SMEs เกษตร
หลายๆ คนมักหยุดความฝัน หรือความตั้งใจ เพราะคำว่า ‘ไม่พร้อม’ แต่ไม่ใช่กับ ‘คุณสิ-สิรินทร์ กล้วยพนาวัน’ เธอเริ่มต้น ‘ทำเกษตร’ เป็นอาชีพเสริม จากงานเลขา แม้ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่คอนโด อีกทั้ง ไม่มีเงินทุนมากมาย แต่ก็ไม่คิดนำมาเป็นอุปสรรค ด้วยความตั้งใจจริง เธอลงมือสร้างสวน ‘Sirin garden & edible flower’ บน ‘พื้นที่เช่า’ แม้หลายเสียงจะบอกว่า ‘บ้า’ แต่สำหรับเธอ ทุกก้าวคือการเรียนรู้ ทุกช่วงเวลาคือความสุข และหากรอให้พร้อม หรือรอถึงเกษียณ อาจไม่มีโอกาสได้เริ่มต้น วันนี้คุณสิไม่เพียงแค่ปลูกเอง แต่ยังแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น ด้วยการจัดเวิร์กช็อปและส่งต่อประสบการณ์จริง ที่สั่งสมมาตลอด 4 ปี อีกด้วย อาชีพเสริมที่เริ่มต้น บนพื้นที่เช่า คุณสิ เริ่มทำเกษตร เพราะอยากให้ลูกมีพื้นที่วิ่งเล่น มีพื้นที่ทำกิจกรรม และเลี้ยงสัตว์ตามความชอบ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นในช่วงโควิด จากการกลัวลูกติดหน้าจอโทรศัพท์ และด้วยไม่มีพื้นที่ของตัวเอง ‘การเช่าที่’ จึงเป็นทางเลือกที่เธอมองว่า ทุกก้าว คือการเรียนรู้ และทุกช่วงเวลาคือความสุข โดยเช่าที่แรก ซอยประชาชื่น 37 ข้างๆ คอนโด พื้นที่
ฝ่าทุกคำพูด ด้วยความสามารถ! เปิดร้านขายมะม่วง แค่ปีกว่า คว้ารายได้กว่า 2 แสนทุกเดือน จากลูกชายที่เติบโตมากับธุรกิจขายมะม่วงของครอบครัวตั้งแต่เล็กๆ วันนี้ คุณคม-กฤษณธร แซ่จึง พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถสร้างธุรกิจ ร้านมะม่วงกฤษณธร เป็นของตัวได้ด้วยความสามารถ พร้อมฝ่าทุกความกดดันและคำพูด ที่ใครๆ ต่างบอกว่า โชคดีที่พ่อแม่สร้างธุรกิจไว้ให้โดยไม่ต้องดิ้นรน ถึงปัจจุบันแม้ร้านจะเปิดมาได้ 1 ปีกว่า แต่ก็มีลูกค้าหลากหลายกลุ่มมาอุดหนุน ทั้ง พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง ร้านอาหารชื่อดัง รวมถึงห้างหรูระดับประเทศ ทำให้มีรายได้แบบยังไม่หักค่าใช้จ่าย เฉลี่ยเดือนละ 200,000 กว่าบาท เติบโตมากับมะม่วง ธุรกิจของพ่อแม่ คุณคม วัย 41 ปี เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า ก่อนเปิดร้านมะม่วงกฤษณธรเป็นของตัวเอง ตั้งแต่เล็กจนโตได้ช่วยดูแลธุรกิจมะม่วงให้กับคุณพ่อ คือ ร้านทะเลภูเขา ซึ่งเปิดขายมานานเกือบ 40 ปี ร้านจึงมีคอนเน็กชันกับชาวสวนมาอย่างยาวนาน อีกทั้งคุณพ่อยังมีหลักการทำธุรกิจที่ว่า “เราอยู่ได้ เขาอยู่ได้” แม้ในช่วงมะม่วงล้นตลาด ทางร้านก็ไม่เคยทอดทิ้งชาวสวน ส่วนช่วงที่ร้านต้องการมะม่วง ชาวสวนก็สามารถจัดหามะม่วงมาส่
