ใช่หมายถึง การขายอย่างเดียว แต่ต้องเน้นการให้ความรู้และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ซื้อ จึงเป็นที่มาของการสร้าง Rubber Land (รับเบอร์ แลนด์)บนพื้นที่กว่า 4,400 ตารางเมตร ด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท เพื่อจะเป็นอุทยานการเรียนรู้เรื่องยางพาราและแหล่งท่องเที่ยวสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ สำหรับการเปิดตัว RubberLand ครั้งนี้ ถือเป็นการฉีกแนวกลยุทธ์การตลาดที่จะยกระดับแบรนด์และสร้างความเหนือกว่าทางธุรกิจด้วยการมอบประสบการณ์และสร้างสรรค์เนื้อหา เพื่อชูจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครด้วยกลยุทธ์ Attraction Marketing คุณธนายุทธ เผยต่อว่า การขายสินค้าหรือการให้บริการแบบทั่วๆ