SMEs
จากแอร์โฮสเตสสาวที่ลาออกมาเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ด้วยเงินสนับสนุนจากทางบ้าน หวังเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่นานร้านก็ต้องปิดตัว เพราะไม่ทำกำไร เธอไม่ยอมแพ้ ลองทำเบเกอรี่ฝากขาย แต่ก็ล้มเหลวอีกครั้งในเวลาเพียง 1 เดือน จนวันหนึ่ง การเดินทางไปเที่ยวฮ่องกงทำให้เธอได้ลองชิม ‘พายหมูแดง’ นำมาสู่การคิดค้นสูตรพายที่ถูกปากคนไทย นี่คือเรื่องราวของ คุณอร–กนกกัญจน์ มธุรพร เจ้าของ April’s Bakery ที่สร้างยอดขายทะลุ 630 ล้านบาท! คุณอร มีพื้นเพเป็นชาวนครสวรรค์ จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ด้านบริหารธุรกิจ และเคยทำงานเป็นพนักงานต้อนรับของสายการบินต่างชาติอยู่ 2 ปีเศษ ก่อนตัดสินใจลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว โดยขอทุนทางบ้านมาเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ในคอมมูนิตี้แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่เปิดได้ไม่ถึงปีก็ต้องปิดตัว เพราะไม่ทำกำไร จากนั้นได้หันไปทำเบเกอรี่สไตล์อิตาเลียนฝากขายตามห้างสรรพสินค้า แต่ก็ ‘เจ๊ง’ ในเวลาเดือนเศษ เพราะไม่เคยศึกษาตลาด หรือพฤติกรรมของลูกค้ามาก่อน แต่คุณอรยังเหลือไว้ 1 สาขา พร้อมกับเปลี่ยนมาขายเค้ก คุกกี้ และมัฟฟินแทน แต่ยอดขายก็ยังไม่กระเตื้อง ขณะเดียวกันก็ยังคิดไม่ออก ว่าจะทำอะไรมาขา
“ความ ล้มเหลว กลัว คนจริง” ประโยคที่กล่าวมานั้น คือ มุมมองการต่อสู้กับอุปสรรคทางธุรกิจ ในแบบของ ตัวพ่อแห่งวงการแฟชั่น อย่าง คุณลิ้ม-สมชัย ส่งวัฒนา ผู้ก่อตั้ง ฟลายนาว (FLYNOW) เสื้อผ้าแบรนด์ดังในตำนาน ที่ปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาต่อเนื่องได้ราว 40 ปีแล้ว ว่ากันว่า การโบยบินของกิจการ ฟลายนาว นั้น ขยับปีกออกตัว ได้อย่างสวยสดงดงาม ชนิดประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและรายได้ตั้งแต่ปีแรกๆ ที่ออกสู่ตลาด เลยทีเดียว แต่แล้วช่วงปี พ.ศ. 2540 ต้องเผชิญกับ วิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งสร้างผลกระทบให้ฟลายนาว ต้องกลายเป็นหนี้ถึง หลักพันล้านบาท แม้ธุรกิจที่ปั้นมากับมือ จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก ชนิดหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ผู้ก่อตั้ง ก็ไม่ยอมแพ้ และใช้เวลาประมาณ 7 ปี สามารถปลดหนี้พันล้านบาทได้หมด ทั้งปัจจุบัน ฟลายนาว ยังเป็นแบรนด์แฟชั่น ที่แม้จะไม่ “อลัง” เหมือนยุคก่อน แต่ยังมีลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ แห่ออร์เดอร์เสื้อผ้ากันข้ามปี จำนวนไม่น้อย การทำกิจการให้เล็กลง แต่แข็งแรง สร้างผลประกอบการได้ดี แถมอาจมีชื่อเสียงมากกว่าเดิม มีหลักคิดและแนวทางอย่างไร เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาไปหาคำตอบ กล่าวสำหรับ หนี้สินนับพันล้าน ขอ
