ยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ตระหนักถึงความสำคัญในการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตยาง และผลักดันให้มีการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยจัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้การแปรรูปยางให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบกิจการยาง สามารถสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตของตนเองได้ โชว์ขั้นตอนการทำบ่อน้ำเคลือบยางพารา ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้กำหนดหลักสูตรการอบรมความรู้แปรรูปยางประเภทต่างๆ เช่น การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม เทคโนโลยียางแห้งเบื้องต้น การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยวิธีจุ่ม การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยการตีฟองเพื่อผลิตของชำร่วย การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยการตีฟอง การแปรรูปยางรัดของจากยางแห้ง การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางแห้งโดยการอัดเบ้าพิมพ์ การทำเบ้าปูนปลาสเตอร์และการทำตุ๊กตายาง หน้ากากยาง การผลิตหมอนยางพารา ฯลฯ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 02-940-7391 อีเมล [email protected] หรือ การยางแห่งประเทศไทย ทุก
กยท. จับมือ อาลีบาบา เปิดตลาดกลางยางพาราออนไลน์ ซื้อง่ายๆ แค่คลิก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเพิ่มช่องทางการซื้อขายยางพารารูปแบบใหม่ เน้นจุดเด่นที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อประมูลยางพาราได้โดยตรง กยท. จับมือ อาลีบาบา – นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท อาลีบาบา (ผู้ประกอบการเว็บไซต์ขายส่งสินค้ารายใหญ่ของโลก) ได้เข้าหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อหาแนวทางการจัดตั้งตลาดซื้อขายยางแบบส่งมอบจริงผ่านระบบออนไลน์ในประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการยางพาราของประเทศจีน ซึ่งเป็นโอกาสในการขยายช่องทางการตลาด เนื่องจากปัจจุบันตลาดซื้อขายยางในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบตลาดสัญญาซื้อขายยางพาราล่วงหน้า และระบบตลาดกลางยางพารา ดังนั้น การจัดตั้งระบบการซื้อขายยางพาราออนไลน์จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเพิ่มช่องทางการซื้อขายยางพารารูปแบบใหม่ เน้นจุดเด่นที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อประมูลยางพาราได้โดยตรง และนัดเวลาการส่งมอบสินค้าได้ตามความต้องการ โดย กยท. จะทำหน้าที
แก้ราคายางตกต่ำ!! ดึง18สหกรณ์สวนยาง รวบรวมเพื่อส่งออกแสนตัน นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวระหว่างการประชุมชี้แจงโครงการบริหารจัดการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของสถาบันเกษตรกร โดยมีตัวแทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมยางพาราและมีศักยภาพในการส่งออก 18 แห่ง จาก 12 จังหวัด เข้าร่วมประชุม ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า นโยบายการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมุ่งเน้นสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรเป็นกลไกในการขับเคลื่อน การแก้ไขยางพารา โดยคัดเลือกสหกรณ์ 18 แห่ง ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการรวบรวมและแปรรูปยางพารา ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายในการรวบรวมยางพาราจากสหกรณ์เครือข่ายอีก 154 แห่ง ปริมาณ 100,000 ตัน เพื่อดึงปริมาณยางพาราในประเทศส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางพาราให้กับเกษตรกร นายเชิดชัย กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถาบันเกษตรกร วงเงิน 5,000 ล้านบาท ผ่าน ธ.ก.ส.อัตราดอกเบี้ย 4% โดยสถาบันเกษตรกรจ่ายดอกเบี้ย 1% และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% ชำระคืนภายใน 1