อดีตพนักงานห้าง ปิ๊งไอเดีย ขายผักน้ำพริก เริ่มต้นแพ็กละ 10 บาท มีผักหลายประเภทให้เลือก ขายดีโกยรายได้กว่า 50,000 บาทต่อเดือน น้ำพริก ถือเป็นอาหารที่อยู่คู่กับครัวไทย นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ยังดีต่อสุขภาพ เพราะเมนูนี้ทานคู่กับสารพัดผัก ทั้งผักสด ผักลวก ทำให้ คุณวิไล อุยะพิตัง วัย 51 ปี ปิ๊งไอเดียขายผักน้ำพริก โดยจัดเป็นแพ็กละ 10 บาท ตอบโจทย์คนชอบกินผักและคนงบน้อยได้อย่างดี เรื่องราวของเจ้วิไล ก่อนหน้านี้เธอเคยทำงานในห้างดังใจกลางเมือง เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลความสะดวกให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ แต่ด้วยระยะทางจากบ้านคลอง 2 ค่อนข้างไกลจากที่ทำงานทำให้เธอมีความเหนื่อยล้าและหมดพลังไปกับการเดินทางเข้าเมืองทุกวัน จึงเป็นส่วนหนึ่งให้คิดเปลี่ยนงาน ประกอบกับมีโอกาสเข้ามาแบบไม่ตั้งตัว เมื่อเพื่อนพาไปรู้จักกับญาติที่เปิดร้านขายผักในตลาดสี่มุมเมือง จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้เธอผันตัวจากพนักงานประจำมาเป็นแม่ค้าขายผักเต็มตัว ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบันก็ 27 ปีแล้ว ผักแพ็กละ 10 บาท ร้านขายผักของเจ้วิไล มีผักให้เลือกซื้อมากกว่า 50 ชนิด โดยนำผักมาจากจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และซื้อจากเกษตรกรรถผักในตลาดส
ออกจากงานประจำมาเป็นเกษตรกรขาย “เตยหอม” ธุรกิจจากรุ่นแม่ เจาะกลุ่มลูกค้าโรงงานขนม ร้านดอกไม้ และพ่อค้าแม่ค้า ผลผลิตวันละ 900-1,000 กิโลกรัม เพราะครอบครัวมาเป็นอันดับ 1 เมื่อพ่อล้มป่วย ทำให้ คุณหนึ่ง-สุทธาอร ศรีฟ้า ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่มั่นคงมารับช่วงต่อธุรกิจ ผันตัวเป็นเกษตรกรผู้ปลูกและผู้รวบรวมใบเตยเต็มตัว เพื่อส่งต่อผลผลิตงามให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารับไปขายตามตลาดสดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงโรงงานขนมไทยอีกมากมาย ซึ่งในแต่ละวันจะมีใบเตยเข้ามาขายประมาณวันละ 900-1,000 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน ลาออกจากงานประจำ มารับช่วงต่อธุรกิจ คุณหนึ่ง หรือที่ใครๆ เรียก เจ้หนึ่ง ปัจจุบันมีอายุ 47 ปี เธอเป็นทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามารับช่วงต่อธุรกิจจากแม่ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกให้ครอบครัวเข้ามาค้าขายที่ตลาดสี่มุมเมืองเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว โดยในตอนนั้นขายแค่บวบกับมะระ ส่วนใบเตยเกิดจากไอเดียที่ไปเห็นคนนำมาขายแล้วขายดี ประกอบกับแถวบ้านมีคนปลูกใบเตยเป็นจำนวนมาก แม่ของเธอจึงลองไปติดต่อนำมาขาย ปรากฏว่าขายดีมากเช่นกัน เหมือนจับถูกจุดจนทำให้ยอดขายแซงหน้าบวบกับมะระผักที่ขายประจำ จากนั้นจึงค่อยๆ ลดผัก