80 ยังแจ๋ว “ป้าตุ่น” ครีเอเตอร์รุ่นใหญ่ ไม่หยุดเรียนรู้ โชว์ทำขนมบนโซเชียล เป็นขวัญใจคนทุกเจน หากใครติดตามติ๊กต็อกช่อง Patun.preeya จะสัมผัสได้ถึงความน่ารัก และเสียงหวานๆ ฟังเพลินของ ป้าตุ่น-ปรียา อุทัยวัชรานันท์ ครีเอเตอร์วัย 80 ปี และเจ้าของ บ้านกาแฟป้าตุ่น ร้านที่ร่วมกันเปิดกับลูกชาย ขายกาแฟและเบเกอรี่ที่ใครได้ชิมเป็นต้องติดใจ ก่อนมาเป็น บ้านกาแฟป้าตุ่น ก่อนหน้านี้ ป้าตุ่นเคยเปิดร้านขายของชำ ซึ่งในสมัยนั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก มีลูกค้าจากหมู่บ้านตรงข้ามแวะเวียนมาอุดหนุนไม่ขาดสาย เพราะห้างสรรพสินค้ายังไม่ได้รับความนิยม อีกทั้งการจัดร้านของป้าตุ่นที่คล้ายซูเปอร์มาร์เก็ตก็ช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี มีความสะอาด หยิบสินค้าง่าย ไม่เหมือนใคร ส่วนพื้นที่อีกครึ่งหนึ่งของร้าน ป้าตุ่นแบ่งไปเปิดร้านไอศกรีมโฟร์โมสต์ ซึ่งขายอยู่นานกระทั่งแบรนด์เลิกกิจการ ก่อนมีแนวคิดอยากเปิดร้านสะดวกซื้อชื่อดัง แต่ด้วยข้อจำกัดของทำเล จึงไม่สามารถเปิดได้ ทำให้ป้าตุ่นตัดสินใจเลิกกิจการขายของชำไปด้วย จากนั้นป้าตุ่นได้หันมาขายไอศกรีมบัสต์นานร่วมสิบปี จนแบรนด์เลิกกิจการไปอีกราย ประจวบเหมาะลูกช
จากปัญหาของเล่นล้นบ้าน สู่ Keimen Kids ธุรกิจเช่าของเล่นที่อยากช่วยเซฟโลก เซฟเงินในกระเป๋าพ่อแม่ ไปพร้อมๆ กับเสริมพัฒนาการเด็ก เพราะการซื้อของเล่นให้ลูกในแต่ละครั้ง นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และของเล่นเหล่านั้นอาจรกเต็มบ้านในไม่ช้า อีกทั้งในไทยยังไม่ค่อยมีแพลตฟอร์มให้เช่าของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กสักเท่าไหร่ จึงนำมาสู่ไอเดียธุรกิจให้เช่าของเล่นและหนังสือเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก ‘Keimen Kids’ ของหุ้นส่วนทั้ง 3 คนคือ คุณอุ้ม-พิมพ์จุฑา จิระวัฒน์พงศา คุณเกา หลี่ขุยหลิน (Gao Likuilin) และ คุณฝ้าย-พฤดา ตั้งพุทธสิริ ที่ร่วมกันก่อตั้งธุรกิจนี้เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยความตั้งใจอยากสร้าง Circular Economy ให้กับของเล่น คุณอุ้ม เล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้มาจากเพนพอยต์ (Pain Point) ของคุณเกา หุ้นส่วนชาวสิงคโปร์ที่มีลูกเล็กวัยเกือบ 1 ขวบ เขารู้สึกว่าในไทยยังไม่ค่อยมีแพลตฟอร์มให้บริการเช่าของเล่นเสริมพัฒนาการ อีกทั้งการซื้อของเล่นมาจำนวนมาก ทั้งซื้อเพราะคิดว่าลูกจะชอบ ซื้อแล้วลูกเล่นครั้งเดียว จนของเหล่านั้นรกเต็มบ้านไปหมด จึงออกมาในคอนเซ็ปต์ให้เช่าของเล่นแบบรายเดือน โดยคิดค่าบริการเช่า เริ่มต้นที่ 700 บาท
