อาชีพเสริม
สำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้ว การทำงานที่รับแต่เงินเดือนอย่างเดียว อาจจะเสี่ยงเกินไปในการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ดังนั้น การหาอาชีพเสริมควบคู่ไปด้วยโดยไม่กระทบกับ หน้าที่การงานที่รับผิดชอบอยู่ จึงเป็นทางเลือกที่ดี เช่นเดียวกับ คุณซิน สุมนา แจวเจริญวงศ์ วัย 44 ปี ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับบทบาทนักข่าวภาคสนาม ช่อง 3 ของเธอ ด้วยว่า เห็นจากหน้าจอทีวีบ่อยๆ นอกจากการทำงานในอาชีพนักข่าวแล้ว วันนี้ คุณซิน สวมบทบาท คุณแม่ ของน้องชะเอม วัย 2 ขวบ ซึ่ง ชื่อแบรนด์ปลาทูต้มหวานที่เธอทำอยู่ ก็มาจากชื่อลูกสาวตัวน้อยของเธอนั่นเอง คุณซิน เล่าว่า ปลาทูต้มหวาน เดิมทีเป็นธุรกิจของครอบครัว ตั้งแต่สมัยคุณย่า เมื่อสักราว 50 ปีมาแล้ว ด้วยพื้นเพเป็นชาว อ.หลังสวน จ.ชุมพร คุณย่าทำปลาทูต้มหวาน และนำไป หาบเร่ขายยังเมืองคอน (จ.นครศรีธรรมราช) สืบต่อจากคุณย่า ก็เป็นคุณป้า ที่ปัจจุบันยังยึดอาชีพนี้ โดย มีญาติที่เป็นคุณอา มีเรือประมง ออกหาปลาทู ได้ปลาทูคุณภาพ สามารถคัดตัวสวยๆ มาทำได้เอง สำหรับปลาทูต้มหวาน สูตรคุณย่านี้ ต้องเคี่ยวถึง 7 วัน 7 คืน จนก้างนิ่ม กินได้ทั้งตัว โดยก่อนนำไปเคี่ยว ก็ใช้ไม้ไผ่ หรือชานอ้อย วางปูพ
แม่บ้านพลทหารในสังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา ซึ่งลาออกจากงานประจำมาดูแลลูกที่ป่วยหนัก ใช้เวลาว่างจากการดูแลลูกมาปลูกเมล่อนขายผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี จากการลงพื้นที่ไปที่แปลงเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ภายในกองพลทหารช่าง 202 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบนางเบญจมาศ สังฆมณี อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นภรรยาของ จ.ส.อ.นิกรกิจ สังฆมณี ข้าราชการทหารในสังกัดกองพลทหารช่าง 202 พบว่าบริเวณดังกล่าวได้มีการทำเป็นโรงเรือนปิด 1 โรง ภายในมีการปลูกเมล่อนในระบบน้ำหยดซึมนับร้อยต้น ซึ่งกำลังออกลูกใกล้ถึงเวลาเก็บผลผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก จากการสอบถามนางเบญจมาศ สังฆมณี เจ้าของโรงปลูกเมล่อนแห่งนี้ ได้รับการเปิดเผยว่าก่อนหน้านั้นตนได้ลาออกจากงานประจำในโรงงาน เพื่อมาดูแลลูกสาวที่ป่วย ซึ่งทำให้ครอบครัวต้องขาดรายได้ เพราะลำพังเงินเดือนของสามีก็ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงใช้เวลาว่างจากการดูแลบุตรไปสมัครเข้าเรียนหนังสือที่ กศน.อำเภอเมืองนครราชสีมา ในระดับชั้นมัธยมปลาย ซึ่งทางศูนย์ กศน.ก็ได้พาไปศึกษาดูงานที่ฟาร์มของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ มทส. และเกิดมีค
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีฝนตกในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์อย่างต่อเนื่อง พบว่าน้ำจากพื้นที่ต่างๆไหลลงมารวมกันตามแหล่งน้ำลำห้วยธรรมชาติ ทำให้ปลาจากลำห้วยคลองสะพานบ้านยางเตี้ย ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ ออกมาแหวกว่ายเล่นน้ำใหม่จากฝนที่ตกลงมา ชาวบ้านต่างพากันนำแหมาหว่านเพื่อจับปลา ซึ่งมีทั้งปลาตะเพียนแดง ปลาขาว ปลาหมอ ซึ่งชาวบ้านต่างจับปลาได้เป็นจำนวนมาก ก่อนนำไปประกอบอาหาร