สบายใจ ไม่รวย แต่พอกิน! คนรุ่นใหม่ทำเกษตร ปลูกผักสลัดบนดอย มีรายได้หลักหมื่น แถมได้ดูแลพ่อแม่ “ถามว่ามีความสุขไหม ทำเกษตรแรกๆ คือร้องไห้เลย มือแตก มือลอก รู้สึกว่า “กูปิ๊กมาอะหยังวะ” ท้อมาก แม่ก็ไล่กลับไปอยู่เวียง (เชียงใหม่) แต่เรารู้สึกว่าไม่สนุก เลยกลับมาสู้ต่อ เพราะทำเกษตรสบายใจกว่า ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองพอ ขยันมากก็ได้มาก และได้กลับมาอยู่กับพ่อแม่ด้วย” คำบอกเล่าจาก คุณกระแต-วนิดา สุขกำแหง สาววัย 27 ปี เธอเติบโตมาในครอบครัวชาวสวนลำไย จึงซึมซับวิถีเกษตรมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งเมื่อได้ลองทำงานประจำ แต่ไม่ตรงใจ การกลับมาทำเกษตร อาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ จึงเป็นความตั้งใจจริง นำมาสู่การสร้างรายได้ต่อเดือนที่มั่นคงจากผักสลัด ที่เริ่มจากปลูกเล็กๆ ในสวนลำไย สู่การเช่าพื้นที่บนดอยเพิ่มผลผลิต งานประจำไม่ใช่ทาง คุณกระแต เล่าให้ฟังว่า เธอไม่มีทุนเรียนต่อปริญญาตรี หลังจบ ปวส. ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ จึงหยุดเรียนเพื่อหาทุนศึกษาต่อ โดยเลือกทำงานประจำ เป็นบาริสต้า เปิดร้านกาแฟ และเป็นบาร์เทนเดอร์ ใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงินเดือนนาน 2 ปี
ขายผักสวนครัวยังไง ให้ได้เงินล้าน! เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ เจ้าของแผงผักวัย 34 ใครจะคิดว่าผักสวนครัวบ้านๆ ผักธรรมดาๆ อย่าง กะเพรา โหระพา ใบแมงลัก สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง ผักชีไทย ผักชีลาว มะเขือ แตงกวา คะน้า ถั่วฝักยาว เห็ดหูหนู ฯลฯ จะสามารถสร้างรายได้มหาศาลหลักล้านต่อเดือนให้ คุณนภคสร สามงามไกร อายุ 34 ปี หรือ เจ๊นุ่น ผักสด เจ๊ใหญ่แห่งวงการขายผักสด “รายได้หลักล้านได้ไม่ยากถ้าเห็นโอกาส ที่พูดมาทั้งหมด ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก และอย่างน้อยทุกบ้านต้องมีผักเหล่านี้ 1-2 อย่างในตู้เย็น ตรงนี้แหละทำให้เราเห็นเงินล้าน” เจ้าของร้าน เจ๊นุ่น ผักสด กล่าว จุดเริ่มต้นอาชีพแม่ค้าของเจ๊นุ่น เริ่มตั้งแต่สมัยเด็ก เธอมั่นใจมาตลอดว่าอยากเป็นแม่ค้า เพราะชอบค้าขาย หลังเรียนจบจึงยึดอาชีพเป็นเเม่ค้าทันทีโดยไม่ได้ทำอาชีพอื่น “นุ่นชอบขายของ ชอบพูดคุยกับลูกค้า สร้างฐานลูกค้าด้วยสองมือกับความพยายามของตัวเอง ทำตรงนี้ใจต้องรัก เพราะไม่ได้ทำงานในออฟฟิศเย็นๆ ต้องตากแดดร้อนๆ อย่างตัวนุ่นเป็นเกษตรกรเองด้วย ไหนจะต้องคุมคนงานปลูกผักของตัวเอง ไหนจะต้องขับรถไปหาลูกไร่อื่นๆ เพื่อหาสินค้ามาเติมให้จำนวนเพียงพอกับออ