ยำจนปัง! จากทำน้ำยำขายเป็นงานเสริม สู่ร้านยำสุดไวรัล “เอ๊ะอะยำ” ยอดขายพีกสุด 50,000 บาทต่อวัน จุดเริ่มต้นจากความชอบทานยำของ คุณดล-วุฒิพงษ์ งาเฉลา และ คุณไก่น้อย-นิรัตน์ งาเฉล ที่ต้องการจะหารายได้เสริมในช่วงที่ทำงานประจำ ทั้งคู่เริ่มจากขายน้ำยำออนไลน์จนกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และเปิดเป็นร้าน “เอ๊ะอะยำ” ซึ่งมีเมนูไวรัลคือ “ยำหมูสับล้น” ที่ลูกค้าชื่นชอบและต่างพากันแซวว่าขายเอาสังคมใช่ไหม ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้พีกสุด 50,000 บาทต่อวัน และมีลูกค้ามาต่อคิวมากกว่า 250 คิวต่อวัน จุดเริ่มต้นจากน้ำยำออนไลน์ “พวกเราชอบกินยำเลยลองทำน้ำยำขายในช่องทางออนไลน์ดูครับ” คุณดล เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้น หลังจากลองผิดลองถูก ทั้งคู่ได้พัฒนาสูตรน้ำยำของตัวเอง โดยมีการเรียนเพิ่มเติมจากยูทูบ และให้กลุ่มเพื่อนในออฟฟิศได้ลองชิม แม้ในช่วงแรกยอดขายยังไม่สูงมาก ประมาณ 40-50 กล่องต่อวัน แต่ความตั้งใจและการสร้างตัวตนผ่านโซเชียลมีเดียช่วยให้คนเริ่มรู้จักเอ๊ะอะยำมากขึ้น คุณดล เล่าต่อว่า “ตอนนั้นก็ได้มีการเปิดเพจหรือว่าทำการสร้างตัวตนให้กับตัวเอง ให้คนรู้จักมากขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นที่ว่ารายได้ดี แต่เป็นอาชีพที่ส
ถ้าพูดถึงแบรนด์ ‘ชาไทย’ ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการดื่มชาไทย หนึ่งในนั้น ต้องมีชื่อ Karun Thai Tea ติดอยู่ในลิสต์ร้านโปรด ซึ่งเจ้าของแบรนด์นี้ คือ คุณรัส-ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ เธอเริ่มต้นสร้างแบรนด์นี้มาจากความชอบดื่มชาไทยของคุณแม่ ก่อนนำมาต่อยอด ปรับสูตรโดยใช้ชาหลากหลายชนิด จนได้ชาไทยสูตรลับของร้าน ที่ทำตามได้ยาก หลังจากปั้นแบรนด์ Karun Thai Tea จนติดตลาด เราจึงได้เห็นการแตกแบรนด์น้องใหม่ในเครือ Karun ไม่ว่าจะเป็น เจริญสังขยา Summer Bowl และ Avery Wong ซึ่งแต่ละแบรนด์ล้วนมีเอกลักษณ์และโปรดักต์ที่ชัดเจน อย่าง Avery Wong ที่กำลังเป็นที่พูดถึงบนโลกโซเชียล คือแบรนด์ที่เน้นขาย ‘ชานม’ เป็นหลัก โดยเปิดสาขาแรกบริเวณชั้น G ศูนย์การค้า Gaysorn Amarin ใจกลางเมือง ความโดดเด่นของแบรนด์นี้ เริ่มตั้งแต่ ‘แพ็กเกจจิ้ง’ ที่ออกแบบมาในโทนสีเขียว และสีครีม สกรีนชื่อร้าน ให้ความเรียบหรูและพรีเมียม สามารถยกดื่มหรือใส่หลอดได้เช่นกัน พร้อมกับถาดรองแก้ว ที่ออกแบบมาในลวดลายตารางหมากรุก สำหรับราคา เมนู Signature Milk Tea เริ่มต้น 110 บาท และมีรสชาติพิเศษ ทั้ง Barley,