ที่เหลือก็ขายให้กับเพื่อนบ้าน ในราคากิโลกรัมละ 70-90 บาท พอมีรายได้เล็กๆ น้อยเข้าครัวเรือน เลี้ยงครอบครัว นายจู โสมทอง อายุ 47 ปี ชาวบ้านบึงหมู่ 3 ตำบลตรมไพรอำเภอศีขรภูมิ หว่านแหได้ปลาขาวเป็นจำนวนมาก บอกว่า ปลาที่หว่านได้จะนำไปประกอบอาหาร ถ้าเหลือก็จะนำไปขายให้กับเพื่อนบ้านหรือบางทีก็จะมีพ่อค้า แม่ค้าในตลาดสดศีขรภูมิ มารับชื้อไปต่ออีกทีหนึ่ง ช่วงนี้ยังพอจับปลาได้อยู่ เพราะน้ำยังมาไม่มาก ถ้าน้ำมามากกว่านี้จะจับปลาไม่ได้ เพราะกระแสน้ำไหลแรง ที่มา ข่าวสดออนไลน์
หลายคนคงคุ้นเคยและรู้จักผักสวนครัวรั้วกินได้ที่เป็นผักกินใบต่างๆ อาทิ กะเพรา โหระพา ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพืชทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการอาชีพเสริม โดยเกษตรกรหลายคนพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เลิกทำนาหันมาปลูกพืชผักเหล่านี้ รับทรัพย์เข้ากระเป๋ากันทุกวัน สำหรับผักสวนครัวตระกูลกะเพรา โหระพา และใบแมงลัก เป็นพืชล้มลุก ใบเป็นรูปไข่ บางและนุ่ม ลำต้นและใบมีขนปกคลุม มีรสเผ็ดร้อน ช่อดอกตั้งตรง มีดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ จัดเป็นเครื่องเทศที่ยอดนิยม ถือว่าเป็นราชาแห่งเครื่องเทศเลยก็ว่าได้ โดยในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารและนำมาทานเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดต่างๆ ป้ามณี วงศ์มหิง เกษตรกรผู้ปลูกใบกะเพรา โหระพา และใบแมงลัก จำหน่ายที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เคยทำนา แต่สู้กับภาวะแล้งไม่ไหว เลยหันมาปลูกผักสวนครัว ซึ่งทำรายได้ทุกวัน ตกวันละ 500 บาท โดยบอกว่า แค่ 1 ไร่ ก็ตัดขายไม่ทันแล้ว “อย่างกะเพรา เป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ส่วนการปลูกก็ง่ายมาก ขุดหลุมตื้นๆ ปลูก รดน้ำ แล้วใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น รดน้ำวันละครั้ง” สำหรับกะเพราที่ปลูกกันทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ กะเ
ฮือฮา ประติมากรรมจากหินทรายอาชีพที่เริ่มสูญหาย พ่อเฒ่าวัย 62 ปี ชาวบ้านตำบลวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ใช้เวลาว่างจากการทำไร่ข้าวโพดสร้างงานแกะสลักจากหินทรายเป็นอาชีพเสริม โดยทำมานานกว่า 39 ปี ซึ่งอาชีพนี้นับวันเริ่มเลือนหาย เนื่องจากมีผู้สืบทอดน้อย โดยนายเกตุ บัวงาม อายุ 62 ปี ชาวบ้านตำบลวังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ชาวไร่ข้าวโพดที่ใช่เวลาว่างในการทำไร่ มารับจ้างแกะสลักหินทราย เป็นประติมากรรมรูปสัตว์ เช่น กวาง สิงห์ เป็นต้น รวมทั้งพระพุทธรูป ธรรมจักร และลูกนิมิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาชีพที่เริ่มหาคนทำได้ยาก ทำให้นายเกตุถือเป็นปราชญ์ชาวบ้านคนหนึ่งที่ยังสืบทอดอาชีพนี้ให้เห็นในพื้นที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก นายเกตุ กล่าวว่า ตนเริ่มเรียนรู้งานแกะสลักมาจากเพื่อนบ้านในหมู่บ้านตั้งแต่ปี 2520 จากนั้นก็เริ่มยึดเป็นอาชีพเสริมเรื่อยมาจนปัจจุบันไม่ต้องดูแบบก็สามารถแกะกลักได้แต่ต้องเป็นแบบที่ทำประจำ จำพวกพระพุทธรูป สัตว์ โดยงานหนึ่งก็ใช้เวลา เดือนครึ่งถึง 3 เดือน แล้วแต่ความยากง่าย ซึ่งขั้นตอนการทำก็จะไปหาหินมาจากนั้นทำการผ่าหินให้ได้ขนาดแล้วเริ่มลงมือแกะสลักตามแบบจนสำเร็จ ซึ่งราคานั้นก็ขึ้นกับขนาดและความย
