ออนไลน์
ออกจากมหา’ลัยพร้อมหนี้ พลิกชีวิตปลดหนี้ด้วยออนไลน์ ทำงาน 4 ชม. ต่อวัน แต่สร้างรายได้ 6 หลักต่อเดือน! จะพูดไป การสร้างรายได้แบบพาสซีฟเป็นเป้าหมายที่ใครหลายๆ คนต้องการ การสร้างรายได้แบบพาสซีฟ (Passive Income) คือ รายได้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะไม่ได้ลงแรงทำงานในปัจจุบันแล้วก็ตาม เป็นเหมือนกับการสร้างระบบหนึ่งขึ้นมาแล้วปล่อยให้ระบบนั้นทำงานสร้างรายได้ให้คุณเอง Amy Landino เป็นผู้หญิงที่มีหลายบทบาทในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนหนังสือ นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ผู้ประกอบการ และครีเอเตอร์ แต่กว่าจะมีหลายบทบาทในชีวิต เธอก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจและคิดว่าจะเป็นเรื่องราวที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านได้ เมื่อปี 2007 เธอตัดสินใจที่จะลาออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหนี้ที่กู้ยืมเพื่อใช้ในการศึกษาอยู่ราวๆ 1.7 ล้านบาท เธอต้องพยายามค้นหาเส้นทางที่จะเป็นทางรอดได้ และสามารถนำพาชีวิตของเธอไปได้ไกลกว่านี้ เธอคิดว่าการสร้างรายได้แบบพาสซีฟจะช่วยให้อยู่รอดได้ในสถานการณ์แบบนี้ แต่ไม่ได้หมายถึงว่า จะสามารถสร้างเม็ดเงินแล้วรวยได้ในพริบตา ดังนั้น เมื่อคิดว่าจะหารายได้แบบพาสซีฟแล้ว ก็กลับมาคิดอีกว่า เนื้
รายได้กว่า 700 ล้านบาทต่อปี! สองเพื่อนซี้ เห็นช่องว่างในตลาดสุขภาพ เริ่มต้นจากออนไลน์ ปัจจุบันสร้างยอดขายพุ่งกระฉูด จากเพื่อนร่วมงานกลายเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจเสริมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ จนกลายเป็นธุรกิจหลัก ที่ทำเงินได้กว่า 700 ล้านบาทต่อปี Achal Patel เล่าว่า ตอนแรกเขารู้จักกับ Russell Gong ตอนที่ทำงานอยู่ในบริษัทที่ปรึกษาขนาดใหญ่ จากนั้นก็สนิทกันเพราะมีความคิดเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างบริษัทที่มุ่งเน้นภารกิจ โดยผสมผสานความรู้ด้านสุขภาพและความยั่งยืน หลายปีต่อมา พวกเขาได้คิดไอเดียที่จะสร้างบริษัทด้านสุขภาพที่ยั่งยืนเป็นแห่งแรกของโลก ชื่อว่า “Cabinet Health” ในขณะที่พวกเขาทั้งคู่ต่างก็มีงานประจำที่ยุ่งมาก แต่ก็ยังใช้เวลาว่างช่วงกลางคืนและวันหยุดสุดสัปดาห์มาสร้าง Cabinet Health ขึ้น Russell Gong เล่าต่อว่า จุดเริ่มต้นของ Cabinet Health คือธุรกิจขนาดเล็กบนแพลตฟอร์ม Amazon ที่ประสบความสำเร็จในและเติบโต Achal Patel เป็นคนจุดประกายไอเดียนี้ตั้งแต่แรก โดยมองเห็นช่องว่างในตลาดด้านสุขภาพที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ ด้วยประสบการณ์ช่วงวัยเด็กที่เคยใช้เวลาวันหยุดในโรงงานผลิตยาของปู่ Ach
ตลาดรถมือสอง คึกคัก โควิด ต้องเว้นระยะห่าง หันใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น คุณอภิจิต ดาบาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คาร์สเทวนตี้โฟร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป โดยมีการแพร่กระจายของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวอย่างทันที ไม่พ้นแม้แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยตลาดรถยนต์มือสองในประเทศไทย มีขนาดใหญ่และเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีปริมาณการซื้อขายรถยนต์มือสองสูงกว่า 1 ล้านราย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการเกิดโรคระบาด ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปจากเดิม ผู้คนให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัย จึงเป็นผลให้คนหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการรถมือสองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่นำไปสู่การเลือกซื้ออย่างชาญฉลาด อย่างเช่น การเลือกซื้อรถมือสองจึงเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่มีคุณภาพ ในราคาคุ้มค่ามากที่สุด สำหรับภาพรวมของประเทศไทย คาดว่าตลาดรถยนต์มือสองจะเติบโตกว่า 3-5% ในปี 2565 โดยการซื้อรถมือสองออนไลน์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ง่า
Kaidee เผย นักช้อปไทย ซื้อสัตว์เลี้ยงผ่านตลาดออนไลน์มากขึ้น ขานรับเทรนด์ Pet Humanization ในวันที่มนุษย์ กลายเป็นทาสสัตว์เลี้ยง เมื่อสัตว์เลี้ยงไม่ได้เป็นแค่สัตว์เลี้ยง แต่กลายเป็นเสมือนหนึ่งสมาชิกคนสำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงที่หลายคนต้องกักตัวอยู่บ้าน จนต้องหันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงา จึงทำให้เทรนด์ Pet Humanization มาแรงแบบฉุดไม่อยู่ ส่งผลให้ตลาดสัตว์เลี้ยงไทยโตแรง คาดว่าจะมีมูลค่าแตะ 6 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2026 ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์คำค้นหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงบนแพลตฟอร์ม www.kaidee.com ตลาดซื้อขายของออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย ที่ได้รับความนิยมร้อนแรง โดยเฉลี่ยในทุกๆ หนึ่งนาที จะมีผู้ใช้งานพิมพ์คีย์เวิร์ดค้นหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และมียอดเพจวิวทั้งสิ้นกว่า 12 ล้านวิวในปี 2564 เรามาดูกันว่าสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมบนแพลตฟอร์ม Kaidee จะมีอะไรกันบ้าง แมว กลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมสูงสุดบนแพลตฟอร์ม เนื่องจากเทรนด์การเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ที่เน้นเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์เล็ก ดูแลง่าย เหมาะกับที่พักอาศัยแบบคอนโดฯ จึงทำให้นักช้อปออนไลน์เทใจหันมาเลี้ยงแมว โดยสายพันธุ
ค้าขายออนไลน์สมัยนี้ต้องรู้! ทำการตลาดอย่างไร ให้ได้ยอด แถมได้ลูกค้าประจำ เมื่อช่องทางออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลกับธุรกิจ แทบทุกธุรกิจทุกประเภททั่วโลก เป็นเหตุให้กลยุทธ์ทางการตลาดนั้นต้องปรับเปลี่ยนไป ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่ดีของธุรกิจคือการปรับให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลง เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ ได้เผยกฎเหล็กการตลาดที่ต้องทำ ถ้าหวังจะประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์ ดังนี้ 1. รับฟังคอมเมนต์ลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ ทำให้สามารถรู้ได้แล้วว่า ต้องทำคอนเทนต์สินค้าออกมาแบบไหนให้ลูกค้าชื่นชอบ 2. โฟกัสอยู่ที่โซเชียลมีเดียอันใดอันหนึ่ง และทำให้ออกมาดีที่สุด หากมัวแต่จะไปเจาะทุกช่องทางอาจทำให้เสียเวลาในการทำธุรกิจมากเกินไป ดังนั้น ควรใส่ใจแค่แพลตฟอร์มที่เหมาะกับธุรกิจของตนเองดีกว่า 3. คำนึงถึงคุณภาพสินค้า และคอนเทนต์ที่สื่อออกไป เพราะต่อให้คุณมีคอนเทนต์เป็นหมื่นๆ ก็ไม่สู้มีคอนเทนต์แค่หลักพัน แต่คนแชร์ คนอ่าน และคนพูดถึงคอนเทนต์นั้นเป็นแสนคน เพราะฉะนั้น คุณภาพจึงจำเป็นมากกว่าปริมาณนั่นเอง 4. คิดนอกกรอบ มองหาวิธีการทำตลาดที่แปลกใหม่ อาจเริ่มต้นเป็นพันธมิตรกับธุรกิจอื