ประกาศงานสุดแปลกที่กำลังเป็นไวรัลใน X อยู่ตอนนี้ เมื่อมีแอ๊กเคานต์หนึ่งแชร์ภาพจากแพลตฟอร์มหางาน Fastwork พร้อมแคปชั่นว่า “งานใหม่ใกล้ฉัน แกล้งๆ เดินในซอยผ่านหน้าบ้าน เพื่อไม่ให้รู้สึกเงียบ” โดยมีการเข้าถึงกว่า 1.3 ล้านยอดวิว และมีจำนวนรีโพสต์กว่า 39,000 ครั้ง เลยทีเดียว รายละเอียดงานที่ลงในประกาศ บรีฟงาน : บ้านอยู่ในซอยลึกมาก ไม่มีใครเดินผ่านเลย รู้สึกว่าบ้านดูไม่มีชีวิตชีวา เหมือนในหนังผี อยากให้มีคนเดินผ่านตอนเช้าทุกวัน สัก 07.30-08.00 น. จะเดินเล่น พาสุนัข หรือแค่เดินเฉยๆ ก็ได้ บางวันอาจให้แกล้งคุยโทรศัพท์ หรือยืนดูอะไรสักอย่างนานๆ หน่อย ค่าจ้าง : วันละ 500 บาท สถานที่ : แถวพัฒนาการ ลักษณะการจ้าง : ฟรีแลนซ์ (จ้างเป็นโปรเจ็กต์) โดยงานนี้ทำให้ชาวเน็ตหลายคนต่างพากันคอมเมนต์ไปในหลายๆ แง่มุม บ้างก็ว่าเป็นงานที่น่าสนใจ เพราะแค่ 30 นาทีแต่ได้ค่าจ้างถึง 500 บาท เป็นงานง่ายๆ สบายๆ แต่หากมองอีกมุมหนึ่งหลายคนก็คิดว่านี่เป็นการลวงไปฆ่าหรือพาไปพัวพันกับคดีฆาตกรรมหรือเปล่า อาทิ “อยากรับบทแม่ค้าไอติมเดินผ่านรัวๆ” “สรุปจ้างให้ไปเป็นพยานในคดีฆาตกรรมที่วางแผนมาแล้วอย่างแยบยล” อ่านบทความที
รวม 5 แบรนด์เครื่องดื่มจากจีน บุกตลาดไทย เติบโตแซงหน้าแบรนด์ดัง ลงทุนน้อย สินค้าหลากหลาย ปัจจุบันกระแสความสนใจประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กระแสวัฒนธรรมของจีน กำลังแทรกซึมเข้ามาอยู่รวมกับคนไทยในหลายๆ ด้าน อย่างที่เห็นได้ชัดและมีมาตั้งแต่อดีต คือพิธีกรรมต่างๆ เทศกาลต่างๆ และในปัจจุบัน นอกจากเรื่องราวของพิธีกรรมแล้ว วงการภาพยนตร์ ซีรีส์ ก็ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ และที่ปฏิเสธไม่ได้เลย อาหารและเครื่องดื่ม ก็มีอิทธิพลอย่างมาก ทำให้คนสนใจหันมาเป็นเจ้าของธุรกิจกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ต้องบอกว่ากำลังเป็นที่เติบโตและแพร่หลาย เหตุผลหลักๆ ที่คนหันมาทำธุรกิจ อาจจะเป็นเพราะความชอบส่วนตัว ที่เป็นคนชอบทำอาหารและเครื่องดื่มอยู่แล้ว นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะเป็นเพราะมีตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีความเติบโตสูง นอกจากมีตลาดที่ใหญ่แล้ว การลงทุนก็มีผลเช่นกัน ธุรกิจร้านอาหารอาจลงทุนน้อยกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะอาหารบางประเภทลงทุนไม่สูง เริ่มต้นได้ง่ายๆ และเหมาะสำหรับผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เรา