ชาวสวนยางใต้สุดเซ็ง! รัฐยื้อเวลาแก้ปัญหาชี้4ปีไม่มีอะไรดีขึ้น เเนวทางใช้ยางในประเทศก็ไม่ขยับ นายนิวัฒน์ ท่องวิถี กรรมการสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยแห่งประเทศ ไทยและตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางพารา เปิดเผยว่า จากการที่ตัวแทนชาวสวนยาง จ.นครศรีธรรมราชและใกล้เคียง เข้าพบนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมาเหมือนเป็นการพบพูดคุยเฉยๆ ไม่มีความคืบหน้าอะไรแม้แต่น้อย ซึ่งรัฐมนตรีบอกให้ชาวสวนยางกลับมาทำรายละเอียดความเดือดร้อนแล้วนำกลับไปนำเสนออีกครั้ง ตรงนี้มองว่า เป็นการซื้อเวลาจากรัฐบาล เพราะที่ผ่านมาตลอด 4 ปี การเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. กลุ่มคนกรีดยางรายย่อยในนามสมาคมได้มีการเคลื่อนไหวเสนอปัญหาต่อรัฐบาลให้มีการแก้ไขและช่วยเหลือชาวสวนยางมาอย่างต่อเนื่อง นายนิวัฒน์ กล่าวว่า เราคาดหวังว่า คสช. จะสามารถช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับชาวสวนยางได้ แต่4 ปีที่ผ่านมากลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ และการเดินทางเข้าพบรัฐมนตรีที่ผ่านมา พวกเราไม่ได้มีความมั่นใจและรู้อยู่ว่ารัฐบาลไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ” เริ่มตั้งแต่พระราชบัญญัติการยาง ที่เคยเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายบางส่วน
รัฐบาลทุ่ม 2 หมื่นล้าน! อุ้มชาวสวนยาง จ่ายเงินอุดหนุน ชดเชยส่วนต่างให้ด้วย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ส่งออกยางพารา 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัทยางไทยปักษ์ใต้ และบริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด ว่า ได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางพารา เพื่อกำหนดมาตรการเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในวัน 20 พ.ย.นี้ นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า มาตรการจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.มาตรการเพื่อเสริมความเข้มแข็งชาวสวนยางและพัฒนาอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ทั้งเจ้าของสวนยาง และคนกรีดยาง 1.4 แสนครัวเรือน โดยจะเสนอ ครม.ขอใช้งบกลางที่เหลืออยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่ออุดหนุน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการอุดหนุนในปี 60 ที่กำหนดไว้ 15 ไร่ ไร่ละ 1,500 บาท แนวทางนี้ได้ให้ กยท. พิจารณาในรายละเอียดว่าควรจะเพิ่มเป็นเงินให้มากขึ้นกว่าไร่ละ 1,500 บาท หรือเพิ่มจำนวนไร่ให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางให้ได้มากที่สุด 2.มาตรการนี
คำสั่งด่วน! สกัดม็อบยางพารา หลังเคลื่อนไหวใหญ่ ขอราคามากกว่า 3 โล 100! รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย. นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี รักษาราชการผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดถึงนายอำเภอทุกอำเภอ ใจความว่า ตามที่ปรากฎในข่าว เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากยางพาราตกต่ำ และ มีการรวมตัวกัน โดยนำรถยนต์ที่ใช้ประกอบอาชีพทำสวนยาง อาทิ รถบรรทุกขี้ยาง รถติดแท้งค์น้ำยาง รถบรรทุกไม้ยาง รถบรรทุกผลปาล์มน้ำมัน และรถสี่ล้ออื่นๆทุกชนิด ได้ขับเคลื่อนขึ้นถนนเอเชียพร้อมเพรียงกันเพื่อประจานความยากจนที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ และมีเป้าหมายถึง สหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำกัด โดยขบวนจะออกตั้งแต่วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน เวลา 12.00 น. จุดสตาร์ท 6 จุด ประกอบด้วย จากแยกควนหนองหงส์ แยกสวนผัก จากหน้าโลตัสทุ่งสง จากแยกหนองดี จากบริเวณยูเทิร์นหน้าตลาดถ้ำพรรณรา และจากแยกเวียงสระตรงข้ามโลตัส จากสถานการณ์ดังกล่าวขอให้นายอำเภอทุกอำเภอเร่งลงพื้นที่สร้างขวัญกำลังใจและสร้างความเข้าใจแก่พี่น้องเกษตรกรในแนวทางแก้ปัญหายางพาราของรัฐบาล รวมทั้งประสานแกนนำส่งตัวแทน
เกษตรกรชาว ต.อ่าวตง อ.วังวิเศษ จ.ตรัง โค่นต้นยางที่เกิดปัญหาราคาตกต่ำ มาทำสวนของพ่อ โดยเฉพาะการปลูกกาแฟ พร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้แบบครบวงจรได้ทั้งวันทั้งคืน ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า นายสุวัฒ นุชม่วง อายุ 53 ปี เกษตรกรหมู่ที่ 1 บ้านหนองชุมแสง ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง และครอบครัว ได้โค่นต้นยางพาราที่ปลูกรอบบ้านเลขที่ 235 ราวๆ 5 ไร่ เพราะราคาตกต่ำ เพื่อปรับเปลี่ยนมาเป็นสวนสมรม (สวนผสมผสาน) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยใช้ชื่อว่า “สวนของพ่อ” ซึ่งประกอบไปด้วยพืชผักผลไม้นานาชนิด อาทิ ทุเรียน ลองกอง ขนุน ฝรั่ง ไผ่ รวมทั้งพืชผักผลไม้พื้นบ้านที่บางชนิดพบเห็นได้ยากแล้ว ตลอดจนถึงการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู แพะ เป็ด ผึ้ง ปลา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นจะดูโดดเด่นมากที่สุดในสวนแห่งนี้ก็คือ กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้นับตั้งแต่การเก็บเมล็ดกาแฟ ตากแดด คั่ว ตำ กะเทาะเปลือก รวมทั้งชง และดริป หรือจิบกาแฟสดๆ ซึ่งจะให้ความหอมหวนและความอร่อยแบบธรรมชาติ ควบคู่กับการนั่งฟังเพลงโฟล์คซองท่ามกลางสวนไผ่ที่ร่มรื่น สร้างทั้งรอยยิ