โควิด ตัวเร่งตลาดอีคอมเมิร์ซ โตกระฉูด-แข่งขันเดือด พ่อค้าแม่ขาย ต้องรับมือยังไง? ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้ โควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งให้มูลค่าตลาด B2C e-Commerce ปี 2564 มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือมีการขยายตัวสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ปัญหาที่ตามมา คือ การแข่งขันที่มีความยากและรุนแรงขึ้นสำหรับพ่อค้าแม่ขาย นั่นเอง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว เพื่อสู้กับคู่แข่งขันให้ได้ โดยได้แนะนำ How To ปรับตัวรับการแข่งขันไว้ ดังนี้ 1. ทำการตลาดแบบ Omni-channel ต้องมีการวางแผนและปรับตัวในแต่ละช่องทางการขาย เชื่อมแพลตฟอร์มออนไลน์-ออฟไลน์ เข้าด้วยกัน เพื่อรับมือกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เปลี่ยนไป 2. สร้างฐานข้อมูลไว้ใช้วางแผนธุรกิจ ด้วยการลงทุนเรื่อง Big data เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งผลที่จะได้รับจากการลงทุนเรื่อง Big data นั้นจะทำให้เราเห็นภาพธุรกิจชัดเจนมากขึ้น 3. ขยายคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้น 4. รักษาความเชื่อม
SMEs รู้ไว้! 5 วิธี เก็บข้อมูลให้ปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อโจร บนโลกออนไลน์ ขณะที่ทั่วโลกกำลังสู้กับไวรัสโควิด-19 แต่ก็มีเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อย ที่กำลังต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะในปีนี้ มีการคาดการณ์ว่า เอสเอ็มอีจะตกเป็นเป้าหมายมากกว่าที่เคย บริษัทขนาดใหญ่ จึงได้ลงทุนจำนวนมากในการป้องกัน ต่างกับเอสเอ็มอีที่ส่วนใหญ่ มักขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่องค์กรขนาดใหญ่มี จึงอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ Adam Hunt หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ RiskIQ และ Phyllis Newhouse ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Xtreme Solutions บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้แนะนำเคล็ดลับดีๆ เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีนำไปปรับใช้มาฝาก ดังนี้ 1. อย่าประเมินมูลค่าธุรกิจของคุณต่ำเกินไป เอสเอ็มอีอาจเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจของตัวเองไม่ใหญ่พอที่ต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบเต็มรูปแบบ แต่การโจมตีทางไซเบอร์ไม่เพียงแต่จะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย แฮกเกอร์บางรายอาจขโมยข้อมูลประจำตัวของบริษัทหนึ่งเพื่อเข้าถึงบริษัทอื่น ทำ
รู้ไว้ใช่ว่า แบรนด์ OTOP ออนไลน์ สร้างได้ไม่ยาก ทำได้ภายใน 4 ขั้นตอน คำว่า OTOP หรือ โอท็อป เป็นชื่อที่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า One Tambol One Product หรือที่แปลว่า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่นของแต่ละหมู่บ้านหรือตำบลนั้นๆ ซึ่งเรามักจะเห็นสินค้าประเภทนี้มาออกบู๊ธขายตามงานมหกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก การจะมาเป็นแบรนด์โอท็อป ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียด รวมถึงการทำการตลาดต่างๆ เพื่อให้แบรนด์ไปต่อได้ และยิ่งการซื้อขายบนโลกออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปเอง ก็คงมองเห็นโอกาสในการขายเช่นกัน แต่จะทำให้แบรนด์โอท็อปแบบออฟไลน์ เข้าสู่ตลาดออนไลน์ นั้นทำอย่างไรล่ะ? หนังสือ SMEs : Speed Up To The New Game (สสว.) ได้เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับขั้นตอนในการสร้างแบรนด์โอท็อปออนไลน์ ไว้ด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้ การกำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์ : ผู้ประกอบการต้องระบุจุดขายที่แตกต่าง เช่น สินค้ามีการใช้วัสดุคุณภาพ สุดพิเศษจากยอดเขาหิมาลัย เป็นต้น นอกจากนั้น ควรระบุจุดเหมือนและจุดต่างจากแบรนด์คู่แข่งด้ว
DITP พลิกวิกฤต เพิ่มโอกาสติดปีกสินค้าไทยผ่านช่องทางออนไลน์ กับแพลตฟอร์มชั้นนำระดับโลก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ติดปีกสินค้าให้ผู้ประกอบการไทย สู้ภัยโควิด-19 ด้วยกิจกรรม Live Conference ที่ให้รายละเอียดเชิงลึกในการทำธุรกิจกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำทั่วโลก และกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจที่เพิ่มประสบการณ์และขยายขีดความสามารถของผู้ประกอบ การไทยสู่ตลาดออนไลน์ในต่างประเทศ ผ่านรายการ “จับคู่ธุรกิจ ติดปีกการค้าออนไลน์” ในโครงการ Cross-Border e-Commerce Solutions & Business Matching Online อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้เตรียมแนวทางช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยการตั้งรับ ปรับตัว หาโอกาส เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการไทยมีข้อจำกัดต่างๆ ในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ จึงทำให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ทำการรวบรวมปัญหาต่างๆ และวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้ปรับ และเตรียมตัวตั้งรับในการส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศในรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้
ตัดวงจรขายออนไลน์ก่อนสูญพันธุ์! “มาร์เก็ตเพลส” ดัง ระงับขาย “ลูกปลาทูไทย” ข่าวแจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานอนุรักษ์ทะเลในพื้นที่ ในนาม Reef Guardian (รีฟ การ์เดี้ยน) ได้ออกมาเรียกร้องผ่าน Change.org เว็บไซต์เพื่อการเปลี่ยนแปลง เรียกร้องให้ “มาร์เก็ตเพลส” ในรูปแบบเว็บไซต์ขายของออนไลน์ อย่าง Shopee (ช้อปปี้) และ Lazada (ลาซาด้า) ร่วมแสดงเจตนารมณ์ โดยออกนโยบายเพื่อควบคุม จัดการร้านค้า ไม่ให้มีการขายสินค้าสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังโตไม่เต็มที่ โดยเฉพาะ “ลูกปลาทูไทย” เพราะหากอยากฟื้นฟูทะเลไทย ต้องงดขายสัตว์น้ำวัยอ่อน ปิดช่องทางการจำหน่าย ปฏิรูปประมงของไทย เปลี่ยนผ่านไปสู่การทำประมงอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบ “ลูกปลาทู ขนาดเล็กเท่านิ้วมือ ถูกเปิดขายที่ราคาไม่กี่ร้อยบาท เหมือนสินค้าปกติธรรมดาในร้านค้าต่างๆ บนเว็บไซต์ขายของชื่อดังอย่าง Shopee และ Lazada ลูกปลาทูเหล่านั้น ไม่ทันจะได้โตเต็มวัย แต่ถูกจับขึ้นมาด้วยวิธีผิดๆ ตัดโอกาสให้พวกเขาเติบโตขยายแพร่พันธุ์ต่อได้อีกไม่รู้กี่หมื่นกี่พันตัว ถ้าเรายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป เชื่อเถอะครับว่าวันหนึ่งปลาทูจะหมดไปจากท้องทะเลไทย” นี่คือหนึ่ง