ปลูกผักในกล่องโฟม มือใหม่เริ่มต้นไม่ยาก พื้นที่น้อยก็ปลูกได้ ไอเดียสร้างรายได้เสริม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไอเดียปลูกผักในกล่องโฟมของ คุณเติ้ล-วิภู กรอบบาง วิศวกรโยธาหนุ่มวัย 26 ปี ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก เพราะเขาเริ่มต้นง่ายๆ จากกล่องโฟม ปุ๋ย และเมล็ด อีกทั้งยังใช้พื้นที่ที่จำกัดได้อย่างคุ้มค่า จนสามารถสร้างรายได้เดือนละเฉียดแสนจากการขายผักสด สลัดผัก และชุดทดลองปลูก จากเรื่องราวดังกล่าว หากใครอยากทำตามไอเดียนี้ แต่ยังไม่รู้วิธี เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ รวบรวม How To มาให้แล้ว 1. หาพื้นที่ ในการหาพื้นที่ปลูก อาจเริ่มต้นจากการมองหาพื้นที่รอบบ้าน เช่น บริเวณหลังบ้าน ข้างบ้าน หรือหน้าบ้าน หรือถ้าหากอาศัยอยู่ในคอนโดฯ หรือหอพัก ก็อาจจะหาพื้นที่บริเวณระเบียงในการปลูก อย่าง คุณเติ้ลได้เริ่มปลูกผักในกล่องโฟมจากบริเวณหลังบ้าน ซึ่งพอมีชายคาให้ผักได้หลบฝนอยู่บ้าง แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว แดดเปลี่ยนทิศ ด้วยผักต้องใช้แดดในการสังเคราะห์แสงถึงจะเจริญเติบโต คุณเติ้ลจึงย้ายผักมาอยู่หน้าบ้านที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นสนามหญ้าว่างเปล่า โดยเมื่อย้ายผักมาด้านหน้าจึงต้องจัดให้สวย วางให้เป็นระเบียบ เพื่อให้พื้นที่ 24
“ตอนลำบากเงินกินข้าวยังไม่มี” จากชีวิตติดลบ ไฟไหม้ฟาร์มหมูจนหมดตัว สู่เจ้าของร้านผลไม้ พลิกชีวิตสร้างเงินแสนเข้ากระเป๋าต่อเดือน เพราะไฟไหม้ทั้งบ้านที่อยู่อาศัยและฟาร์มหมูที่เป็นธุรกิจของครอบครัวจนหมดตัว ทำให้ต้องเริ่มมองหาลู่ทางทำกินใหม่ โดยหยิบยืมเงินทุนจากญาติมาตั้งต้นชีวิต และได้เริ่มขายผลไม้ คัดเน้นๆ 4 ผลไม้ไทย มะม่วง มังคุด เงาะ ลองกอง จนสามารถโกยเงินแสนเข้ากระเป๋าต่อเดือน “ล้มแล้วลุก ทุกข์ไม่ท้อ ถึงจะติดลบแต่ชีวิตก็ต้องไปต่อ เราเกิดมาทันเห็นครอบครัวผ่านทั้งช่วงสุขสบายและช่วงลำบาก ตอนลำบากขนาดเงินกินข้าวต้องขอยืมและนอนในเล้าหมูมาแล้ว บอกกับตัวเองเลยว่าจะไม่ยอมกลับไปลำบากแบบนั้นอีก ที่มีวันนี้เพราะมีแม่เป็นแบบอย่าง ความโชคดีของเราคือ ครอบครัวเราดี สู้ไปด้วยกัน ลำบากก็ไม่บ่น สามัคคีกันทำงาน ยิ่งกว่าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1” คุณจันนิภา แก่นแก้ว อายุ 43 ปี เจ้าของร้านผลไม้ “อ้วน-ลอย” เริ่มต้นบทสนทนา จุดพลิกชีวิตจากทำฟาร์มหมูหันมาขายผลไม้ ธุรกิจแรกของที่บ้านคุณจ๋าคือทำฟาร์มหมูประมาณ 200 ตัว และขายส่งผักต่างๆ ให้หลายตลาดในจังหวัดนครราชสีมา กระทั่งถึงจุดเปลี่ยนของช