พ.ต.ท. ฤทธิ์ ศิริเทพ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรรำมะสัก ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง กล่าวว่า การเลี้ยงปลากระชังเป็นโครงการ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นนโยบายของผู้บังคับบัญชา สนับสนุนให้ตำรวจชั้นผู้น้อย ใช้เวลาว่างหารายได้เลี้ยงครอบครัว ประกอบกับที่หน้าโรงพัก ส.ภ.ต. รำมะสัก มีคลองสีบัวทองมีน้ำไหลผ่านตลอด สามารถที่จะเลี้ยงปลาได้ จึงส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเลี้ยงปลากระชัง โดยเลี้ยงปลาเทโพและปลาดุก ในกระชังขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 4 กระชัง โดยใช้เวลาว่างดูแล กระชังปลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนำร่องการเรียนรู้ เป็นทุนอาหารกลางวันตำรวจ พร้อมนำไปปรับใช้ในการทำอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีความฝืดเคือง หรือเรียกว่ายุคข้าวยากหมากแพง อาจทำให้หลายๆ คนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกติดขัดในเรื่องของสภาพความคล่องตัวทางการเงินมิใช่น้อย ส่งผลให้เกิดสภาวะหนี้สินมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็ยังมีผู้คนอีกไม่น้อยที่พยายามมองหาอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้มีมากขึ้นสำหรับพอใช้จ่ายเพื่อให้ตนเองเกิดหนี้สิน แม้จะเป็นเงินเพียงเล็กน้อยอาจไม่มากเท่ากับงานประจำที่ทำ แต่ก็ทำด้วยใจรักจสามารถเป็นงานที่สร้างเงินได้ เหมือนเช่น คุณวรินดา สุวรรณทอง อยู่บ้านเลขที่ 351 ถนนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร คุณวรินดา สาวอินดี้ผู้รักความอิสระ เล่าให้ฟังว่า ปัจุบันตัวเธอทำงานเป็นสาวออฟฟิศ แต่มีความชอบในเรื่องของการปลูกต้นกระบองเพชร มาตั้งแต่ ปี 2551 สมัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในช่วงนั้นคือ ได้ศึกษาวิธีการปลูกเลี้ยงตามโซเชียลมีเดียต่างๆ “เหตุที่ปลูกต้นกระบองเพชร เพราะว่าช่วงนั้นซื้อมาเพื่ออยากเอาไว้ถ่ายรูป เพราะดูแล้วมันสวยดี คราวนี้พอดูๆ ไป เห็นว่าเอ้ย! มันก็สวยแปลกกว่าไม้อื่น ก็เลยชอบ แล้วก็ปลูกมาเรื่อยๆ ซื้อตาม
ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสการทำเกษตรของคนในยุคนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากรายการโทรทัศน์หรือข่าวสารตามโลกโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่คนจากหลากหลายอาชีพผันชีวิตสู่การทำเกษตรกรรมกันอย่างกว้างขวาง จากแรงบันดาลใจของผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ จะเห็นได้ว่าการเกษตรไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เนื้อที่หรือความรู้ของการจบใน ด้านนี้มาทำมากนัก แต่เกิดจากการที่เริ่มชอบในสิ่งที่อยากทำ จนคิดค้นริเริ่มทดลองทำจนให้เกิดเป็นงานสร้างรายได้ แบบที่ว่าสามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย คุณสุมิตรา ศรีเดช อยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 4 ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ได้ลาออกจากงานบริษัท มาเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง โดยใช้พื้นที่บริเวณภายในบ้าน เรียกง่ายๆ ว่า มีพื้นที่ตรงไหนว่างนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนเป็นอาชีพที่เธอบอกว่าทำแล้วมีความสุข และที่สำคัญทำให้เธอมีเวลาอยู่บ้านดูแลบุคคลอันเป็นที่รักอย่างใกล้ชิดได้ อีกด้วย จากพนักงานบริษัท ผันชีวิตสู่ผู้เลี้ยงกุ้งก้ามแดง คุณสุมิตรา เล่าให้ฟังว่า ได้ลาออกจากงานบริษัทมาอยู่ที่บ้านเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ ท่าจีน จากนั้นประมาณ
ที่บ้านเลขที่ 215 บ้านเดื่อพัฒนา ต.ตานี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ผู้สื่อข่าวได้พบคุณลุงชม ดาทอง อายุ 56 ปี และป้าทองสุข ดาทอง 56 ปี สองสามีภรรยา และเพื่อนบ้านกำลังช่วยกันเทกุ้งฝอยออกจากลอบดักกุ้ง จำนวนกว่า 50 หลัง จึงเข้าไปสอบถาม ซึ่งลุงชมเล่าให้ฟังว่าตนเองและภรรยามีบุตรอยู่ 3 คน มีหน้าที่การงานทำงานที่ต่างจังหวัดกันหมด ตนเองอาศัยอยู่กับภรรยา 2 คน ตนทำนา 15 ไร่ และยึดอาชีพเสริมหาจับกุ้งตามหนองน้ำสาธารณะข้างหมู่บ้าน โดยทำลอบดักกุ้งขึ้นมาเอง และจะออกไปวางลอบในช่วงเวลา 15.30 น. ของทุกวัน และเก็บกู้ตอนรุ่งเช้าเพื่อกุ้งนั้นจะได้สด และขายให้ทันชาวบ้านประกอบอาหารในช่วงเช้า โดยนำกุ้งมาเทรวมกันในกะละมัง และใช้แก้วใสตวงใส่ถุง ถุงละ 1 แก้วเต็ม ก่อนรัดปากถุงนำไปขายเพียงแค่ ถุงละ 20 บาทเท่านั้น ซึ่งถูกกว่าตลาดสดในอำเภอปราสาท 2 เท่า บางวันได้ร่วม 40 ถุง จะมีชาวบ้านมารอซื้อและช่วยกรอกใส่ถุง ซึ่งในแต่ละเช้า สามารถสร้างรายได้ไม่ตำกว่า 400-700 บาท โดยใช้รายได้ดังกล่าวไปจ่ายค่าปุ๋ยค่าไถหว่านและค่ารถเกี่ยวได้สบายๆ ลดต้นทุนในการทำนาได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องเพิ่มภาระให้แก่ลูกหลานอีกด้วย สำหรับคุณลุงชม และป้าทองสุข
ตอนนี้หลายคนหันมาสนใจทำการเกษตรเป็นรายได้เสริม และมีไม่น้อยที่ทำเงินได้จนกลายเป็นรายได้หลัก อย่างดาบตำรวจที่พะเยาที่หันมาเลี้ยงไก่งวงออกขาย ปรากฏว่าสร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาท ตอนนี้กำลังพัฒนาเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย ดาบตํารวจสมบูรณ์ นันทพิศ ตํารวจสังกัดกองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัดพะเยา เล่าว่า ตนได้ใช้เวลาว่างจากงานรับราชการตำรวจในวันหยุด หันมาเพาะพันธุ์ไก่งวงออกจําหน่าย ภายในบริเวณบ้าน ในพื้นที่บ้านดอกบัว หมู่ที่ 4 ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับตนเองและครอบครัว ซึ่งสามารถจําหน่ายได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากหากมีการเพาะพันธุ์ออกมาเสร็จแล้ว ลูกของไก่งวงอายุไม่เกิน 1-2 เดือน ก็จะมีคนมาสั่งจองซื้อกันจนหมด ดาบตํารวจสมบูรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองหันมาเลี้ยงไก่งวงเป็นอาชีพเสริม ได้ปีกว่าๆ แล้ว โดยเริ่มจากพ่อพันธุ์ 2 ตัว แม่พันธุ์ 5 ตัว นํามาเพาะขยายพันธุ์โดยเฉลี่ยแล้ว ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน แม่พันธุ์แต่ละตัวจะให้ลูกประมาณ 15-20 ตัว และนํามาเลี้ยงประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถจําหน่ายได้แล้ว ในราคาเริ่มต้นที่ 2