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 นายขุนไกร สุขสุมิตร นายอำเภอโพนสวรรค์ จ.นครพนม ระดมเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทหารจาก มทบ.210 นครพนม ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาพายุฝนหลงฤดู เนื่องจากเป็นพื้นที่อำเภอที่ได้รับผลกระทบหนักสุด มีบ้านเรือนได้รับผลกระทบรวม 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน มีบ้านเรือนได้รับความเสียหายรวม 320 หลังคาเรือน พังเสียหายหนักสุดรวม 20 หลังคาเรือน โรงเรียนอีก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการดูแล เร่งซ่อมแซมช่วยเหลือเบื้องต้น จากการตรวจสอบ นอกจากมีบ้านเรือนของเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ยังพบว่าพืชเศรษฐกิจสวนยางพาราของเกษตรกรได้รับความเสียหายอย่างหนัก เบื้องต้นจากการสำรวจ พบว่ามีสวนยางได้รับผลกระทบจากพายุฝนหลงฤดูกว่า 300 ไร่ มีต้นยางหักโค่นเสียหายมากกว่า 5,000 ต้น เกษตรกรเดือดร้อนกว่า 150 ราย ส่วนใหญ่เป็นต้นยางที่มีอายุเกินกว่า 10 ปี และสามารถกรีดยางได้ทั้งหมด สร้างมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรสวนยางอย่างหนัก เนื่องจากต้องเจอวิกฤตราคายางตกต่ำ และยังมาเจอพายุฝนถล่มต้นยางเสียหายอีก ด้านนายชุมพล
พ่อค้าจีนบุกไทย ตั้งล้งรับซื้อยางเหนือจรดใต้ ส่งทีมเจรจาตรง สหกรณ์ ตัดพ่อค้าคนกลาง ชี้ปี61-62 จีนต้องการใช้ยาง 5 ล้านตัน ชสยท.-คยปท. หนุนสุดตัว เผยสถาบันเกษตรกรใต้ลงขันกับนักลงทุนจีนตั้งบริษัทร่วมทุน นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางกระบี่ และที่ปรึกษาสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ระบบการซื้อขายยางพาราภายในประเทศมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากพ่อค้า นักลงทุนจีนซึ่งช่วงแรกเข้ามาติดต่อซื้อขายยางจากเกษตรกรโดยตรง เฉพาะในภาคเหนือและอีสาน เริ่มเข้าไปเจรจาซื้อขายยางกับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้มากขึ้น แม้ไม่ถึงกับตั้งโต๊ะหรือมีโกดังซื้อขายมากเหมือนการซื้อขายผลไม้ในภาคตะวัน ออกและภาคเหนือ แต่ดำเนินการในลักษณะเป็นล้งจีนคล้าย ๆ กัน ล้งยางจีนบุกเหนือจดใต้ โดยพ่อค้าจีนเจรจาขอให้สถาบันเกษตรกรทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ขายยางให้โดยตรง จากนั้นจะรวบรวมส่งออกเอง อ้างว่าที่ผ่านมายางที่รับซื้อจากพ่อค้า ผู้ส่งออกไทยมักมีปัญหาเรื่องคุณภาพ และราคาซื้อขาย เบื้องต้นเน้นเฉพาะสหกรณ์ หรือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางขนาดใหญ่ก่อน กรณีดังกล่าวมองได้ 2 ด้าน ในทางบวกถือเป็นท
“นวัตกรรม-มีดกรีดยางนกเงือก” เกิดจากการคิดค้น ของ “คุณมะนายิ ราหู” ซึ่งเป็นลูกหลานชาวสวนยาง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ที่ประสบปัญหาต้นยางหมดหน้ากรีดเร็วเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพราะใช้มีดกรีดรุ่นเก่า (เจ๊ะบง) ที่ต้องลับมีดให้คมทุกวัน หากแรงงานกรีดยางไม่มีฝีมือ จะทำให้หน้ากรีดเป็นตะปุ่มตะป่ำ ต้นยางเสียหาย และอายุการให้ผลผลิตลดลง คุณมะนายิ ราหู เกิดแรงบันดาลใจที่จะคิดค้นมีดกรีดยางแบบใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ทุกปัญหาการกรีดยาง โดยเขาได้ไอเดียการออกแบบมีดจากกบไสไม้โบราณ ที่ตั้งความหนาบางของการไสได้ และมีดโกนหนวดที่คมกริบ โดยไม่ต้องลับใบมีด ใช้เวลาคิดค้นลองผิดลองถูก 7 ปี จนได้มีดนกเงือก ที่กรีดโดยการลาก ได้น้ำยางมาก มีคุณภาพมาตรฐานในการกรีด 10 คน กรีดทำได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งมีดรุ่นเก่าทำไม่ได้ เพราะใช้ทักษะมากเกินไป ทั้งเรื่องการลับมีด-การกรีด (กรีดแบบลากหรือกระตุก) คุณมะนายิ ได้รับเงินทุนสนับสนุนแปลง “สิ่งประดิษฐ์” เป็น “นวัตกรรม” จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช : NIA) เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เข้าสู่ระบบตลาดอุตสาหกรรม ผลิตมีดกรีดยางนกเงือก คุณภาพดี ราคาไม่แพง ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่