รายได้ 2-3 หมื่นต่อเดือน! ขายวัตถุดิบอาหารอีสาน เสริม “ไข่ผำ” สินค้าในกระแส อยากซื้อต้องโทรจอง ภาคอีสานมีความหลากหลายในด้านวัตถุดิบและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ละจังหวัดจะมีของดีประจำท้องถิ่น ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ขายในร้านจะเป็นของพื้นบ้านที่ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าและแม่น้ำ สามารถหาได้ทั่วไปในภาคอีสาน สมัยก่อน ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจมองภาพลักษณ์ของอาหารอีสานว่าแปลกและยากต่อการรับประทาน แต่ปัจจุบัน วัตถุดิบหลายอย่างเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรีวิวผ่านโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทาง ทำให้อาหารอีสานเป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น นั่นจึงทำให้ผู้ที่ทำอาชีพขายวัตถุดิบอาหารพื้นบ้าน อย่าง คุณชาญณรงค์ บุญเฮง อายุ 26 ปี เติบโตไปด้วย จุดเริ่มต้นเข้าสู่วงการขายวัตถุดิบอาหารพื้นบ้าน คุณชาญณรงค์ เล่าให้ฟังว่า “ผมโตมากับธุรกิจนี้เลยครับ เดิมทีคุณแม่ขายมะม่วงอยู่ที่ตลาดมะม่วง ซึ่งขายได้เฉพาะมะม่วง จะกี่สายพันธุ์ก็ได้แต่ขายได้เฉพาะมะม่วง วันหนึ่งคุณแม่มีโอกาสได้แผงในตลาดผักพื้นบ้านคัดบรรจุ โดยตลาดนี้อนุญาตให้ขายมะม่วงท้องถิ่น เช่น มะม่วงเบา ม
ผักบุ้งจีน เปลี่ยนชีวิต จากรับจ้างเข็นผักสู่เกษตรกร รายได้ไม่ขาดมือ หลักแสนต่อเดือน แม้ผักบุ้งจีนจะได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้บริโภคไทย แต่ด้วยราคาที่ไม่คงที่ของตลาด มักแปรผันไปตามปัจจัยที่คุมไม่ได้ตลอดเวลา และยังต้องส่งผ่านผลผลิตให้พ่อค้าคนกลาง บางครั้งทำให้รายจ่ายของต้นทุนไม่พอกับรายรับที่ได้มา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกเอง ขายเอง เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้มั่นคง และอยู่รอดต่อไป คุณวรวิทย์ ศิริกรรณิกา วัย 32 ปี เล่าให้ฟังว่า ก่อนมาปลูกผักบุ้งจีนขาย เคยรับจ้างเข็นผักที่ตลาดสี่มุมเมืองมาก่อน “ตอนนั้นผมอายุ 20 กว่าๆ ก็เริ่มมารับจ้างเข็นผัก ทำอยู่ประมาณ 4 ปี ก็มาเจอภรรยา เขามาขายผักบุ้งจีนกับแม่ที่ตลาดนี้ พอแต่งงานกัน เลยผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว จากวันนั้นถึงวันนี้ก็เกือบ 10 ปีแล้ว” ก่อนเล่าต่อว่า “สมัยก่อนที่ครอบครัวภรรยาเริ่มต้นธุรกิจนี้ ก็ยังไม่ได้ขยายใหญ่โตเท่าทุกวันนี้ พอได้มาช่วย ก็มีหัวเรี่ยวหัวแรงเพิ่ม สามารถสลับกันมาขายได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันทั้งปลูกเองด้วยและมีลูกสวนอยู่ประมาณ 40 ไร่ ปลูกแต่ผักบุ้งจีน อย่างเดียว พื้นที่ปลูกอยู่ที่ อ.ลาดบ