หลายๆ คนมักหยุดความฝัน หรือความตั้งใจ เพราะคำว่า ‘ไม่พร้อม’ แต่ไม่ใช่กับ ‘คุณสิ-สิรินทร์ กล้วยพนาวัน’ เธอเริ่มต้น ‘ทำเกษตร’ เป็นอาชีพเสริม จากงานเลขา แม้ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่คอนโด อีกทั้ง ไม่มีเงินทุนมากมาย แต่ก็ไม่คิดนำมาเป็นอุปสรรค ด้วยความตั้งใจจริง เธอลงมือสร้างสวน ‘Sirin garden & edible flower’ บน ‘พื้นที่เช่า’ แม้หลายเสียงจะบอกว่า ‘บ้า’ แต่สำหรับเธอ ทุกก้าวคือการเรียนรู้ ทุกช่วงเวลาคือความสุข และหากรอให้พร้อม หรือรอถึงเกษียณ อาจไม่มีโอกาสได้เริ่มต้น วันนี้คุณสิไม่เพียงแค่ปลูกเอง แต่ยังแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น ด้วยการจัดเวิร์กช็อปและส่งต่อประสบการณ์จริง ที่สั่งสมมาตลอด 4 ปี อีกด้วย อาชีพเสริมที่เริ่มต้น บนพื้นที่เช่า คุณสิ เริ่มทำเกษตร เพราะอยากให้ลูกมีพื้นที่วิ่งเล่น มีพื้นที่ทำกิจกรรม และเลี้ยงสัตว์ตามความชอบ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงโควิด จากการกลัวลูกติดหน้าจอโทรศัพท์ และด้วยไม่มีพื้นที่ของตัวเอง ‘การเช่าที่’ จึงเป็นทางเลือกที่เธอมองว่า ทุกก้าว คือการเรียนรู้ และทุกช่วงเวลาคือความสุข โดยเช่าที่แรก ซอยประชาชื่น 37 ข้างๆ คอนโด พื้นที่
“เดี๋ยวนี้คนใช้ดินสอปากกาลดลง นิยมจดบนไอแพดหรือเทคโนโลยีอื่นๆ กันหมด” ใครยังจำภาพร้านเครื่องเขียนที่เต็มไปด้วยดินสอ ปากกา สมุด และอุปกรณ์นานาชนิดได้บ้าง วันนี้หรือในอนาคตไม่นาน ภาพเหล่านั้นอาจกำลังเลือนหายไป เสียงจากผู้ประกอบการแห่งหนึ่ง ได้จุดประเด็นถึงสถานการณ์ที่น่ากังวล เมื่อ “ร้านเครื่องเขียน” กำลังเผชิญกับภาวะ “เจ๊ง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ธุรกิจที่เคยเฟื่องฟูกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอาจกลายเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองราชบุรี เพื่อไปซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านประจำในทุกๆ ครั้งที่ต้องการซื้อเกี่ยวกับอะไรพวกนี้ แต่วันนี้รู้สึกแปลกตาไปหน่อย เพราะสินค้าต่างๆ เริ่มลดลง จากเมื่อก่อนมีอยู่หนาตา จะเดินไปหยิบอะไรสักอย่างทีแทบจะเอียงตัวเดิน แต่มาวันนี้กลับไม่ใช่ ทุกอย่างดูบางตาไปเกือบหมด ทันทีที่ยืนมองดูบรรยากาศร้านรอบๆ คุณตาเจ้าของร้านวัย 86 ปี เดินออกมาพร้อมพูดว่า “เดี๋ยวไม่นานก็จะปิดแล้ว” ผู้เขียนก็นึกว่าวันนี้มาช่วงเย็นๆ ร้